ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

วิธีที่คุณดูแลบาดแผลหลังจากเกิดแผลทันทีนั้นสามารถมีบทบาทสำคัญว่าแผลนั้นจะหายได้ดีแค่ไหน บาดแผลเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับการทำความสะอาดและทำแผลอย่างถูกต้องมักจะหายได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่บาดแผลที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดอาจจะติดเชื้อและต้องการการดูแลอย่างมืออาชีพ การเรียนรู้ที่จะทำความสะอาดบาดแผลและตัดสินใจว่าเมื่อไรที่จะขอความช่วยเหลือจากแพทย์นั้นอาจจะมีคุณค่า โชคดีที่ขั้นตอนนี้ไม่ใช่เรื่องยาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การทำความสะอาดบาดแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นตอนแรกในการรักษาอาการบาดเจ็บใดๆ ก็คือการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด คุณจะต้องระบุสภาพและความรุนแรงของบาดแผล ให้สังเกตดูแผลอย่างใกล้ชิดและให้ความสนใจกับสิ่งต่อไปนี้: [1]
    • ปริมาณของเลือด คนนั้นมีเลือดออกรวดเร็วแค่ไหน เลือดนั้นออกมาโดยไหลอย่างสม่ำเสมอหรือว่าเป็นจังหวะ
    • สิ่งแปลกปลอมในบาดแผล นี่อาจจะเป็นสาเหตุของแผลเอง อย่างเช่น เบ็ดตกปลา หรือเศษกระจก
    • สิ่งสกปรกหรือเศษเล็กเศษน้อยในหรือรอบๆ แผล
    • หลักฐานของกระดูกหัก อย่างเช่น กระดูกยื่นออกมา อาการบวมเหนือกระดูก หรือการที่ไม่สามารถขยับแขนขาได้ ให้มองหาอาการนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนนั้นได้รับบาดเจ็บจากการล้มหรือการตก [2]
    • หลักฐานของอาการเลือดออกภายใน อย่างเช่น อาการบวม บริเวณสีม่วงขนาดใหญ่บนผิวหนัง หรืออาการปวดช่องท้อง [3]
    • ในกรณีของการถูกสัตว์ทำร้าย ให้มองหาสัญญาณของรอยกัดและอาการบาดเจ็บหลายอย่าง ถ้าคุณอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีงูหรือแมลงที่มีพิษนั้น ก็อาจจะเป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่าแผลเหล่านั้นมีลักษณะอย่างไร
  2. คุณมักจะสามารถรักษาบาดแผลเล็กน้อยได้ที่บ้าน แต่ในกรณีของบาดแผลรุนแรงนั้น คนที่ได้รับบาดเจ็บควรไปพบแพทย์ทันที ให้ขอเข้ารับการรักษาพยาบาลถ้า:
    • แผลมีเลือดออกมาก เลือดออกเป็นจังหวะและ/ หรือไม่หยุดไหล
    • แผลนั้นลึกกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งนี่อาจจะต้องการการเย็บแผล
    • มีอาการบาดเจ็บที่สำคัญที่ศีรษะ [4]
    • มีหลักฐานของกระดูกหักหรืออาการเลือดออกภายใน [5]
    • แผลนั้นสกปรกและคนที่ได้รับบาดเจ็บยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักล่าสุด [6] นี่เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแผลนั้นเกิดจากวัตถุโลหะที่ขึ้นสนิม
    • เป็นที่ทราบว่าบุคคลนั้นกำลังใช้ยาเจือจางเลือด ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนนั้นมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  3. กดแผลเบาๆ โดยใช้ผ้าชิ้นเล็กๆ หรือผ้าก๊อซ พันผ้าที่เหลือรอบบริเวณที่เป็นแผล ถ้าเป็นไปได้ให้ยกบริเวณที่เป็นแผลเหนือระดับหัวใจของคนนั้น
    • การยกบริเวณที่เป็นแผลขึ้นนั้นจะลดการไหลเวียนของเลือดไปที่แผลและลดอาการเลือดออก [7]
    • ถ้าเลือดไม่หยุดไหลภายใน 10 ถึง 15 นาทีให้ขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที [8]
  4. ถ้ามีวัตถุใดๆ ในแผลที่คุณสามารถเอาออกได้ (เช่น เศษหินเล็กๆ เศษเสี้ยน หรือเบ็ดตกปลา) ให้เอาพวกมันออกอย่างระมัดระวัง
    • ใช้แหนบฆ่าเชื้อโรคสำหรับวัตถุขนาดเล็กถ้าคุณมีอยู่
    • อย่าเอาวัตถุใหญ่ๆ ออกจากแผล คุณอาจจะทำให้แผลเปิดและมีเลือดออกมากขึ้น [9]
    • ถ้ามีเศษสิ่งสกปรกจำนวนมากในแผลโดยเฉพาะถ้าแผลมีขนาดใหญ่ (เช่น แผล "ถลอกปอกเปิก" จากรถล้ม) ให้รีบไปพบแพทย์ การเอาเศษสิ่งสกปรกออกอาจจะต้องมีการขัดถูแผลที่เจ็บปวดซึ่งอาจจะต้องใช้ยาชาช่วยจะดีกว่า
  5. ทันทีที่เลือดหยุดไหล ขั้นตอนต่อไปคือการทำความสะอาดบริเวณแผลโดยปล่อยน้ำอุ่นให้ไหลผ่าน นี่คือขั้นตอนสำคัญที่สุดในการเสริมให้แผลหายอย่างรวดเร็ว [10] มีวิธีที่ดีหลายวิธีให้เลือกทำ:
    • ใช้หลอดเข็มฉีดยา (มีขายตามร้านขายยาส่วนใหญ่) เติมน้ำอุ่นหรือน้ำเกลือธรรมดา (คุณสามารถใช้น้ำเกลือสำหรับคอนแทคเลนส์ขวดใหญ่ได้ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉิน) ฉีดของเหลวออกมาบนแผล ทำซ้ำๆ ด้วยปริมาณของเหลวประมาณสองลิตร คุณจะไม่จำเป็นต้องล้างมากเท่านี้บนใบหน้าหรือหนังศีรษะ บริเวณเหล่านี้มีเส้นเลือดจำนวนมากและจะทำความสะอาดแผลตามธรรมชาติผ่านทางเลือดที่ไหลออกมา
    • เข็มฉีดยาขนาด 60 ซีซี กับเข็มพลาสติก (IV catheter) ให้ปริมาณและแรงดันน้ำที่ดีที่สุด และยังกำหนดทิศทางของน้ำได้เพื่อล้างใต้หนังปากแผลและบริเวณอื่นๆ ที่เข้าถึงได้ยาก ถ้าคุณไปพบแพทย์ก็มีแนวโน้มมากที่สุดว่าเขาหรือเธอจะใช้วิธีนี้เช่นกัน
    • คุณยังสามารถใช้น้ำประปาอุ่นๆ ไหลผ่านแผลได้อีกด้วย ใช้น้ำอย่างน้อยสองลิตร ขนาดเท่าขวดน้ำอัดลมพลาสติกขนาดใหญ่ไหลผ่านบนแผล ทำต่อไปจนกว่าบริเวณแผลทั้งหมดจะปราศจากเศษสิ่งสกปรกและใต้หนังที่เปิดตรงปากแผลนั้นสะอาด
    • แผลไหม้ควรจะล้างด้วยน้ำเย็นจำนวนมากเพื่อทำให้อุณหภูมิลดลง [11] ในกรณีของแผลไหม้จากสารเคมีนั้น การล้างน้ำจะทำให้สารเคมีเจือจางลงและลดความเสียหายของเนื้อเยื่อ
  6. หลังจากล้างแผลเสร็จแล้วให้พันด้วยผ้าพันแผลสะอาดๆ การพันแผลจะยับยั้งการเคลื่อนไหวเพื่อให้ขอบแผลมาอยู่รวมกันแล้วก็สมานตัวได้ และยังป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมและการติดเชื้ออีกด้วย
    • ใช้ผ้าพันแผลที่มีขนาดใหญ่กว่าแผลเล็กน้อย [12]
    • ผ้าพันแผลที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปนั้นสามารถใช้ได้กับแผลส่วนใหญ่ได้ ผ้าก๊อซเป็นตัวเลือกหลักซึ่งสามารถม้วนพับได้หรือใช้เป็นขนาดต่างๆ ได้ อย่างเช่น 2x2 หรือ 4x4 ขึ้นอยู่กับขนาดของแผล
    • ควรจะคลุมแผลไหม้ รอยถลอก และแผลที่มีขอบแผลที่ไม่เรียบด้วยแผ่นซับที่มีสารเคลือบหรือแผ่นเทลฟา (Telfa) เพราะว่าเลือดที่แห้งแล้วและผิวที่แผลสมานกันอาจจะติดผ้าก๊อซได้
    • ผ้าก๊อซชุบไอโอดีนนั้นดีที่สุดสำหรับบาดแผลต้องเปิดไว้ เช่น ฝี หรือแผลเจาะ [13]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

จัดการกับแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลัง 48 ชั่วโมงให้เช็คแผลอีกเป็นประจำทุกวัน เอาผ้าพันแผลออกอย่างระมัดระวังและมองหาสัญญาณของการติดเชื้อหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ ให้ติดต่อแพทย์ถ้าหากคุณพบสัญญาณของการติดเชื้อ
    • ถ้าผ้าพันแผลแห้งติดกับแผลและไม่หลุดออกมาอย่างง่ายดาย ให้แช่ในน้ำอุ่น [14]
    • ในขณะที่แผลถูกเปิดออก ให้ประเมินหาสัญญาณของการติดเชื้อ ซึ่งนี่รวมไปถึงรอยแดงของผิวรอบขอบแผลหรือรอยแดงขึ้นตามแขนขาได้รับบาดเจ็บ มองหาว่ามีหนองสีเหลืองสีอมเขียวไหลหรือไม่ [15]
    • ใช้นิ้วของคุณสัมผัสเบาๆ ว่าในบริเวณนั้นอุ่นและบวมขึ้นหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีรอยแดงปรากฏ
    • ตรวจอุณหภูมิของคนที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อหาอาการไข้ อุณหภูมิ 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) หรือสูงกว่านั้นเป็นสัญญาณอันตรายและคุณต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
    • ถ้ามีการติดเชื้ออยู่ภายใต้ผิวหนัง อาจจะต้องให้แพทย์เปิดแผล แผลติดเชื้อบางชนิดต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือแม้กระทั่งการผ่าตัดที่ต้องใช้ยาสลบ ซึ่งพบได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่แผลไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
  2. ถ้าแผลสะอาดแล้วให้ล้างอีกครั้งเพื่อคงความสะอาดไว้ แค่ปล่อยน้ำให้ไหลผ่านแผลเป็นเวลาหนึ่งนาที ล้างลิ่มเลือดใดๆ ออกด้วยสบู่กับน้ำสะอาด
    • ใช้สบู่และน้ำในการทำความสะอาดผิวรอบๆ และบางส่วนของแผลที่ไม่ได้เปิดกว้าง ใช้เวลาเท่ากับการร้องเพลงวันเกิดสองรอบในขณะที่ล้างด้วยน้ำสบู่และคุณก็จะล้างได้อย่างหมดจดแล้วล่ะ

    คำเตือน: อย่าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำยาทำความสะอาดราดลงไปบนแผลเปิดตรงๆ เนื่องจากมันทำให้แผลบรรเทาได้ช้าลง ให้ทาแค่บริเวณผิวหนังรอบแผลที่ไม่ได้เป็นรอยแผลเปิดเท่านั้น

  3. เมื่อแผลสะอาด ให้ทายานีโอสปอริน (Neosporin) บางๆ หรือทาครีมยาปฏิชีวนะอื่นๆ บนแผลด้วยสำลีก้าน ซึ่งนี่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ [16]
    • นี่ ไม่ใช่ สิ่งแทนการทำความสะอาดและการล้างที่หมดจด ให้ใช้เท่าที่จำเป็น และถ้าแผลเปื่อยต้องปล่อยให้แผลแห้งก่อนที่จะทาครีมใดๆ
  4. วางผ้าพันแผลสะอาดๆ เหนือแผล ระหว่างการดูแลนั้นให้คอยดูแลผ้าพันแผลให้สะอาดและแห้ง
    • ขั้นตอนการดูแลซ้ำประจำทุกวันจนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ
    • คอยยกแผลขึ้นต่อไปให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างน้อยสองสามวันแรก ซึ่งนี่จะช่วยลดอาการปวดและอาการบวม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าแผลของคุณต้องการการเย็บแผลหรือการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ ให้ทำตามคำแนะนำสำหรับการดูแลแผลทั้งหมดที่แพทย์สั่ง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าแผลติดเชื้อ ให้ขอรับการรักษาพยาบาลจากแพทย์โดยเร็ว
  • ตระหนักว่าเอชไอวีและโรคอื่นๆ สามารถถ่ายทอดผ่านทางเลือด ตอนที่ทำความสะอาดแผลของคนอื่นให้สวมใส่ถุงมือยางและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดจะดีกว่า
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Bret Nicks, Elizabeth Ayello, Kevin Woo, Acute Wound Management : Revisiting the approach to Assessment , Irrigation and Closure, Journal of International Emergency Medicine, 2010, Dec, 3 (4) 399-407)
  2. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-fractures-symptoms
  3. http://www.webmd.com/first-aid/internal-bleeding-causes-signs
  4. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-head-trauma/basics/ART-20056626
  5. http://www.webmd.com/first-aid/internal-bleeding-causes-signs
  6. Center for Disease Control. Tetanus Vaccines for Wound Management.
  7. http://www.dhhs.nh.gov/dcbcs/bds/nurses/documents/firstaid.pdf
  8. Hoffman, R. Benz E.J. Jr., and L.E. Heslop. Hematology: Basic Principles and Practice. Laboratory Evaluation of Hemostatic and Thrombotic Disorders
  9. http://www.dhhs.nh.gov/dcbcs/bds/nurses/documents/firstaid.pdf
  1. Bret Nicks, Elizabeth Ayello, Kevin Woo, Acute Wound Management : Revisiting the approach to Assessment , Irrigation and Closure, Journal of International Emergency Medicine, 2010, Dec, 3 (4) 399-407.
  2. http://www.dhhs.nh.gov/dcbcs/bds/nurses/documents/firstaid.pdf
  3. http://www.dhhs.nh.gov/dcbcs/bds/nurses/documents/firstaid.pdf
  4. Bret Nicks, Elizabeth Ayello, Kevin Woo, Acute Wound Management : Revisiting the approach to Assessment , Irrigation and Closure, Journal of International Emergency Medicine, 2010, Dec, 3 (4) 399-407)
  5. http://www.webmd.com/first-aid/tc/cleaning-and-bandaging-a-wound-topic-overview?page=2
  6. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/symptoms-of-infection-after-a-skin-injury
  7. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-3744-7125/neosporin-top/combinationantibiotic-topical/details

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,201 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา