ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

พี่น้องอาจเป็นเพื่อนแสนดีที่อยู่กับคุณไปตลอดชีวิต แต่บางครั้งคุณกับพี่ชาย/น้องชายก็น่าจะต้องปะทะกันบ้าง คุณต้องจัดการกับปัญหาเรื่องพี่น้องอย่างมีสติและใช้เหตุผล เพราะการลดตัวลงไปทำพฤติกรรมแย่ๆ แบบเดียวกับเขามีแต่จะทำให้เรื่องยิ่งบานปลาย ถ้าคุณรู้วิธีที่จะทำให้เขาเลิกกวนใจคุณได้ ความสัมพันธ์ของคุณกับพี่ชาย/น้องชายก็น่าจะดีขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ลดความตึงเครียดระหว่างคุณกับพี่ชาย/น้องชาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าพี่ชาย/น้องชายของคุณกวนประสาทคุณสุดๆ คุณก็อาจจะต้องทำเป็นไม่สนใจเขาชั่วคราว ซึ่งไม่ใช่วิธีการที่ได้ผลมากนักในระยะยาว แต่ถ้าคุณไม่อยากระเบิดลงเพราะความโมโห วิธีการตอบโต้ที่ดีที่สุดก็คือไม่ต้องไปสนใจเขา [1]
    • การไม่ตอบโต้ไม่ได้เป็นสัญญาณของความอ่อนแอ เพราะจริงๆ แล้วการพยายามข่มใจไม่ให้ตัวเองระเบิดลงใส่พี่ชาย/น้องชายหรือลดตัวลงไปทำอะไรไร้สาระเหมือนเขานั้นต้องอาศัยความแข็งแกร่งและความเข้มแข็งกว่ามาก
    • จำไว้ว่าคุณต้องเลือกว่าจะสู้ตอนไหนบ้าง เพราะคุณไม่สามารถต่อล้อต่อเถียงกับพี่ชาย/น้องชายเวลาที่เขากวนใจคุณได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะถ้าเขาไม่ได้เป็นคนช่างพูดเท่าไหร่
    • ถ้าคุณไม่ได้ตอบโต้ในแบบที่เขาต้องการ (อารมณ์เสียหรือรำคาญ) สุดท้ายเขาก็จะเหนื่อยและเลิกไปเอง
  2. ถ้าพี่ชาย/น้องชายกวนใจคุณ คุณก็อาจจะอยากระเบิดอารมณ์ด้วยความโกรธหรือตอบโต้ด้วยพฤติกรรมที่น่ารำคาญพอๆ กัน แต่การตอบโต้แบบนั้นมีแต่จะทำให้เรื่องยิ่งบานปลาย เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกอยากตอกกลับด้วยคำพูดแรงๆ หรือพฤติกรรมก่อกวน ให้จำไว้ว่าการนิ่งและมีสติจะช่วยหยุดพฤติกรรมน่ารำคาญของพี่ชาย/น้องชายได้มากกว่าการแสดงความโกรธ [2]
    • หายใจเข้าลึกๆ และหายใจออกช้าๆ จดจ่ออยู่กับการหายใจเพื่อให้ตัวเองใจเย็นลงได้อย่างรวดเร็ว [3]
    • ลองนับถึง 10 ก่อนค่อยตอบโต้ หายใจเข้าและออกลึกๆ ในระหว่างที่นับถึง 10 และพยายามคิดว่าจะตอบโต้อย่างมีสติและมีเหตุผลอย่างไร
    • ถ้าคุณต้องการเวลาตั้งสติมากกว่า 10 วินาที ให้ออกไปเดินเล่นสักครู่หรือเดินออกจากห้องไปสัก 2-3 นาที บอกเขาว่าเดี๋ยวคุณมา และคิดดูว่าคุณอยากพูดอะไรและพูดแบบไหนถึงจะดีที่สุด
  3. หากคุณสามารถเจรจาสัญญาสงบศึกกับพี่ชาย/น้องชายได้ คุณก็ควรพยายามทำอย่างนั้น ซึ่งบางครั้งคุณเองก็อาจจะต้องยอมเขาในบางเรื่องหรือแม้กระทั่งเอาความต้องการของเขามาก่อนของคุณในช่วงเวลาสั้นๆ แต่สุดท้ายแล้วมันจะช่วยลดความตึงเครียดของสถานการณ์และอาจช่วยไม่ให้เกิดความขัดแย้งในวันข้างหน้าได้ [4]
    • ถามพี่ชาย/น้องชายตรงๆ ว่าเขาต้องการจะบอกอะไรคุณกันแน่
    • ทำให้เขารู้สึกว่าคุณรับฟังและยอมรับความรู้สึกของเขา และพยายามเรียบเรียงสิ่งที่เขาพูดอีกครั้ง เช่น พูดทำนองว่า "หนูว่าหนูเข้าใจสิ่งที่พี่ทำนะ พี่บอกว่าพี่รู้สึก ____ เวลาที่หนู _____ มันก็เลยเกิดปัญหา"
    • พยายามคิดวิธีแก้ปัญหาที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ถามความเห็นของเขา เสนอความเห็นของตัวเอง และพยายามมาเจอกันตรงกลาง
    • คุณต้องเข้าใจว่าไม่มีใครได้อะไรดั่งใจไปเสียทั้งหมด เป้าหมายของวิธีนี้คือการแก้ปัญหาในแบบที่ทำให้คุณและพี่ชาย/น้องชายรู้สึกพอใจในระดับหนึ่ง แม้ว่ามันจะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในแบบที่คุณต้องการก็ตาม
  4. สาเหตุทั่วไปที่ทำให้พี่น้องทำตัวน่ารำคาญก็คือความรู้สึกเบื่อ พี่ชาย/น้องชายของคุณอาจจะเบื่อๆ เซ็งๆ และรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร แทนที่จะสนใจเขาในแง่ลบด้วยการสู้กลับหรือทำตัวน่ารำคาญพอกัน ลองเปลี่ยนไปทำอะไรสนุกๆ และมีประโยชน์ด้วยกันดีกว่า
    • การทำอะไรสนุกๆ ด้วยกันน่าจะดึงความสนใจให้พี่ชาย/น้องชายเลิกทำตัวน่ารำคาญได้อย่างรวดเร็ว และอาจช่วยให้คุณสองคนได้สานสัมพันธ์ผ่านการทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันด้วย
    • ลองออกไปเดินเล่นหรือขี่จักรยานด้วยกัน (ถ้าคุณยังเป็นเด็กอยู่ อย่าลืมขออนุญาตพ่อแม่ก่อน) หรือทำกิจกรรมในบ้านด้วยกัน เช่น ดูหนัง ต่อจิ๊กซอว์ หรือเล่นวิดีโอเกมด้วยกัน (แต่ก็อาจทำให้ยิ่งทะเลาะกันมากกว่าเดิมก็ได้นะ)
  5. พยายามอย่าเก็บคำพูดเยาะเย้ย/พฤติกรรมน่ารำคาญมาคิดมาก. การทำใจไม่ให้โกรธเคืองหรือรำคาญเมื่อโดนพี่ชาย/น้องชายเยาะเย้ย/กวนประสาทเป็นเรื่องยากมากๆ แต่เขาก็ยังเป็นพี่น้องของคุณอยู่วันยันค่ำและเขาก็ห่วงใยคุณ บอกให้เขารู้ว่าเขาทำให้คุณอารมณ์เสียและพยายามหาวิธีแก้ปัญหา แต่อย่าเก็บมาคิดมาก [5]
    • รู้ว่าเขาอาจจะไม่ได้ตั้งใจทำร้ายความรู้สึกคุณ เพราะบางคน (โดยเฉพาะเด็กเล็ก) ก็ยังไม่รู้เรื่อง
    • พี่ชาย/น้องชายของคุณอาจจะจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเมื่อชั่วโมงก่อนเขาพูด/ทำอะไรให้คุณรำคาญหรือเสียใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปเสียเวลาผูกใจเจ็บเลย
    • จำไว้ว่าการปล่อยให้ตัวเองอารมณ์เสียจากพฤติกรรมของเขาจะทำให้เขามีอำนาจเหนือคุณ เพราะถ้าเขารู้ว่าเขากวนใจคุณได้สำเร็จ เขาก็จะยิ่งทำพฤติกรรมที่น่ารำคาญ/ทำให้คุณเสียใจต่อไป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

จัดการกับความอิจฉา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าพฤติกรรมน่ารำคาญอาจมีสาเหตุมาจากความอิจฉา. ถ้าพี่ชาย/น้องชายของคุณอิจฉาชีวิตของคุณในบางแง่มุม เขาก็อาจจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีเพื่อระบายความอัดอั้นออกมา ถ้าคุณคิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากความอิจฉา อย่างน้อยคุณอาจจะต้องพยายามเปิดอกพูดคุยกับพี่ชาย/น้องชายตรงๆ ว่า ความอิจฉาของเขาทำร้ายความรู้สึกของคุณและทำให้คุณสองคนมีปัญหากัน [6]
    • ลองคิดถึงสถานการณ์และช่วงเวลาที่พี่ชาย/น้องชายทำตัวน่ารำคาญใส่คุณ เป็นไปได้ไหมว่าเขาจะอิจฉาเกรด ข้าวของ หรือไลฟ์สไตล์ของคุณ
    • พฤติกรรมของเขาอาจมีที่มาจากความต้องการที่จะระบายความคับข้องใจออกมาอย่างเดียวก็ได้
    • ถ้าพี่ชาย/น้องชายรู้สึกอิจฉาเพราะว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ตอนนี้มันทำให้คุณสองคนไม่ได้ใช้เวลาร่วมกันเหมือนที่เคย วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เขาใจเย็นลงได้ก็คือ การใช้เวลาร่วมกับเขาให้มากขึ้น แต่คุณก็ต้องกำหนดข้อจำกัดและขอบเขตขึ้นมาเพื่อให้เขารู้ว่าเขาต้องไม่ล้ำเส้น
  2. พี่ชาย/น้องชายอาจจะอิจฉาคุณเพราะว่าเขาไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ถ้าคุณทำให้เขารู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นด้วยการค้นหาสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกดี เขาก็อาจจะหลุดจากความรู้สึกอิจฉาได้ [7]
    • ถึงคุณจะไม่สามารถหาสิ่งที่เขาอยากได้อยากมีเหมือนคุณมาให้เขาได้ แต่คุณสามารถช่วยให้เขาเจอสิ่งที่ทำให้เขามีความสุขได้ ซึ่งอาจช่วยควบคุมพฤติกรรมน่ารำคาญของเขาได้อย่างน้อยสักระยะ
    • กล่าวชมสิ่งที่เขาทำได้ดี ถ้าเขาอิจฉาที่คุณเข้าทีมฟุตบอลได้ ให้บอกว่าเขาทำกิจกรรมอื่นๆ เก่งแค่ไหนหรือบอกว่าเขาเรียนเก่งแค่ไหน
  3. สร้างแรงจูงใจให้เขาพยายามทำให้ได้เหมือนคุณ. ถ้าพฤติกรรมน่ารำคาญของพี่ชาย/น้องชายเกิดจากความอิจฉา วิธีหนึ่งที่จะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้ก็คือ ช่วยให้เขาได้ในสิ่งที่คุณมี (หรืออะไรที่คล้ายๆ กัน) แน่นอนว่าคุณอาจจะใช้วิธีนี้ไม่ได้เสมอไป แต่ในบางสถานการณ์มันก็อาจช่วยให้เขาใจเย็นลงได้ และถ้าเขาเห็นว่าคุณพยายามช่วยเขา เขาก็อาจจะเริ่มไม่พอใจคุณน้อยลง [8]
    • ถ้าเขาอิจฉาที่คุณได้เกรดดี เสนอตัวช่วยติวให้เขา
    • ถ้าเขาอิจฉาที่คุณเล่นกีฬาเก่งกว่าเขา ให้เล่นขว้างลูกบอลหรือซ้อมกับเขาเพื่อให้เขาเก่งขึ้น
    • ถ้าเขาอิจฉาที่คุณมีแฟนแต่เขาไม่มี ลองเสนอตัวช่วยเขาชวนใครสักคนไปเดต (ถ้าเขาโตพอที่จะเดตได้แล้ว)
    • ไม่ว่าเขาจะอิจฉาคุณเรื่องอะไร ประเด็นคือคุณต้องทำให้เขาเห็นว่า เขามีโอกาสที่จะได้รับสิ่งต่างๆ นอกเหนือจากที่เขามีอยู่ ถ้าคุณเสนอตัวช่วยให้เขาได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เขาก็จะยิ่งอยากเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของตัวเอง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ขอให้พ่อแม่ช่วย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื่องจากว่าคุณกับพี่ชาย/น้องชายนั้นโตมาด้วยกัน คุณก็อาจจะต้องมีทะเลาะเบาะแว้งกันบ้าง แต่บางครั้งการทะเลาะกันมันก็เลยเถิดจนเริ่มทำตัวเป็นศัตรูกันหรือแสดงพฤติกรรมกลั่นแกล้ง ในกรณีเหล่านี้คุณควรขอให้พ่อแม่เข้ามาไกล่เกลี่ยสถานการณ์และจัดการตามความจำเป็นจึงจะดีที่สุด [9]
    • การหาเรื่องพี่น้องเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าพี่ชาย/น้องชายของคุณยังทำให้คุณเจ็บปวดเรื่องเดิมๆ อยู่หลายวันหรือหลายสัปดาห์ ก็อาจจะเข้าข่ายพฤติกรรมกลั่นแกล้ง
    • ถ้าพี่ชาย/น้องชายของคุณไม่ขอโทษ ไม่พยายามขอคืนดีหลังจากทะเลาะกัน หรือยังแสดงท่าทางเกลียดชังคุณตลอดเวลา นั่นเป็นสัญญาณของการกลั่นแกล้ง
    • ความได้เปรียบบางอย่าง เช่น ตัวโตกว่า/แก่กว่า/ดังกว่า สามารถทำให้ความอิจฉาระหว่างพี่น้องทั่วๆ ไปกลายเป็นการกลั่นแกล้งกันได้
    • ถ้าคุณคิดว่าพี่ชาย/น้องชายกลั่นแกล้งคุณจริงๆ ให้พูดคุยกับพ่อแม่ทันที
  2. ถ้าคุณคิดว่าสถานการณ์มันเลยเถิดและไม่สามารถตกลงกันเองได้ คุณควรให้พ่อหรือแม่หรือทั้งพ่อและแม่เข้ามาเป็นคนกลางเวลาพูดคุยกัน วิธีนี้ช่วยให้ทั้งคุณและพี่ชายได้แสดงความคิดเห็นและความรู้สึกที่มีต่อความขัดแย้งในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและพร้อมจะช่วยเหลือ นอกจากนี้พ่อแม่ยังช่วยรักษาความสงบเมื่อเกิดความไม่ลงรอยและออกคำสั่งได้ว่าจะต้องทำอย่างไรในท้ายที่สุด [10]
    • ให้พ่อแม่คุยกับคุณและพี่ชาย/น้องชายแยกกันก่อน จากนั้นค่อยมาคุยรวมกันเป็นครอบครัว
    • ขอให้พ่อแม่พยายามหาวิธีแก้ปัญหาที่ทำให้ทุกคนพอใจ ตามหลักการแล้วคุณควรได้ข้อสรุปที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย
    • ถ้าคุณตกลงพบกันคนละครึ่งทางกับพี่ชาย/น้องชายไม่ได้ การตัดสินใจของพ่อแม่ในเรื่องนี้น่าจะช่วยแก้ไขความขัดแย้งได้
  3. ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจพฤติกรรมก้าวร้าว น่ารำคาญ หรือสร้างปัญหาของพี่ชาย/น้องชาย คุณก็อาจจะต้องพูดเรื่องนี้กับพ่อแม่ ขอให้พ่อแม่ยุติธรรมและใช้กฎเดียวกันทั้งกับคุณและพี่ชาย/น้องชาย และบังคับใช้กฎเพื่อรักษาความสงบ [11]
    • พ่อแม่อาจไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้นหรือไม่รู้ว่ามันใหญ่โตแค่ไหน
    • พ่อแม่มักจะต้องเจอปัญหาทั้งที่ทำงานและครอบครัว เพราะฉะนั้นแจ้งปัญหาให้พ่อแม่รับรู้ก็ต่อเมื่อคุณไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง
  4. พยายามวางแผนกิจกรรมครอบครัวที่ทุกคนได้มีส่วนร่วม. วิธีนี้อาจไม่สามารถทำให้พี่ชาย/น้องชายเลิกทำให้คุณรำคาญได้ในทันที แต่มันช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องแน่นแฟ้นขึ้น และยังเป็นการพักจากความตึงเครียดระหว่างคุณสองคนที่สะสมอยู่ภายในบ้านด้วย [12]
    • บางครั้งการออกไปนอกบ้านและได้มีช่วงเวลาดีๆ ร่วมกันก็ช่วยสร้างความผูกพันระหว่างพี่น้องได้
    • อย่างน้อยที่สุดการออกไปเที่ยวเป็นกลุ่มน่าจะช่วยเบี่ยงเบนพี่ชาย/น้องชายจากพฤติกรรมก่อกวนได้
    • คุณสามารถใช้ช่วงเวลาที่คุณได้อยู่กับครอบครัวค้นหาสิ่งที่ทำให้ทุกคนมีความสุข และพยายามทำสิ่งเหล่านั้นในชีวิตประจำวัน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

กำหนดขอบเขตระหว่างคุณกับพี่ชาย/น้องชาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าคุณจะเป็นพี่หรือน้อง คุณก็อาจจะรู้สึกหงุดหงิดที่ต้องอยู่ด้วยกันบ่อยๆ หากเขาทำตัวน่ารำคาญ ถ้าพ่อแม่ให้คุณช่วยดูแลน้องชายบ่อยๆ หรือให้คุณพาเขาไปด้วยเวลาออกไปข้างนอก ให้พูดคุยกับพ่อแม่ว่าคุณต้องการเวลาส่วนตัวหรืออยู่กับเพื่อนๆ โดยไม่มีน้องชาย [13]
    • ความรู้สึกอยากเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเองที่มากขึ้นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ใหญ่ที่สุดที่ทำให้พี่น้องทะเลาะกันเวลาอยู่ด้วยกัน
    • บอกให้พ่อแม่รู้ว่า คุณให้ความสำคัญกับช่วงเวลาที่ได้อยู่กับครอบครัว แต่คุณก็อยากอยู่ตามลำพังหรือกับเพื่อนๆ มากกว่านี้
    • บอกพ่อแม่ว่าคุณกับพี่ชาย/น้องชายก็ยังคงสนิทกันได้แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยกันมากเหมือนแต่ก่อน และอาจทำให้เวลาที่คุณได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาที่มีคุณภาพมากขึ้นก็ได้
  2. พ่อแม่อาจจะขอให้คุณช่วยดูน้องบ่อยๆ แล้วแต่อายุและสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นคุณก็จะไม่มีเวลาและพื้นที่ส่วนตัว พูดคุยกับพ่อแม่เพื่อหาทางเลือกอื่นหรือหาทางประนีประนอม
    • ขอให้พ่อแม่จ้างพี่เลี้ยง ถ้าพ่อแม่คัดค้านความคิดนี้ อย่างน้อยก็ให้ขอค่าขนมเพิ่มหรือค่าตอบแทนในการเป็นพี่เลี้ยง
    • หรือคุณอาจลองเสนอว่า คุณจะเป็นพี่เลี้ยงให้น้องชายสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งต่อไปหากคุณได้เวลาในวันหยุดเสาร์อาทิตย์เป็นของตัวเองโดยไม่มีน้องชาย
    • คุณควรคุยเรื่องนี้ตอนที่น้องชายไม่อยู่ด้วยจะดีที่สุด เพราะเขาอาจจะเสียใจหรือคัดค้าน เด็กเล็กๆ มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมคนที่โตกว่าถึงมีความรับผิดชอบหรืออิสระมากกว่า
  3. ถ้าเพื่อนๆ หรือแฟนมาบ้าน คุณต้องกำหนดขอบเขตกับพี่ชาย/น้องชาย แขกของคุณไม่ควรต้องมาเจอพฤติกรรมน่ารำคาญของพี่ชาย/น้องชาย โดยเฉพาะหากเขาทำพฤติกรรมแบบนั้นใส่เพื่อนๆ ของคุณ
    • บอกให้เขาหยุด ถ้าเขาไม่ฟัง ลองบอกพ่อแม่
    • ชวนเพื่อนมาบ้านตอนที่คุณรู้ว่าเขาจะไม่อยู่บ้านหรือขลุกอยู่กับเพื่อนๆ
    • ถ้าพี่ชาย/น้องชายของคุณไม่ยอมหยุดและพ่อแม่ก็ไม่ได้เข้ามาแทรกแซง การล็อกประตูก็อาจเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณได้สิทธิ์ในการมีพื้นที่ส่วนตัวเวลาเพื่อนมาบ้าน
    • ขอพ่อแม่ก่อนที่คุณจะติดตั้งกลอน ไม่อย่างนั้นพ่อแม่อาจจะไม่พอใจหรือสงสัย
  4. ถ้าคุณกับพี่ชาย/น้องชายเข้ากันได้ดีพอสมควร การนอนห้องเดียวกันจะเป็นการสร้างความผูกพันที่ดีมาก แต่ถ้าคุณเข้ากันไม่ได้หรือแค่ต้องการพื้นที่ส่วนตัว ขอให้พ่อแม่จัดบ้านใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ เช่น อาจจะมีห้องเหลือที่ใช้เป็นห้องทำงานฝีมือหรือห้องทำงานที่อาจเปลี่ยนเป็นห้องนอนเสริมได้ หรือคุณจะใช้ห้องนั้นเป็นห้องเด็กเล่นก็ได้ [14]
    • การมีห้องเป็นของตัวเองก็อาจเป็นไปไม่ได้แล้วแต่สภาพความเป็นอยู่ของคุณ คุณอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ที่ทำให้คุณกับพี่ชาย/น้องชายไม่ได้สามารถมีห้องของตัวเองได้
    • ถ้าครอบครัวมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ คุณก็อาจปรับห้องใหม่เพื่อให้คุณได้มีพื้นที่ของตัวเอง พูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการเปลี่ยนห้องทำงานเป็นห้องนอน หรือเปลี่ยนห้องใต้หลังคาหรือส่วนต่อเติมบางส่วน
    • เวลาพูดคุยและขอร้องพ่อแม่ พยายามเรียบเรียงคำพูดให้เป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว เพราะพ่อแม่มีแนวโน้มที่จะจัดการให้มากกว่าหากเป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว ไม่ใช่แค่ปัญหาทะเลาะเบาะแว้งประเดี๋ยวประด๋าว
    • คุณอาจจะพูดประมาณว่า "แม่คะ พ่อคะ หนูรู้ว่าบ้านเราไม่ได้มีพื้นที่เหลือมากเท่าไหร่ แต่ตอนนี้หนูเองก็เริ่มโต และถ้าหนูมีห้องส่วนตัวได้ก็คงจะดี หนูจะได้มีพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น"
    • ถ้าพ่อแม่วางแผนจะย้ายบ้าน บอกให้พวกเขารู้ว่าคุณจะดีใจมากหากพ่อแม่จะคิดเรื่องการแยกห้องนอนเวลาเลือกบ้านใหม่ด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้เขาง่วนอยู่กับการทำอะไรสักอย่าง เขาจะได้ไม่มารบกวนคุณ
  • อย่าต่อล้อต่อเถียง เพราะเขาแค่อยากทำให้คุณหัวร้อน เพราะฉะนั้นคุณจะปล่อยให้มันมากวนใจคุณทำไม ถ้าคุณควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ หายใจลึกๆ และบอกเขาดีๆ ว่าคุณอยากอยู่คนเดียวสักพัก
  • ลองทำในสิ่งที่เขาชอบ และเมื่อทำเสร็จแล้วก็บอกเขาว่าคุณต้องการเวลาส่วนตัว หวังว่าเขาจะให้พื้นที่กับคุณบ้างนะ
  • พยายามดีกับพี่ชาย/น้องชาย และเตือนเขาว่าวันนึงเขาอาจจะมีแค่คุณที่เป็นครอบครัวก็ได้
  • ลองบอกพี่ชาย/น้องชายดีๆ ว่าเขาเองก็คงไม่ชอบถ้าคนอื่นมาทำกับเขาแบบเดียวกับที่เขาทำกับคุณ เขาอาจจะไม่รู้ตัวว่าพฤติกรรมของเขาแย่แค่ไหน
  • เป็นผู้ใหญ่และทำให้เขาเห็นว่าต้องทำตัวอย่างไร อย่าไปสั่งสอนเขา แต่ประพฤติตัวให้ดีและเป็นแบบอย่างที่ดี
  • ถ้าทำทุกวิถีทางแล้วก็ยังไม่ได้ผล ไม่ต้องไม่สนใจเขา เดี๋ยวเขาก็เบื่อและเลิกกวนคุณเอง
  • ทำให้เขาสนใจสิ่งเดียวกันกับคุณ คุณอาจจะผูกพันกันมากขึ้น
  • ทำให้เขารู้ว่าคุณสนับสนุนเขา ถ้าเขามีงานใหญ่ ให้ไปร่วมงานและส่งกำลังใจให้เขา!
  • ทุกครั้งที่เขากวนประสาทคุณ เป็นไปได้ว่าเขาอิจฉาอะไรคุณสักอย่าง
  • อย่าลดตัวลงไปเสมอกับเขา ถ้าจำเป็นให้บอกปัญหาให้ผู้ใหญ่ที่คุณไว้ใจทราบ ถ้าเขาปฏิเสธว่าไม่ได้ทำอะไรคุณเลย ให้ถ่ายภาพตอนที่เขาทำตัวแย่ๆ มาให้ผู้ใหญ่ดู พวกเขาจะได้เชื่อในสิ่งที่คุณพูด
  • พยายามทำให้เขาหยุดด้วยการทำให้เขารู้สึกสนุก เขาอาจจะเบี่ยงเบนความสนใจมาที่ความสนุกสนานแทน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าพี่ชาย/น้องชายเริ่มใช้กำลัง บอกให้เขาหยุดแล้วไปบอกพ่อแม่ เพราะการสู้กลับมีแต่จะทำให้เขายิ่งไม่พอใจและโกรธ
  • เมื่อพี่ชาย/น้องชายเริ่มใช้กำลัง บอกพ่อแม่แต่ไม่ต้องสู้กลับ เพราะถ้าคุณสู้เขากลับ เขาก็น่าจะบอกพ่อแม่และคุณก็จะซวยไปด้วย
  • อย่าล้อเลียนหรือทุบตีเขา
  • อย่าทำพฤติกรรมที่ไม่ดี ถ้าพี่ชาย/น้องชายพยายามจะเยาะเย้ยคุณ ให้บอกผู้ใหญ่หรือไม่ก็เดินหนี
  • อย่าใช้คำพูดหยาบคายเด็ดขาดเพราะจะทำให้คุณมีปัญหากับพ่อแม่
  • ถ้าไม่มีใครช่วยเหลือเรื่องที่คุณถูกพี่ชาย/น้องชายกลั่นแกล้ง ให้โทรหามูลนิธิสายเด็กหรือตำรวจหรือติดต่อเพจในโซเชียลมีเดีย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,088 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา