ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การระบายสีอะครีลิกนั้นจะว่าไปก็เหมือนระบายสีด้วยพลาสติกนั่นเอง มันมีความเหมือนการระบายสีน้ำอยู่บ้าง แต่พอแห้งจะไม่ละลายน้ำ เพราะการระบายสีอะครีลิกนั้นทำได้อเนกประสงค์ คุณจึงสามารถใช้มันแตกต่างกันได้นับร้อยแบบ ข้อจำกัดเดียวว่าคุณจะทำอะไรกับมันได้บ้างคือจินตนาการของคุณเองเท่านั้น ในบทความนี้ เราจะแนะนำเคล็ดลับเบื้องต้น ทั้งเทคนิคการระบายสี เช่น การกลืนสี ทำให้สีจาง และการปรับความเข้มของสี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมผิวหน้าที่จะระบายสีให้พร้อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถระบายสีลงบนแผ่นไม้อัด (หรือแผ่นไม้ที่ตรึงกางเขนรองด้านหลัง) หรือระบายลงบนกระดานผืนผ้าใบหรือผ้าใบขึงตึง เลือกวัตถุอะไรก็ได้ที่สีอะครีลิกสามารถติดได้ง่าย
  2. หากระดาษที่เป็นเนื้อลายหรือกระดาษโอริงามิมาใช้เป็นพื้นผิว สำหรับฉากหลังเรียบนั้นให้ทาพื้นผิวเป็นสีขาว ส่วนกระดาษให้ใช้กาวมอดพอดจ์ (Mod Podge) ปิดไม้แล้วนำกระดาษมาปิดทับ ใช้หนังสือหรือวัตถุอย่างอื่นมาทับให้แน่ใจว่ามันไม่มีฟองอากาศ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วพ่นกาวมอดพอดจ์รองพื้นเพิ่มอีกสิบชั้นหรือกว่านั้น.
  3. Watermark wikiHow to ระบายสีอะครีลิก
    ใช้น้ำชโลมผิวหน้า แล้วใช้กระดาษทรายที่มีความละเอียด 120 คุณต้องการให้สีระบายลงบนพื้นผิวที่เรียบเท่าที่จะทำได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ระบายสี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สีอะครีลิกนั้นแห้งได้ง่ายๆ ทำให้ใช้งานลำบาก ให้แน่ใจว่าคุณได้รักษาสีให้อยู่ในสภาพใช้งานได้โดยทำตามนี้:
    • ใช้น้ำฉีดใส่จานสีบ่อยๆ ในระหว่างระบายสี การมีกระบอกฉีดน้ำเล็กๆ ใส่น้ำไว้จนเต็มอยู่ใกล้มือช่วยได้อย่างมาก
    • บีบสีอะครีลิกในปริมาณคราวละเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องกระตือรือร้นจนเกินไป บีบออกมาเฉพาะเท่าที่จะระบายก็พอ
    • คุณสามารถซื้อจานสีแบบเปียกตลอดเพื่อช่วยให้สีชุ่มชื้น จานสีแบบนี้มักจะใช้กระดาษซับ (รองด้านล่าง) กับกระดาษกันไขมัน (ปิดด้านบน) กระดาษซับจะซับน้ำไว้และกระดาษกันไขมันจะปิดไว้ด้านบน
  2. Watermark wikiHow to ระบายสีอะครีลิก
    ไม่ว่าจะบีบออกมาจากหลอดโดยตรง หรือผสมกับสีขาวล้วน สีอะครีลิกทั้งหมดจะดูทึบแสง ให้ควบคุมความทึบแสงนี้โดยการเติมน้ำมากขึ้น ยิ่งผสมน้ำมากขึ้น สีก็จะยิ่งโปร่งแสง เราจะใช้สีโปร่งแสงสำหรับเวลาต้องการให้ดูเหมือนใช้สีน้ำหรือใช้แอร์บรัช
  3. ระบายด้วยพู่กันขนาดใหญ่ก่อน แล้วค่อยใช้พู่กันหัวเล็กตกแต่งรายละเอียด. เริ่มด้วยเค้าโครงขอบร่างขนาดใหญ่แล้วค่อยไล่ลงไปหาส่วนที่ละเอียดกว่านั้น คุณจะพบว่าตอนระบายขอบร่างใช้พู่กันหัวใหญ่ระบายสีทึบดีกว่า แล้วค่อยใช้สีโปร่งเวลาเก็บรายละเอียด
  4. Watermark wikiHow to ระบายสีอะครีลิก
    หลังล้างสีที่ติดพู่กันออกในน้ำ ให้นำพู่กันสะอาดนั้นมาซับน้ำหรือเช็ดกับผ้าสะอาด มันจะช่วยไม่ให้น้ำไหลขึ้นลงตามโคนขนแปรงพู่กัน ทำให้เกิดรอยซึมของสีบนผืนผ้าใบ
  5. Watermark wikiHow to ระบายสีอะครีลิก
    มีกฎอยู่ไม่กี่ข้อในการระบายสีอะครีลิก แต่หนึ่งในนั้นคือเวลาจะผสมสีอะครีลิกจากหลอด ให้ใช้น้ำไม่เกิน 20% โดยปริมาตร (เมื่อเทียบกับตัวสี) หากใช้น้ำเกิน 20% หรือใช้น้ำแร่ อาจทำให้สารเกาะตัวที่ทำให้สียึดติดบนพื้นผิวเสียคุณสมบัติไป ทำให้ระบายไปไม่นานสีจะลอกออก
    • ผสมสื่อกลางอื่นๆ เช่นสีเคลือบหรือแป้งเปียกสัมผัสหยาบในตอนเจือสี สีเคลือบทำให้สีอะครีลิกเกิดเอฟเฟกต์หลายแบบ เช่น ทำลายหินอ่อน ทำภาพหลอกตา และเคลือบผิว แป้งเปียกสัมผัสหยาบจะเติมผิวสัมผัสเป็นลายให้กับสี เพียงแค่ทำให้สีเปียกเล็กน้อยหลังจากแห้งแล้ว พวกมันสามารถทำให้ดูมันวาวได้โดยการทาน้ำยาวานิชเคลือบด้านบน
  6. มันจะช่วยเผยให้เห็นความไม่สมดุลในงานวาดของคุณ และชี้ข้อผิดพลาดออกมาให้คุณเห็น
  7. Watermark wikiHow to ระบายสีอะครีลิก
    การผสมสีอะครีลิกนั้นทั้งสนุกและน่าสนใจ และบางทีมันก็ยากด้วย จงอดทนและทดลองหลายๆ ครั้ง คุณจะเริ่มผสมสีให้กลืนกันได้แบบสมจริงโดยเร็ว
    • ใช้สารยืดเวลาระหว่างผสมสี สารยืดเวลาเป็นสารตัวกลางของอะครีลิกที่จะชะลอเวลาแห้งของสี และจึงเพิ่ม "โอกาส" ในการระบายสี ทำให้มันผสมกลืนกันได้ง่ายขึ้น สารยืดเวลานี้ใช้ได้ทั้งบนผ้าใบและบนพู่กัน
    • ใช้ด้านข้างของพู่กันในการลงสี การใช้ปลายนิ้วหรือปลายพู่กันมักจะขูดสีออกมากกว่าจะเป็นการเลี่ยให้สีสม่ำเสมอ
    • ผสมสีสองสีเข้าด้วยกันโดยการทำให้พู่กันแห้งแล้วเกลี่ยตรงเส้นที่สีทั้งสองมาบรรจบกันจนสีทั้งสองผสมกัน บางทีคุณอาจต้องการให้สีทั้งสองอ่อนลงเพื่อที่สีที่ผสมจะเป็นหนึ่งเดียวกัน บางทีคุณอาจต้องการผสมให้เข้มขึ้น เพื่อที่มันจะไม่สะดุดตานัก
  8. Watermark wikiHow to ระบายสีอะครีลิก
    เทปกาวแบบมาสกิ้งเทปสามารถนำมาใช้แบบเดียวกับที่จิตรกรนำมาติดเพื่อวาดขอบเพดาน สามารถใช้เทปกาวนี้ติดตรงสีที่แห้งโดยไม่ทำความเสียหาย แค่ติดเทปให้สีไม่อาจผ่านข้างใต้มันไปได้ พอคุณระบายสีของเสร็จ แกะเทปออกก็จะได้สีที่ทาเป็นเส้นตรงและคม
  9. Watermark wikiHow to ระบายสีอะครีลิก
    ตอนนี้สมมติให้คุณมีสีเขียวอย่างที่ชอบ แต่คุณอยากทำให้มันอ่อนลง หรือคุณมีสีฟุชเชีย แต่อยากให้มันเข้มขึ้น ก็สามารถทำให้สีอ่อนลงหรือเข้มขึ้นได้โดยการเติมสีขาวและสีดำ การทำให้สีอ่อนลงเรียกว่า "tinting" การทำให้สีเข้มขึ้นเรียกว่า "shading"
    • การทำสีอ่อนมีข้อจำกัดตามสีที่คุณใช้ สีอ่อนอยู่แล้วจะทำให้อ่อนลงได้อีกไม่มาก ส่วนสีเข้มทำให้อ่อนลงได้มากกว่า ให้ใช้สีขาวตอนเริ่มผสมน้อยๆ ไปก่อน เพราะเพิ่มลงไปอีกนิดเดียวอาจออกมาอ่อนมาก
    • การผสมสีให้เข้มขึ้น ให้เติมสีดำเพียงเล็กน้อย น้อยยิ่งกว่าตอนเติมสีขาวเสียอีก ผสมให้ทั่ว มิฉะนั้นคุณจะเห็นสีดำเป็นสายในสีสุดท้ายของคุณ
  10. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังจากเตรียมพื้นผิวฉากหลังเสร็จแล้ว ลองพิจารณาทำเลเยอร์ให้ภาพวาดด้วยกระดาษสีหรือกระดาษเนื้อลาย ภาพวาดหรือภาพถ่าย แล้วฉีดกาวมอดพอดจ์เคลือบลงไปหลายๆ ชั้นก่อนระบายสีทับบนนั้น
  • หลังใช้กาวมอดพอดจ์เคลือบหลายชั้น ให้ใช้กระดาษทราย (ความละเอียด 120–150) ขัดให้ผิวหน้าเรียบ
โฆษณา

คำเตือน

  • สีอะครีลิกจะเข้มขึ้นเมื่อมันแห้ง จึงควรคิดเรื่องนี้ตอนผสมสีด้วย
  • อย่าเก็บรักษาภาพวาดด้วยกาวมอดพอดจ์ เพราะมันเป็นกาวและอาจทำลายงานคุณได้ ถึงมันจะเหมาะกับงานศิลปะหลายแบบ แต่เวลาใช้บนพื้นผิวที่เหนียวนั้นมันอาจเป็นหองอากาศในตอนแห้งได้ ให้ใช้น้ำยาวานิชที่ทำเป็นพิเศษสำหรับอะครีลิกแทน และทดสอบตรงมุมเล็กๆ ก่อนหลังจากทิ้งให้งานแห้งอย่างน้อย 72 ชั่วโมง
  • อย่าลังเลที่จะซื้อสีไร้สารพิษในระดับนักเรียนใช้กัน
  • สีบางตัวมีส่วนผสมของธาตุหนัก สีคุณภาพดีทั้งหมดล้วนมีสารพิษสักอย่างผสมอยู่! สวมถุงมือถ้าคุณใช้สีที่มีสารพิษผสม โดยเฉพาะสีขาวไทเทเนียม (ซึ่งมักมีตะกั่วผสม)
  • อย่าล้างจานสี สีอะครีลิกอาจทำให้ท่อตันได้ ใช้ถาดพลาสติกเป็นจานสีแทน แล้วทิ้งสีที่เหลือให้แห้งในนั้น คุณสามารถลอกมันออกเป็นแผ่นตอนที่มันแห้งสนิท คุณยังสามารถลงสีใหม่บนสีที่แห้งโดยตรง แค่ล้างพู่กัน
  • อย่าลืมสวมผ้ากันเปื้อนเวลาใช้สีอะครีลิก ถ้ามันติดเสื้อผ้าแล้วจะซักไม่ออก
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • พู่กัน
  • สีอะครีลิก (อ่านคำเตือน)
  • สิ่งที่จะใช้ระบาย (ไม้ กระดานผ้าใบ เป็นต้น)
  • กาวมอดพอดจ์ (ไม่จำเป็น)
  • กระบอกฉีดน้ำเล็กๆ
  • ถาดพลาสติก
  • น้ำไว้ล้างพู่กัน
  • กระดาษทิชชู่
  • กระดาษทราย

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 61,491 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา