ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการประกอบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop) ใช้เอง ด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่คุณเป็นคนเลือกซื้อ ประกอบคอมใช้เองก็ดีตรงที่เลือกสเปคคอมและงบประมาณได้เองตามใจชอบ แต่ก็ต้องเลือกชิ้นส่วนต่างๆ และนำมาประกอบให้ถูกต้องตามลำดับด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

วางแผนก่อนประกอบคอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะซื้อชิ้นส่วนหรือกำหนดงบประมาณ ต้องรู้ก่อนว่าจะประกอบคอมไว้ใช้ทำอะไร ปกติคอมตั้งโต๊ะทั่วไป (desktop PC) ที่ใช้งานทั่วไปอย่างท่องเว็บ และโปรแกรมเล็กๆ น้อยๆ (อย่าง Microsoft Word กับ Excel) ก็ใช้ชิ้นส่วนที่ถูกกว่าหรือไม่ต้องรุ่นใหม่ล่าสุดได้ แต่ถ้าจะประกอบคอมไว้เล่นเกมหรือตัดต่อคลิป ก็ต้องใช้ชิ้นส่วนแรงๆ รุ่นใหม่ล่าสุด [1]

    หมายเหตุ: ถ้าเป็นคอมใช้งานทั่วไป จะประกอบได้ในงบไม่น่าเกิน 15,000 บาท แต่ถ้าเป็นคอมสำหรับเล่นเกมและตัดต่อคลิป จะมีตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จนถึงเป็นแสนก็มี

  2. ถ้าแค่เลือกซื้อชิ้นส่วนเจ๋งๆ แพงๆ เข้าไว้ ทุกอย่างคงง่ายไปหมด แต่ที่เราต้องตั้งงบไว้ก่อนก็เพื่อป้องกันกระเป๋าฉีก และต้องครอบคลุมชิ้นส่วนทั้งหมดที่จำเป็นในการประกอบคอม ให้ตั้งงบต่ำสุด (เช่น 10,000 บาท) ไปจนถึงงบแพงสุด (เช่น 12,000 บาท) แล้วพยายามเลือกซื้อชิ้นส่วนให้รวมแล้วอย่าเกินช่วงราคานี้
    • ซื้อแบบมีสติและเหตุผลจะปลอดภัยที่สุด เช่น ถ้า CPU ในงบ อยู่ที่ 3,000 บาท แต่มีรุ่นใหม่ไฉไลกว่ากำลังลดอยู่ จาก 6,000 เหลือแค่ 3,600 บาท แบบนี้คิดว่าเพิ่มอีกแค่ 600 แต่ได้รุ่นใหม่ไปเลย ก็จะใช้งานได้ดีกว่าในระยะยาว
  3. ไม่ว่าคอมจะถูกแพงแค่ไหน แต่ต่อไปนี้คือชิ้นส่วนจำเป็นที่ต้องหาซื้อไว้ [2]
    • CPU — เป็นเหมือน "สมอง" ของคอมนั่นเอง
    • เมนบอร์ด — เป็น interface ไว้สื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนของคอมกับ CPU
    • แรม — RAM หรือ Random Access Memory ยิ่งแรมเยอะ ก็ยิ่งมี "workspace" หรือความจำให้คอมได้ใช้ทำงานเยอะขึ้นเท่านั้น ให้นึกภาพว่าแรมเป็น "โต๊ะ" ยิ่งแรมเยอะก็ยิ่งมีที่เหลือไว้ทำนู่นนี่นั่น ถ้าแรมน้อย ก็เหมือนคุณมีโต๊ะแคบๆ ทำอะไรก็ติดขัดไปหมด!
    • ฮาร์ดไดรฟ์ — เอาไว้เก็บข้อมูล คุณจะใช้ฮาร์ดไดรฟ์มาตรฐาน หรือเลือกใช้ solid state drive (SSD) ที่แพงกว่าก็ได้ ถ้าอยากได้คอมที่ทำงานรวดเร็วทันใจ
    • Power supply — ใช้จ่ายไฟให้ชิ้นส่วนต่างๆ ของคอม นอกจากนี้ power supply ยังเป็น interface สื่อสารระหว่างคอมกับปลั๊กที่ผนัง ที่เสียบคอมไว้ด้วย
    • เคสคอม — เอาไว้เก็บรักษาให้ชิ้นส่วนต่างๆ ปลอดภัยและเย็นอยู่เสมอ
    • การ์ดจอ (graphics card) — ใช้ render รูปในคอม ปกติ CPU ส่วนใหญ่จะมีการ์ดจอในตัว (graphics processing unit (GPU)) แต่จะซื้อการ์ดจอแยกก็ได้ ถ้าจะใช้คอมเล่นเกมหรือตัดต่อหนักๆ
    • ระบบระบายความร้อน — รักษาอุณหภูมิในเคสคอมให้อยู่ในระยะปลอดภัย จำเป็นเฉพาะคอมสำหรับเล่นเกมและตัดต่อเท่านั้น ถ้าเป็นคอมทั่วไป ใช้แค่ stock cooler หรือระบบระบายความร้อนในตัวก็พอแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เลือกซื้อชิ้นส่วน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ร้านคอมที่มีสาขาใหญ่ๆ ตามห้าง จะมีชิ้นส่วนต่างๆ สต็อกไว้พร้อมขาย แต่ถ้าหาซื้อตามร้านหรือผู้ขายในเน็ต ก็จะได้ราคาที่ย่อมเยากว่า ซึ่งก็ต้องเลือกที่คนนิยมหรือร้านดังๆ เหมือนกัน และเช็คเรตติ้งกับรีวิวให้ดี เพราะสมัยนี้มิจฉาชีพก็เยอะใช่เล่น
    • อย่าเมินพวกอะไหล่มือ 2 โดยเฉพาะที่โฆษณาว่า "เหมือนใหม่" หรือสภาพดี เพราะถ้าเจอร้านที่เชื่อใจได้ บอกเลยว่าชิ้นส่วนประเภทนี้คุ้มมาก ลดเยอะโดยที่ฟังก์ชั่นการใช้งานอยู่ในสภาพดีมาก
  2. ศึกษาข้อมูลของทุกชิ้นส่วนที่จะซื้อให้ละเอียด. คุณศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในแมกกาซีนคอมและรีวิวจากผู้ใช้งานจริงในเว็บ บอกเลยว่าขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะคอมจะออกมาเป็นยังไง ขึ้นอยู่กับการทำงานของแต่ละชิ้นส่วน
    • ลองค้นหาข้อมูลในเน็ตเพิ่มเติมดู ถ้าจะประกอบคอมราคาย่อมเยาไว้เล่นเกม วิธีเลือกชิ้นส่วนในการประกอบคอม และวิธีประกอบคอมแรงๆ แต่เงียบได้ใจ
    • มองหารีวิวดีๆ ของชิ้นส่วนที่ตั้งใจจะซื้อ ทั้งในเว็บที่จะซื้อและที่อื่นๆ อย่าไปใส่ใจพวกกราฟหรือข้อมูลสถิติตัวเลขที่เอาไว้โฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะแทบจะเป็นการแต่งตัวเลขให้ดูดีเกินจริง ถ้าเป็นเว็บเมืองนอกที่รีวิวชิ้นส่วนคอมได้น่าสนใจ ก็เช่น Linus Tech Tips, Tom's Hardware และ Gamers Nexus
    • พอเจอชิ้นส่วนที่รีวิวดีๆ แล้ว ก็อย่าลืมดูรีวิวไม่ค่อยดีด้วย บางทีอาจจะบังเอิญเจอชิ้นส่วนที่เหมาะกับการใช้งานบางอย่างก็ได้ แค่ไม่ตรงใจคุณ
  3. CPU หรือ processor เรียกว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เลย ยิ่ง CPU แรงเร็ว gigahertz (GHz) เยอะ ก็ยิ่งประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้นเท่านั้น หลายแอพต้องใช้หลาย threads พร้อมๆ กัน ยิ่ง core เยอะ ก็ยิ่งทำงานรวดเร็วทันใจ
    • ปกติงบส่วนใหญ่จะหมดไปกับ CPU นี่ละ
    • ปกติ CPU จะมีแบบ quad-core (4 core) และ hexa-core (6 core) หรือมากกว่านั้น ถ้าไม่ได้จะประกอบ PC แรงเว่อร์สำหรับคอเกม ก็ใช้ไม่เกิน 6 core กำลังดี
    • CPU จะมี 2 ยี่ห้อหลักๆ ด้วยกัน คือ Intel กับ AMD แต่ปกติ AMD จะคุ้มค่ากว่า
  4. ต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้กับ CPU ของคุณได้ จะรู้ได้ก็ต้องเช็ค socket หรือช่องเสียบ CPU และเมนบอร์ด อีกอย่างคือให้เลือกเมนบอร์ดที่มีสิ่งต่อไปนี้ [3]
    • "Wi-Fi ออนบอร์ด" (เพื่อให้คอมต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi ได้)
    • บลูทูธ
    • ช่องเสียบ RAM หลายๆ slot
    • รองรับการ์ดจอ (graphics card) แยก ถ้าจะใช้ (PCIe x16 slot)
  5. RAM มีหน้าที่เก็บข้อมูลจากโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ เพราะฉะนั้นสำคัญว่าต้องมีแรมมากพอ ก่อนจะเลือกซื้อ RAM ต้องเช็คทั้ง CPU และเมนบอร์ดก่อน ว่ารองรับ RAM แบบไหน [4]
    • แต่ก็มีจำกัดว่าคอมแต่ละเครื่องจะใช้ RAM ได้สูงสุดเท่าไหร่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของ CPU (ปกติอยู่ที่ 64 GB) และแอพต่างๆ ด้วย อย่างถ้าโปรแกรมเก็บข้อมูลใน RAM แค่ 1 GB ถึงเพิ่ม RAM ไปก็ไม่ได้ทำให้ใช้งานเร็วขึ้น ส่วนใหญ่เลยแนะนำแรมที่ 8 GB แต่ถ้าเป็นคอมของคอเกม เลือกแบบ 16 GB จะดีกว่า
    • อันนี้แล้วแต่เมนบอร์ดที่ใช้ แต่ปกติแนะนำ DDR3 RAM หรือ DDR4 RAM โดยประเภท RAM ที่เมนบอร์ดรองรับ จะมีบอกไว้ในคู่มือเมนบอร์ดเลย
  6. แปลกแต่จริง ชื่อ hard แต่เลือกง่ายอย่าบอกใคร เพราะฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไปนั้นใช้ได้กับแทบทุกเมนบอร์ดและ CPU เลย แต่อาจจะต้องเช็คก่อนว่าฮาร์ดไดรฟ์ที่เลือกซื้อนั้นจะใส่ในเคสคอมที่เตรียมไว้ได้ ที่ต้องซื้อคือฮาร์ดไดรฟ์ SATA ที่จุได้อย่างน้อย 500 GB และต้องเลือกยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ อย่าง Western Digital, Seagate หรือ Toshiba
    • ฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไปจะมีความเร็วอยู่ที่ 7200 RPM (รอบต่อนาที)
    • ฮาร์ดไดรฟ์เชื่อมต่อแบบ IDE แทน SATA ได้ด้วย แต่ SATA จะใหม่กว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ แทบทุกรุ่นเลยรองรับแบบนี้
    • ถ้าอยากได้ฮาร์ดไดรฟ์เล็กๆ แต่ดึงข้อมูลเร็ว ให้ซื้อ solid state drive (SSD) แทน เป็นไดรฟ์ที่ค่อนข้างแพงกว่าฮาร์ดไดรฟ์ทั่วไปของคอม นิยมใช้เป็นไดรฟ์เสริมของไดรฟ์ที่ใหญ่กว่า
    • SSD ปกติจะเชื่อมต่อแบบ SATA โดยรุ่นใหม่ๆ จะใช้ NVMe M.2 หรือ SATA M.2 แต่บางเมนบอร์ดจะไม่รองรับ NVMe หรือ M.2 standard
  7. การ์ดจอแยก (dedicated graphics card) นั้นขาดไม่ได้เลย ถ้าจะเล่นเกมใหม่ๆ แต่ถ้าเป็นคอมใช้งานทั่วไปประจำวัน จะไม่มีก็ได้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เรียกว่าของมันต้องมีสำหรับคอเกมและนักตัดต่อคลิปมือฉมัง [5]
    • ก็เหมือนชิ้นส่วนอื่นๆ คือต้องเช็คก่อนซื้อ ว่าการ์ดจอใหม่นี้ใช้ได้กับเมนบอร์ดที่มี แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร
    • ปกติการ์ดจอจะกินงบประมาณ 1/3 ถ้าจะประกอบคอมสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ
    • CPU ของ Intel แทบทั้งหมดจะใช้การ์ดจอออนบอร์ด เลยไม่ต้องใช้การ์ดจอแยกถ้าแค่จะใช้คอมทำงานทั่วๆ ไป อย่างงานเอกสาร ท่องเว็บ เช็คอีเมล และเล่นเกมออนไลน์นิดๆ หน่อยๆ ส่วน AMD จะมี CPU 2200G และ 2400G ที่มาพร้อมการ์ดจอออนบอร์ดที่แรงพอตัว เล่นเกมด้วย settings ต่ำๆ ได้
    • การ์ดจอมีหลายชื่อ ทั้ง "graphics cards", "video cards" และ "GPU"
  8. power supply คือตัวจ่ายไฟให้ทุกชิ้นส่วนในคอม บางเคสคอมก็มาพร้อม power supply ในตัว แต่บางทีก็ต้องหามาติดตั้งเอง โดย power supply ต้องแรงพอจะจ่ายไฟให้ชิ้นส่วนทั้งหมด แต่ก็ไม่ต้องกังวลเรื่อง power supply ต้องแรงจนกินไฟเปล่าๆ เพราะจะจ่ายไฟเป็นกำลังวัตต์เท่าที่ใช้ และจะจำกัดวัตต์ตามที่ระบุไว้เท่านั้น

    เคล็ดลับ: ให้เลือกใช้ power supply ยี่ห้อดังๆ เชื่อถือได้ เช่น Seasonic, beQuiet, EVGA และ Corsair

  9. เคสคือส่วนที่ครอบทุกชิ้นส่วนของคอมไว้ บางเคสก็มาพร้อม power supply ในตัว แต่ถ้าจะประกอบคอมสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ ก็แนะนำให้ใช้ power supply แยก เพราะ power supply ที่ติดมากับเคสส่วนใหญ่คุณภาพไม่สูงเท่าไหร่ [6]
    • ขนาดของเคสนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวน drive bay และ card slots ที่มี รวมถึงขนาดและประเภทของเมนบอร์ดด้วย
    • ให้เลือกเคสที่ใส่ทุกชิ้นส่วนลงไปได้ รวมถึงฮาร์ดไดรฟ์
    • ถ้าเคสค่อนข้างแน่น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ระวังพวกชิ้นส่วนแพงๆ ที่กินไฟ จะร้อนจัดขึ้นมาได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ประกอบคอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ground ตัวเอง . ให้ใช้สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต จะได้ไม่เกิดปัญหาถ่ายเทประจุจนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของคอมเสียหายได้ หรือง่ายกว่านั้นคือแตะเหล็กแผ่นใหญ่ๆ อย่าง radiator เพื่อถ่ายประจุซะก่อน
  2. โดยไขสกรูจากแผงด้านข้างเคส (หรือเลื่อนออกไปทางด้านหลังของเคส)
  3. บางเคสคอมจะมี power supply ในตัว แต่บางเคสก็ต้องซื้อ power supply มาติดตั้งเอง ต้องแน่ใจว่าติดตั้ง power supply ถูกด้านแล้ว และไม่มีอะไรบังพัดลมของ power supply [7]
    • ปกติ power supply จะอยู่ทางด้านบนหรือด้านล่าง ทางด้านหลังของเคส ถ้าเห็นว่ามีตรงไหนโหว่ๆ ที่ด้านหลังเคส นั่นแหละจุดติดตั้ง power supply
  4. แนะนำว่าจะทำขั้นตอนนี้ได้ง่ายสุด ถ้าทำก่อนติดตั้งเมนบอร์ด เพราะในเคสมีพื้นที่จำกัด ถ้าทำทีหลัง จะเสียบสายต่างๆ ของชิ้นส่วนได้ยาก [8]
    • ติดตั้ง CPU ที่เมนบอร์ด โดยหาพอร์ทของ CPU ที่ด้านบนของเมนบอร์ด ปกติ indicator ของ CPU และเมนบอร์ดจะบอกให้รู้ ว่าต้องวางทิศทางไหน
    • ติดตั้ง RAM ที่เมนบอร์ด โดยมองหา slot สำหรับเสียบ RAM แล้วเสียบ RAM เข้าไปให้ถูกวิธี (เสียบได้คือได้ เสียบไม่ได้ห้ามฝืน)
    • ติดตั้ง power supply ที่ power connector ของเมนบอร์ด
    • หา (แต่อย่าเพิ่งเสียบ) พอร์ท SATA ของฮาร์ดไดรฟ์ที่เมนบอร์ด เดี๋ยวต้องเสียบฮาร์ดไดรฟ์เข้ากับเมนบอร์ดตรงนี้
  5. แต้ม thermal paste ที่ CPU แค่จุดเล็กๆ (ประมาณเมล็ดข้าวหรือเมล็ดถั่ว) ถ้าทา thermal paste เยอะไปจะเลอะเทอะ อาจจะเลอะ socket หรือช่องเสียบเมนบอร์ด จนทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ช็อตได้ รวมถึงทำให้เมนบอร์ดราคาตก ถ้าคิดจะขายมือสอง [9]

    เคล็ดลับ: บาง CPU ที่มี heat sink ในตัว จะไม่ต้องทา thermal paste เพราะ heat sink ทา thermal paste มาแล้วจากโรงงาน ให้สังเกตด้านล่างของ heat sink ก่อนตัดสินใจทา paste ที่ CPU [10]

  6. ขั้นตอนจะต่างกันไปตาม heat sink ที่ใช้ ก็ให้อ่านคู่มือของ CPU ที่ใช้ [11]
    • ระบบระบายความร้อนที่ติดมา จะอยู่เหนือ CPU โดยติดอยู่กับเมนบอร์ด
    • ถ้า heat sink เป็นอะไหล่ที่เปลี่ยนทีหลัง จะมีกรอบเอาไว้ติดใต้เมนบอร์ด
    • ไม่ต้องทำขั้นตอนนี้ ถ้า CPU มี heat sink ในตัว
  7. อาจจะต้องถอดแผงหลังเคสออกก่อน ถึงจะประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ได้ถูกตำแหน่ง
    • ถ้าเคสมีที่วางฮาร์ดไดรฟ์แยกชั้นกัน ให้ติดตั้งแต่ละชั้นด้วยสกรูที่ให้มา
    • อาจจะต้องติดตั้งและเสียบสายพัดลมเคสก่อนจะติดตั้งชิ้นส่วนอื่นๆ แบบนั้นก็ให้ทำไปตามขั้นตอนการติดตั้งพัดลมที่แนะนำไว้
  8. พอติดขาตั้งแล้ว ให้วางเมนบอร์ดในเคส แล้วดันไปชิดแผ่นด้านหลังของเคส เพราะพอร์ทหลังเคสทั้งหมดต้องลงล็อคกับรูที่แผ่น I/O ด้านหลัง
    • ขันสกรูที่ให้มา เพื่อยึดเมนบอร์ดกับขาตั้ง ผ่านรูที่มีแผ่นรองของเมนบอร์ด
  9. ปกติจะรวมกันอยู่ที่เมนบอร์ด ทางด้านหน้าของเคส จะเสียบอันไหนก่อนก็ขึ้นอยู่กับว่าอันไหนเสียบง่ายสุด ให้ประกอบพอร์ท USB, สวิตช์ Power และ Reset, ไฟ power ที่เป็น LED, ไฟฮาร์ดไดรฟ์ และสาย audio ปกติคู่มือเมนบอร์ดจะบอกไว้ว่าแต่ละขั้วแต่ละสายต้องเสียบอยู่กับเมนบอร์ดยังไง [12]
    • ปกติจะเสียบสายที่เมนบอร์ดได้ทิศทางเดียว ถ้าไม่เข้าก็อย่าฝืน
  10. ขั้นตอนนี้จะต่างกันไปตามเคสคอมที่ใช้ แต่ปกติจะเป็นไปดังต่อไปนี้ [13]
    • ถอดแผงด้านหน้าของเคส (ถ้าจะติดตั้งไดรฟ์แบบ optical ปกติต้องติดตั้งทางด้านบนของเคส)
    • เสียบฮาร์ดไดรฟ์ใน slot (เหมือนเดิม คืออยู่ทางด้านบนของเคส)
    • ขันสกรูทั้งหมดที่จำเป็นให้แน่น เพื่อยึดไดรฟ์ไว้กับที่
    • เสียบสาย SATA ของฮาร์ดไดรฟ์ที่ SATA slot ของเมนบอร์ด
  11. ถ้ายังไม่ได้เชื่อมต่อ power supply กับชิ้นส่วนต่างๆ ที่ต้องจ่ายไฟให้ ก็อย่าลืมเสียบ โดยเฉพาะชิ้นส่วนดังต่อไปนี้
    • เมนบอร์ด
    • การ์ดจอ
    • ฮาร์ดไดรฟ์
  12. พอวางและเชื่อมต่อชิ้นส่วนภายในต่างๆ ของคอมแล้ว ที่เหลือก็คือเช็คว่าสายต่างๆ ไม่เกะกะ อากาศไหลเวียนสะดวก จากนั้นก็ปิดเคสได้เลย
    • ถ้าซื้อระบบระบายความร้อนมา ก็ต้องติดตั้งก่อนไปต่อ ส่วนขั้นตอน ให้ศึกษาจากคู่มือของ cooler ที่ใช้
    • หลายเคสจะมีแผงที่เลื่อนกลับเข้าที่ได้ หรือต้องขันสกรูที่ด้านข้างของเคสแทน
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เปิดคอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ใช้สายไฟหลัก เสียบคอมเข้ากับปลั๊กที่ผนังหรือปลั๊กราง
    • อาจจะต้องเสียบสายไฟที่ power source input ด้านหลังเคสคอมซะก่อน
  2. ปกติให้เสียบที่ output การ์ดจอ ทางด้านล่างของเคสคอม แต่บางเมนบอร์ดก็จะมีพอร์ทนี้ที่ด้านขวาหรือด้านซ้ายของเคสแทน [14]
    • ปกติ output นี้จะเป็นพอร์ท DisplayPort หรือ HDMI
  3. กดปุ่ม Power ของคอม ที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเคส ถ้าเสียบต่อทุกอย่างถูกต้องแล้ว คอมจะเปิดเครื่องขึ้นมา

    เคล็ดลับ: ถ้ามีปัญหาในขั้นตอน startup หรือถ้าคอมเปิดไม่ติด ให้ถอดปลั๊กไฟก่อน จากนั้นเปิดเคส แล้วเช็คจุดเชื่อมต่อทั้งหมดก่อน

  4. ติดตั้ง Windows หรือ Linux . Windows ใช้ได้ใน PC ทุกเครื่อง และจะทำให้ใช้ฟีเจอร์ต่างๆ (เช่น บลูทูธ) ได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ก็ต้องซื้อ Windows ก่อน ถ้าไม่มี product key ส่วน Linux นั้นใช้ได้ฟรี แต่ก็อาจจะใช้ hardware ต่างๆ ของคอมได้ไม่ครบถ้วน
    • ถ้าไม่มีไดรฟ์ USB สำหรับติดตั้ง อาจจะต้องสร้างก่อนในคอมเครื่องอื่น แล้วค่อยนำมาติดตั้งระบบปฏิบัติการ
  5. ติดตั้งไดรฟ์เวอร์ . พอติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้ว ก็ต้องติดตั้งไดรฟ์เวอร์ด้วย แทบจะทุก hardware ที่ซื้อมา จะมาพร้อมแผ่นติดตั้งไดรฟ์เวอร์ของ hardware ที่ต้องมีถึงจะทำงานได้
    • Windows และ Linux เวอร์ชั่นใหม่ๆ จะติดตั้งไดรฟ์เวอร์ส่วนใหญ่โดยอัตโนมัติหลังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางชิ้นส่วนจะมาพร้อมพลาสติกป้องกันรอยขีดข่วน ต้องเอาออกก่อน ไม่งั้นแป๊บเดียวคอมมีกลิ่นเหม็นไหม้แน่
  • สายต่างๆ ของ power supply จะเสียบได้ทางเดียว ให้ออกแรงกดลงไปตรงๆ ถ้าใช้ power supply รุ่นใหม่ แบบหัวเสียบ EPS 12V 8-pin และ PCI Express 8-pin ก็อย่าออกแรงกดมากตอนเสียบ
  • ถ้าติดตั้ง water cooling system หรือระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ แทนพัดลมปกติ ต้องทดสอบระบบ 24 ชั่วโมงก่อน เพื่อเช็คว่าน้ำจะรั่วไหม แล้วค่อยติดตั้งจริงในคอม
  • ให้ใช้สายพลาสติก zip tie รวมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วเดินสายให้อากาศไหลเวียนสะดวก
  • ถ้าซื้อ Microsoft Windows เวอร์ชั่น original equipment manufacturer (OEM) มา และมีสติกเกอร์ license อาจจะต้องแปะสติกเกอร์ที่ด้านข้างของ PC ไว้อ้างอิงในอนาคต เวลา Windows Setup ถามหา
  • บาง power supply จะมีหม้อแปลง 115/230V ในตัว อย่างถ้าในอเมริกาก็จะใช้ 115V setting [15]
โฆษณา

คำเตือน

  • เวลาติดตั้งชิ้นส่วนต่างๆ ของคอม ต้องระวังเรื่องไฟฟ้าสถิต โดยใส่สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต หรือ ground ตัวเองเรื่อยๆ โดยแตะแผ่นเหล็กของเคสก่อนแตะต้องชิ้นส่วนต่างๆ
  • ทุกชิ้นส่วนต้องใช้กันได้กับเมนบอร์ด สำคัญมาก!
  • เวลาประกอบ ต้องระวังขอบแผ่นเหล็กคมๆ ของเคส เพราะบาดมือง่ายมาก โดยเฉพาะเคสเล็กเป็นพิเศษ
  • ระวังอย่าซื้อชิ้นส่วนคอมจากผู้ขายที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะออนไลน์ เพราะของแบบนี้หลอกกันง่ายมาก ดีไม่ดีจะได้ชิ้นส่วนมือสองหรือมีตำหนิมาโดยไม่รู้ตัว
  • ให้ซื้อ power supply ตรงตามความต้องการเฉพาะของระบบ โดยเลือกยี่ห้อดังที่เชื่อถือได้ เพราะแบบที่ราคาถูกอาจมีตำหนิหรือชำรุด จนทำให้เสียไปทั้งระบบได้
  • อย่าแตะต้องตัวต้านทานไฟฟ้า (resistors) และ pin ใน CPU หรือช่องเสียบ (socket)
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนประกอบคอม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 157,372 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา