ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยู่ๆ ต้องใส่เสื้อมัดย้อมไปปาร์ตี้กะทันหัน หรือกำลังหากิจกรรมให้น้องๆ หนูๆ ทำในวันเกิด แต่มีเวลาเตรียมการแค่ไม่กี่ชั่วโมง บอกเลยว่าต้องลืมการมัดย้อมแบบเก่าๆ ไป เพราะการทำเสื้อมัดย้อมไม่จำเป็นต้องเตรียมการมากมาย หรือรอสีแห้งทีละหลายๆ ชั่วโมง บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการทำเสื้อมัดย้อมง่ายๆ แบบเร็วทันใจให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

มัดย้อมด้วยสีอะคริลิค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณทำเสื้อมัดย้อมได้ด้วยสีอะคริลิคผสมน้ำนี่แหละ ต้องทิ้งช่วงให้เสื้อแห้งหน่อย แต่ก็แค่โยนเข้าเครื่องอบผ้าให้สีเซ็ตตัวด้วยความร้อน เท่านี้เสื้อมัดย้อมสีสวยก็พร้อมใส่ วิธีการนี้จะคล้ายกับวิธีมัดย้อมแบบดั้งเดิม แต่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือเตรียมการเยอะเท่าแบบดั้งเดิม
  2. วิธีนี้จะใช้สีอะคริลิค ที่ทึบกว่าสีย้อมผ้า เลยแนะนำให้ใช้เสื้อสีขาวหรือสีอ่อนๆ จะออกมาสวยกว่า เดี๋ยวเราต้องเจือจางสีด้วยน้ำเปล่าอยู่ดี เพราะงั้นจะยังพอเห็นสีเสื้อจริงๆ
    • จริงๆ แล้วคุณมัดย้อมได้แทบทุกอย่าง ตั้งแต่เสื้อยืด ไปจนถึงกางเกง กระโปรง กระทั่งหมวกแก๊ป
  3. ต้องใช้น้ำยา textile medium ½ ส่วน กับสี 1 ส่วน และน้ำ 3 ส่วน เททุกอย่างใส่ขวดพลาสติกสำหรับหยดสีหรือกาว แล้วเขย่าให้เข้ากัน น้ำยา textile medium จะป้องกันไม่ให้สีแข็งกรังหลังแห้ง [1]
    • ใช้ขวดหยดแยกกันไปตามแต่ละสี
    • สีจะฉ่ำผสมกัน เพราะงั้นอย่าใช้สีตัดกัน อย่างเขียวแดง ฟ้าส้ม และเหลืองม่วง ไม่งั้นจะได้เสื้อออกมาเป็นสีน้ำตาลตุ่นๆ แทน! [2]
  4. จะเอาเสื้อแช่น้ำแล้วบิดให้แน่น ไล่น้ำส่วนเกินก็ได้ เพราะเสื้อที่จะมัดย้อมต้องเปียกแค่พอหมาด ระวังอย่าให้เสื้อเปียกโชก
  5. จะได้เสื้อมัดย้อมลายไหน ก็แล้วแต่ลักษณะการใช้ยางมัดเสื้อ ต่อไปนี้คือลายมัดย้อมที่คนนิยมกัน [3]
    • ลายทาง (stripes) เป็นลายพื้นฐานที่ทำง่ายที่สุด แค่พับเสื้อไปมาเหมือนพัดกระดาษ หรือเครื่องดนตรี accordion จนเสื้อกลายเป็นท่อนยาวๆ จะพับทางกว้าง ตามยาว หรือพับเฉียงก็ยังได้ จากนั้นมัดยางที่ปลาย "ท่อนเสื้อ" แล้วมัดยางอีกเส้นห่างลงไป 2 - 3 นิ้ว (5 - 8 ซม.) ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงปลายเสื้อ
    • ลายพระอาทิตย์ (sunburst) เป็นลายเหมือนแสงแผ่ออกไปกลมๆ โดยที่แต่ละลำแสงหรือแต่ละวง จะเป็นสีต่างกัน วิธีนี้ให้ม้วนเสื้อจากตรงกลาง แล้วดึงเข้าหาตัว มัดปลายด้วยหนังยาง จากนั้นเลื่อนลงไปอีกหน่อย แล้วมัดด้วยยางอีกเส้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ "เสื้อท่อนหนา" มัดยางไว้
    • ลายก้นหอย (spiral) ก็เป็นอีกลายยอดนิยม ให้ปูเสื้อบนพื้นราบ ขยุ้มกลางเสื้อขึ้นมาแล้วม้วนไปเรื่อยๆ จนเป็นขด ประมาณขนมซินนามอนโรล จากนั้นมัดยาง "ก้อนเสื้อ" ที่ได้ แล้วมัดยางอีกเส้นไขว้กันเป็นกากบาท จริงๆ แล้วจะมัดเพิ่มอีกหลายๆ เส้นก็ได้ จะได้ยางเฉียงไปมาเหมือนรอยหั่นแบ่งพิซซ่าหรือเค้ก
  6. ให้หาอะไรมารองไว้ก่อน เช่น กล่องพลาสติก หรือถาดอลูมิเนียม จากนั้นกดปากกระบอกสีที่ผ้าส่วนนั้น แล้วบีบเบาๆ เพื่อให้สีซึมเข้าไปในผ้าโดยตรง ไม่เลอะไปส่วนอื่น
  7. วางตะแกรงบนทิชชู่ซับน้ำมันหนาๆ หนังสือพิมพ์ หรือถาดอบขนม แล้ววางเสื้อที่ย้อมแล้วพักไว้บนตะแกรง อย่าแกะยางออก [4] สีย้อมส่วนเกินจะได้ไหลลงไปข้างล่าง ไม่ขังอยู่ในเสื้อ ทิ้งไว้แบบนี้ 1 ชั่วโมง ให้สีย้อมผ้าเซ็ตตัว [5]
  8. ตอนนี้เสื้อเกือบจะแห้งแล้ว เหลือแต่ตรงกลางที่อาจจะยังเปียกๆ อยู่ ให้เอาไปตากแดดจนแห้งสนิท เสื้อจะได้หายยับด้วย ยิ่งอยู่ในที่เย็นๆ ชื้นๆ เสื้อจะยิ่งแห้งช้า
  9. ถ้าอยากให้สีติดทนนาน ให้เอาเสื้อไปอบในเครื่อง 15 นาที เท่านี้เสื้อมัดย้อมของคุณก็พร้อมซักและพร้อมใส่
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

มัดย้อมด้วยน้ำยาฟอกขาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าใช้น้ำยาฟอกขาว จะเป็นการกัดสีของเสื้อที่มีแทน เป็นวิธีที่เรียกว่า reverse tie-dye ซึ่งสะดวกกว่ามัดย้อมแบบปกติ เพราะไม่ต้องเตรียมสีย้อม ไม่ต้องรอสีเซ็ตตัว แต่สำหรับเด็กๆ วิธีนี้ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่
  2. วิธีนี้จะต่างจากการมัดย้อมทั่วไป ตรงที่เป็นการกัดสีที่มีอยู่ออก ไม่ได้เพิ่มสีใหม่เข้าไป ที่ต้องใช้คือเสื้อสีที่ชอบ โดยส่วนที่ถูกกัดสีไป จะเป็นสีอ่อนลง เว้นแต่ใช้เสื้อดำ ส่วนที่ถูกกัดสีจะเป็นสีทองแดงแทน
    • ยิ่งใช้เสื้อสีสด ก็ยิ่งกัดสีเห็นผล
  3. จะเอาเสื้อแช่น้ำแล้วบิดให้แน่น ไล่น้ำส่วนเกินก็ได้ เพราะเสื้อที่จะมัดย้อมต้องเปียกแค่พอหมาด ระวังอย่าให้เสื้อเปียกโชก
  4. จะได้เสื้อมัดย้อมลายไหน ก็แล้วแต่ลักษณะการใช้ยางมัดเสื้อ ต่อไปนี้คือลายมัดย้อมที่คนนิยมกัน
    • ลายทาง (stripes) เป็นลายพื้นฐานที่ทำง่ายที่สุด แค่พับเสื้อไปมาเหมือนพัดกระดาษ หรือเครื่องดนตรี accordion จนเสื้อกลายเป็นท่อนยาวๆ จะพับทางกว้าง ตามยาว หรือพับเฉียงก็ยังได้ จากนั้นมัดยางที่ปลาย "ท่อนเสื้อ" แล้วมัดยางอีกเส้นห่างลงไป 2 - 3 นิ้ว (5 - 8 ซม.) ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงปลายเสื้อ
    • ลายพระอาทิตย์ (sunburst) เป็นลายเหมือนแสงแผ่ออกไปกลมๆ วิธีนี้ให้ม้วนเสื้อจากตรงกลาง แล้วดึงเข้าหาตัว มัดปลายด้วยหนังยาง จากนั้นเลื่อนลงไปอีกหน่อย แล้วมัดด้วยยางอีกเส้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ "เสื้อเป็นท่อน"
    • ลายก้นหอย (spiral) ให้ปูเสื้อบนพื้นราบ ขยุ้มกลางเสื้อขึ้นมาแล้วบิดเล็กน้อย ม้วนไปเรื่อยๆ จนเป็นขดเหมือนขนมซินนามอนโรล จากนั้นมัดยาง "ก้อนเสื้อ" ที่ได้ แล้วมัดยางอีกเส้นไขว้กันเป็นกากบาท จริงๆ แล้วจะมัดเพิ่มอีกหลายๆ เส้นก็ได้ จะได้ยางเฉียงไปมาเหมือนรอยหั่นแบ่งพิซซ่าหรือเค้ก
  5. เดี๋ยวเราต้องกัดสีผ้ากัน เพราะงั้นต้องป้องกันไม่ให้ตัวคุณเองและเสื้อผ้าที่ใส่อยู่เปื้อน เริ่มจากสวมถุงมือกันมือเปื้อน แล้วสวมผ้ากันเปื้อน หรือเสื้อคลุมแบบที่ศิลปินชอบใช้กันเวลาวาดรูปก็ได้ ทางที่ดีให้สวมเสื้อผ้าเก่าที่ไม่ใช้แล้ว เปื้อนก็ทิ้งได้
  6. ให้ผสมน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน กับน้ำเปล่า 1 ส่วน แล้วกรอกใส่ขวดสำหรับฉีดพ่น [6]
  7. ให้ทำที่อ่างล้างจานหรือถาดอลูมิเนียมก้นลึก โดยฉีดพ่นน้ำยาฟอกขาวใส่เสื้อ ฉีดให้ทั่วทั้งตัว พยายามให้ชุ่มที่สุด
  8. วางเสื้อพักไว้ในที่ที่ไม่มีใครไปหยิบจับขยับที่ ทิ้งไว้แบบนั้นประมาณ 30 นาที [7]
    • จะใช้น้ำยาฟอกขาวที่ไม่เจือจางก็ได้ โดยลงน้ำยาทีละ 5 นาที เป็นรอบๆ ไป เสื้อก็จะถูกกัดสีในประมาณ 10 - 15 นาที
  9. พอกัดสีเสื้อตามชอบแล้ว ก็แกะหนังยางที่มัดเสื้อไว้ออก แล้วเปิดน้ำเย็นล้างน้ำยาจากเสื้อ ตอนนี้จะมีสีตกบ้าง ก็ให้ล้างไปเรื่อยๆ จนน้ำใส [8] ถ้าแกะยางยากเพราะมัดแน่นเกินไป จะใช้กรรไกรตัดแทนก็ได้ แต่ระวังอย่าเผลอไปตัดโดนเสื้อเข้า!
  10. เท่านี้ก็ตากเสื้อไว้จนแห้งได้เลย หรือเอาใสเครื่องอบผ้าก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

มัดย้อมด้วยปากกา Sharpie

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าใช้ปากกา Sharpie อาจจะทำลายใหญ่ๆ ทั้งตัวได้ยากหน่อย แต่วิธีนี้ใช้ทำลายเล็กๆ อย่างดอกไม้กับก้นหอยได้ ส่วนนี้ของบทความจะแนะนำวิธีมัดย้อมลายเล็กๆ โดยใช้ปากกา Sharpie กับแอลกอฮอล์ล้างแผลให้คุณเอง [9] อุปกรณ์ที่ต้องใช้คือ
    • ปากกามาร์กเกอร์ Sharpie แบบลบไม่ได้ หลายๆ สี (หรือสีที่ชอบ)
    • แอลกอฮอล์ล้างแผล
    • กระบอกหยดสี หรือหลอดหยดยาหยอดตา
    • หนังยาง
    • แก้วพลาสติก
  2. ปากกา Sharpie จะเป็นสีใส สีของเสื้อจะทะลุมาได้ แปลว่าถ้าใช้ปากกา Sharpie สีเหลืองวาดลายบนเสื้อสีฟ้าอ่อน ก็จะได้สีเขียวออกมา แต่ถ้าใช้เสื้อขาวแต่แรก สีที่ระบายหรือวาดลงไปจะสีสด ลายชัด เสื้อที่เอามามัดย้อม (หรืออื่นๆ) ต้องสะอาด เพราะถ้ามีน้ำมันหรือสิ่งสกปรก จะทำให้หมึกปากกา Sharpie ไม่ติดทนอย่างที่ควรจะเป็น
  3. เลือกว่าจะวาดอะไรเป็นรูปแรก จากนั้นเอาแก้วพลาสติกสอดเข้าไปในเสื้อ ขึงผ้าให้ตึงที่ปากแก้ว มัดด้วยหนังยาง ให้หนังยางรัดปากแก้วจนผ้าขึงตึง [10] คล้ายๆ กับการใช้สะดึงปักผ้า
    • หรือจะใช้สะดึงปักผ้าจริงๆ แทนแก้วพลาสติกกับหนังยางเลยก็ได้ แค่สอดวงกลมตรงกลางเข้าไปในเสื้อ แล้วยึดไว้โดยครอบวงกลมด้านนอกทับบนเสื้ออีกที
  4. จรดปลายปากกา Sharpie ที่เนื้อผ้า แล้วเขียนจุดเล็กๆ ต่อไปให้เขียนอีกจุด ห่างกันไม่เกิน 1 ซม. เขียนจุดต่อไปแบบนี้เรื่อยๆ จนได้วงกลมหรือวงแหวน แต่เป็นเส้นประ จะเป็นจุดเล็กหรือจุดใหญ่ก็ได้ แต่อย่าให้ชิดติดกัน จุดที่ว่าต้องอยู่ในผ้าที่ขึงตึงด้วยสะดึงหรือปากแก้ว ต่อไปนี้คือตัวอย่างลายที่น่าสนใจ
    • ลายพลุ - ให้จุดเป็นวงกลม 2 วงซ้อนลดหลั่นกัน โดยวงกลมหนึ่งก็ใช้ปากกาสีหนึ่ง [11]
    • ลายดอกไม้ - วาดจุดใหญ่ๆ 1 จุด แล้วทำจุดเล็กๆ เป็นวงรอบๆ จุดเล็กๆ พวกนี้ก็คือกลีบดอกไม้นั่นเอง
  5. พอวาดลายจนพอใจแล้ว ก็หยดแอลกอฮอล์ล้างแผลได้เลย จะใช้ที่หยดยาหยอดตา ดูดแอลกอฮอล์ มาหยดใส่ลายก็ได้ แบบนี้จะควบคุมการหยดได้ดี ไม่เลอะเทอะ เหมาะกับลายละเอียด หรือจะใส่แอลกอฮอล์ในขวดหยดสี แล้วเอาไปหยดใส่ลายก็ได้ อันนี้จะคุมยากหน่อย แต่เร็วกว่า ไม่ต้องเติมแอลกอฮอล์บ่อยๆ พอหยดแอลกอฮอล์ไปเรื่อยๆ หมึกปากกา Sharpie จะละลายแล้วแผ่ออกไป จนได้เทคนิคการมัดย้อม
  6. ถ้าเลือกใช้แอลกอฮอล์ ก็ตากแป๊บเดียว ไม่ต้องรอนาน พอเสื้อแห้งแล้ว ก็เอาแก้วออกได้เลย
  7. จะเอาใส่เครื่องอบผ้า (ใช้ความร้อนสูง) สัก 15 นาที หรือรีดเสื้อตรงลายสัก 5 นาทีก็ได้ ถ้าใช้เตารีด น้องๆ หนูๆ ให้ผู้ใหญ่ทำจะปลอดภัยกว่า แต่จุดสำคัญคือต้องใช้ความร้อนสูงสุด [12]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

มัดย้อมแบบดั้งเดิม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจะเป็นวิธีที่ต้องเตรียมการหลายขั้นตอน แต่บอกเลยว่าทำจริงแล้วง่ายแถมสนุก ถ้าผสมเกลือหรือน้ำส้มสายชูในสีย้อมด้วย ก็ไม่ต้องแช่ผ้าไว้นานๆ
  2. สีย้อมผ้าจะโปร่งใส ไม่ใช่สีทึบ ถ้ามัดย้อมผ้าขาว ผลงานที่ได้จะออกมาสีสันสดใสกว่า แต่จะใช้ผ้าสีอ่อนอื่นๆ ก็ได้ เช่น สีพาสเทล เหลือง สีเนื้อ หรือเทาอ่อน แต่ก็ต้องทำใจว่าสีย้อมจะไปกลืนกันกับสีจริงๆ ของผ้า เช่น ถ้าจะมัดย้อมเสื้อเหลืองด้วยสีน้ำเงิน ก็จะออกมาเป็นสีเขียวแทน
    • เสื้อผ้าที่มัดย้อมได้ดีที่สุด คือผ้าคอตตอน ลินิน เรยอน และขนสัตว์ (wool)
    • ให้หลีกเลี่ยงเส้นใยอะคริลิค โลหะ โพลีเอสเตอร์ และผ้ายืด เพราะย้อมสีไม่ค่อยติด หรือไม่ติดเลย [13]
    • จริงๆ แล้วคุณมัดย้อมได้แทบทุกอย่าง ตั้งแต่เสื้อยืด ไปจนถึงกางเกง กระโปรง กระทั่งหมวกแก๊ป
  3. สีย้อมผ้าไม่ได้ย้อมแค่ผ้าขาวที่ใช้ แต่อาจจะเลอะไปถึงเสื้อผ้าที่คุณใส่อยู่ ถ้าไม่ระวัง ที่แน่ๆ คืออาจไประคายผิว ถ้าเลอะมือก็ติดนาน 2 - 3 วัน เราต้องป้องกันไว้ก่อน ทั้งเสื้อผ้าและมือของคุณ โดยสวมใส่อะไรกันเปื้อน เคล็ดลับที่แนะนำก็คือ
    • สวมเสื้อผ้าเก่าๆ ที่เปื้อนหรือสกปรกได้ไม่เป็นไร ถ้าเป็นเสื้อผ้าสีเข้มยิ่งดี เพราะสีย้อมผ้ากระเด็นใส่แล้วไม่เป็นที่สังเกตเหมือนผ้าสีอ่อน
    • ถ้าไม่มีเสื้อผ้าเก่าเหลือใช้ ให้ใส่กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุด แล้วสวมผ้ากันเปื้อนทับอีกที
    • สวมถุงมือพลาสติก เหมือนที่ใส่เวลาล้างจานหรือย้อมผม จริงๆ แล้วมีเสื้อคลุมพลาสติก สำหรับใส่กันเปื้อนเวลามัดย้อมโดยเฉพาะด้วย ลองหาซื้อตามแผนกงานฝีมือ จะเห็นพวกเสื้อขาวกับอุปกรณ์มัดย้อมต่างๆ
  4. มัดย้อมเป็นกิจกรรมที่เลอะเทอะน่าดู ถึงคราบสีจะล้างได้ด้วยแอลกอฮอล์ แต่จะปลอดภัยสุดถ้าออกไปทำนอกบ้านซะเลย แต่ถ้าจำเป็นต้องมัดย้อมในบ้าน ให้ปูหนังสือพิมพ์ทับกันหลายๆ ชั้นบริเวณที่จะมัดย้อม กันเปื้อนไว้ก่อน
  5. เสื้อมัดย้อมส่วนใหญ่จะออกมาสวยน่าใส ถ้าใช้ 2 - 3 สี โดยเลือกที่เป็นแม่สี (แดง เหลือง และน้ำเงิน) หรือสีรอง (ส้ม เขียว และม่วง) [14] ถ้ารู้จำนวนสีที่จะใช้ ก็จะรู้จำนวนถังน้ำที่ต้องใช้ เพราะแต่ละสีต้องแยกถังกันไปเลย
  6. โดยเทน้ำร้อนใส่ถัง เทสีย้อมผ้าลงไป แล้วผสมให้เข้ากัน น้ำที่ใช้ต้องร้อน 60°C (140°F) ขึ้นไป ส่วนใหญ่สีย้อมผ้าต้องเจือจางด้วยน้ำร้อนก่อนใช้งาน แต่จะใช้น้ำมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อสีที่ใช้ โดยทั่วไปคือสีแบบน้ำ ½ ถ้วยตวง (ประมาณ 110 มล.) กับน้ำร้อน 2 - 3 แกลลอน (7.5 - 12 ลิตร) ถ้าเป็นผงสี ต้องละลายกับน้ำร้อน 1 ถ้วยตวง (225 มล.) ซะก่อน แล้วค่อยเอาไปผสมกับน้ำ 2 - 3 แกลลอน [15]
  7. ลองเติมเกลือหรือน้ำส้มสายชูในน้ำสีด้วย สีจะเซ็ตตัวเร็วขึ้น. อาจจะฟังดูแปลกๆ ว่าต้องใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูด้วยเวลาย้อมผ้า แต่บอกเลยว่าถ้าผสมอะไรก็ได้ใน 2 อย่างนี้ลงไปในน้ำสีย้อมผ้า นอกจากสีสดใสขึ้นแล้ว ยังช่วย "ล็อคสี" ให้ติดแน่นทนนานยิ่งขึ้นด้วย พอใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงไปแล้ว ก็คนผสมอีกทีให้เข้ากัน ต่อไปนี้คือวิธีผสมเกลือหรือน้ำส้มสายชูในน้ำสี [16]
    • ถ้าเป็นผ้าคอตตอน ลินิน เรยอน หรือรามี ให้ใส่เกลือ 1 ถ้วยตวง (280 กรัม) ต่อน้ำทุก 3 แกลลอน (11 ลิตร)
    • ถ้าเป็นผ้าไนลอน ผ้าไหม หรือขนสัตว์ ให้ใส่น้ำส้มสายชูกลั่นขาว 1 ถ้วยตวง (225 มล.) ต่อน้ำทุก 3 แกลลอน (11 ลิตร)
  8. จะได้เสื้อมัดย้อมลายไหน ก็แล้วแต่ลักษณะการใช้ยางมัดเสื้อ ต่อไปนี้คือลายมัดย้อมที่คนนิยมกัน
    • ลายทาง (stripes) พับเสื้อไปมาเหมือนพัดกระดาษ หรือเครื่องดนตรี accordion จะพับทางกว้าง ตามยาว หรือพับเฉียงก็ยังได้ จากนั้นมัดยางที่ปลาย แล้วมัดยางอีกเส้นห่างลงไป 2 - 3 นิ้ว (5 - 8 ซม.) ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงปลายเสื้อ จะได้เสื้อออกมาเป็นท่อน
    • ลายพระอาทิตย์ (sunburst) เป็นลายเหมือนแสงแผ่ออกไปกลมๆ โดยที่แต่ละลำแสงหรือแต่ละวง จะเป็นสีต่างกัน วิธีนี้ให้ม้วนเสื้อจากตรงกลาง แล้วดึงเข้าหาตัว มัดปลายด้วยหนังยาง จากนั้นเลื่อนลงไปอีกหน่อย แล้วมัดด้วยยางอีกเส้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ท่อนเสื้อ
    • ลายก้นหอย (spiral) ให้ปูเสื้อบนพื้นราบ ขยุ้มกลางเสื้อขึ้นมาแล้วบิดเล็กน้อย ม้วนไปเรื่อยๆ จนเป็นขดเหมือนขนมซินนามอนโรล จากนั้นมัดยาง "ก้อนเสื้อ" ที่ได้ แล้วมัดยางอีกเส้นไขว้กันเป็นกากบาท จริงๆ แล้วจะมัดเพิ่มอีกหลายๆ เส้นก็ได้ จะได้ยางเฉียงไปมาเหมือนรอยหั่นแบ่งพิซซ่าหรือเค้ก
  9. เอาเสื้อที่มัดแล้ว มาจุ่มบางส่วนลงในสีย้อม ถ้าจะย้อมหลายสี ให้จุ่มสีที่อ่อนที่สุดก่อน โดยแช่เสื้อไว้ 4 - 10 นาทีค่อยเอาออก ถ้าอยากได้สีสดเข้ม ให้แช่เสื้อทิ้งไว้ 30 นาทีเลย [17]
    • ถ้าใช้หลายสี ให้ล้างส่วนที่เพิ่งย้อมด้วยน้ำเย็นก่อน เพื่อกำจัดสีส่วนเกิน บีบน้ำออกจนเสื้อหมาด แล้วค่อยจุ่มสีถัดไป
    • ยิ่งแช่เสื้อไว้ในสีย้อมนานแค่ไหน สีก็ยิ่งออกมาเข้ม
    • ถ้าน้ำร้อนเกินไปจนทำงานไม่สะดวก ให้ใส่ถุงมือล้างจานแทน หรือใช้ตะเกียบ ไม่ก็ที่คีบน้ำแข็งหรือเนื้อแทน เวลาหยิบเสื้อไปมา
  10. พอย้อมเสื้อได้สีตามที่ชอบแล้ว ก็ให้ใช้กรรไกรตัดหนังยางที่มัดเสื้อไว้ แล้วเอาเสื้อออกไปล้างน้ำเย็น กำจัดสีย้อมผ้าส่วนเกิน ให้ล้างน้ำเปล่าจนน้ำใส เสร็จแล้วบิดเสื้อให้หมาด
  11. ซักเสื้อที่มัดย้อมแล้วด้วยน้ำอุ่นกับน้ำยาซักผ้าสูตรถนอมผ้า เสร็จแล้วล้างด้วยน้ำเย็นอีกที จากนั้นตากให้แห้ง หรือจะเอาใส่เครื่องอบผ้าก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ากลัวสีเลอะมือ ให้สวมถุงมือด้วย
  • ให้สวมเสื้อผ้าเก่าๆ ที่ไม่ต้องกลัวเลอะ หรือจะสวมผ้ากันเปื้อน ไม่ก็เสื้อคลุมแบบที่ศิลปินชอบใช้กันเวลาวาดรูปก็ได้ อย่าลืมว่าเรากำลังจะย้อมสีผ้าขาว เพราะงั้นถ้าพลาดก็เลอะเสื้อที่ใส่อยู่แบบติดแน่นทนนานแน่นอน
  • อย่าพยายามเลือกคู่สีตรงกันข้าม (เช่น เขียวแดง ฟ้าส้ม และม่วงเหลือง) ไม่งั้นสุดท้ายสีจะออกมาตุ่นๆ ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลาใช้น้ำร้อนต้องระวังอย่าให้ลวกมือ
  • ถ้าปกติเป็นคนผิวแพ้ง่าย แนะนำให้สวมถุงมือตอนใช้สีย้อมหรือน้ำยาฟอกขาว เพราะอาจเกิดอาการแพ้สารเคมีได้
  • ถ้าเลือกใช้ปากกา Sharpie แอลกอฮอล์ล้างแผล หรือน้ำยาฟอกขาว ต้องทำในห้องที่อากาศถ่ายเทดี ไม่งั้นกลิ่นจะฉุนจนเวียนหัวได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เสื้อขาวธรรมดา
  • สีอะคริลิค และน้ำเปล่า (วิธีการที่ 1)
  • น้ำยาฟอกขาว และน้ำเปล่า (วิธีการที่ 2)
  • ปากกามาร์กเกอร์ Sharpie และแอลกอฮอล์ล้างแผล (วิธีการที่ 3)
  • สีย้อมผ้า น้ำเปล่า เกลือ และ/หรือน้ำส้มสายชู (วิธีการที่ 4)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 34,167 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา