ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การประสบอุบัติเหตุจนนิ้วมือขาดเป็นอาการบาดเจ็บที่รุนแรงเป็นอย่างมาก ดังนั้น เมื่อคุณพบผู้ประสบอุบัติเหตุ คุณจำเป็นต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าผู้บาดเจ็บไม่มีอาการบาดเจ็บที่รุนแรงอื่นๆ หลังจากนั้น สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการห้ามเลือดและเก็บนิ้วมือส่วนที่ขาดไว้เพื่อทำการต่อกลับเข้าไปดังเดิม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สิ่งแรกที่ควรทำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนเริ่มช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ควรมองดูรอบๆ ให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งใดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณและผู้บาดเจ็บ เช่น เครื่องมือกลที่ยังเปิดอยู่ [1]
  2. ดูว่าผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดีพอที่จะคุยกับคุณหรือไม่ โดยเริ่มจากการถามชื่อของผู้บาดเจ็บเป็นอันดับแรก [2]
    • หากผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัว นั่นอาจเป็นสัญญาณของการบาดเจ็บที่รุนแรงหรืออาการช็อคได้
  3. หากในบริเวณนั้นมีคุณเพียงคนเดียว ให้โทรหา 191 เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่หากมีคนอื่นอยู่ในบริเวณนั้นด้วย ขอให้พวกเขาช่วยโทรหา 191 ให้แทน [3]
  4. เช็คดูว่าอาการบาดเจ็บรุนแรงกว่าที่เห็นหรือไม่. เมื่อนิ้วมือถูกตัดขาด เลือดที่ออกมาในปริมาณมากจะทำให้คุณหันเหความสนใจจากอาการบาดเจ็บอื่นๆ ได้ คุณจึงควรดูให้แน่ใจว่าไม่มีอาการบาดเจ็บอื่นที่รุนแรงกว่านี้ก่อนเริ่มทำการรักษาผู้บาดเจ็บ ตัวอย่างเช่น เช็คดูว่ามีบาดแผลที่มีเลือดออกที่รุนแรงกว่านี้หรือไม่ [4]
  5. พยายามทำให้ผู้บาดเจ็บสงบลงโดยคุยกับเขาด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และพยายามอย่าให้ตัวคุณเองรู้สึกตื่นตระหนก หายใจลึกๆ อย่างช้าๆ และบอกให้ผู้บาดเจ็บทำอย่างเดียวกัน [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากสามารถหาถุงมือได้ ให้สวมถุงมือก่อนเริ่มช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การสวมถุงมือจะช่วยป้องกันคุณจากโรคติดต่อทางเลือดที่ผู้บาดเจ็บอาจเป็นอยู่ ในบางครั้งชุดปฐมพยาบาลอาจมีถุงมือรวมอยู่ด้วย [6]
  2. หากคุณมองเห็นสิ่งสกปรกหรือเศษเนื้อตายติดอยู่ในบาดแผล คุณสามารถนำออกโดยการชำระล้างด้วยน้ำก๊อกที่สะอาด (คุณสามารถใช้วิธีเทน้ำจากขวดแทนได้หากไม่สามารถใช้ซิงค์ล้างมือได้) อย่างไรก็ตาม หากคุณมองเห็นสิ่งแปลกปลอมที่ฝังอยู่ในบาดแผลหรือที่มีขนาดใหญ่ ให้ปล่อยไว้ตามเดิม [7]
  3. ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดลงบนบริเวณบาดแผล พยายามกดไว้เพื่อห้ามเลือดไม่ให้ไหลออกมา [8]
  4. ควรแน่ใจว่ามือข้างที่นิ้วขาดอยู่เหนือระดับหัวใจ เนื่องจากการยกบาดแผลให้สูงจะช่วยให้เลือดไหลออกมาช้าลง [9]
  5. จับผู้ป่วยนอนลงบนผ้าห่มหรือพรมเพื่อให้ร่างกายของผู้บาดเจ็บอบอุ่น [10]
  6. ในขณะที่บาดแผลยังคงมีเลือดไหลออกมา ให้พยายามกดบาดแผลเอาไว้ แต่หากเริ่มรู้สึกหมดแรง ให้ขอให้ผู้อื่นมาช่วยกดไว้แทน และหากดูเหมือนว่าเลือดยังคงไม่หยุดไหลแม้คุณจะกดบาดแผลเอาไว้แล้ว ควรดูให้แน่ใจว่าบาดแผลถูกปิดไว้อย่างถูกต้องหรือไม่ [11]
    • หากคุณกดบาดแผลต่อไม่ไหว ให้ใช้ผ้าพันแผลพันไว้แน่นๆ แทน อย่างไรก็ตาม การพันผ้าพันแผลแน่นๆ เป็นเวลานานจะทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้นได้ [12] ในการพันแผล ให้ใช้ผ้าหรือผ้าก๊อซพันรอบบาดแผลแล้วปิดไว้ด้วยเทป [13]
    • พยายามกดบาดแผลไว้เรื่อยๆ จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เก็บรักษานิ้วมือที่ถูกตัดขาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค่อยๆ ล้างนิ้วมือด้วยน้ำเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบาดแผลดูสกปรก [14]
    • ขอให้คนอื่นช่วยทำขั้นตอนนี้หากคุณกำลังกดบาดแผลอยู่
  2. หากสามารถทำได้ ให้ถอดแหวนหรือเครื่องประดับอื่นๆ ออกอย่างเบาๆ เพราะหากทิ้งไว้อาจทำให้ถอดออกมาได้ยากขึ้นในภายหลัง [15]
  3. ห่อนิ้วมือไว้ด้วยกระดาษอเนกประสงค์หรือผ้าก๊อซที่ชื้น. นำกระดาษอเนกประสงค์มาชุบให้หมาดๆ ด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ (สามารถใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ได้เช่นกัน) หากไม่สามารถหาน้ำเกลือได้ ให้ใช้น้ำก๊อกหรือน้ำดื่มบรรจุขวดแทน บีบน้ำออกและนำไปห่อนิ้วมือ [16]
  4. นำนิ้วมือที่ห่อไว้เรียบร้อยแล้วใส่ในถุงซิป ปิดปากถุงให้แน่นสนิท [17]
  5. เติมน้ำแข็งและน้ำลงไปในถุงซิปที่ใหญ่กว่าหรือในถัง แล้วนำถุงซิปที่ใส่นิ้วมือไว้แช่ลงไป [18]
    • อย่าให้นิ้วมือโดนน้ำหรือน้ำแข็งโดยตรง เพราะนิ้วมือจะถูกความเย็นกัดและทำให้ผิวหนังเสียหายได้ และไม่ควรเลือกใช้น้ำแข็งแห้ง เนื่องจากน้ำแข็งแห้งมีความเย็นเกินไป [19]
  6. เมื่อความช่วยเหลือมาถึง ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ดูแลนิ้วมือต่อ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • นิ้วมือที่แช่อยู่ในน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง (นิ้วมือควรใส่อยู่ในถุงซิป) สามารถเก็บไว้ได้นาน 18 ชั่วโมง แต่หากไม่เก็บไว้ในความเย็น นิ้วมือจะสามารถเก็บไว้ได้เพียง 4-6 ชั่วโมงเท่านั้น [20] หากคุณไม่สามารถหาน้ำเย็นสำหรับแช่นิ้วมือได้ อย่างน้อยควรเก็บไว้ให้ห่างจากความร้อน
โฆษณา

คำเตือน

  • การช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บสำคัญกว่าการรักษานิ้วมือ ดังนั้นจึงควรให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บก่อนเป็นอันดับแรก
  • นี่เป็นอาการบาดเจ็บที่สาหัส จึงควรแจ้งให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ทราบโดยทันที
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,307 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา