ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ต้นทานตะวันเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาที่ใช้ประโยชน์ได้มากมาย น้ำมันนำไปทำเป็นไบโอดีเซลและน้ำมันประกอบอาหาร ส่วนเมล็ดก็ยังเป็นของขบเคี้ยวแสนอร่อย นอกจากนี้ดอกทานตะวันยังช่วยเพิ่มความสุขและความสดใสให้กับหน้าต่างหรือระเบียงที่โดนแดดจ้าได้ด้วย การปลูกต้นทานตะวันในกระถางเป็นโปรเจ็กต์ง่ายๆ ที่แม้แต่เด็กเล็กก็ทำได้ [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกต้นทานตะวันและภาชนะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถหาซื้อเมล็ดทานตะวันได้จากร้านเพาะต้นไม้ใกล้บ้านหรือจากศูนย์เพาะพันธุ์พืช หรือจะสั่งออนไลน์ก็ได้ ถ้าคุณอยากได้พันธุ์หายาก สั่งออนไลน์น่าจะง่ายกว่า [2]
    • เมล็ดทานตะวันก็มีขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อเหมือนกัน แต่พวกนั้นไว้สำหรับรับประทานไม่ได้ไว้ปลูก หลังจากผ่านการอบแล้ว เมล็ดทานตะวันจะไม่งอก
    • ถ้าคุณมีต้นทานตะวันโตเต็มวัยอยู่แล้ว ให้นำเมล็ดจากดอกไปใส่ไว้ในภาชนะที่กันไม่ให้อากาศเข้าแล้วเก็บไว้ในตู้เย็น พยายามนำเมล็ดมาปลูกให้เร็วที่สุด เพราะเมล็ดที่เก่าแล้วจะปลูกยาก
    • ต้นทานตะวันแคระจะเหมาะกับการเติบโตในภาชนะมากที่สุด ทานตะวันพันธุ์ปกติเหมาะจะปลูกบนดินหรือย้ายไปปลูกบนดินเมื่อมันเริ่มงอกใบอ่อนชุดที่สอง
  2. ซองเมล็ดทานตะวัน (หรือรายการสินค้าบนเว็บไซต์) จะมีบอกไว้ชัดเจนว่าชื่อพันธุ์อะไร เป็นทานตะวันประเภทไหน และจะสูงแค่ไหน ถ้าคุณไปซื้อที่ร้านขายต้นไม้หรือศูนย์เพาะพันธุ์พืชใกล้บ้าน คุณก็สามารถขอความช่วยเหลือจากพนักงานได้ [3]
    • ดอกทานตะวันแบบก้านเดียวดอกเดียวจะมีดอกทานตะวันงอกจากเมล็ดเพียง 1 ดอกต่อ 1 เมล็ด ถ้าคุณอยากให้ดอกทานตะวันบานตลอดช่วงหน้าร้อน คุณจะต้องปลูกใหม่ทุก 10-14 วัน แต่ต้นทานตะวันพันธุ์ก้านเดียวดอกเดียวจะไม่มีเกสร มันจึงไม่ร่วงอยู่ตามชานบ้าน เฟอร์นิเจอร์ หรือเสื้อผ้า
    • ดอกทานตะวันที่แตกก้านได้เยอะๆ จะออกดอกมากมายตลอดทั้งฤดูกาลโดยที่ไม่ต้องปลูกใหม่ และดอกทานตะวันแบบที่แตกก้านได้เยอะๆ ยังมีสีแปลกๆ ด้วย เช่น สีแดงเหล้าองุ่นและสีน้ำตาลช็อกโกแลต
  3. เลือกขนาดภาชนะตามความสูงของดอกไม้ที่คุณอยากจะปลูกและจำนวนดอกไม้ที่คุณต้องการให้ขึ้นในภาชนะแต่ละใบ โดยทั่วไปแล้วต้นทานตะวันแคระจะสามารถปลูกในกระถางขนาด 12-16 นิ้ว (30-41 ซม.) ได้ [4]
    • ต้นทานตะวันยักษ์ต้องใช้ภาชนะที่สามารถรับความจุได้อย่างน้อย 19 ลิตร
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าต้องใช้ขนาดไหน ให้เลือกขนาดใหญ่ไว้ก่อน ทานตะวันต้องการพื้นที่ในการเติบโต
    • ถ้าคุณนำภาชนะที่ไว้ใส่อย่างอื่นกลับมาใช้ใหม่ คุณต้องแน่ใจว่ามันสะอาดและปลอดเชื้อ และคุณต้องเจาะรูระบายน้ำที่ภาชนะนั้นๆ ด้วย เพราะเมล็ดอาจเน่าได้ถ้าไม่มีรูระบายน้ำ
    • วางจานหรือจานรองกระถางไว้ใต้ภาชนะเพื่อรองรับน้ำที่ไหลออกมา
  4. Watermark wikiHow to ปลูกต้นทานตะวันในกระถาง
    เลือกดินชั้นบนหรือดินปลูกคุณภาพดีและอุดมไปด้วยสารอาหารในการปลูกต้นทานตะวัน การผสมปุ๋ยหมักก็เป็นการสร้างแหล่งอาหารให้ต้นทานตะวันของคุณเช่นเดียวกัน [5]
    • ดินชั้นบนที่มีคุณภาพจะมีค่า pH อยู่ที่ 5.5-7.5 และมีสารอินทรีย์มากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะมีบอกอยู่ที่ถุง [6]
    • ตราบใดที่คุณใช้ดินชั้นบนคุณภาพดี คุณไม่จำเป็นต้องใส่วัสดุช่วยระบายน้ำอย่างทรายหรือหินไว้ตรงก้นภาชนะเลย เพราะการทำเช่นนั้นจริงๆ แล้วอาจไปขัดขวางการเคลื่อนตัวของน้ำและอาจทำให้กระถางไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเหมาะสมด้วย [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปลูกต้นทานตะวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ปลูกต้นทานตะวันในกระถาง
    ). ถ้าคุณกะว่าจะเพาะมากกว่า 1 เมล็ดต่อ 1 กระถาง แต่ละเมล็ดต้องห่างกัน 4-5 นิ้ว (10-13 ซม.) และหลังจากวางเมล็ดแล้วคุณอาจจะโรยปุ๋ยหมักบางๆ ทับดินชั้นบนอีกทีหนึ่งด้วยก็ได้ [8]
    • แต่ละเมล็ดต้องมีรัศมีที่ว่าง 4-5 นิ้ว (10-13 ซม.) ทุกด้าน อย่าวางเมล็ดใกล้ขอบภาชนะมากเกินไป
  2. Watermark wikiHow to ปลูกต้นทานตะวันในกระถาง
    ต้นทานตะวันต้องการน้ำมากกว่าพืชส่วนใหญ่ในช่วงที่มันกำลังโต ดินต้องชุ่มชื้นและระบายน้ำได้ดี รดน้ำต้นทานตะวันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 แกลลอน (8 ลิตร) ขณะที่เมล็ดเริ่มงอก [9]
    • ต้นทานตะวันที่ไม่ได้รับน้ำเพียงพอในช่วงต้นของการเจริญเติบโตจะมีลำต้นผอมและเปราะ ไม่สามารถรองรับหัวดอกทานตะวันที่หนักให้ตั้งตรงได้
    • ดินจะระบายน้ำได้ดีเมื่อน้ำไหลผ่านค่อนข้างเร็ว การมีน้ำเป็นแอ่งหรือน้ำขังในกระถางเป็นสิ่งที่บอกว่ามีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ [10]
  3. ภายใน 1 สัปดาห์ถึง 10 วัน เมล็ดทานตะวันของคุณจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อนเล็กๆ ช่วงนี้ให้รดน้ำต่อไปทุกวันและดูแลดินให้ชุ่มชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบๆ เมล็ด [11]
    • ถ้าคุณปลูกต้นทานตะวันไว้ข้างนอก คุณอาจจะต้องใช้ตะกร้าหรือตาข่ายมาคลุมต้นกล้าไว้เพื่อป้องกันนก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลต้นทานตะวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าต้นทานตะวันไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารเพิ่มเติมเพื่อการเจริญเติบโต แต่ปุ๋ยก็จะทำให้ดอกทานตะวันสีแจ่มและเข้มขึ้น เริ่มจากปุ๋ยน้ำที่มีไนโตรเจนสูง แล้วค่อยเปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยน้ำที่มีฟอสฟอรัสสูงขึ้นเมื่อดอกที่ตูมอยู่เริ่มบาน [12]
    • คุณอาจจะใส่ปุ๋ยแบบเจือจางลงไปในน้ำที่รดต้นทานตะวันก็ได้ ระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ต้นทานตะวันมากเกินไป เพราะก้านอาจแตกได้ [13]
  2. ขณะที่ต้นกล้ากำลังเติบโต มันต้องการแสงแดดโดยตรงให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ลำต้นหนาและแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักหัวดอกทานตะวันขนาดใหญ่ได้ พอมันโตแล้วต้นทานตะวันก็ควรได้รับแสงแดดโดยตรงวันละ 6-8 ชั่วโมง [14]
    • ดอกทานตะวันจะหันหน้าตามแสงของดวงอาทิตย์ ถ้ามันไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง มันก็จะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งพอผ่านไปสักพักก็จะสร้างความเสียหายให้แก่ลำต้น
  3. Watermark wikiHow to ปลูกต้นทานตะวันในกระถาง
    คุณต้องรดน้ำต้นทานตะวันบ่อยกว่าต้นไม้อื่นๆ ตรวจดูดินวันเว้นวันหรือทุก 2 วัน ดินควรชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยทั่วไปคุณควรรดน้ำต้นทานตะวัน 4 ลิตรต่อสัปดาห์ [15]
    • ถ้าต้นทานตะวันอยู่นอกบ้าน ต้นทานตะวันจะสามารถรับน้ำฝนอย่างเดียวโดยไม่ต้องรดน้ำได้หลังจากที่มันสูงประมาณ 30-60 ซม. แล้ว [16] แต่ถ้าวันนั้นเป็นวันที่อากาศร้อนและแห้งมาก คุณอาจจะต้องรดน้ำเพิ่มเติมเพื่อชดเชย
    • ขณะที่ดอกกำลังโต ให้รดน้ำบริเวณรากตรงรัศมี 3-4 นิ้ว (7-10 ซม.) รอบๆ ต้นแทน [17]
    • มีขวดสเปรย์ติดไว้เสมอและพรมน้ำใส่หัวดอกทานตะวันเป็นประจำ
  4. Watermark wikiHow to ปลูกต้นทานตะวันในกระถาง
    ต้นทานตะวันพันธุ์แคระอาจจะไม่สูงถึงขั้นที่ต้องมีอะไรมาค้ำ แต่ถ้าต้นทานตะวันสูงถึง 90 ซม. หรือมากกว่า คุณก็ควรหาอะไรมายึดไว้เพื่อไม่ให้หัวดอกทานตะวันห้อยลงมา [18]
    • อย่านำสิ่งที่จะมาช่วยค้ำต้นทานตะวันไว้ในกระถาง เพราะพอต้นทานตะวันโตเต็มที่ มันอาจจะคว่ำกระถางหงายได้ แต่ให้ผูกที่ค้ำไว้กับท่อระบายน้ำ กำแพง หรือสิ่งของอื่นๆ
  5. Watermark wikiHow to ปลูกต้นทานตะวันในกระถาง
    ถ้าต้นทานตะวันของคุณเป็นพันธุ์ที่ให้เมล็ดกินได้ ก็ปล่อยให้ดอกตายคาต้น แล้วเมล็ดก็จะสุกและแห้งไปด้วย ถ้าต้นทานตะวันอยู่นอกบ้าน ให้หาตาข่ายหรือถุงกระดาษมาคลุมไว้เพื่อไม่ให้นกกินเมล็ดของคุณหมด [19]
    • โดยทั่วไปเมล็ดทานตะวันที่เป็นสีดำหรือเทามีลายทางสีขาวจะเป็นเมล็ดที่กินได้
    • โดยทั่วไปเมื่อด้านหลังของหัวดอกทานตะวันเริ่มเป็นสีน้ำตาล เมล็ดทานตะวันก็จะพร้อมเก็บได้แล้ว [20]
    • พอเมล็ดแห้งแล้ว คุณสามารถเก็บเมล็ดไว้ในภาชนะที่อากาศไม่เข้าที่อุณหภูมิห้องได้ไม่เกิน 4 เดือน แต่คุณจะแช่ช่องฟรีซไว้ก็ได้ถ้าคุณอยากเก็บไว้นานกว่านั้น
    • หน่อดอกทานตะวันก็สามาถรับประทานได้เหมือนกัน โดยต้องเอามาลวกก่อนเพื่อกำจัดรสขม จากนั้นนึ่งหรือต้ม 3 นาที นำไปผัดกับเนยกระเทียมอร่อยนักแล
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มีศูนย์เพาะพันธุ์พืชและต้นไม้ที่ไม่แสวงหากำไรมากมายที่ขายเมล็ดทานตะวันพันธุ์หายากที่มีคุณค่าพันธุ์ต่างๆ [21]
  • แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะอบเมล็ดทานตะวันก่อนนำไปรับประทาน แต่เมล็ดทานตะวันสามารถรับประทานดิบๆ ได้ เมล็ดทานตะวันเป็นแหล่งวิตามิน B หลายชนิดและวิตามิน E ชั้นเลิศ และยังมีโปรตีนสูงอีกด้วย [22]
โฆษณา

คำเตือน

  • ต้นทานตะวันไม่ชอบถูกย้าย เพราะฉะนั้นให้เริ่มจากภาชนะที่ใหญ่พอที่จะรองรับต้นทานตะวันที่โตเต็มที่ได้ [23]
  • เมล็ดทานตะวันไม่สามารถรับประทานได้ทุกชนิด ถ้าคุณกะว่าจะเก็บเมล็ดมาทานเล่น คุณต้องซื้อพันธุ์ที่เมล็ดมันกินได้ [24]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 150,320 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา