ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเป็นคนหนึ่งที่เวลาอ่านอะไรบางอย่างจนถึงบรรทัดสุดท้ายแล้วยังรู้สึกงงๆ อยู่หรือเปล่า? แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน และในบางครั้งตัวเราเองก็มีเวลาหรือมีความใส่ใจที่จะใช้เวลาอยู่กับบทกวีของโฮเมอร์หรือเชกสเปียร์น้อยเสียเหลือเกิน แต่ไม่เป็นไร คุณยังมีทางออกอยู่ เพียงแค่คุณเรียนรู้วิธีการอ่านอย่างชาญฉลาด และรู้จักที่จะจดโน้ตสิ่งที่สำคัญเอาไว้ การอ่านตีความหรือทำความเข้าใจของคุณก็จะเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และสนุกมากขึ้นเป็นกองเลยล่ะ ฉะนั้น ลองไปดูในขั้นตอนที่ 1 กันเลย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

อ่านอย่างชาญฉลาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปิดคอมพิวเตอร์ ทีวี และเพลงที่เปิดไว้ เพราะเสียงพวกนั้นจะทำให้คุณอ่านหนังสือยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังอ่านเรื่องที่มีเนื้อหายากๆ เนื่องจากคุณไม่ได้มีสมาธิจดจ่อเต็มร้อย ซึ่งการที่จะอ่านให้เข้าใจอย่างถ่องแท้นั้น คุณจะต้องหาพื้นที่ดีๆ และสบายๆ ที่ปราศจากสิ่งรบกวน
    • ทำการอ่านให้เป็นเรื่องสนุกด้วยการเตรียมของว่าง หรือเครื่องดื่มเอาไว้ใกล้ๆ และหาที่อ่านแบบสบายๆ หรือคุณอาจจะจุดเทียนหอม หรือไม่ก็อาจจะอ่านในขณะที่แช่ตัวในอ่างอาบน้ำเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสบาย และทำให้การอ่านเป็นเรื่องน่าสนุกเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งที่จะอ่านไม่ได้อยู่ในความสนใจของคุณมากนัก
  2. อ่านแบบเร็วๆ ก่อน จากนั้นก็อ่านอย่างละเอียด. หากคุณกำลังจะอ่านอะไรที่มีเนื้อหายาก ก็อย่าเพิ่งไปกังวลมากว่าวิธีนี้จะทำให้เป็นการสปอยล์เนื้อเรื่องตอนจบ และสมมุติถ้าคุณอ่านจบไปตอนหนึ่งแล้วต้องวนกลับไปอ่านซ้ำตั้งแต่ต้นอีกรอบ ให้ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีอ่านแบบเร็วๆ ทั้งเรื่อง หรืออ่านแบบคร่าวๆ จนจบเล่มรอบหนึ่งก่อน เพื่อที่จะได้พอจับใจความได้ว่าโครงเรื่องเป็นแบบไหน มีตัวละครหลักอะไรบ้าง และจะได้รู้ถึงโทนเรื่องด้วย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณรู้ว่าตัวเองควรจะโฟกัสอะไร เวลาที่กลับมาอ่านอย่างละเอียดอีกรอบ [1]
    • การอ่านตามเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน (อย่างเช่นเว็บภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า CliffsNotes) อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่ทำให้คุณรู้เรื่องย่อ และช่วยให้คุณอ่านตีความหนังสือเล่มนั้นได้ง่ายขึ้น แต่ก็ต้องนึกเอาไว้เสมอด้วยว่าครูของคุณอาจจะมีความข้องใจในข้อมูลเหล่านั้นก็ได้ และอาจจะให้คะแนนคุณต่ำ หรือแย่ไปกว่านั้น เขาอาจจะไม่ให้คะแนนคุณเลยก็ได้ ถ้าเขาสังเกตได้ว่าคุณเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ ฉะนั้น อย่าลืมกลับไปอ่านให้ละเอียดด้วยตัวเองอีกครั้งล่ะ
  3. ลองสมมุติว่าตัวเองเป็นผู้กำกับหนัง แล้วนึกฉากไปตามสิ่งที่คุณกำลังอ่านดู หรือจะลองนึกภาพแบบใช้นักแสดงจริงๆ ด้วยก็ได้ หากวิธีนี้จะทำให้ง่ายขึ้นได้ และพยายามนึกภาพออกมาเป็นเหตุการณ์ต่างๆ ให้สมจริงมากที่สุด วิธีนี้จะทำให้คุณรู้สึกสนุกมากขึ้น และจะช่วยทำให้คุณจดจำและเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองกำลังอ่านได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากๆ ด้วย
  4. บางคนอาจรู้สึกว่าการอ่านออกเสียงในสิ่งที่ตัวเองกำลังอ่านนั้นช่วยทำให้ตัวเองมีสมาธิจดจ่อในเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ฉะนั้น ให้คุณเข้าไปอ่านในห้องตัวเอง หรือไม่ก็หลบไปอยู่ในห้องใต้ดิน (ถ้าที่บ้านมี) แล้วอ่านออกมาแบบเวอร์วังอลังการแค่ไหนก็ได้ตามที่คุณต้องการ วิธีนี้จะช่วยทำให้การอ่านหนังสือเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากขึ้น ในกรณีที่คุณคิดว่ามันน่าเบื่อ
    • ถ้าอ่านบทกลอนอยู่ก็ให้อ่านออกเสียงออกมาดังๆ เลย สมมุติถ้ากำลังอ่านบทกวีเรื่องโอดีสซีย์ ของโฮเมอร์อยู่ การใช้วิธีอ่านออกเสียงแบบใส่อารมณ์เข้าไป ก็จะทำให้คุณได้ประสบการณ์ในการอ่านที่ยอดเยี่ยมขึ้นไปอีก
  5. ค้นหาคำ สถานที่ หรือไอเดียต่างๆ ที่คุณไม่รู้จัก. คุณอาจจะใช้การเดาความหมายจากบริบทเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองก็ได้ แต่ว่าจริงๆ การใช้เวลาสักสองสามนาทีเพื่อค้นหาข้อมูลที่คุณอาจจะไม่เข้าใจในตอนแรกก็เป็นไอเดียที่ดีเหมือนกันนะ
    • เวลาเรียนอยู่ที่โรงเรียน การที่คุณค้นหาคำศัพท์หรือคอนเซปต์ที่ไม่คุ้นเคยนั้นจะเป็นสิ่งที่สร้างผลตอบแทนให้คุณเสมอ และการทำแบบนี้จนเป็นนิสัยจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆ ด้วย
  6. ต้องแบ่งเวลาให้พอสำหรับการอ่านหนังสือเพื่อที่คุณจะได้สามารถอ่านให้เสร็จได้อย่างสบายๆ และมีเวลาพักบ้าง ฉะนั้น ในทุกๆ 45 นาทีที่คุณอ่านหนังสือ ให้คุณหยุดพักสัก 15 นาที หรือไม่ก็ไปทำงานอย่างอื่นก็ได้ เพื่อที่สมองคุณจะได้พักผ่อน และไปโฟกัสอยู่กับสิ่งอื่นๆ สักพักหนึ่ง พอคุณพร้อมแล้ว สมองคุณก็จะปลอดโปร่ง และรู้สึกกระตือรือร้นที่จะกลับไปอ่านต่อ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

จดโน้ต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้เขียนคำถามที่สงสัยไว้บนขอบหน้ากระดาษ ขีดเส้นใต้สิ่งที่คุณคิดว่าน่าสนใจ และไฮไลท์คอนเซปต์หรือไอเดียสำคัญๆ เอาไว้ อย่าไปกลัวว่าบนหน้ากระดาษจะเลอะเทอะไปด้วยสิ่งที่คุณจดลงไป มีนักอ่านบางคนที่รู้สึกว่าการถือดินสอ หรือปากกาไฮไลท์เอาไว้ในมือ จะช่วยทำให้ตัวเองอ่านได้อย่างตั้งใจมากขึ้น และทำให้พวกเขามีจุดมุ่งหมายบางอย่าง “ให้ทำ” ในขณะที่กำลังอ่านอยู่ ฉะนั้น ลองดูสิว่าวิธีนี้จะใช้ได้ผลกับคุณหรือเปล่า
    • อย่าขีดเส้นใต้หรือไฮไลท์มากจนเกินไป และอย่าไฮไลท์ข้อความแบบสุ่มๆ เพียงเพราะคุณคิดว่ามันเป็นสิ่งที่คุณคาดเอาไว้ เพราะมันจะไม่ช่วยเวลาที่คุณอยากจะกลับไปทวนและทำความเข้าใจเนื้อหาเลย ถ้าคุณไปขีดไฮไลท์ข้อความแบบสุ่มๆ และไปทำให้เนื้อความในเรื่องเป็นสิ่งที่ยากต่อการกลับไปทบทวนมากขึ้นไปอีก
  2. หากคุณกำลังอ่านอะไรสักอย่างที่มีเนื้อหายากๆ และต้องย้อนกลับไปทวนส่วนที่ตกหล่นอยู่เรื่อยๆ ให้คุณเปลี่ยนไปใช้วิธีอ่านสรุปทีละหน้า วิธีการก็คือ เมื่อคุณอ่านจนถึงท้ายหน้า หรือจะเป็นท้ายย่อหน้าก็ได้ ให้คุณเขียนสรุปย่อๆ ของสิ่งที่เกิดขึ้นเอาไว้บนหน้านั้น วิธีนี้จะเป็นการแบ่งเนื้อหาที่คุณอ่านออกเป็นส่วนย่อยๆ และช่วยทำให้คุณอ่านได้ละเอียดมากขึ้น
  3. เขียนคำถามที่ตัวเองสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่าน. หากคุณรู้สึกสับสนในบางสิ่งบางอย่าง หรือมีบางสิ่งที่เข้าใจยาก ให้คูณเขียนคำถามออกมาทุกครั้งที่เกิดความสงสัย วิธีนี้จะช่วยคุณในการสร้างคำถามดีๆ ไว้ถามในห้องเรียน หรือมีบางอย่างให้คุณเอามาใช้คิดวิเคราะห์ต่อไปได้ในขณะที่อ่านเนื้อเรื่องต่อไป
  4. เวลาที่คุณอ่านจบแล้ว ให้คุณเริ่มเขียนความคิดเห็นของตัวเองที่มีต่อเนื้อเรื่อง ต่อหนังสือ หรือบทที่อ่านจากหนังสือเล่มนั้นทันที ให้เขียนว่ามีประเด็นสำคัญอะไรบ้าง และจุดประสงค์ของเรื่องนี้น่าจะเป็นแบบไหน และมันทำให้คุณรู้สึกอย่างไรบ้างในฐานะผู้อ่าน โดยคุณไม่จำเป็นต้องสรุปเรื่องเพื่อที่จะหาคำตอบก็ได้ แต่ถ้าคุณลองทำสรุปเรื่อง นั่นก็อาจจะช่วยคุณได้ในระดับหนึ่งถ้าเกิดว่าเรื่องย่อจะทำให้คุณจำสิ่งที่ตัวเองอ่านไปได้มากขึ้น
    • อย่าเขียนแค่ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบเรื่องนั้น หรือคิดว่าเรื่องนั้นมันน่าเบื่อหรือไม่น่าเบื่อ กลับกัน ให้คุณโฟกัสที่ประเด็นที่ว่า เรื่องที่คุณอ่านนี้มันทำให้คุณรู้สึกอย่างไร คำตอบแรกของคุณอาจจะเป็นในลักษณะที่ว่า “ฉันไม่ชอบเรื่องนี้ เพราว่าจูเลียตตายตอนจบ” แต่เราอยากให้คุณลองคิดดูว่าทำไมคุณถึงรู้สึกแบบนั้น ทำไมคุณถึงคิดว่ามันน่าจะดีกว่าถ้าจูเลียตไม่ตาย? มันควรจะเป็นแบบนั้นจริงๆ หรือเปล่า? เชกสเปียร์น่าจะพยายามสื่อสารประเด็นอะไรอยู่? ทำไมเขาถึงเลือกที่จะให้ตัวละครตัวนี้ตาย? วิธีนี้จะเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของตัวเองออกมาในแบบที่น่าสนใจกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เอาไปเปิดประเด็นถกเถียงกับคนอื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จับกลุ่มพูดคุยกับเพื่อนคุณ หรือเพื่อนที่เรียนห้องเดียวกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน. การพูดคุยถกเถียงในสิ่งที่คุณอ่านกับคนอื่นทั้งก่อนหรือหลังเข้าเรียนนั้นไม่ถือว่าเป็นการโกงหรอก และจริงๆ คุณครูส่วนใหญ่ก็อาจจะชอบแบบนั้นเสียด้วยซ้ำ ฉะนั้น ให้คุณถามความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องนั้นจากเพื่อนๆ แล้วลองเอามาเปรียบเทียบกับของตัวเองดู ย้ำอีกครั้งว่า พยายามอย่าพูดคุยเรื่องที่ว่า เรื่องนั้นมันน่าเบื่อหรือไม่น่าเบื่ออย่างไร แต่ให้ดูว่ามีใครที่มีคำอธิบายดีๆ ในสิ่งที่คุณไม่ค่อยเข้าใจบ้างหรือเปล่า และกลับกันก็ให้เสนอความรู้ของตัวเองออกไปด้วยเพื่อเป็นการช่วยเหลือเพื่อนคุณไปในตัว
  2. ลองคิดคำถามปลายเปิดขึ้นมาบ้าง เพื่อที่จะได้ค้นหาความหมายบางอย่างจากการอ่านได้มากขึ้น. ให้เขียนคำถามที่คุณคิดว่าน่าจะเป็นคำถามที่ใช้เปิดประเด็นถกเถียงกันในห้องเรียนลงในสมุดจดของคุณ และแม้ว่าครูบางคนอาจจะสั่งคำถามเหล่านี้เป็นงานให้คุณทำอยู่แล้ว แต่ว่าวิธีนี้ก็จะช่วยทำให้คุณมีส่วนร่วมกับการอ่านของตัวเองมากขึ้นได้อยู่ดี
    • อย่าถามคำถามที่สามารถตอบด้วยคำว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ฉะนั้น การเรียนรู้วิธีที่จะตั้งคำถามด้วยคำว่า “อย่างไร” จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งคำถามที่ทำให้เกิดการอภิปรายกันอย่างน่าสนใจ และเป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ด้วย
  3. หากคุณมีคำถามที่สงสัยหลังจากอ่านจบ วิธีนี้ก็จะทำให้คุณเข้าถึงหน้าที่มีเนื้อหาที่คุณอยากจะเอามาพูดคุย หรือถามคำถามตรงส่วนที่ตัวเองมาร์คเอาไว้แล้วได้ง่ายๆ ดีกว่าที่จะใช้เวลา 10 นาทีหมดไปกับการพยายามนึกว่าประโยคสำคัญที่โพโลนีอัส (ตัวละครในเรื่อง แฮมเลต) พูดนั้นอยู่ตรงไหน
  4. ลองพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกับตัวละครในเรื่อง. คุณจะทำอย่างไรถ้าคุณเป็นจูเลียต? คุณจะชอบคนอย่างโฮลเดน คอลฟิลด์หรือเปล่าถ้าสมมุติว่าเขาเรียนอยู่ห้องเดียวกับคุณ? มันจะเป็นเช่นไรถ้าต้องแต่งงานกับโอดิสซีอุส? ให้เอาเอาประเด็นนี้ไปพูดคุยกับคนอื่นที่อ่านเรื่องเดียวกับคุณ ลองดูว่าแต่ละคนจะตอบคำถามเดียวกันนี้แตกต่างออกไปอย่างไร? การรู้จักที่จะพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ของเรื่อง และมีการตอบสนองต่อตัวบทในเรื่อง จะเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้คุณได้เขาไปสัมผัสและเข้าใจมากขึ้น ฉะนั้น ให้ลองคิดว่าตัวเองอยู่ในหนังสือเรื่องนั้นดู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางครั้งการโฟกัสกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ มากไปก็ไม่ช่วยอะไร ฉะนั้น หากเนื้อหามันยากมากไป ก็แค่โฟกัสที่ประเด็นใหญ่และประเด็นหลักพอ
โฆษณา

คำเตือน

  • จัดสรรเวลาให้พออ่านจนจบจนสมบูรณ์ จำไว้ว่า การเร่งอ่านเอาในนาทีสุดท้ายนั้นไม่ใช่วิธีการอ่านที่ดีเท่าไร


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,818 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา