ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบสามารถทำให้รู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนที่เป็นโรคนี้จะอยากหายจากการติดเชื้อโดยเร็ว และการรักษาที่รวดเร็วฉับพลันก็สำคัญตรงที่จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการของโรครุนแรงจนเป็นอันตรายมากขึ้นด้วย บางครั้งโรคยูทีไอก็ดีขึ้นได้เองภายใน 4-5 วัน และมีวิธีรักษาที่คุณทำได้เองหลายวิธี แต่แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างรวดเร็วและละเอียดที่สุด [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

การรักษาโรคยูทีไอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTI) เป็นโรคที่เกิดได้ทั่วไป แต่จะทำให้ไม่สบายใจและไม่สบายตัวอย่างมาก โรคยูทีไอเป็นการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน (ไตและท่อไต) หรือทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ) หรือทั้งสองอย่าง [2]
  2. ความแตกต่างของอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบนกับส่วนล่าง. การติดเชื้อที่แตกต่างกันจะมีอาการต่างกัน คุณควรจะรู้จักอาการที่เป็นเพื่อจะได้อธิบายให้แพทย์ฟังได้ชัดเจน อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขุ่นหรือมีเลือดปน ปวดหลัง ปัสสาวะมีกลิ่นแรง และรู้สึกไม่สบายแบบทั่วไป [4]
    • ถ้าติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน จะมีไข้สูงด้วย (เกิน 38 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาฟาเรนไฮต์)
    • คุณอาจมีอาการคลื่นไส้และสั่นอย่างควบคุมไม่ได้
    • อาการอื่นๆ เช่น อาเจียน และท้องร่วง [5]
  3. ผู้ป่วยโรคยูทีไอชนิดไม่รุนแรง 25-40 เปอร์เซ็นต์ จะหายได้เอง แต่คนที่เป็นโรคนี้เกินครึ่งก็ยังเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่ไปพบแพทย์ ควรนัดพบแพทย์ทันทีหากเป็นโรคยูทีไอและมีไข้สูงหรืออาการแย่ลงกะทันหัน [6]
    • หากกำลังตั้งครรภ์หรือเป็นโรคเบาหวาน ควรติดต่อแพทย์ทันที
    • การไปพบแพทย์จะทำให้คุณได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง สิ่งที่คุณคิดว่าเป็นโรคยูทีไอ อาจจะเป็นโรคติดเชื้อในช่องคลอดที่เกิดจากยีสต์ หรือโรคอื่นก็ได้ [7]
    • แพทย์อาจต้องทำการตรวจปัสสาวะของคุณเพื่อดูว่าเป็นโรคยูทีไอหรือไม่ และแบคทีเรียชนิดใดที่เป็นต้นเหตุ [8] โดยปกติแล้วการเพาะหาเชื้อแบคทีเรียจะใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง
  4. โรคยูทีไอเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่แนะนำและใช้ได้จริงที่สุด ยาปฏิชีวนะเป็นที่แนะนำโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคยูทีไอบ่อยๆ การกินยาปฏิชีวนะในระยะยาวจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไม่ให้เกิดซ้ำได้ [9]
    • ยาปฏิชีวนะที่แพทย์มักจะสั่งจ่ายเพื่อรักษาโรคยูทีไอ ได้แก่ ยาไนโตรฟูแรนโทอิน (ภายใต้ชื่อการค้า ฟูราแดนติน มาโครบิด หรือ มาโครแดนติน) และยาซัลฟาเมธ็อกซาโซลที่ผสมยาไตรเมโธพริม (ภายใต้ชื่อการค้า แบ็คทริม หรือ เซ็ปตรา) [10] แต่แพทย์ก็อาจสั่งจ่ายยาไซโปรฟล็อกซาซิน (หรือที่รู้จักในชื่อ ไซโปร) ยาฟอสโฟไมซิน (ที่รู้จักในชื่อ โมนูรอล) และยาลีโวฟล็อกซาซิน (ที่รู้จักในชื่อ ลีวาควิน) ด้วยเช่นกัน [11] .
    • นอกจากยาปฏิชีวนะแล้ว ยา AZO ก็เป็นยาบรรเทาปวดกระเพาะปัสสาวะที่ช่วยได้ มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป
  5. กินยาปฏิชีวนะให้ครบชุดเจ็ดวันตามที่แพทย์สั่งจ่ายและแนะนำ ผู้หญิงส่วนมากจะต้องกินยาปฏิชีวนะ 3-5 วัน ส่วนผู้ชาย 7-14 วัน แม้ว่าอาการมักจะหายไปหลังจากกินยาปฏิชีวนะได้ประมาณ 3 วัน แต่มันอาจต้องใช้เวลาถึง 5 วันกว่าแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะจะถูกขจัดออกหมด [12] สำหรับผู้ชายอาจนานกว่านั้น
    • การกินยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่แพทย์สั่งนั้นสำคัญมาก เว้นแต่ว่าแพทย์จะบอกว่าไม่ต้อง
    • ถ้าคุณหยุดกินยาปฏิชีวนะก่อนจะครบตามแพทย์สั่ง จะเป็นการหยุดไม่ให้ยาปฏิชีวนะกำจัดแบคทีเรียอย่างหมดจด [13]
    • หากอาการยังไม่หายไปหลังจากกินยาปฏิชีวนะครบแล้ว หรือไม่รู้สึกดีขึ้นเลยหลังจากนั้น ควรปรึกษาแพทย์อีกครั้ง [14]
  6. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลายอย่าง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะไตวายหรือโลหิตเป็นพิษได้ อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการทั่วไป โดยปกติมันจะมีผลต่อผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้วเท่านั้น เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ถ้าคุณมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ คุณจะไวต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อมากกว่า [15]
    • หญิงมีครรภ์ที่เป็นโรคยูทีไอจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต ควรเข้ารับการตรวจรักษาโดยแพทย์เสมอ
    • ผู้ชายที่เป็นโรคยูทีไอซ้ำอีกจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการอักเสบของต่อมลูกหมาก หรือที่เรียกว่าโรคต่อมลูกหมากอักเสบ [16]
    • คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหากเป็นโรคทางเดินปัสสาวะส่วนบนอักเสบชนิดรุนแรง หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ
    • วิธีรักษาก็ยังคงใช้ยาปฏิชีวนะ แต่จะต้องเฝ้าดูอาการและอาจต้องให้น้ำเกลือเพื่อรักษาน้ำในร่างกายด้วย [17]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

การบรรเทาอาการของโรคยูทีไอด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาปฏิชีวนะเป็นทางเดียวที่จะรักษาโรคยูทีไอได้โดยตรง การกินยานั้นไม่กี่วันก็หาย แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อบรรเทาอาการและลดโอกาสที่จะกลับมาติดเชื้ออีก วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือแค่ดื่มน้ำเยอะๆ ระหว่างวัน ประมาณหนึ่งแก้วทุกๆ ชั่วโมง [18]
    • เมื่อคุณปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะก็จะถูกชะล้าง ถือเป็นการช่วยกำจัดแบคทีเรียด้วย [19]
    • อย่าอั้นปัสสาวะ การอั้นปัสสาวะจะทำให้โรคยูทีไอยิ่งแย่ลงเพราะจะยิ่งทำให้แบคทีเรียแพร่พันธุ์ได้ดี
  2. การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่มักจะถูกอ้างว่าใช้รักษาโรคยูทีไอได้ แต่หลักฐานที่ว่าน้ำแครนเบอร์รี่สามารถต้านโรคได้จริงนั้นมีน้อยมาก บางทีมันอาจจะช่วยป้องกันได้ [20] ถ้าคุณเป็นโรคยูทีไอซ้ำๆ ลองกินแคปซูลแครนเบอร์รี่เข้มข้น [21] การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ก็เช่นเดียวกับน้ำเปล่า มันจะช่วยชำระล้างระบบทางเดินปัสสาวะของคุณ
    • ห้ามดื่มน้ำแครนเบอร์รี่หากคุณหรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ
    • ไม่ควรกินแคปซูลน้ำแครนเบอร์รี่หากกำลังกินยาเจือจางเลือดอยู่ [22]
    • ทางการแพทย์ยังไม่มีการระบุว่าควรดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ปริมาณเท่าใด เพราะผลของมันยังไม่ได้รับการพิสูจน์ [23]
    • ผลวิจัยหนึ่งพบว่ามันได้ผลสำหรับผู้หญิงที่กินแคปซูลน้ำแครนเบอร์รี่เข้มข้นวันละเม็ด หรือดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ (แบบไม่เติมน้ำตาล) 8 ออนซ์ วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาหนึ่งปี [24]
  3. การกินวิตามินซีเสริมตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคยูทีไอ สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้การติดเชื้อลุกลามได้ วิตามินซีช่วยทำให้ปัสสาวะเป็นกรด ซึ่งจะหยุดการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ และทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายคุณแข็งแรงขึ้น [25]
    • กินวิตามินซี 500 มิลลิกรัม ทุกชั่วโมง แต่ต้องหยุดหากมีอาการท้องร่วง [26]
    • คุณสามารถผสมวิตามินซีเสริมลงในชาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบอ่อนๆ เช่น โกลเดนซีล (goldenseal) เอ็กไคนาเซีย (Echinacea) และเนทเทิล (nettle)
    • หากหลายวันแล้วอาการยังคงอยู่ ควรไปพบแพทย์
  4. อาหารบางอย่างที่คุณกินเข้าไปอาจเป็นตัวก่อระคายได้ ผลกระทบของมันจะมากขึ้นเมื่อคุณเป็นโรคยูทีไอ ตัวปัญหาใหญ่ๆ สองอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงคือกาแฟและแอลกอฮอล์ ไม่เพียงแต่มันจะเป็นตัวกระตุ้นโรคเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณเกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งจะยิ่งทำให้ยากต่อการขจัดแบคทีเรียออกจากทางเดินปัสสาวะ [27]
    • คุณควรหลีกเลี่ยงน้ำอัดลมที่มีน้ำผลไม้รสเปรี้ยวเป็นส่วนผสมด้วย จนกว่าจะหายจากโรคนี้ [28]
    • การจำกัดคาเฟอีนและแอลกอฮอล์จะเป็นการป้องกันโรคยูทีไอได้ หากคุณไวต่อการติดเชื้อ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การรักษาสุขอนามัยและสุขภาพที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรักษาสุขอนามัยอย่างเหมาะสมเป็นทั้งวิธีป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ และยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กำจัดเชื้อได้เร็วขึ้นด้วย ยิ่งคุณสามารถรักษาสุขภาพและอนามัยได้เป็นกิจวัตร คุณก็จะยิ่งหายไวขึ้น [29]
    • เมื่อขับถ่ายเสร็จควรเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ [30]
  2. เพศสัมพันธ์เป็นหนึ่งในทางที่ทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าสู่ท่อปัสสาวะของผู้หญิงและไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้ในที่สุด [31] สามารถป้องกันได้โดยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทั้งก่อนและหลังทำกิจกรรมทางเพศ ผู้หญิงควรปัสสาวะก่อนและหลังการมีเซ็กส์ด้วย
  3. เสื้อผ้าบางชนิดอาจทำให้การรักษาโรคยูทีไอยิ่งยากขึ้น ชุดชั้นในที่คับและทำจากวัสดุที่ไม่ปลอดโปร่งจะยิ่งทำให้เกิดความชื้นและเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่จะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ ด้วยเหตุนี้จึงควรใส่ชุดชั้นในที่ทำจากผ้าคอตตอนหรือผ้าฝ้าย มากกว่าพวกผ้าที่ไม่ดูดซับน้ำอย่างไนลอน [34]
    • หลีกเลี่ยงกางเกงหรือขาสั้นที่คับเกินไป เสื้อผ้าคับๆ จะทำให้เหงื่อออกและอับชื้น เหมาะแก่การเจริญของแบคทีเรีย
    • การเลือกใส่ชุดชั้นในที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันไม่ให้การติดเชื้อลุกลามหรือป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง แต่ไม่ได้ช่วยรักษาโรค
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ
  • ใช้แผ่นแปะความร้อนเพื่อลดอาการไม่สบายตัว ถึงแม้วิธีนี้จะไม่ช่วยให้หายจากโรค แต่มันอาจช่วยบรรเทาอาการได้ แผ่นแปะควรจะอุ่นๆ ไม่ร้อน และควรแปะไว้บริเวณท้องส่วนล่างเพื่อบรรเทาอาการปวด บีบ และอาการไม่สบายอื่นๆ จากโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
  • อย่ามีเพศสัมพันธ์ขณะกำลังรักษาโรคยูทีไอ เพราะอาจเป็นการรับแบคทีเรียเข้ามาใหม่และลดโอกาสที่จะหายขาด
  • ดื่มน้ำเยอะๆ และกินยาตามที่แพทย์สั่ง
  • กินยาไอบูโพรเฟนเพื่อลดอาการเจ็บปวด ขณะใช้วิธีรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าทำตามวิธีรักษาด้วยตัวเองแล้วสังเกตว่าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24-36 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์
  • ถ้าวิธีรักษาที่ทำเองใช้ไม่ได้ผล คุณควรลองไปตรวจปัสสาวะที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่ยังมีอยู่
  • แม้ว่าโรคยูทีไอจะเป็นโรคที่ไม่ซับซ้อน มันก็สามารถพัฒนาเป็นโรคไตอักเสบที่ร้ายแรงได้หากปล่อยให้ติดเชื้อนานเกินไป
  • จริงๆ แล้วน้ำแครนเบอร์รี่อาจทำให้อาการของโรคยูทีไอแย่ลงได้ เพราะมันมีฤทธิ์เป็นกรด อาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นกรดสามารถทำให้กระเพาะปัสสาวะที่อักเสบยิ่งระคายเคือง
  • การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ทุกวันเพื่อป้องกันโรคนั้นได้ผลดี แต่ควรระวังเมื่อดื่มขณะที่กำลังติดเชื้ออยู่
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำแครนเบอร์รี่
  • น้ำเปล่า
  • วิตามินซี
  • อาหารเสริมสมุนไพรโกลเดนซีล เอ็กไคนาเซีย และเนทเทิล
  • ชุดชั้นในผ้าคอตตอน
  • กางเกงชั้นในหรือกางเกงหลวมๆ
  • ยาปฏิชีวนะ
  1. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/antibiotics-for-urinary-tract-infections-utis
  2. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/antibiotics-for-urinary-tract-infections-utis
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0005010/
  4. http://kidshealth.org/teen/infections/common/uti.html#
  5. http://kidshealth.org/teen/infections/common/uti.html#
  6. http://www.nhs.uk/Conditions/Urinary-tract-infection-adults/Pages/Introduction.aspx
  7. http://www.nhs.uk/Conditions/Urinary-tract-infection-adults/Pages/Introduction.aspx
  8. http://www.nhs.uk/Conditions/Urinary-tract-infection-adults/Pages/Treatment.aspx
  9. http://www.nytimes.com/health/guides/disease/urinary-tract-infection/overview.html
  10. http://www.newhealthguide.org/How-To-Get-Rid-Of-A-Uti.html
  11. http://www.webmd.com/news/20130604/can-you-skip-antibiotics-for-urinary-tract-infection?page=2
  12. http://www.choosewellmanchester.org.uk/self-care/self-care-information-for-adults/urinary-tract-infections/
  13. http://www.choosewellmanchester.org.uk/self-care/self-care-information-for-adults/urinary-tract-infections/
  14. http://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/womens-guide/cranberries-for-uti-protection?page=2
  15. http://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/womens-guide/cranberries-for-uti-protection
  16. http://www.readersdigest.ca/health/how-get-rid-urinary-tract-infection
  17. http://www.readersdigest.ca/health/how-get-rid-urinary-tract-infection
  18. http://www.mayoclinic.com/health/urinary-tract-infection/DS00286/DSECTION=lifestyle-and-home-remedies
  19. http://www.mayoclinic.com/health/urinary-tract-infection/DS00286/DSECTION=lifestyle-and-home-remedies
  20. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000521.htm
  21. http://emedicine.medscape.com/article/1958794-overview
  22. http://kidshealth.org/teen/infections/common/uti.html#
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-tract-infection/basics/prevention/con-20037892
  24. http://kidshealth.org/teen/infections/common/uti.html#
  25. http://emedicine.medscape.com/article/1958794-overview

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 90,042 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา