ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การตกเลือดกำเดาหรือเลือดกำเดาไหลเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ อาการเลือดกำเดาไหลจะเกิดเมื่อเยื่อบุในโพรงจมูกบาดเจ็บหรือแห้ง ซึ่งทำให้หลอดเลือดฝอยเสียหายและมีเลือดไหลออกมา อาการเลือดกำเดาไหลเกือบทั้งหมดมาจากหลอดเลือดที่ส่วนหน้าของผนังกั้นโพรงจมูก ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อตรงกลางที่กั้นระหว่างรูจมูกทั้งสอง อาการเลือดกำเดาไหลจะเกิดได้บ่อยกับคนไข้ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติ [1] หากคุณรู้สาเหตุของอาการเลือดกำเดาไหลและรู้วิธีจัดการมัน คุณก็จะรักษาอาการเลือดกำเดาไหลด้วยตัวเองได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปฐมพยาบาลเมื่อมีอาการเลือดกำเดาไหล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณไม่ได้มีอาการบาดเจ็บร้ายแรงที่เป็นต้นเหตุของอาการเลือดกำเดาไหล คุณก็สามารถปฐมพยาบาลตัวเองที่บ้านเพื่อหยุดเลือดกำเดาได้ เริ่มด้วยการนั่งลง เนื่องจากเป็นท่าที่สบายกว่าการยืน เอนหัวไปด้านหน้า เพื่อที่เลือดจะได้ไหลออกจากจมูก
    • คุณอาจใช้ผ้ารองใต้จมูกเพื่อซับเลือดได้
    • อย่าเอนตัวนอน เพราะจะทำให้เลือดไหลลงคอ
  2. ใช้นิ้วบีบจมูกส่วนล่าง เพื่อปิดรูจมูกให้สนิท การบีบที่จุดนี้จะเป็นการกดน้ำหนักไปยังจุดที่หลอดเลือดเสียหายโดยตรง ซึ่งจะช่วยหยุดเลือดไหลได้ บีบจมูกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยคลายออก
    • หากเลือดยังไหลอยู่ ให้บีบจมูกอีก 10 นาที
    • หายใจทางปากระหว่างที่ปิดจมูก
  3. การลดอุณหภูมิร่างกายก็สามารถช่วยลดปริมาณเลือดที่ไหลออกทางจมูกได้ ให้คุณอมน้ำแข็งไว้ในปาก วิธีนี้จะช่วยลดอุณหภูมิได้เร็วกว่าการใช้น้ำแข็งกดจมูกจากด้านนอก และยังช่วยให้ร่างกายคงอุณหภูมิที่ลดลงนี้ได้นานอีกด้วย
    • วิธีนี้ให้ผลได้ดีกว่าการกดจมูกด้วยน้ำแข็ง ซึ่งตามการศึกษาการรักษาในปัจจุบัน การกดจมูกด้วยน้ำแข็งไม่ได้ให้ผลดีเท่าที่ควร
    • การเลียไอติมแท่งก็ให้ผลไม่ต่างกัน [2]
  4. หากอาการเลือดกำเดาไหลของคุณแย่กว่าปกติ คุณก็สามารถใช้ยาพ่นจมูกรักษาได้ ถ้าคุณไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตัวยาจะทำให้หลอดเลือดในโพรงจมูกหดตัว หยดยาสัก 1-2 หยดลงบนก้อนสำลีหรือแผ่นสำลี ใส่ก้อนสำลีเข้าไปในโพรงจมูก บีบจมูกอีกครั้ง หลังจากผ่านไป 10 นาที ให้ดูว่ายังมีเลือดไหลอยู่อีกหรือไม่ [3]
    • หากเลือดหยุดไหลแล้ว อย่าเพิ่งเอาก้อนสำลีหรือแผ่นสำลีออกจนกว่าจะผ่านไปหนึ่งชั่วโมง เพราะเลือดอาจจะไหลอีกครั้งได้
    • การใช้ยาชนิดนี้ติดต่อกัน 3-4 วัน จะทำให้เกิดอาการติดและคัดจมูก [4]
    • ควรใช้ยาชนิดนี้เมื่อลองบีบจมูก 10 นาที แล้วเลือดยังไม่หยุดไหลเท่านั้น
  5. หลังจากเลือดหยุดไหล คุณก็สามารถทำความสะอาดจมูกด้วยน้ำอุ่นได้ หลังจากทำความสะอาดแล้ว คุณก็ควรพักผ่อนสักพัก เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลอีก
    • คุณสามารถเอนตัวลงนอนพักผ่อนได้ในขั้นตอนนี้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ป้องกันอาการเลือดกำเดาไหล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื่องจากอาการเลือดกำเดาไหลอาจจะเกิดจากพฤติกรรมของคุณเอง วิธีที่สามารถช่วยป้องกันอาการเลือดกำเดาไหลในอนาคตได้คือ อย่าแคะจมูก การแคะจะทำให้หลอดเลือดด้านในโพรงจมูกที่เปราะบางเสียหายได้ นอกจากนี้ยังเป็นการแคะเอาเลือดที่แข็งตัวแล้วซึ่งปิดหลอดเลือดที่เสียหายก่อนหน้านี้ออก และทำให้เลือดกำเดาไหลอีกครั้ง คุณควรเปิดปากขณะจามเพื่อไม่ให้มีแรงดันอากาศผ่านโพรงจมูกอีกด้วย
    • คุณควรทำให้เยื่อบุในโพรงจมูกชุ่มชื้นด้วยการทาเจลปิโตรเลียมหรือเจลสำหรับโพรงจมูกอย่างเบามือ โดยใช้ก้านสำลีป้ายเจลข้างในจมูกประมาณสองครั้งต่อวัน [5]
    • เวลาสั่งจมูก ให้สั่งเบาๆ ครั้งละข้างเท่านั้น
    • คุณควรตัดเล็บเด็กเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย
  2. ซื้อเครื่องทำความชื้นเพื่อทำให้อากาศรอบตัวชื้นขึ้น คุณสามารถใช้เครื่องทำความชื้นได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงานเพื่อไม่ให้อากาศแห้งจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว
    • หากคุณไม่มีเครื่องทำความชื้น คุณก็สามารถวางภาชนะเหล็กใส่น้ำไว้บนเครื่องทำความร้อน เพื่อเพิ่มความชื้นให้อากาศได้
  3. อาการท้องผูกถ่ายยากจะทำให้เลือดกำเดาออกง่ายขึ้น เพราะหลอดเลือดจะตึง รวมถึงทำให้ความดันในเส้นเลือดแดงเพิ่มขึ้นชั่วขณะ และทำให้เลือดที่แข็งตัวแล้วซึ่งปิดหลอดเลือดที่เสียหายอยู่หลุดออก และอาการเลือดกำเดาไหลก็จะตามมา คุณสามารถป้องกันอาการท้องผูกได้ด้วยการกินอาหารที่มีเส้นใยสูงและดื่มน้ำมากๆ
  4. กินอาหารที่มีเส้นใยที่สูงเพื่อให้อุจจาระอ่อน. อย่าออกแรงเบ่งขณะถ่าย เพราะจะเป็นการเพิ่มความดันเลือดในสมอง ซึ่งอาจจะทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกแตกได้ [6]
    • การกินพรุน 6 ถึง 12 ลูกต่อวันให้ผลได้ดีกว่าการควบคุมการกินอาหารที่มีเส้นใยสูง และยังช่วยป้องกันอาการท้องผูกอีกด้วย [7]
    • คุณควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารร้อนและเผ็ด ความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว และอาจทำให้เลือดไหลได้ [8]
  5. คุณสามารถใช้สเปรย์พ่นน้ำเกลือสองถึงสามครั้งต่อวันเพื่อให้จมูกชุ่มชื้นได้ [9] สเปรย์ชนิดนี้จะไม่ทำให้ผู้ใช้ติด เพราะมันมีแค่เกลือเป็นส่วนประกอบ หากคุณไม่ต้องการซื้อมาใช้ คุณก็สามารถทำเองได้
    • สำหรับการทำสเปรย์เอง ให้คุณหาภาชนะสะอาด ผสมเกลือไม่ผสมไอโอดีน 3 ช้อนชาพูน กับเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนชา ผสมผงทั้งสองให้เข้ากัน แล้วตักผง 1 ช้อนชาใส่น้ำบริสุทธิ์อุ่นๆ หรือต้มเดือดประมาณ 240 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากัน [10]
  6. ฟลาโวนอยด์ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบเคมีจากธรรมชาติที่มีในผลไม้ตระกูลส้ม สามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้หลอดเลือดฝอยได้ [11] คุณจึงควรกินผลไม้ตระกูลส้มมากขึ้น อาหารอื่นที่มีฟลาโวนอยด์สูง ได้แก่ ผักชีฝรั่ง หัวหอม บลูเบอร์รี่ รวมถึงเบอร์รี่ชนิดอื่น ชาดำ ชาเขียว ชาอู่หลง กล้วย ผลไม้ตระกูลส้มทั้งหมด ใบแปะก๊วย ไวน์แดง ซีบัคธอร์น และดาร์คช็อกโกแลต (ที่มีส่วนผสมของโกโก้ 70% หรือมากกว่า)
    • คุณไม่ควรกินอาหารเสริมฟลาโวนอยด์ เช่น เม็ดยาสกัดใบแปะก๊วย ยาเควอซิทิน สารสกัดจากเมล็ดองุ่น และเมล็ดแฟลกซ์ เพราะอาหารเสริมเหล่านี้มีฟลาโวนอยด์สูงแต่เป็นพิษ [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เข้าใจอาการเลือดกำเดาไหล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชนิดของอาการเลือดกำเดาไหลขึ้นอยู่กับว่าเลือดไหลออกจากส่วนไหนของจมูก สำหรับอาการเลือดกำเดาไหลจากส่วนหน้า เกิดจากเลือดไหลออกจากส่วนหน้าของจมูก ส่วนอาการเลือดกำเดาไหลจากส่วนหลัง เกิดจากเลือดที่ไหลออกมาจากด้านในของจมูก อาการเลือดกำเดาไหลอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่ทราบสาเหตุได้ [13]
  2. สาเหตุของอาการเลือดกำเดาไหลมีหลายสาเหตุ เมื่อเลือดกำเดาไหล คุณควรพิจารณาว่าเลือดกำเดาไหลเนื่องมาจากสาเหตุอะไร และหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้เลือดกำเดาไหลได้อีกในอนาคต สาเหตุของอาการอาจจะมาจากพฤติกรรมของคุณเอง ส่วนใหญ่มักจะเป็นการแคะจมูก และนี่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก สาเหตุอื่นได้แก่ ผลจากการใช้ยา เช่น โคเคน อาการเลือดออกผิดปกติ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และอาการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือใบหน้า
    • ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้นต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในฤดูหนาว จะเกิดอาการระคายที่เยื่อบุและเลือดออก ยิ่งอากาศเย็นมากเท่าไร อาการเลือดกำเดาไหลก็มีสิทธิเกิดขึ้นได้มากเท่านั้น
    • การติดเชื้อในโพรงจมูกและไซนัสก็อาจเป็นสาเหตุของเลือดกำเดาไหลได้ อาการแพ้จะทำให้เยื่อบุอักเสบ และเกิดอาการเลือดกำเดาไหลได้
    • บางกรณีพิเศษ อาการปวดหัวไมเกรนในเด็กก็อาจเป็นสาเหตุได้ [14]
    • อาการบาดเจ็บที่ใบหน้าก็อาจเป็นสาเหตุของเลือดกำเดาไหลเช่นกัน
  3. หากคุณเลือดกำเดาไหล คุณก็ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้อาการแย่ลง อย่าเอนตัวนอน เพราะจะทำให้เลือดไหลลงคอ และอาจเกิดการอาเจียนตามมา คุณควรหลีกเลี่ยงการพูดหรือไอด้วย เพราะจะทำให้ระคายเมือกที่เคลือบโพรงจมูก และเลือดอาจจะออกอีกครั้ง
    • หากคุณจะจามระหว่างที่เลือดกำเดาไหลอยู่ คุณควรจะปล่อยลมออกทางปาก เพื่อที่จะได้ไม่ทำร้ายจมูกหรือทำให้เลือดออกมาขึ้น
    • อย่าสั่งจมูกหรือแคะจมูก โดยเฉพาะเมื่อเลือดไหลน้อยลงแล้ว คุณอาจจะเผลอทำให้เลือดที่แข็งตัวแล้วหลุดออก และเลือดไหลอีกครั้ง
  4. บางสถานการณ์คุณก็ต้องไปพบแพทย์ หากเลือดออกรุนแรงมากผิดปกตินานกว่า 30 นาที และมีเลือดไหลอีกครั้งบ่อยๆ คุณก็ควรไปพบแพทย์ [15] คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาหากตัวคุณซีด อิดโรย หรือมึนงง ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการเสียเลือดมาก
    • หากคุณหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อเลือดไหลลงคอ คุณก็ต้องไปพบแพทย์ คุณอาจจะเกิดอาการระคายเคืองหรือไอได้ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อการหายใจ
    • คุณควรไปพบแพทย์ หากอาการเลือดกำเดาไหลเกิดจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่จมูก [16]
    • คุณควรไปพบแพทย์ หากคุณมีอาการเลือดกำเดาไหลขณะใช้ยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน โคลพิโดเกรล หรือการกินแอสไพรินทุกวัน [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในอินเดีย ผู้คนจะทาน้ำมันเนย (ไขมันอิ่มตัว) ที่ด้านในจมูก และเลือดจะหยุดไหลทันที น้ำมันเนยมีขายตามร้านขายของชำสินค้าอินเดีย และซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • คุณไม่ควรสูบบุหรี่เมื่อมีอาการเลือดกำเดาไหล การสูบบุหรี่จะระคายเคืองและทำให้จมูกแห้ง
  • อย่าใช้ครีมฆ่าเชื้อโรค หลายคนจะไวและแพ้ต่อยาชนิดนี้ ซึ่งจะทำให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น ให้ใช้เพียงแค่ขี้ผึ้งแบซิทราซินที่จ่ายโดยแพทย์เพื่อรักษาการติดเชื้อ
  • ทำใจให้สงบไม่ว่าอาการจะแย่แค่ไหน ความสงบใจจะทำให้คุณคลายกังวลและไม่สลบ
  • คงความชุ่มชื้นเอาไว้ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และเอามือออกจากจมูก!
  • อย่าตื่นตกใจเมื่อเห็นเลือดจำนวนมาก เลือดที่ออกมาจริงๆ มีน้อยกว่าที่เห็น ส่วนใหญ่จะเป็นของเหลวที่อยู่ในจมูก เพราะในจมูกมีหลอดเลือดอยู่มาก!
  • อย่าตื่นตกใจหรือสติแตก หายใจทางปากและทำใจให้สงบ อัตราการสูบฉีดเลือดจะลดลง และเลือดจะไหลออกน้อยลงด้วย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Purkey MR, Seeskin Z, Chandra R. Seasonal variation and predictors of epistaxis. Laryngoscope. 2014; 24(9):2028-2033.
  2. Porter M, Marais J, Tolley N. The effect of ice packs upon nasal mucosal blood flow. Acta Otolaryngol1991;111:1122-1125.
  3. http://sinus.wustl.edu/Details.aspx?ID=300
  4. http://healthline.com/health-blogs/outdoor-medicine/nosebleed
  5. Porter M, Marais J, Tolley N. The effect of ice packs upon nasal mucosal blood flow. Acta Otolaryngol1991;111:1122-1125.
  6. Ternent CA, Bastawrous AL, Morin NA, Ellis CN, Hyman NH, Buie WD, Standards Practice Task Force of The American Society of Colon and Rectal Surgeons. Practice parameters for the evaluation and management of constipation. Dis Colon Rectum. 2007;50(12):2013-2022.
  7. Attaluri A, Donahoe R, Valestin J, Brown K, Rao SS. Randomised clinical trial: dried plums (prunes) vs. psyllium for constipation. Aliment Pharmacol Ther. 2011;33(7):822-828.
  8. http://austinentassociates.com/pdf/ENT_Epistaxis_Precautions.pdf
  9. http://emedicine.medscape.com/article/863220-treatment
  1. http://aaaai.org/conditions-and-treatments/library/allergy-library/saline-sinus-rinse-recipe.aspx
  2. Galley P, Thiollet M. A double-blind, placebo-controlled trial of a new veno-active flavonoid fraction (S 5682) in the treatment of symptomatic capillary fragility. Int Angiol. 1993;12(1):69-72.
  3. http://www.berkeley.edu/news/media/releases/2000/09/19_flav.html
  4. Rudmik L, Smith TL. Management of intractable spontaneous epistaxis. Am J Rhinol Allergy. 2012;26(1):55–60.
  5. Jarjour IT, Jarjour LK. Migraine and recurrent epistaxis in children. Pediatr Neurol. 2005;33(2):94-97.
  6. http://sinus.wustl.edu/Details.aspx?ID=300
  7. http://www.cfpc.ca/projectassets/templates/resource.aspx?id=1405
  8. http://www.uptodate.com/contents/nosebleeds-epistaxis-beyond-the-basics

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 150,731 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา