PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ท้องผูกเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับเด็กๆ บางทีก็เกิดช่วงฝึกเด็กนั่งกระโถน หรือในเด็กโตที่ติดเล่นซะจนไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ แค่คุณเปลี่ยนพฤติกรรมหรือกิจกรรมบางอย่างของเด็กก็ช่วยได้แล้ว แต่ถ้าเด็กท้องผูกนานเกิน 2 อาทิตย์ ควรพาไปหาหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าต้องกินยาหรือเปล่า [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักอาการท้องผูกในเด็ก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กที่ท้องผูกมักเลี่ยงไม่เข้าห้องน้ำเพราะเบ่งอึแล้วเจ็บ บางคนอาจถึงขั้นเกร็งก้นบิดตัวไม่ให้อึออกมา อาการที่บอกได้ว่าลูกของคุณกำลังท้องผูกก็คือ [2]
    • อึไม่ค่อยออก
    • อึแห้งแข็ง มีเลือดปนหรือไม่มีก็ได้
    • อึน้อยกว่า 3 ครั้งต่ออาทิตย์
    • เบ่งอึแล้วเจ็บ
    • คลื่นไส้
    • ปวดหรือเจ็บที่ท้อง
    • อึน้อย เป็นน้ำหรือเหลวเหมือนโคลน อาจเลอะตามกางเกงชั้นในของเด็กด้วย
  2. บางสถานการณ์อาจทำเด็กท้องผูกไม่รู้ตัว เช่น [3]
    • ไม่ค่อยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว
    • กินอาหารที่มีกากใยน้อย
    • ไม่ค่อยดื่มน้ำ
    • กินยาที่ทำให้ท้องผูกได้ เช่น ยาต้านเศร้า (antidepressants) บางตัว
    • รูก้นหรือทวารหนักผิดปกติ
    • มีคนในครอบครัวหรือญาติที่มักท้องผูก
    • มีความผิดปกติทางระบบประสาท (neurological) เช่น โรคสมองพิการ (cerebral palsy หรือ CP)
    • มีปัญหาด้านอารมณ์ หรือเพิ่งพบเจอเรื่องเครียดหรือกังวล
    • ไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ (underactive thyroid) หรือปัญหาอื่นๆ ด้านการเผาผลาญ (metabolic)
  3. ถ้าลูกมีอาการอื่นที่รุนแรงขึ้น ให้รีบพาไปหาหมอ. ปกติท้องผูกจะไม่มีอาการแทรกซ้อน หรือลามไปเป็นโรคอื่นที่ร้ายแรง แต่ถ้ามีก็เช่น [4]
    • ไข้ขึ้น
    • อ้วก
    • อึมีเลือดปน
    • ท้องป่อง/อืด
    • น้ำหนักลด
    • ผิวหนังรอบๆ รูก้นฉีกขาด
    • ไส้ตรงปลิ้น (rectal prolapse) คือลำไส้ส่วนปลายโผล่ออกมาจากรูก้น
    • ฉี่บ่อยหรือฉี่แล้วเจ็บ แสดงว่าติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) เป็นเรื่องที่พบได้ในเด็กที่ท้องผูก
    • กินน้อยลง ไม่ค่อยอยากกิน
    • เจ็บ/ปวดท้องรุนแรงหรือบ่อยๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

อึง่ายถ่ายคล่องด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเคล็ดลับง่ายๆ แบบทำได้เอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อึจะได้นิ่มลง เบ่งง่าย ให้ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้นี่แหละดีที่สุด [5]
    • เด็กบางคนดื่มนมแล้วก็ท้องผูกได้
    • ห้ามให้เด็กดื่มอะไรที่มีคาเฟอีน อย่างชาหรือน้ำอัดลม [6]
    • ปริมาณน้ำที่เด็กควรดื่มจะต่างออกไปตามอายุ ความหนักเบาของกิจกรรมที่ทำ แล้วก็ภูมิอากาศในถิ่นที่อยู่ แต่ถ้าเด็กอ่อนเพลียและฉี่ขุ่นหรือสีเข้ม แสดงว่าเด็กขาดน้ำ
  2. ไฟเบอร์หรือกากใยจะทำให้อึนิ่มขึ้น เบ่งง่าย อาหารกากใยสูงก็เช่น ถั่ว ขนมปังโฮลเกรน ผัก และผลไม้ต่างๆ ส่วนปริมาณที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยคือ [7]
    • ประมาณ 20 กรัมต่อวัน สำหรับเด็กเล็ก
    • ประมาณ 29 กรัมต่อวัน สำหรับสาววัยรุ่น
    • ประมาณ 38 กรัมต่อวัน สำหรับหนุ่มวัยรุ่น
  3. ให้เด็กกินอาหารที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบายอย่างอ่อนและไฟเบอร์สูง. ส่วนใหญ่จะเป็นพวกผลไม้ที่น้องๆ หนูๆ ชอบกินกันอยู่แล้ว ก็คือ [8] [9]
    • ลูกพรุน
    • ลูกพีช
    • ลูกแพร์
    • พลัม
    • แอปเปิ้ล
    • แอปริคอต
    • ราสพ์เบอร์รี่
    • สตรอว์เบอร์รี่
    • ถั่วฝักเมล็ดไม่กลม (beans)
    • ถั่วฝักเมล็ดกลม (peas)
    • ผักปวยเล้ง (Spinach)
  4. อาหารที่ว่าก็เช่น [10]
    • นมและผลิตภัณฑ์นมทั้งหลาย (สำหรับเด็กบางคน)
    • แครอท ฟักทองสควอช (squash) มันฝรั่ง กล้วย และอาหารอื่นๆ ที่เน้นแป้ง
    • อาหารสังเคราะห์หรือแปรรูปที่อุดมไขมัน น้ำตาล และเกลือ แถมไฟเบอร์ต่ำ พวกนี้กินบ่อยๆ จะทำเด็กท้องผูกง่าย รวมถึงเด็กจะอิ่มง่ายจนไม่ยอมกินอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์และกากใยสูงกว่า
  5. หาเวลาให้เด็กเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายบ่อยๆ. จะได้กระตุ้นลำไส้ให้ทำงาน อึง่ายถ่ายคล่อง กิจกรรมที่ว่าก็เช่น [11]
    • พาเด็กไปสนามเด็กเล่น จะได้วิ่งไปมาหรือปีนป่ายเครื่องเล่นต่างๆ
    • ชวนขี่จักรยาน
    • พาไปว่ายน้ำ
  6. หลังกินอาหารแต่ละมื้อเสร็จประมาณ 30 - 60 นาที ลองให้ลูกนั่งเบ่งอึที่โถส้วมอย่างน้อย 10 นาที ระหว่างนี้จะฝึกหายใจและผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปด้วยก็ได้ เด็กจะได้หายเครียดหรือกลัวว่าถ้าเบ่งอึแล้วจะเจ็บ [12] [13] [14] [15]
    • หายใจเข้าออกลึกๆ เด็กจะได้จดจ่ออยู่กับลมหายใจและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
    • ชวนลูกจินตนาการถึงอะไรที่สนุกผ่อนคลาย ให้การเบ่งอึไม่น่ากลัวหรือเชื่อมโยงกับความเจ็บปวด
    • นวดท้องลูกเบาๆ ก่อนลองเบ่งอึ
    • ให้กำลังใจลูก แล้วอย่าลืมให้รางวัลที่ลูกพยายามเบ่งอึ จะให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ อย่างสติกเกอร์ หรือให้เล่นเกมโปรดก็ได้
    • หาเก้าอี้เตี้ยๆ มาให้ลูกวางเท้า เข่าจะได้อยู่สูงกว่าสะโพก แบบนี้จะทำให้เบ่งอึง่ายขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปรึกษาคุณหมอ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองถามคุณหมอเรื่องให้ลูกกินยาอึนิ่มที่มีขายตามร้านขายยา. อาหารเสริมเน้นไฟเบอร์ หรือยาอึนิ่ม (stool softeners) จะทำให้ลูกอึง่าย เบ่งแล้วไม่เจ็บ ปกติก็มีขายตามร้านขายยาทั่วไป แต่จะดีที่สุดถ้าปรึกษาคุณหมอก่อนให้เด็กกินยา [16]
    • คุณหมอจะได้แนะนำปริมาณยาที่เหมาะสมกับอายุและน้ำหนักของเด็ก
    • ไฟเบอร์เสริม (fiber supplements) ที่นิยมกินกันก็เช่น Metamucil หรือ Citrucel อาหารเสริมพวกนี้จะยิ่งเห็นผลถ้าให้ลูกดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ลิตรต่อวัน
    • ยาเหน็บกลีเซอรีน (Glycerin suppositories) ก็ช่วยได้ แต่อย่าใช้บ่อย
  2. ห้ามให้ลูกกินยาระบาย (laxatives) โดยไม่ได้ปรึกษาคุณหมอ. [17] ถ้าอึไปอุดตันหรือปิดกั้นลำไส้ ก็คงจำเป็นต้องให้เด็กกินยาแรงขึ้นเพื่อขับอึออกมา แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของหมอ ยาระบายมีด้วยกันไม่กี่แบบ ก็คือ [18] [19]
    • Mineral oil แบบผสมปรับสูตรเอง
    • ยาระบายเพิ่มมวล (Bulk-forming laxatives) เช่น Ispaghula husk, Methylcellulose และ Sterculia ที่ช่วยร่างกายกักเก็บของเหลวจนอึนิ่มแฉะขึ้น
    • ยาระบายแบบดูดน้ำ (Osmotic laxatives) เช่น Lactulose, Macrogols และ MiraLax ช่วยให้อึง่ายขึ้นเพราะไปเพิ่มน้ำให้ลำไส้
    • ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (Stimulant laxatives) เช่น Senna, Bisacodyl และ Sodium Picosulphate ยานี้ใช้เวลาอึนิ่มดีแล้ว แต่ร่างกายเด็กไม่ยอมเบ่งออกมา เพราะจะไปกระตุ้นกล้ามเนื้อของทางเดินอาหาร (digestive tract) ให้บีบรัดแล้วดันของเสียออกมาเป็นอึ เรียกว่าเป็นวิธีสุดท้ายสำหรับรักษาอาการท้องผูกในเด็ก และสงวนไว้ใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็นชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น [20]
  3. ถ้าอึแห้งแข็งสะสมในทวารหนักหรือลำไส้ ก็อาจต้องสวนล้างออกมาด้วยยาเหน็บ บอกเลยว่าต้องให้คุณหมอช่วยทำให้เท่านั้น หรือทำเองโดยปฏิบัติตามขั้นตอนและคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด [21]
    • ยาเหน็บ หรือ suppository เป็นยาที่หน้าตาเหมือนแคปซูลแต่ใช้สอดเข้าไปในรูก้นให้ละลายซึมเข้าไป ตัวยาที่นิยมใช้กันคือ Bisacodyl กับ Glycerine
    • ส่วนการสวนล้าง (enema) คือการใช้ยาน้ำสวนผ่านรูก้นให้ไหลเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นวิธีชะล้างอึที่ค้างแข็งได้รวดเร็วและเห็นผลที่สุด
    โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามให้ลูกกินยาระบายหรือสวนล้างให้เองโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะปริมาณยาที่ใช้ต้องตรงตามที่แนะนำเป๊ะๆ ถ้าปล่อยเป็นหน้าที่ของคุณหมอจะดีที่สุด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,364 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา