ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายคนประสบปัญหาด้านการอ่าน การอ่านนั้นเป็นกิจกรรมที่ทำได้ยากสำหรับบางคนและต้องใช้เวลา การอ่านเป็นกระบวนการที่สมองรับภาพสัญลักษณ์ต่างๆ ในหน้าหนังสือสักหน้าหนึ่งและจดจำแบบแผนของอักษรและเข้าใจความหมายของมัน ถ้าเราพัฒนาทักษะการอ่านจนเชี่ยวชาญ เราก็จะได้รับประโยชน์จากทักษะนี้ในอนาคต คุณครูมักจะพูดเสมอไม่ใช่หรือว่า “อ่านหนังสือให้มากๆ ” ฉะนั้นลองมาเริ่มอ่านหนังสือตามขั้นตอนและกลวิธีที่บทความนี้จะแนะนำดีกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวอ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวอย่างเช่น หนังสือเด็ก บทความจากหนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น หรือบทความของวิกิฮาวก็ได้
  2. เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับระดับการอ่านของเรา ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไรก็ตาม หนังสือเล่มนั้นควรเป็นอะไรที่น่าสนใจ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่รู้สึกอยากอ่านมันจนจบ ฉะนั้นจงทำให้การอ่านของเราเป็นกิจกรรมที่น่าสนุกและได้เรื่องรู้อะไรบางอย่างจากการอ่านนั้น
    • เราควรเลือกหนังสือที่น่าสนใจและอ่านง่าย เช่น หนังสือการ์ตูน หรือหนังสือที่มีเนื้อหาซับซ้อนมากกว่านี้หน่อยอย่างวรรณกรรมแนวมหากาพย์และสารคดี
  3. หาสถานที่ซึ่งเราสามารถจดจ่ออยู่กับการอ่านได้. หาสถานที่ซึ่งไม่มีใครจะมารบกวนเวลาเราอ่านหนังสือได้ หรือจะอ่านอยู่ที่บ้านในช่วงเวลาที่สมาชิกคนอื่นๆ แยกย้ายไปทำกิจกรรมของตนเองกันจนหมดก็ได้
  4. จะเลือกอ่านเวลาไหนก็ได้ แต่ถ้าเราหาเวลาอ่านหนังสือได้ทุกวัน เราก็จะคุ้นชินกับการอ่านหนังสือมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใช้หลักพัฒนาทักษะการอ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มการอ่านด้วยการดูรูปภาพก่อนและอาจฟังเพลงไปด้วยเพื่อสร้างบรรยากาศ.
  2. เริ่มอ่านชื่อเรื่อง ชื่อต่างๆ และส่วนบทนำในหนังสือ หนังสือบางเล่มอาจมีรายชื่อตัวละครหลักและข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับตัวละครนั้น. หรือมีแผนที่แสดงสถานที่ซึ่งอธิบายไว้ในหนังสือ เราต้องดูข้อมูลเหล่านั้นประกอบด้วย
  3. ถ้าไม่ใช่คนอ่านหนังสือเร็ว ก็อย่าฝืนตัวเองให้อ่านเร็ว จุดประสงค์สำคัญของการอ่านหนังสือคือการเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด ฉะนั้นจึงไม่ควรอ่านเนื้อหาอย่างผ่านๆ
    • ให้ถามตนเองห้าคำถามว่า ทำไม อะไร ใคร เมื่อไร และที่ไหน ห้าคำถามนี้จะช่วยกำหนดทิศทางการอ่านของเรา
  4. ฟังหนังสือเสียงและอ่านข้อความตามไปพร้อมกัน. จะช่วยให้เราออกเสียงและจำแนกคำได้อย่างถูกต้อง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เพิ่มทักษะการอ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อเริ่มเบื่อหรืออยากพัก ให้หยุดอ่าน การอ่านควรทำให้เราสนุกและเพลิดเพลิน เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเบื่อหรืออยากพัก ก็อย่าฝืน หลังจากพักแล้ว ให้กลับมาที่เราอ่านค้างไว้และเริ่มอ่านต่อ
  2. ถ้าเราอ่านแล้วไม่เข้าใจตั้งแต่แรก ให้กลับมาอ่านอีกรอบ
  3. การเดาความหมายของคำจากบริบทหมายถึงการที่เรารู้ความหมายของคำๆ หนึ่งด้วยการดูวิธีการใช้คำนั้นในประโยค ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังอ่านประโยคต่อไปนี้ My mother is always happy and optimistic, the total opposite of my brother, the pessimist. และต้องการรู้ว่า “pessimist” หมายถึงอะไร เมื่อดูประโยค เราจะจับความหมายได้ว่า “pessimist” หมายถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความสุข ฉะนั้นคำนี้จึงหมายถึงขี้หงุดหงิดและขี้โมโห นักอ่านที่ดีและมีประสบการณ์มักจะใช้การเดาความหมายของคำจากบริบทช่วยในการอ่านเสมอ! ถ้าเราไม่สามารถเดาความหมาย ได้เลย เปิดพจนานุกรมดู ถ้าเราอยากประหยัดเวลาและเปิดหน้าต่อไปโดยไว ลองเข้าสืบค้น พจนานุกรมแบบออนไลน์ ดู
  4. อ่านข้อความหน้ากระจกดังๆ การพยายามจำสิ่งที่อ่านให้ได้จะช่วยให้เรามีความมั่นใจในการอ่านมากขึ้น
  5. ถ้าเราไม่เข้าใจสิ่งที่อ่าน ให้อ่านตรงที่ไม่เข้าใจนั้นอีกครั้ง ลองอ่านออกเสียงดู แต่ถ้ายังไม่เข้าใจอยู่ดี ขอให้เพื่อนซึ่งเป็นนักอ่านตัวยงอธิบายประโยคที่เราไม่เข้าใจให้กระจ่าง หรือเปลี่ยนมาเลือกหนังสือที่อ่านง่ายและเหมาะสมกับระดับการอ่านของเรามากกว่านี้ จะใช้นิ้วชี้ช่วยในการอ่านก็ได้ จะได้ช่วยให้สายตาของเราจดจ่ออยู่กับบรรทัดที่เราอ่านและเข้าใจเรื่องที่อ่านมากขึ้น
  6. พยายามอ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเวลาว่าง การอ่านจะช่วยเราในหลายทาง เราจะมีคลังศัพท์เพิ่มขึ้นและรู้จักศัพท์มากขึ้น เรียนหนังสือได้ดีขึ้น ฉะนั้นหมั่นอ่านหนังสือทุกวันนะ!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อ่านออกเสียงเพื่อให้ได้จดจ่อกับสิ่งที่อ่านและอ่านทุกคำ
  • ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในหนังสือ ฉะนั้นจงเริ่มต้นอ่านเรื่องทั่วไปแบบง่ายๆ ก่อนเพื่อเพิ่มความเร็วในการอ่านให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • บางคนอ่านหนังสือได้ดีขึ้นเมื่อยืนอ่าน บางคนอ่านหนังสือขณะเดินบนลู่วิ่งไฟฟ้าหรือลู่วิ่งที่สนาม จึงได้ทั้งออกกำลังกายและออกกำลังสมองไปในตัว!
  • พยายามอย่านอนอ่านหนังสือเพื่อเราจะได้เข้าใจเรื่องที่อ่านมากขึ้น การนอนอ่านช่วยให้เราผ่อนคลายและหลับง่ายขึ้น แต่ถ้าอยากจดจำข้อมูลได้มากขึ้น เราต้องวางท่าทางการอ่านหนังสือให้เหมาะสมด้วย ตัวอย่างเช่น การนั่งตัวตรงและวางเท้าราบไปกับพื้นจะช่วยเพิ่มความตื่นตัวมากขึ้น
  • เวลาอ่านหนังสืออย่าเครียด ผู้คนมักจะเครียดที่ไม่สามารถจดจำสิ่งที่อ่านไปแล้วได้และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่กำลังอ่านอยู่ได้ ฉะนั้นหายใจเข้าลึกๆ และอย่าเครียด!
  • อย่าพยายามทำความเข้าใจทุกคำในประโยค ลองผ่อนคลายและอ่าน รวมทั้งหาสถานที่ซึ่งช่วยให้ผ่อนคลายขณะอ่านหนังสือด้วย ตนเองจะได้อ่านหนังสืออย่างสบายและสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อ่านได้ เราจะหาอะไรไว้กินและดื่มตอนอ่านหนังสือก็ได้ จะได้ไม่หิวหรือกระหายเวลาอ่านหนังสือ
  • พยายามใส่ตัวเราเข้าไปในฉากของหนังสือที่เราอ่าน จะช่วยให้เราสนใจเรื่องที่อ่านมากขึ้น
  • พยายามอ่านหนังสือในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีเสียงดังรบกวน เพราะจะช่วยให้เราจดจ่อและจดจำสิ่งที่อ่านได้ดี ฟังเพลงเมื่อหยุดพักและค่อยกลับมาเริ่มอ่านอีกครั้ง
  • เรื่องที่เราอ่านต้องน่าสนใจ เราจะได้ไม่เบื่อหรือเผลอหลับ และหยุดพักเป็นช่วงๆ ด้วย
  • อย่างน้อยที่สุดลองอ่านออกเสียง ไม่ว่าจะอ่านออกเสียงให้สัตว์เลี้ยง พี่น้อง พ่อแม่ หรือให้ตัวเองฟัง การอ่านออกเสียงจะช่วยเพิ่มทักษะการอ่านด้วยการทำให้สมองของเราจดจำคำต่างๆ ที่เราอ่าน
โฆษณา

คำเตือน

  • การนั่งอยู่ในท่าเดิมนานอาจทำให้เราง่วงนอนหรือปวดเมื่อย ฉะนั้นเราควรยืดเหยียดตัวก่อนและระหว่างอ่านเพื่อทำให้ร่างกายตื่นตัวและสบายตัวอยู่เสมอ
  • การอ่านหนังสือในที่มืดจะทำให้เราปวดศีรษะ ฉะนั้นเมื่อจะอ่านหนังสือ ควรอยู่ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • เราควรอ่านหนังสือที่ทำให้เรารู้สึกสนุก การอ่านหนังสือที่ไม่สนุกอาจทำให้เราไม่อยากอ่านหนังสือมากขึ้น
  • การอ่านเป็นพฤติกรรมเสพติด เมื่อเริ่มอ่านทีละเล็กทีละน้อยทุกวัน เราอาจเห็นว่าตนเองนั้นเริ่มอ่านได้นานขึ้น สนุกที่ได้อยู่ในสถานที่และในโลกที่ไม่เคยเห็นมากขึ้น
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สิ่งที่ต้องการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร เนื้อเพลง หนังสือพิมพ์ พยายามเลือกอ่านเรื่องที่สนใจ ไม่อย่างนั้นเราจะเบื่อและง่วงนอน
  • โต๊ะหรืออะไรสักอย่างไว้วางหนังสือ จะวางหนังสือไว้บนตักก็ได้
  • ที่ซึ่งนั่งสบาย สถานที่ซึ่งเงียบสงบและไม่มีสิ่งรบกวน

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,304 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา