ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณรู้สึกว่านิ้วเท้าของตนเองอาจจะหัก แต่ไม่แน่ใจใช่หรือไม่ การทำกระดูกนิ้วเท้าร้าวเป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปหากคุณทำของหล่นใส่เท้า ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้แต่สะดุดชนของอย่างแรง นิ้วเท้าที่ร้าวส่วนใหญ่มักรักษาอาการบาดเจ็บได้ด้วยการดูแลเพียงเล็กน้อย แต่ในบางกรณีนั้นคุณอาจต้องไปพบแพทย์ การประเมินดูว่านิ้วเท้าของคุณหักหรือไม่จึงสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจำเป็นจะต้องไปพบแพทย์หรือไม่

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

วิธีตรวจสอบนิ้วเท้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากกระดูกนิ้วเท้าของคุณร้าว คุณจะรู้สึกเจ็บเมื่อถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วนั้น คุณอาจจะยังเดินได้ปกติ แต่เมื่อหมุนไปรอบๆ อาการปวดอาจจะแย่กว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ความเจ็บปวดในระดับนี้ไม่ได้หมายความว่านิ้วหัก แต่อาการปวดเรื้อรังต่างหากที่อาจเป็นสัญญาณบอกว่านิ้วเท้านิ้วนั้นได้ร้าวหรือหัก [1]
    • คุณควรพบแพทย์ทันที หากเมื่อถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วนั้นแล้วรู้สึกปวดมากจนทรมาน ซึ่งอาจแปลว่านิ้วของคุณได้หักอย่างรุนแรง ในทางตรงกันข้าม ถ้านิ้วเท้าร้าวไม่มาก คุณจะไม่รู้สึกปวดเท่ากรณีแรก และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์
    • หากรู้สึกเจ็บแปลบนอกจากอาการปวด นิ้วของคุณอาจจะหักมากกว่าร้าว
  2. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    โดยดูว่าบวมหรือเปล่า หากบวม ก็แสดงว่ากระดูกนิ้วหัวเท้าของคุณอาจจะร้าว แต่หากคุณแค่สะดุดชนของอย่างแรง คุณจะรู้สึกว่านิ้วเท้าปวดตุบๆ เพียงครู่เดียว ก่อนที่อาการปวดจะหายไปโดยไม่มีอาการบวม ในขณะที่นิ้วเท้าที่กระดูกร้าวมักจะมีอาการบวม
  3. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    โดยดูว่านิ้วที่ปวดดูผิดรูปทรงหรือเคลื่อนไปจากปกติเมื่อเทียบกับนิ้วเดียวกันที่ปกติดีของเท้าอีกข้างหรือไม่ ถ้าผิดรูปผิดร่างหรือเคลื่อนที่ล่ะก็ กระดูกเท้าของคุณอาจจะหักอย่างรุนแรงและคุณจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที เพราะกระดูกร้าวจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของนิ้วเท้า
  4. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    เพราะนิ้วเท้าที่กระดูกร้าวจะไม่เหมือนนิ้วที่สะดุดชนของตรงที่มันจะเกิดการฟกช้ำและนิ้วจะเปลี่ยนสีในที่สุด ซึ่งนิ้วนั้นอาจจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เหลือง น้ำเงิน หรือดำ และอาจมีเลือดออก ซึ่งสัญญาณทั้งหมดที่กล่าวมานี้แสดงว่านิ้วเท้าของคุณอาจหัก
    • หากเห็นว่ากระดูกนิ้วเท้าหักผ่านผิวหนัง ก็หมายความว่ากระดูกหักจริงๆ และคุณควรไปพบแพทย์โดยทันที
  5. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    หากรู้สึกว่ากระดูกเต้นตุบๆ อยู่ข้างใน หรือหากเคลื่อนไหวแล้วรู้สึกแปลกๆ ที่เท้า (นอกเหนือจากอาการปวด) ก็มีแนวโน้มว่านิ้วเท้านิ้วนั้นหัก
  6. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    คุณควรพบแพทย์หากมีอาการปวด นิ้วเท้าเปลี่ยนสี และอาการบวมเกินกว่า 2-3 วัน คุณอาจต้องเข้ารับการฉายรังสีเอ็กซเรย์เพื่อตรวจสอบว่านิ้วเท้าหักจริงๆ มีหลายกรณีที่แพทย์จะสั่งให้ไม่ยุ่งกับนิ้วเท้าและให้มันรักษาอาการบาดเจ็บเอง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่นิ้วเท้าหักอย่างรุนแรง แพทย์จะวินิจฉัยให้เข้ารับการรักษาทางการแพทย์
    • หากอาการปวดร้ายแรงมากจนเดินบนนิ้วเท้าที่บาดเจ็บไม่ได้ คุณควรไปพบแพทย์ทันที
    • ถ้านิ้วเท้าที่บาดเจ็บเหมือนจะชี้ไปผิดทิศผิดทาง หรือไม่ก็ผิดรูปทรงไปอย่างมาก คุณควรพบแพทย์ทันที
    • ขอเข้ารับงานบริการฉุกเฉินหากนิ้วที่บาดเจ็บเย็น เจ็บแปลบ หรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเพราะขาดออกซิเจน [3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

วิธีการดูแลรักษานิ้วเท้าที่หัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    นำน้ำแข็งก้อนใส่ให้เต็มถุงพลาสติกบรรจุอาหาร ห่อด้วยผ้าเช็ดจาน และวางบนนิ้วเท้าที่บาดเจ็บ. โดยประคบไว้ครั้งละ 20 นาทีจนกว่าจะพบแพทย์ ซึ่งน้ำแข็งจะช่วยลดอาการบวมและรักษาสมดุลของนิ้วที่บาดเจ็บ ยกเท้าให้บ่อยเท่าที่จะทำได้ และอย่าพยายามเดินไกลๆ [4]
    • อย่าวางน้ำแข็งไว้ที่เดิมนานกว่า 20 นาที เพราะอาจทำลายผิวหนังของคุณได้หากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป
    • คุณสามารถทานยาแก้ปวดอย่างไอบูโปรเฟนหรือแอสไพรินเพื่อบรรเทาอาการปวด
  2. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    ตอนที่ไปพบแพทย์ แพทย์จะนำภาพถ่ายรังสีเอ็กซเรย์ไปวินิจฉัย และให้คำแนะนำในการดูแลนิ้วเท้า แพทย์อาจจัดกระดูกใหม่ในบางกรณี และสำหรับคนไข้รายที่บาดเจ็บอย่างรุนแรง อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยฝังหมุดหรือตะปูเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกเคลื่อน
  3. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    หยุดทำกิจกรรมที่ทำให้นิ้วเท้าบาดเจ็บเป็นอันดับแรก และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะกดทับนิ้วเท้าที่บาดเจ็บของคุณ คุณยังสามารถเดินเล่น ว่ายน้ำ หรือขี่จักรยานได้ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือกีฬาที่อาจโดนผู้เล่นคนอื่นไปหลายสัปดาห์ พักนิ้วเท้าต่อเนื่องตามระยะเวลาที่แพทย์ของคุณแนะนำ
    • เมื่ออยู่บ้านให้ยกเท้าขึ้นสูงๆ เพื่อลดอาการบวม
    • หลังจากที่รักษานิ้วเท้าไปหลายสัปดาห์แล้ว ควรค่อยๆ เริ่มใช้นิ้วเท้าอีกครั้ง แต่อย่าฝืนใช้มากเกินไป หากรู้สึกเจ็บหรือแรงกดทับ ให้หยุดก่อนและพักเท้า
  4. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    นิ้วเท้าที่หักหรือร้าวส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องเข้าเฝือก แต่แพทย์จะใช้วิธี “บัดดี้เทป ” โดยพันเทปนิ้วที่หักเข้ากับนิ้วข้างๆ ซึ่งช่วยดามไม่ให้นิ้วเคลื่อนหรือบาดเจ็บอีกรอบ ควรขอให้แพทย์หรือพยาบาลช่วยสาธิตวิธีเปลี่ยนเทปปิดแผล และผ้าพันแผลอย่างเหมาะสมที่ควรทำทุกๆ 2-3 วันเพื่อรักษาความสะอาดของบาดแผล
    • หากคุณไม่รู้สึกอะไรเลยในบริเวณที่พันแผล หรือสีของนิ้วที่พันแผลเปลี่ยนไป แสดงว่าเทปอาจรัดแน่นเกินไป ให้คุณรีบถอดออกทันที และขอคำแนะนำในการใช้เทปพันแผลจากแพทย์
    • คนไข้โรคเบาหวานไม่ควรพันแผลที่นิ้วเท้า แต่ควรสวมใส่รองเท้ารักษากระดูกและกล้ามเนื้อส้นแบนตามคำแนะนำของแพทย์ [5]
  5. Watermark wikiHow to ดูว่านิ้วเท้าหักหรือไม่
    ดูแลนิ้วเท้าที่หักรุนแรงตามคำแนะนำของแพทย์. หากนิ้วเท้าหักร้ายแรงจนต้องเข้าเฝือก ใช้ไม้พยุง หรือใส่รองเท้าชนิดพิเศษ คุณอาจต้องพักเท้าเต็มๆ 6-8 สัปดาห์ ส่วนระยะเวลาในการรักษานิ้วหักที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอาจนานกว่า คุณอาจต้องไปพบแพทย์หลายครั้งในช่วงนั้นเพื่อให้แน่ใจว่านิ้วที่หักรักษาอย่างเหมาะสม
    • ดูให้แน่ใจว่าได้ทำตามคำสั่งแพทย์เมื่อรักษาอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรง เพราะหากละเลยคำสั่งของแพทย์ อาการบาดเจ็บอาจต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่าที่จำเป็น
    โฆษณา

อุปกรณ์ที่ใช้

  • ถุงประคบเย็น
  • เทปปิดแผล และผ้าพันแผล

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 194,261 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา