ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ท้องเสียไม่ใช่แค่อาการเจ็บป่วย แต่ยังเป็นอาการของปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น การติดเชื้อหรือเพราะไวรัส รวมทั้งเป็นปฏิกิริยาจากการแพ้อาหารหรือการรักษา โดยเกิดจากเชื้อโปรโตซัวประมาณ 10 – 15 % จากไวรัสประมาณ 50 – 70% หรือจากแบคทีเรีย 15 – 20 % ที่อยู่ในอาหารหรือน้ำ [1] โดยส่วนใหญ่แล้วจะหายภายใน 2 – 3 วัน แต่การท้องเสียอาจจะก่อให้เกิดปัญหาหนักๆ อย่างการท้องเสียเฉียบพลันจนต้องเข้าโรงพยาบาลกันถึงปีละ 150,000 คน [2] และที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุการตายที่มากสุดทั่วโลก 5 อย่าง ถือเป็น 11 % ของประชากรเลยทีเดียว [3] ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็เถอะ มันก็เป็นการล้างสารพิษออกจากร่างกายได้ด้วยนะ โดยต้องปล่อยให้มันออกมาให้หมดก่อน แล้วรักษาให้ดีขึ้น แต่อาจเป็นการทำให้ขาดน้ำและสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายไม่คงตัวได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาอาการท้องเสียที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดื่มน้ำและของเหลวเพื่อฟื้นฟูวิตามินและเกลือแร่. เมื่อท้องเสียร่างกายจะเอาของเหลวที่มีทั้งวิตามินและเกลือแร่ออกไปหมด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเอาเกลือแร่พวกนั้นกลับมาในรูปของเหลวโดยเฉพาะน้ำและเครื่องดื่มสำหรับเล่นกีฬาต่างๆ [4]
    • การสู้กับอาการขาดน้ำเป็นการรักษาอาการท้องเสียเบื้องต้น ยิ่งถ้ามีอาการอาเจียนด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งต้องดื่มบ่อยๆ เลย จิบน้อยๆ แต่บ่อยๆ
    • ของเหลวอื่นๆ ที่สามารถดื่มได้เพื่อบรรเทาอาการขาดน้ำคือซุปไก่และซุปเนื้อ เกลือแร่หรือตัวช่วยการขาดน้ำ อย่างพีเดียไลท์ [5]
    • ดื่มอะไรที่ปราศจากคาเฟอีนจะดีกว่าเพราะมันเป็นตัวขับปัสสาวะอ่อนๆ อาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้ [6] เพราะฉะนั้นถ้าท้องเสียก็อย่าดื่มอะไรที่อาจจะทำให้ขาดน้ำได้หรือเป็นหนักขึ้นล่ะ
  2. ไม่มีการรักษาใดจะดีเท่ากับการนอนหลับอีกแล้ว เพราะอาการท้องเสียเป็นตัวที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังสู้กับตัวปัญหาอย่างไวรัส ดังนั้นการนอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอนี่แหละจะเป็นการรักษาระบบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด
  3. ถ้าไม่มีอาการอาเจียนแล้วหรือไม่ได้อาเจียน ก็เริ่มกินของที่มีประโยชน์อย่างกล้วย ข้าว ซอสแอปเปิ้ลและขนมปังปิ้งได้ เพราะมันเป็นอาหารใยอาหารต่ำที่จะช่วยให้ระบบขับถ่ายกลับมาแข็งแรง [7] ถึงมันจะจืดแต่ไม่ทำร้ายกระเพาะแน่ๆ
  4. การกิน BRAT ไม่ได้ดีไปซะหมดหรอก [9] อย่างแครกเกอร์เค็มๆ มันฝรั่งต้ม ซุปใส ไก่อบแบบลอกหนังออก แครอทสุก หรืออาหารจืดๆ อื่นๆ ที่จะช่วยเมื่อมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน [10] [11]
    • บางคนอาจจะลองกินโยเกิร์ต แต่แลคโตสอาจจะทำให้กระเพาะทำงานหนักได้ ถ้าจะกินก็เลือกโพรไบโอติกที่หลากหลายที่มีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ เพื่อที่จะเอาแบคทีเรียที่ดีกลับมาสู่กระเพาะและช่วยในการฟื้นตัว [12]
  5. การรู้ว่าอะไรกินได้กินไม่ได้สำคัญมาก โดยปกติแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ เผ็ดๆ หรือหวาน รวมทั้งที่มีใยอาหารสูง [13] นอกจากนี้นมและผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆอาจจะทำให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวนได้ [14] และยังควรหลีกเลี่ยงของเหล่านี้ด้วย :
    • หมากฝรั่งที่มีซอร์บิทอลซึ่งเป็นยาระบาย
    • อาหารเผ็ด ผลไม้และแอลกอฮอล์ อย่างน้อยก็จนกว่าจะผ่านไปซัก 2 วันแล้ว [15]
    • อาหารที่มีคาเฟอีนอย่าง ช็อคโกแลตเพราะคาเฟอีนเป็นตัวทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้ [16]
  6. จากการวิจัยพบว่ามันช่วยรักษาการท้องเสีย [17] เพราะมันเป็นสารอาหารที่มาจากการสังเคราะห์ของโปรตีนและขนส่งทั้งน้ำและสารที่รักษาน้ำและเกลือแร่ในร่างกายที่อยู่ในลำไส้ [18]
    • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินสังกะสีประมาณวันละ 10 มิลลิกรัมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน และ 20 มิลลิกรัมสำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือน [19] ส่วนผู้ใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้ผลิตยานั้น
  7. โดยคร่าวๆ 1 – 2 วันหลังจากมีอาการข้างเคียงก็สามารถกลับไปกินอาหารได้ตามปกติ [20] ค่อยๆ กินเพื่อผลที่ดี
    • ใช้วิจารณญาณด้วย โดยกินปลาหรือไก่รสชาติอ่อนๆ ดีกว่าหมูปรุงรสจัดๆ จานนั้นนะ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาอาการท้องเสียด้วยการกินยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาที่เป็นสารดูดซึมเหล่านี้จะเข้าไปบีบผนังลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่แล้วดูดซับน้ำ จึงทำให้ถ่ายเหลวน้อยลง [21] โดยกินตามที่แนะนำ
    • ถ้าจะใช้ห้ามกินยาอื่นร่วมด้วย เพราะมันจะทำให้ยาเสื่อมสภาพลง ดังนั้นควรกินแยกกันเพื่อผลลัพธ์ที่ดี
  2. จากผลิตภัณฑ์ทั่วไปอย่าง Pepto-Bismol ที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณสมบัติของสารแอนตี้ไบโอติกที่ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการท้องเสีย [22] ไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดว่ามันช่วยรักษาอาการท้องเสียได้อย่างแท้จริง แต่มันแค่ช่วยบรรเทาอาการปวดและต้านเชื้อ H. pylori ได้เท่านั้นเอง
  3. ทำให้ทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้าลง ให้ผ่อนคลายลงเพื่อจะได้ดูดซึมน้ำได้มากขึ้น สังเกตได้จากการถ่ายเหลวที่น้อยลง และที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ loperamide และ diphenoxylate รวมทั้งยา loperamide ที่กินได้เลยโดยไม่ต้องมีใบสั่ง เช่น ยา Imodium A-D [23] [24]
    • แต่หากมีการท้องเสียเรื้อรัง เช่น จากเชื้อโรคอี.โคไลไม่ควรกินยานี้ [25]
  4. พบแพทย์เพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย. ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันทั้งๆ ที่กินทั้งยาและกินอาหารจืดๆ และดื่มน้ำเยอะๆ แล้ว อาจจะต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อยับยั้งแบคทีเรียและพยาธิต่างๆ แต่จะไม่ช่วยเรื่องไวรัส [26]
    • เมื่อยาที่ซื้อมาเองไม่มีผลก็จำเป็นต้องพบแพทย์ เพราะอาการท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรียหรือพยาธิอาจจะแย่ลงเพราะยาพวกนี้ [27]
    • แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะแบบเฉพาะกับอาการให้ หลังจากรู้ว่าแบคทีเรียตัวไหนเป็นตัวต้นเหตุ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการท้องเสียด้วยสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การจะรักษาด้วยสมุนไพรอาจจะทำให้แย่ลงแทนที่จะดีขึ้นได้ เพราะอาการท้องเสียเกิดจากการติดเชื้อหลายแบบ [28] ดังนั้นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะหันไปรักษาด้วยสมุนไพร
  2. จุลินทรีย์ที่มีชีวิตในโปรไบโอติกจะช่วยเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ซึ่งมักจะสูญเสียไปตอนที่ท้องเสีย โดยการเอาแบคทีเรียดีเข้าไปสู่ร่างกายนี้จะทำให้ระบบย่อยอาหารกลับมาทำงานปกติได้อย่างรวดเร็ว [29]
    • โปรไบโอติกจะอยู่ในอาหารเสริมและจะพบในโยเกิร์ต
  3. ตามหลักแล้วมันใช้เพื่อการรักษาอาการอักเสบ แต่ก็รวมไปถึงระบบย่อยอาหารได้ด้วย โดยควรดื่มให้ได้วันละ 3 แก้ว และต้องค่อยๆ จิบเพื่อให้ร่างกายซึมซับของเหลวเข้าไป [30]
    • อาจทำให้เกิดปฏิกิริยากับคนที่แพ้หญ้า ragweed และยังตีกับยาบางชนิดรวมทั้งยาเกี่ยวกับฮอร์โมนด้วย [31]
  4. มันเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำ (ซึ่งหมายความว่ามันดูดซับน้ำได้) และยังทำให้อุจจาระแข็งตัวขึ้นหลังจากท้องเสียมาแล้ว [32] โดยควรดื่มมันพร้อมน้ำแก้วใหญ่ๆ หนึ่งแก้วเสมอ
    • แจ้งให้แพทย์ทราบด้วยถ้าเป็นโรคลำไส้อักเสบ [33]
  5. ปกติแล้วจะใช้เป็นสมุนไพรเพื่อลดอาการบวม ทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตยาได้เลย [34]
    • อาจจะชงแบบเย็นเหมือนดื่มชาก็ได้โดยใส่มัน 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตรแช่ไว้ข้ามคืน อย่าลืมกรองก่อนดื่มด้วยล่ะ [35]
    • สมุนไพรชนิดนี้อาจจะต้านยาบางชนิด เช่น ลิเทียม ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ [36]
  6. ซึ่งปกติใช้บรรเทาอาการอักเสบของระบบย่อยอาหาร [37] ดื่มตามที่แนะนำ
    • แช่ผงนี้ซัก 4 กรัมลงในน้ำเดือด 2 ถ้วย แล้วปล่อยให้มันอิ่มตัวซัก 3 – 5 นาที สามารถดื่มได้ไม่เกิน 3 ครั้งต่อวัน เมื่อมีการท้องเสีย [38]
    • นักสมุนไพรวิทยาบางท่านเชื่อว่ามันทำให้แท้งลูกได้ [39] ดังนั้นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนหากท้องหรือกำลังให้นมบุตรอยู่ [40]
  7. เชื่อว่ามันมีคุณสมบัติในการต่อต้านจุลชีพ [41] และถ้าจะใช้แก้อาการท้องเสีย ให้ใช้ 2 ช้อนชา แล้วคนให้เข้ากันในน้ำอุ่น ดื่มได้วันละหลายครั้งเลย [42]
    • ถ้ากินร่วมกับโปรไบโอติกอื่นๆ ต้องเว้นระยะระหว่างกันหลายๆ ชั่วโมง เช่น โยเกิร์ตที่มีแบคทีเรียดีและเป็นประโยชน์กับอาการท้องเสีย ต้องรอซัก 1 หรือ 2 ชั่วโมงหลังจากดื่มน้ำส้มสายชูไปแล้วถึงจะกินได้
  8. ทำให้เนื้อเยื่อบุเมือกบริเวณลำไส้เล็กแห้งลงได้ และยังช่วยลดการถ่ายลงด้วย [43] และนี่ก็เป็นตัวเลือกส่วนใหญ่ของอาหารเสริมหรือชาเหล่านั้น: [44]
    • ใบแบล็คเบอร์รี
    • ใบราสพ์เบอร์รี
    • ผงคารอบ
    • สารสกัดจากบิลเบอรืรี
    • หญ้า Agrimony
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอาการแย่ลงให้พบแพทย์
  • ถ้ามีไข้เกิน 38.5 องศาในเด็ก หรือ 38.9 องศาในผู้ใหญ่ให้รีบไปหาหมอ
  • อย่าขาดน้ำ
  • ยังไม่ต้องไปทำงาน หรือไปโรงเรียน พักอยู่บ้านจนอาการดีขึ้นก่อนและหัดล้างมือบ่อยๆ ด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • พาลูกน้อยไปพบแพทย์ถ้ามีอาการท้องเสียมากกว่า 1 วัน และขาดน้ำ
  • รีบไปพบแพทย์ถ้ามีเลือดออกมากับการท้องเสียด้วย ร่างกายขาดน้ำ กินยาปฏิชีวนะครบแล้ว หรือมีอาการมามากกว่า 3 วันแล้ว
  • สัญญาณที่บ่งบอกถึงการขาดน้ำคือ การรู้สึกเหนื่อย กระหายน้ำ ปากแห้ง เป็นตะคริว มึนงง สับสน และปัสสาวะน้อยลง
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  2. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  3. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  4. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  5. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/caffeinated-drinks/faq-20057965
  7. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  8. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  9. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  1. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  2. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/facts.aspx#eating
  3. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/facts.aspx#eating
  4. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/facts.aspx#eating
  5. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/diarrhea/Pages/facts.aspx#eating
  6. http://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-diarrhea-treatment
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/caffeinated-drinks/faq-20057965
  8. Walker CL, Black RE. Zinc for the treatment of diarrhoea: Effect on diarrhoea morbidity, mortality and incidence of future episodes. Int J Epidemiol. 2010;39(Suppl 1):i63–i69.
  9. http://www.who.int/elena/titles/bbc/zinc_diarrhoea/en/
  10. http://www.who.int/elena/titles/bbc/zinc_diarrhoea/en/
  11. http://familydoctor.org/familydoctor/en/prevention-wellness/food-nutrition/weight-loss/brat-diet-recovering-from-an-upset-stomach.html
  12. http://www.medicinenet.com/diarrhea/page13.htm
  13. http://www.medicinenet.com/diarrhea/page13.htm
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diarrhea/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014025
  15. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1601396/
  16. Domino, F. (n.d.). The 5-minute clinical consult standard 2015 (23rd ed.).
  17. http://www.mayoclinic.com/health/diarrhea/DS00292/DSECTION=treatments-and-drugs
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diarrhea/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014025
  19. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diarrhea/basics/lifestyle-home-remedies/con-20014025
  21. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  22. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  23. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  24. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  25. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  26. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  27. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  28. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  29. https://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  30. https://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  31. https://umm.edu/health/medical/altmed/herb/slippery-elm
  32. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/food-poisoning
  33. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/food-poisoning
  34. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea
  35. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/diarrhea

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,139 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา