PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เคยพบโจทย์คณิตศาสตร์ที่ชวนให้สับสนไหม เรื่องเศษส่วนเป็นบทที่ยากมากสำหรับใครหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เพิ่งบวกเศษส่วนเป็นครั้งแรก การบวกเศษส่วนจะยิ่งยุ่งยากเข้าไปอีก ถ้าเศษส่วนนั้นมีตัวส่วนหรือตัวเลขด้านล่างไม่เท่ากัน แต่ไม่ต้องกังวลไป การบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันนั้นมีขั้นตอนการบวกง่ายๆ ดังนี้

  1. เขียนเศษส่วนสองจำนวนที่ต้องการนำมาบวกกันลงกระดาษ โดยเขียนจำนวนทั้งสองนั้นให้อยู่ใกล้กันแล้วคั่นด้วยเครื่องหมายบวก นี้คือตัวอย่างของเศษส่วนที่เราต้องการนำมาบวกกัน
    • ตัวอย่างที่ 1: 1/2 + 1/4
    • ตัวอย่างที่ 2: 1/3 + 3/4
    • ตัวอย่างที่ 3: 6/5 + 4/3
  2. เมื่อต้องการหาตัวส่วนร่วม ให้นำตัวส่วนทั้งสองมา “คูณกัน” การหาตัวส่วนร่วมสามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการนำตัวส่วนทั้งสองมาคูณกัน
    • ตัวอย่างที่ 1: 2 x 4 = 8 ฉะนั้นเศษส่วนทั้งสองก็จะมีตัวส่วนร่วมกันคือ 8
    • ตัวอย่างที่ 2: 3 x 4 = 12 ฉะนั้นเศษส่วนทั้งสองก็จะมีตัวส่วนร่วมกันคือ 12
    • ตัวอย่างที่ 3: 5 x 3 = 15 ฉะนั้นเศษส่วนทั้งสองก็จะมีตัวส่วนร่วมกันคือ 15
  3. นำตัวส่วนของเศษส่วนจำนวนที่สองมาคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วนของจำนวน แรก . เราไม่ได้เปลี่ยนค่าของเศษส่วน เราแค่เปลี่ยน รูป ของเศษส่วนเท่านั้น ฉะนั้นเศษส่วนนี้จึงยังคงเป็นเศษส่วนตัวเดิมอยู่
    • ตัวอย่างที่ 1: 1/2 x 4/4 = 4/8
    • ตัวอย่างที่ 2: 1/3 x 4/4 = 4/12
    • ตัวอย่างที่ 3: 6/5 x 3/3 = 18/15
  4. นำตัวส่วนของเศษส่วนจำนวนแรกมาคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วนของจำนวนที่ สอง . ขอบอกอีกครั้งว่าเราไม่ได้กำลังเปลี่ยนแปลงค่าของเศษส่วน แต่เราแค่เปลี่ยน รูป ของเศษส่วนเท่านั้น ฉะนั้นเศษส่วนนี้จึงยังคงเป็นเศษส่วนตัวเดิมอยู่
    • ตัวอย่างที่ 1: 1/4 x 2/2 = 2/8
    • ตัวอย่างที่ 2: 3/4 x 3/3 = 9/12
    • ตัวอย่างที่ 3: 4/3 x 5/5 = 20/15
  5. ถึงแม้ตอนนี้เรายังไม่ได้นำจำนวนทั้งสองมาบวกกันเลย แต่เราจะนำมาบวกกันอย่างแน่นอน! ขั้นตอนที่เราเพิ่งทำเสร็จไปคือการทำให้ตัวส่วนเท่ากัน
    • ตัวอย่างที่ 1: แทน 1/2 + 1/4 ด้วย 4/8 + 2/8
    • ตัวอย่างที่ 2: แทน 1/3 + 3/4 ด้วย 4/12 + 9/12
    • ตัวอย่างที่ 3: แทน 6/5 + 4/3 ด้วย 18/15 + 20/15
  6. ตัวเศษก็คือตัวเลขที่อยู่ด้านบนของเศษส่วนนั้น
    • ตัวอย่างที่ 1: 4 + 2 = 6 ฉะนั้น 6 ก็จะเป็นตัวเศษตัวใหม่
    • ตัวอย่างที่ 2: 4 + 9 = 13 ฉะนั้น 13 ก็จะเป็นตัวเศษตัวใหม่
    • ตัวอย่างที่ 3: 18 + 20 = 38 ฉะนั้น 38 ก็จะเป็นตัวเศษตัวใหม่
  7. นำตัวส่วนร่วมที่คิดไว้แล้วในขั้นตอนที่ 2 มาใส่ไว้ที่ด้านล่างของตัวเศษใหม่.
    • ตัวอย่างที่ 1: 8 คือตัวส่วนตัวใหม่
    • ตัวอย่างที่ 2: 12 คือตัวส่วนตัวใหม่
    • ตัวอย่างที่ 3: 15 คือตัวส่วนตัวใหม่
  8. เขียนตัวเศษใหม่ไว้ด้านบนและเขียนตัวส่วนใหม่ไว้ด้านล่าง.
    • ตัวอย่างที่ 1: 6/8 คือคำตอบของ 1/2 + 1/4 = ?
    • ตัวอย่างที่ 2: 13/12 คือคำตอบของ 1/3 + 3/4 = ?
    • ตัวอย่างที่ 3: 38/15 คือคำตอบของ 6/5 + 4/3 = ?
  9. นำตัวหารร่วมมาหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนเพื่อทำให้เศษส่วนนั้นอยู่ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำ
    • ตัวอย่างที่ 1: 6/8 ทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้เป็น 3/4
    • ตัวอย่างที่ 2: 13/12 ทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้เป็น 1 1/12
    • ตัวอย่างที่ 3: 38/15 ทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้เป็น 2 8/15
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าลืมคูณทั้งตัวเศษและตัวส่วนด้วยจำนวนเดียวกัน
  • อย่าลืมทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำ
  • ทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำในขั้นตอนสุดท้าย ดูสิว่าสามารถนำจำนวนนั้นมาหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนลงตัวไหม
  • ตอบเป็นเศษส่วนอย่างต่ำเสมอ จะได้นำเศษส่วนนั้นไปใช้งานได้ง่าย ยกเว้นเสียแต่ว่าโจทย์กำหนดไว้ว่าไม่ต้องทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำ
  • ตัวส่วนของเศษส่วนที่จะนำมาบวกกัน “ต้อง” เท่ากัน นั้นคือเหตุผลว่าทำไมถึงเรียกว่าตัวส่วน “ร่วม” อย่านำเศษส่วนมาบวกกันจนกว่าจะทำให้ตัวส่วนของทั้งสองจำนวนเท่ากันแล้ว ขั้นตอนนี้นี้ไม่มีวิธีลัดและเป็นขั้นตอนที่เราจะต้องทำ
  • สามารถใช้ตัวคูณร่วมน้อยหาตัวประกอบร่วมที่มีค่าต่ำที่สุดได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 364,128 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา