ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าแฟลชไดรฟ์ของคุณติด write-protected ก็แปลว่าแก้ไขและเซฟไฟล์ไม่ได้ รวมถึงฟอร์แมตไดรฟ์ไม่ได้ด้วย บทความวิกิฮาวนี้เลยจะมาแนะนำ 2 - 3 วิธีช่วยปลด write protection จากแฟลชไดรฟ์ USB ให้คุณเอง แต่ถ้าไดรฟ์ล่ม หรือถูกล็อคด้วยโปรแกรมรักษาความปลอดภัย ก็อาจช่วยอะไรไม่ได้มาก โดยวิธีการปลด write protection ของแฟลชไดรฟ์ USB ในบทความนี้ ทำได้ทั้งในคอม Windows และ macOS เลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้ Diskpart (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไดรฟ์ USB ที่ใช้ มีสวิตช์ write-protection ข้างๆ ลองเช็คดู อาจจะเลื่อนผิดตำแหน่งอยู่ (ล็อคไว้) ให้เลื่อนสวิตช์ก่อนทำขั้นตอนต่อไป
    • บางทีแฟลชไดรฟ์ก็ถูกล็อคด้วยโปรแกรมรักษาความปลอดภัย ป้องกันไม่ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลข้างในได้ แบบนี้จะปลด write-protection ของไดรฟ์ USB นั้นไม่ได้ [1]
  2. จะเสียบ USB ช่องไหนของคอมก็ได้
  3. ด้านล่างของเมนู ที่โผล่มาตอนคลิกขวาที่เมนู Windows Start เพื่อเปิดหน้าต่าง Run ขึ้นมา
  4. เพื่อเปิด Diskpart ใน Command Prompt
  5. จะเห็นรายชื่อไดรฟ์ทั้งหมด รวมถึงแฟลชไดรฟ์ แต่ละไดรฟ์จะมีชื่อ "Disk (หมายเลข)" และแต่ละหมายเลขประจำไดรฟ์จะไม่ซ้ำกัน
    • คุณระบุไดรฟ์ USB ได้ โดยดูพื้นที่ที่เหลือ ในหัวข้อ "Size" เช่น ถ้าไดรฟ์ USB มีขนาด 32 GB ก็จะเขียนว่า "32 GB" หรือใกล้เคียง ที่ล่าง "Size" ใน Command Prompt
  6. เปลี่ยน # เป็นเลขประจำแฟลชไดรฟ์ (เช่น "select disk 3") เพื่อเลือกไดรฟ์ USB ใน Diskpart
  7. เพื่อปลดสถานะ write-protected จากไดรฟ์
  8. เพื่อลบข้อมูลจากไดรฟ์ เสร็จแล้วจะตั้งค่าเพื่อใช้งานได้
  9. เพื่อแบ่งพาร์ทิชั่นในไดรฟ์ USB
  10. เพื่อแปลงไดรฟ์เป็นฟอร์แมตที่ใช้งานได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ถ้าพื้นที่ของไดรฟ์ USB น้อยกว่า 32 GB ให้พิมพ์ "format fs=fat32" ถ้าไดรฟ์ใหญ่กว่า 32 GB ให้พิมพ์ "format fs=ntfs" [2]
  11. เพื่อกลับไปยัง command prompt ตามปกติ เท่านี้ไดรฟ์ก็ใช้เก็บข้อมูลและอื่นๆ ได้แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ Registry Editor (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไดรฟ์ USB ที่ใช้ มีสวิตช์ write-protection ข้างๆ ลองเช็คดู อาจจะเลื่อนผิดตำแหน่งอยู่ (ล็อคไว้) ให้เลื่อนสวิตช์ก่อนทำขั้นตอนต่อไป
  2. ขั้นตอนคือ
    • กด Win + S เพื่อเปิดแถบค้นหา
    • พิมพ์ regedit ในช่องค้นหา
    • คลิก Registry Editor ในผลการค้นหา
    • คลิก Yes เพื่อเปิดแอพ
  3. ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อไปยังโฟลเดอร์ Control ใน system registry จะเห็นอีกหลายโฟลเดอร์ในโฟลเดอร์ Control
    • คลิกโฟลเดอร์ HKEY_LOCAL_MACHINE
    • คลิกโฟลเดอร์ SYSTEM
    • คลิกโฟลเดอร์ CurrentControlSet
    • คลิกโฟลเดอร์ Control
  4. ถ้าเห็นโฟลเดอร์นี้ในกรอบทางซ้าย (ในโฟลเดอร์ "Control") ให้ดับเบิลคลิกเพื่อแสดงข้อมูลในกรอบขวามือ ถ้าไม่เจอโฟลเดอร์นี้ ให้สร้างด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ [3]
    • คลิกขวาตรงที่ว่างในกรอบขวามือ เพื่อเปิดเมนูคลิกขวา
    • เลือก New แล้วเลือก Key ในเมนู
    • พิมพ์ StorageDevicePolicies แล้วคลิกตรงที่ว่าง เพื่อเซฟคีย์ใหม่
    • คลิก StorageDevicePolicies ในกรอบทางซ้าย เพื่อเปิดขึ้นมา
    • คลิกขวาตรงที่ว่าง ในกรอบขวามือ แล้วเลือก New > DWORD
    • พิมพ์ WriteProtect แล้วคลิกตรงไหนก็ได้ เพื่อเซฟ DWORD
  5. หน้าต่าง dialog จะโผล่มา
  6. ให้พิมพ์เลขศูนย์ โดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายคำพูด
  7. เปลี่ยนแปลงอะไรใน Registry Editor ต้องรีสตาร์ทก่อนถึงจะมีผล
  8. คุณเปิด File Explorer ได้โดยกด Win + E หรือโดยคลิกขวาที่เมนู Start แล้วเลือก File Explorer
  9. จะเห็นตัวเลือกสำหรับลบและฟอร์แมตไดรฟ์
  10. เพื่อลบข้อมูลในแฟลชไดรฟ์ แล้วเตรียมไดรฟ์ให้พร้อมใช้ [4]
    • ถ้าวิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล ให้ลองวิธี "ใช้ Diskpart (Windows)"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ Disk Utility (Mac OS X)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไดรฟ์ USB ที่ใช้ มีสวิตช์ write-protection ข้างๆ ลองเช็คดู อาจจะเลื่อนผิดตำแหน่งอยู่ (ล็อคไว้) ให้เลื่อนสวิตช์ก่อนทำขั้นตอนต่อไป
  2. เสียบแฟลชไดรฟ์ที่ติด write-protected ในช่อง USB ของเครื่อง Mac.
  3. ที่อยู่ในกรอบซ้ายมือ บางไอคอนก็โผล่มาในกรอบขวามือ
  4. ในกรอบขวามือ
  5. ที่เป็นไอคอนฮาร์ดไดรฟ์ มีหูฟังคุณหมอ ในกรอบขวา เพื่อเปิด tool สำหรับฟอร์แมตไดรฟ์
  6. จะเห็นข้อมูลบางส่วนของไดรฟ์ ในกรอบขวามือ
  7. ทางด้านบนของกรอบ [5]
  8. จะใช้ชื่อตั้งต้นต่อไปก็ได้
  9. ถ้าอยากให้แฟลชไดรฟ์ใช้ได้ทั้งใน PC และ Mac ให้เลือก MS-DOS (FAT) (แฟลชไดรฟ์เล็กกว่า 32 GB) หรือ ExFAT (ไดรฟ์ที่ใหญ่กว่า 32 GB) ไม่งั้นก็เลือก Mac filesystem type
  10. มุมขวาล่างของหน้าต่างที่เปิดอยู่ เพื่อให้ Mac ฟอร์แมตไดรฟ์ที่ติด write-protected แล้วเปลี่ยนสถานะ sharing and permissions เป็น "read and write [6] "
    • ถ้าทำขั้นตอนนี้แล้วไดรฟ์ยังใช้ไม่ได้ แสดงว่าเป็นที่กลไก ไดรฟ์อาจจะเสีย แบบนี้ต้องซื้อใหม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากเปิดหรือใช้แฟลชไดรฟ์ที่ติด write-protected ใน Mac ให้ลองใช้แฟลชไดรฟ์นั้นกับ Windows ก่อน แล้วค่อยฟอร์แมตไดรฟ์ เพราะบางทีแฟลชไดรฟ์อาจจะขึ้น “read-only” เฉพาะใน Mac ด้วยปัญหาการใช้งานข้ามระบบ Apple และ Windows ไม่ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าแฟลชไดรฟ์เสียหรือชำรุดที่ตัวอุปกรณ์ ขั้นตอนในบทความวิกิฮาวนี้อาจจะใช้ฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์ที่ติด write-protected ไม่ได้ผล ถ้าทำตามขั้นตอนแล้วยังฟอร์แมตแฟลชไดรฟ์ไม่ได้ แนะนำให้ซื้อใหม่เลยจะดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 50,862 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา