ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีหลายครั้งที่การที่พี่/น้องของเราพูดไม่หยุดอาจทำลายช่วงเวลาดีๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่คุณคุยโทรศัพท์ นั่งเล่นเรื่อยเปื่อย หรือแม้กระทั่งตอนเดต คุณอาจจะรู้สึกเหลืออดที่พี่/น้องไม่ยอมหยุดพูดสักที และหลายคนก็ไม่รู้ว่าจะต้องรับมือกับเรื่องนี้ยังไง ขั้นตอนง่ายๆ ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังจากการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาอาจจะช่วยทำให้ความขัดแย้งดีขึ้นได้ และทำให้พี่/น้องของคุณพูดน้อยลงด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รับมือในตอนนั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ออกไปทำธุระเพื่อที่จะได้ไม่ต้องอยู่กับพี่/น้อง ถ้าพ่อแม่ไม่ไว้ใจให้คุณออกไปไหนคนเดียว ให้ชวนเพื่อนไปด้วย ใส่หูฟังเพื่อกันเสียงรอบข้าง วิธีนี้อาจจะช่วยให้คุณไม่ไปจดจ่อกับสิ่งที่พี่/น้องพูด อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ายิ่งคุณตอบโต้พี่/น้องน้อยเท่าไหร่ เขาก็จะยิ่งมากวนใจคุณน้อยลง การหาอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อช่วยให้คุณเพิกเฉยกับสถานการณ์ได้จะทำให้พี่/น้องของคุณหุบปากไปเอง
  2. บางครั้งถ้ามีใครมาแกล้งเราหรือมาทำให้เรารำคาญ ก็เป็นเพราะว่าเขาอยากได้ความสนใจจากเรา การทำเป็นเฉยๆ ไม่สนใจเป็นการสื่อสารที่ทรงพลังมาก เพราะมันบอกให้เขารู้ว่าคุณอยู่เหนือการเย้าแหย่และไม่อยากจะอารมณ์เสียไปด้วย
    • จำไว้ว่าคุณเป็นคนที่มีคุณค่า ถ้าพี่/น้องมาดูถูกคุณหรือพยายามทำให้คุณรู้สึกแย่ นั่นเป็นปัญหาของเขา ไม่ใช่ของคุณ
    • การลดตัวไปอยู่ระดับเดียวกับพี่/น้อง ถึงคุณจะอยากทำแค่ไหน ก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น อย่าตอกกลับคำดูถูกด้วยคำดูถูก แค่เมินใส่คนที่มากวนประสาทคุณกลับไป
    • พยายามอย่าให้พี่/น้องรู้เด็ดขาดว่าคุณเสียใจ แม้ว่ามันเป็นเรื่องปกติที่จะเสียใจเวลาที่มีใครใจร้ายกับเรา แต่พี่/น้องของคุณจะรู้สึกดีถ้าคุณรู้สึกแย่ เพราะฉะนั้นการเมินพี่/น้องไปเลยจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
  3. เดินเข้าห้อง ถ้าพี่/น้องของคุณตามเข้าไป บอกให้เขาออกไปจากห้อง ห้องนอนเป็นพื้นที่ส่วนตัวของคุณ เพราะฉะนั้นพ่อแม่น่าจะเข้าข้างคุณถ้าคุณต้องขอให้พ่อแม่มาบอกให้พี่/น้องออกจากห้องของคุณ บางครั้งการเลี่ยงสถานการณ์นั้นๆ ก็เป็นวิธีการรับมือที่ดีที่สุด หรือคุณอาจจะไปนั่งเล่นในบ้านตรงบริเวณที่พี่/น้องไม่น่าจะเข้าไปก็ได้ [1]
  4. ถ้าคุณไม่สนใจหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ก็แล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผล คุณอาจจะต้องพูดออกไปตรงๆ การพูดสิ่งที่คิดออกไปอย่างมั่นใจเวลาที่โดนแกล้งหรือระรานอาจช่วยให้พี่/น้องของคุณหุบปากได้
    • จำไว้ว่าคุณมีสิทธิ์ที่จะได้รับความเคารพเมื่ออยู่ที่บ้าน การที่พี่/น้องมาแกล้งคุณก็ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์นั้น เพราะฉะนั้นคุณจึงสามารถพูดออกไปได้ตรงๆ และปกป้องตัวเองได้ [2]
    • อย่างที่บอกว่าคุณไม่ควรลดตัวลงไปอยู่ระดับเดียวกับพี่/น้องและตอกกลับคำดูถูกด้วยคำดูถูก แต่คุณสามารถตอบโต้เพื่อป้องกันตัวเองจากคำดูถูกได้ ถ้าพี่/น้องของคุณไม่ยอมเลิกรา ให้บอกเขาอย่างหนักแน่นว่าเพราะอะไรสิ่งที่เขาพูดถึงไม่โอเค เช่น ถ้าพี่/น้องลองคุณล้อคุณเรื่องเสื้อที่คุณใส่ คุณก็อาจจะพูดกลับไปว่า "ก็เสื้อตัวนี้มันเป็นของพี่แล้วพี่ก็ชอบใส่ ไม่เห็นจะต้องใส่ใจอย่างอื่นเลย ถึงเธอจะล้อพี่ พี่ก็จะไม่เปลี่ยนการแต่งตัวอยู่ดี" [3]
  5. คุณสามารถใช้อารมณ์ขันต่อสู้กับการถูกหยอกล้อได้ อารมณ์ขันสื่อถึงความสบายใจที่จะเป็นตัวของตัวเอง แล้วพี่/น้องของคุณจะรู้สึกว่าความมั่นใจในตัวเองแบบนี้น่ากลัว
    • กลับไปที่ตัวอย่างเรื่องเสื้ออีกครั้ง ถ้าพี่/น้องของคุณพูดอยู่นั่นแหละว่าเสื้อของคุณน่าเกลียด ก็ตอบกลับไปว่า "พี่คงชอบเสื้อผ้าน่าเกลียดๆ ล่ะมั้ง แต่ก็นะ รสนิยมแย่ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่สุดในโลกหรอก!" [5]

    เคล็ดลับ: รับรู้สิ่งที่พี่/น้องพูดออกมาแบบขำๆ วิธีนี้แสดงให้เห็นว่าคุณยอมรับข้อบกพร่องของตัวเองได้ พี่/น้องอาจจะล้อเลียนคุณเพราะเขารู้สึกไม่มั่นคง และพวกเขาจะต้องตกใจที่คุณสบายใจที่จะเป็นตัวเองได้ขนาดนั้น [4]

  6. คุณอาจจะไม่ได้อยากให้พี่/น้องหุบปากเพราะเขาทำคุณประสาทเสียเสมอไป พี่/น้องของคุณอาจจะแค่พูดมากเฉยๆ ถ้าเป็นอย่างนั้น พยายามฟังเท่าที่จะฟังได้ ขณะที่ฟังก็พยายามทำความเขาใจว่าพี่/น้องของคุณต้องการจะสื่ออะไรและทำไม เขาใจร้ายกับคุณหรือหัวเราะเยาะคุณหรือเปล่า ทำไมเขาถึงรู้สึกว่าตัวเองต้องทำแบบนั้น เขาพยายามจะอธิบายสิ่งที่อยู่ในหัวออกมาเป็นคำพูดแต่สื่อออกมาไม่ได้หรือเปล่า มีอะไรที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยให้เขาสื่อสารออกมาได้ง่ายขึ้นมั้ย [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

พูดถึงปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณทะเลาะกับพี่/น้องบ่อยๆ คุณอาจจะอยากพูดคุยถึงปัญหานี้กับเขา เริ่มจากการพูดถึงปัญหาที่ชัดเจนก่อน ก็คือสิ่งที่กวนใจคุณเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆ และเหตุผลว่าทำไมมันถึงกวนใจคุณ คุณต้องพูดถึงมุมมองของตัวเองก่อนแล้วให้โอกาสพี่/น้องได้พูดออกมาบ้าง หลังจากที่พี่/น้องพูดไปแล้วสักพัก ให้ขัดจังหวะด้วยการพูดว่า "พี่ไม่ชอบที่แกพูดกับพี่แบบนี้เลย" หรือ "พี่รู้สึกเหมือนแกพูดอยู่คนเดียวเลย" พยายามนิ่งให้ได้มากที่สุด การทำตัวเป็นฝั่งตรงข้ามและพยายามที่จะตะคอกใส่อีกฝ่ายมีแต่จะทำให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น [7]
  2. เวลาที่พูดถึงปัญหา คุณต้องใช้คำพูดที่ขึ้นต้นด้วย "ฉัน" คำพูดแบบนี้เป็นการพยายามพูดถึงสิ่งต่างๆ ในแง่ของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นข้อเท็จจริง วิธีนี้จะช่วยได้มากเวลาที่คุณคุยกับพี่/น้องตรงๆ เพราะเขาจะรู้สึกว่าคุณแสดงความรู้สึกและอารมณ์ของตัวเองมากกว่าที่จะพยายามเอาปัจจัยภายนอกมาตัดสินสถานการณ์
    • คำพูดที่ขึ้นต้นด้วยฉันจะเริ่มด้วย "ฉันรู้สึก" หลังจากพูดว่า "ฉันรู้สึก" ออกมาแล้ว ให้คุณอธิบายอารมณ์ของตัวเอง จากนั้นก็อธิบายพฤติกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนั้น การใช้คำพูดที่ขึ้นต้นด้วย "ฉัน" ช่วยบรรเทาความขัดแย้งได้เพราะมันฟังดูไม่ใช่การตัดสิน คุณไม่ได้ด่วนตัดสินสถานการณ์หรือโทษว่าเป็นความผิดของใคร แต่คุณแค่พูดออกมาว่าสถานการณ์นั้นๆ ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร
    • เช่น อย่าพูดว่า "แกไม่เกรงใจพี่บ้างเลยเวลาแกพูดแทรกตอนที่พี่พูดอยู่ และทำให้พี่รู้สึกแย่ที่พี่ทำการบ้านไม่เสร็จ" แต่ให้เรียบเรียงใหม่ด้วยคำพูดที่ขึ้นต้นด้วย "ฉัน" พูดประมาณว่า "พี่รู้สึกแย่เวลาที่แกมาบ่นพี่เรื่องการบ้าน เพราะมันทำให้พี่ยิ่งเครียดเข้าไปใหญ่"
  3. บางครั้งแม้ว่าคุณจะพูดคุยกับพี่/น้องด้วยความเคารพแล้ว แต่พี่/น้องของคุณก็อาจจะยังไม่ยอมหยุดพูด เขาอาจจะถึงขั้นทำตัวเป็นฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าคุณจะพยายามแก้ไขสถานการณ์มากแค่ไหนก็ตาม ถ้าพี่/น้องยังพูดแทรกคุณไม่หยุดและยังไม่เคารพคุณอยู่ คุณก็ควรจะเลิกคุย พูดประมาณว่า "พี่ว่าเราคุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว และตอนนี้พี่ก็ไม่อยากคุยแล้วด้วย" แล้วก็เลิกคุยไปเลย [8]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พูดถึงปัญหาที่เป็นเรื่องใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะเจอปัญหาใหญ่ถ้าพี่/น้องของคุณพูดแทรกและขัดจังหวะคุณบ่อยๆ วิธีที่ดีในการรับมือกับปัญหาแบบนี้ก็คือ จับเข่าคุยกับพี่/น้องให้รู้เรื่อง แต่ก่อนที่จะทำอย่างนั้น ให้หาเวลาเขียนความรู้สึกของตัวเองลงไปก่อน เพื่อที่คุณจะได้พูดออกมาได้อย่างหมดเปลือกตอนคุยกัน
    • เขียนรายการเหตุการณ์ในอดีตที่คุณทั้งคู่ทะเลาะกันและ/หรือพี่/น้องของคุณไม่ยอมหยุดพูด เขียนรายการออกมายาวๆ แล้วค่อยตัดเหตุการณ์หยุมหยิมออก
    • พูดถึงเหตุการณ์ใหญ่ๆ เช่น ตอนที่พี่/น้องพูดไม่หยุดจนคุณปวดหัว หรือขัดจังหวะการทำเรื่องใหญ่ๆ เพราะพี่/น้องไม่ยอมเลิกพูด
    • นอกจากนี้ก็ให้คิดด้วยว่าคุณอยากได้อะไรจากการพูดคุยครั้งนี้ คุณอยากให้บทสนทนาในครั้งนี้นำไปสู่อะไร คุณอยากให้พี่/น้องได้อะไรจากการคุยกันในครั้งนี้ คุณอยากให้พี่/น้องคุณได้อะไรจากบทสนทนาในครั้งนี้ [9]
  2. นอกจากเขียนมุมมองของตัวเองลงไปแล้ว ให้พยายามนึกถึงมุมมองของพี่/น้องก่อนเข้าไปคุยกับเขาด้วย ทำไมพี่น้องถึงต้องมาระรานคุณ เหตุการณ์ไหนบ้างที่หล่อหลอมประสบการณ์ของเขา คุณเองเป็นฝ่ายที่ไม่ยุติธรรมในสถานการณ์นั้นๆ หรือเปล่า เพราะความขัดแย้งมักไม่ได้เกิดจากความผิดของคนๆ เดียว พยายามทำความเข้าใจว่าทำไมบางครั้งคุณถึงอาจจะเผลอทำให้พี่/น้องไม่พอใจ และคุณจะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้อย่างไรบ้าง [10]
  3. ชวนพี่/น้องไปนั่งคุยในสถานที่สบายๆ คุณต้องทำให้พี่/น้องรู้แน่ว่า สิ่งที่เขาจะได้ยินต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงจัง
    • ปิดโทรทัศน์และอย่าใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ เพราะเทคโนโลยีอาจเบี่ยงเบนความสนใจและทำให้คุณไม่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณจะพูด
    • หาสถานที่สบายๆ เช่น ห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น วิธีนี้ช่วยได้เพราะเขาจะได้นั่งสบายๆ และอาจทำให้การพูดคุยกันครั้งนี้ผ่อนคลายขึ้น
    • คุณต้องเลือกเวลาคุยที่เหมาะกับคุณทั้งคู่ อย่านัดคุยถ้าพี่/น้องของคุณมีเวลาแค่ชั่วโมงเดียวก่อนไปทำงาน เลือกเวลาที่ไม่จำกัด เช่น หลังจากกินมื้อค่ำเสร็จใหม่ๆ ในคืนวันธรรมดา
  4. คุณต้องเคารพพี่/น้องระหว่างที่พูดคุยกัน ผลัดกันแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมา พยายามอย่าพูดขัดเวลาที่พี่/น้องพูด ถ้าเขาขัดจังหวะคุณ ให้ปฏิเสธอย่างสุภาพด้วยการพูดว่า "ขอโทษนะ แต่พี่ยังพูดไม่จบ"
    • จำไว้ว่าอย่าพูดให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่หรือดูถูกเขา คุณต้องเคารพอีกฝ่ายให้มากที่สุดเพื่อแก้ไขสถานการณ์ การเรียกพี่/น้องด้วยคำหยาบคายอาจไปขัดจังหวะการพูดคุยที่จะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้ [12]

    ข้อสังเกต: อย่าพูดแทรกขณะที่พี่/น้องพูด แม้ว่าเขาจะพูดอะไรที่คุณไม่เห็นด้วยหรือทำให้คุณเสียความรู้สึกก็ตาม เคารพเขาและปล่อยให้เขาแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ [11]

  5. เป้าหมายของการจับเข่าคุยในครั้งนี้คือเพื่อแก้ปัญหาระหว่างคุณกับพี่/น้อง คุณต้องยินดีที่จะประนีประนอมและมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของอีกฝ่าย พอคุณสองคนพูดความคิดของตัวเองออกมาหมดแล้ว ให้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยกัน มองหาจุดที่คุณทั้งคู่จะพอปรับได้บ้าง เช่น สมมุติว่าคุณทะเลาะกันบ่อยเพราะพี่/น้องไม่ชอบที่คุณเอาแต่หมกตัวอยู่ในห้อง คุณก็อาจจะยอมให้เวลากับพี่/น้องหลังเลิกเรียนและก่อนเข้านอน พี่/น้องเองก็อาจจะยอมใช้เวลากับคุณในวันหยุดสุดสัปดาห์หรือก่อนอาหารเย็นมากขึ้น และอนุญาตให้คุณเข้าไปนั่งเล่นในห้องนอนของเขาได้
    • ยินดีกับความแตกต่าง เนื่องจากความขัดแย้งบางครั้งก็เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคล คุณจึงต้องเรียนรู้ที่จะเห็นคุณค่าของสิ่งที่พี่/น้องพูด ยอมที่จะเห็นไม่ตรงกันในบางเรื่อง นอกจากนี้คุณยังสามารถนำความคิดเห็นที่แตกต่างกันมาเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้มุมมองของอีกฝ่ายได้ด้วย สนใจจริงๆ ว่าพี่/น้องของคุณแสดงความคิดเห็นออกมาจากมุมไหนและทำไมเขาถึงคิดแบบนั้น
  6. ไม่ว่าคุณจะพยายามมากแค่ไหน แต่ก็อาจจะมีสถานการณ์ที่สร้างความอึดอัดเกิดขึ้นได้ในอนาคต พี่น้องทะเลาะกันไม่ใช่เรื่องแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโตขึ้นและต่างคนต่างท้าทายขอบเขตของความสัมพันธ์แบบคนในครอบครัว บางครั้งการจบบทสนทนาตั้งแต่ยังไม่เริ่มก็อาจเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณหรือพี่/น้องเริ่มรู้สึกไม่พอใจแล้ว ก็แค่ลุกขึ้นยืนแล้วเดินออกจากห้องไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณอาจจะปล่อยพี่/น้องของคุณไว้คนเดียว 5 นาทีเพื่อสูดอากาศและผ่อนคลายอารมณ์
  • อย่าทำร้ายร่างกายหรือจิตใจพี่/น้องเด็ดขาด
  • ถ้าเป็นน้อง ให้พยายามบอกน้องให้เงียบด้วยน้ำเสียงที่เคร่งขรึม/มีเหตุผล
  • ซื้อกุญแจมาล็อกประตูห้องนอนเพื่อที่พี่/น้องของคุณจะได้ไม่สามารถเข้ามาในห้องนอนแล้วมากวนคุณได้
  • สิ่งที่ช่วยได้มากที่สุดก็คือ การให้พ่อแม่เข้ามาช่วยจัดการถ้าคุณอธิบายได้อย่างมีเหตุผล เพราะพ่อแม่จะเข้าข้างคุณ
  • แค่ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว เพราะถ้าคุณปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว เขาก็จะปล่อยให้คุณอยู่คนเดียวเช่นกัน
  • เดินหนีหรือบอกให้ผู้ใหญ่ไปบอกให้เขาเลิกพูด
  • ถามตัวเองว่าคุณทำอะไรในสถานการณ์นั้นๆ และคุณเองเป็นคนเริ่มก่อนหรือเปล่า
  • อย่าทะเลาะกับพี่/น้อง เพราะมันอาจจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายและทำให้อีกฝ่ายพูดมากกว่าเดิม ไม่ใช่น้อยลง
  • บอกผู้ใหญ่ก็ต่อเมื่อสถานการณ์ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นและคุณไม่สามารถเลิกทะเลาะหรือทำให้เขาเลิกพูดได้ ถ้าให้ดีควรจะเป็นพ่อ/แม่หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย
โฆษณา

คำเตือน

  • การหาวิธีการแก้ปัญหาอาจทำให้เกิดความเครียดหรือทำให้เกิดความคิดใหญ่ๆ ที่มีความเสี่ยงที่มากกว่า
  • จำไว้เสมอว่า สิ่งที่พี่/น้องของคุณพูดอาจเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เพราะฉะนั้นดูให้ดีว่าไม่มีอะไรฉุกเฉิน
  • แม้ว่าเขาจะบอกว่าเขาจะไม่กวนคุณหรอก แต่เขาก็อาจจะยังกวนคุณอยู่ เพราะฉะนั้นเตือนเขาให้เงียบๆ เหมือนเดิม ทำตามตารางที่วางไว้ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนและเมื่อไหร่เวลาที่พี่/น้องอยู่ใกล้ๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,169 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา