ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเมารถ คุณคงจะเกลียดการเดินทางไกลทุกเที่ยวน่าดู มันอาจส่งผลในด้านลบต่อการต้องไปไหนมาไหนของคุณหรือทำลายกิจกรรมแสนสนุกที่ควรมีร่วมกับเพื่อนๆ ได้ อาการเมารถนั้นเป็นอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวรูปแบบหนึ่ง (หรือ kinetosis) ที่จะเกิดกับบางคนในระหว่างการนั่งรถ อาการทั่วไปก็คือ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย มีเหงื่อเย็น และคลื่นไส้ [1] งั้นเราจะป้องกันการเมารถตั้งแต่แรกได้อย่างไร ใช้เคล็ดลับง่ายๆ ต่อไปนี้เพื่อสนุกกับการเดินทางโดยไม่ต้องอยู่ในสภาพป่วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เปลี่ยนวิธีการเดินทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์เชื่อว่าอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวนั้นเกิดจากความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่สายตาเห็นกับการที่ร่างกายตึวามหมายการเคลื่อนที่ของพาหนะ ซึ่งใช้สัญญาณที่มีจุดกำเนิดอยู่ในหูชั้นในมากำหนดความสมดุล [2] ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสายตาคุณเห็นเบาะโดยสารหน้าแต่ร่างกายรู้สึกถึงการเข้าโค้งและความเร็วที่แล่นไปตามถนน หูชั้นในของคุณอาจถูกเหวี่ยงไปมา มันจะทำให้เกิดอาการเวียนหัวคลื่นไส้ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของการเมารถ [3] การจะหลีกเลี่ยงความรู้สึกเช่นนี้ พยายามให้สายตาเพ่งไปที่ท้องถนนเบื้องหน้าเพื่อที่สายตากับร่างกายได้ตีความข้อมูลออกมาเหมือนกัน การนั่งที่เบาะโดยสารหน้าจึงทำให้คุณมีโอกาสน้อยที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างสิ่งที่เห็นกับการที่ร่างกายตีความการเคลื่อนไหว
    • การขับรถด้วยตัวเองมีประโยชน์เสริมในการให้คุณได้มีอะไรไว้เพ่งมอง ซึ่งจะดึงความสนใจคุณไปจากการเมารถได้ [4]
  2. การมีจุดรวมภาพที่คงที่เบื้องหน้าคุณจะช่วยให้สายตา หูชั้นใน และเส้นประสาทได้ตรวจสอบสัมพันธ์กัน [5] มองออกไปทางกระจกหน้าและหาจุดที่นิ่งอยู่กับที่ตรงขอบฟ้า ที่ไหนก็ได้ที่อยู่ห่างไกลออกไป จุดที่ว่าอาจเป็นภูเขา ต้นไม้ ตึก หรือเป็นแค่จุดในอากาศ รวบรวมความสนใจในทางภาพจับอยู่ที่จุดนี้ จับจ้องตลอดไม่ว่าจะมีหลุมบ่อ โค้ง และเนิน พยายามห้ามใจไม่มองไปทางกระจกด้านข้าง: ให้มองออกไปเฉพาะทางกระจกหน้า
    • ถ้าคุณเป็นคนควบคุมรถ ให้แน่ใจว่าคุณใส่ใจดูถนนและรถรอบข้างพอๆ กับขอบฟ้าเบื้องหน้าคุณ
  3. การมีบรรยากาศที่เย็นถ่ายเทดีนั้นช่วยบรรเทาอาการเมารถและลดอาการอย่างเช่นเหงื่อไหลท่วมกับคลื่นไส้ลงไปได้ ถ้าเป็นไปได้ให้คุณไขกระจกลงเพื่อรับลมเย็นภายนอก หรืออีกทางเลือกคือเปิดแอร์ ปรับช่องแอร์ให้ชี้ใส่หน้าเพื่อประโยชน์สูงสุด [6]
    • การระบายอากาศยังช่วยลดกลิ่นอาหารที่ค้างในรถ อาการเมารถนั้นสามารถหนักขึ้นจากกลิ่นแรงของอาหารได้ [7]
  4. บางทีมันก็ยากจะจับจ้องไปที่จุดใดจุดหนึ่งตลอดในขณะที่รถมันโยกเยกไปมา เพื่อให้ภาพที่เห็นคงความเสถียร ก็ให้แน่ใจว่าศีรษะคุณควรเสถียรไปด้วย พิงศีรษะกับพนักเพื่อไม่ให้มันสะบัดไปมา หมอนรองคอก็อาจช่วยประคองศีรษะให้มั่นคง และภาพที่เห็นก็จะคงที่ตาม [8]
  5. ออกจากรถไปยืดเส้นยืดสาย นั่งบนม้านั่งหรือใต้ต้นไม้แล้วสูดลมหายใจลึกๆ เข้าทางปากเพื่อช่วยผ่อนคลาย มันจะจำเป็นมากในระหว่างการเดินทางอันยาวไกลไปตามเส้นทางคดเคี้ยว ไม่เพียงแต่การหยุดพักบ่อยๆ จะช่วยบรรเทาอาการเมารถลง ยังเป็นการดีต่อคนขับให้ได้พักตลอด กลับมาขับรถก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกตื่นตัวและอาการเวียนศีรษะคลื่นไส้หายไปแล้ว
  6. การนอนหลับในระหว่างที่มีอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวช่วยคนที่โดยสารไปกับรถได้อย่างมาก คุณจะไม่ได้ตระหนักในความแตกต่างระหว่างข้อมูลทางภาพที่เห็นกับสัญญาณที่ร่างกายส่งออกมาเพราะตาคุณปิดอยู่ หลายคนพบว่าการนอนหลับเป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าจะต้องเดินทางไกลโดยไม่เกิดเมารถ
    • หากคุณมีปัญหาการงีบหลับในรถ ลองคิดใช้ยานอนหลับ กระนั้น ถ้าคิดจะใช้มันจริงๆ ก็ต้องแน่ใจว่าคุณไม่จำเป็นต้องกลายเป็นคนขับรถในช่วงหนึ่งช่วงใดของการเดินทาง
  7. การเบี่ยงเบนความสนใจไปวิธีที่เข้าท่าสำหรับมาใช้ลดการเมารถ ดดยเฉพาะสำหรับโกหรือคนโดยสารที่นั่งตรงเบาะหลัง ให้พาใจหลุดไปจากการคิดถึงอาการคลื่นไส้เวียนศีรษะโดยการฟังเพลง ร้องเพลง หรือเล่นเกม 20 คำถามกับคนที่นั่งไปด้วยกัน [9]
  8. วางหนังสือ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ต่างๆ ลง. อาการเมารถจะยิ่งแย่ลงถ้าคุณไปใส่ใจกับการจับจ้องวัตถุในรถแทนที่จะมองออกไปนอกรถ การอ่านหนังสือ เล่นเกมในโทรศัพท์ อ่านคินเดิลหรือแท็บเล็ตล้วนแล้วแต่เพิ่มความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสายตากับส่วนอื่นของร่างกาย เพื่อป้องกันอาการเมารถจึงต้องแน่ใจว่าได้จับจ้องสายตามองออกไปแต่ภายนอกรถ ไปยังขอบฟ้าเบื้องหน้าคุณ [10]
    • มีผู้คนมากมายที่จะเมารถเฉพาะเวลาอ่านหนังสือในรถ ให้แน่ใจว่ามันจะไม่เกิดกับคุณ!
    • การเปิดแผ่นหนังสือเสียง เปิดวิทยุ และฟังซีดีเป็นวิธีสร้างความบันเทิงในรถที่ดีโดยไม่ทำให้เมารถ
  9. อาการเมารถจะหนักขึ้นเมื่อรู้สึกกังวลกระวนกระวาย เทคนิคการผ่อนคลายอย่างการหายใจช้าๆ ลึกๆ จะช่วยผ่อนอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลงและทำให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย จึงมีผลให้คุณมีอาการเมารถได้น้อยลง [11]
  10. ยิ่งทางราบเรียบแค่ไหน โอกาสเมารถก็น้อยลงตาม วิธีขับรถให้ราบรื่นก็อย่างการเลือกใช้เส้นทางหลวงแทนถนนสายรองและให้แน่ใจว่ารถคุณมีระบบกันสะเทือนที่ทันสมัย [12] คุณยังอาจวางแผนเส้นทางเพื่อหลีกเลี่ยงทางขึ้นเขาโดยการขับอ้อมแทน พยายามหาเส้นทางบนพื้นราบเท่าที่จะเป็นไปได้
    • การขับนอกช่วงเวลาเร่งด่วนก็อาจช่วยไม่ให้ต้องไปติดแหง็กในการจราจรแบบไปๆ หยุดๆ ได้
  11. สายรัดข้อมือกันเมารถนั้นจะมีแรงกดเบาๆ ไปที่ปลายแขนของคุณราวหนึ่งนิ้วจากข้อมืออยู่ตลอดเวลา แรงกดนี้เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้จากการเมารถได้ แม้สายรัดข้อมือที่ว่านี้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าช่วยได้จริง แต่มันก็ราคาถูกมากและไม่ได้มีผลข้างเคียงอะไรสักหน่อย [13] คุณสามารถลองใช้ดูว่าได้ผลหรือไม่ [14]
    • หากคุณไม่มีสายรัดข้อมือกันเมารถ คุณสามารถกดจุดหยุดคลื่นไส้ได้โดยกดเบาๆ ที่ปลายแขน (ระหว่างเส้นเอ็นสองเส้น) ราว 3 ซม. (ประมาณหนึ่งนิ้ว) ขึ้นมาจากตรงข้อมือ
  12. บางคนที่ชอบเมารถจะเมาพาหนะอื่นด้วย ทั้งรถไฟ รถเมล์ และเครื่องบิน กระนั้นบางคนจะเมาแค่รถ ดังนั้นรถไฟ รถเมล์และเครื่องบินจึงอาจเป็นตัวเลือกสำหรับเดินทางก็ได้ พาหนะเหล่านี้อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเสียด้วยซ้ำเพราะมันไปได้ราบรื่นกว่า ไม่ค่อยทำให้สายตามึนงงนัก และยอมให้คุณนั่งยืดตัวสูงขึ้นบนที่นั่งได้
    • จะยิ่งช่วยได้เยอะถ้าคุณหาที่นั่งซึ่งมั่นคงที่สุดในพาหนะรูปแบบอื่นๆ เหล่านี้ ให้แน่ใจว่าเบาะที่นั่งหันไปทางเดียวกับตัวพาหนะ (อย่าเลือกที่นั่งแบบหันหลังให้) นั่งบริเวณตอนหน้าของรถไฟกับรถเมล์ เลือกที่นั่งบริเวณปีกของเครื่องบิน ที่นั่งเหล่านี้จะไม่ค่อยสะเทือนหรือโคลงเคลงเท่าไหร่ [15]
    • สำหรับเส้นทางใกล้ๆ เดินไปหรือถีบจักรยานไปอาจช่วยคุณเลี่ยงการนั่งรถได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เปลี่ยนแปลงอาหารการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ กับแอลกอฮอล์ก่อนการเดินทาง. อาหารมันๆ ทำให้ร่างกายเกิดอาการคลื่นไส้จะอาเจียนได้ง่าย [16] และแอลกอฮอล์ก็อาจทำให้เกิดอาการเมาค้างซึ่งทำให้อาการเมารถแย่ลงไปอีก อย่างเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และเหงื่อออก [17] ถ้ารู้ว่าจะต้องเดินทางโดยรถยนต์ ให้คุณเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อจะได้ไม่เมารถ
  2. อาหารมื้อใหญ่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ได้ง่าย ถ้าคุณต้องนั่งในรถ โดยเฉพาะถ้าต้องเดินทางไกล ทานอาหารมื้อเล็กที่ไขมันต่ำและดีต่อสุขภาพเพื่อจะได้ทานบ่อยๆ ถ้าสามารถหาอาหารที่ไขมันต่ำแต่โปรตีนสูงได้ นี่แหละคืออาหารในอุดมคติของการแก้เมารถเลย [18]
    • ตัวอย่างเช่น อย่าทานแฮมเบอร์เกอร์ในระหว่างเดินทาง ซื้อสลัดไก่อบดีกว่า อย่าดื่มมิลค์เชคในการเดินทาง เลือกสมูทตี้โยเกิร์ตไขมันต่ำเติมผงโปรตีนแทน
  3. ขนมขบเคี้ยวพื้นๆ ไม่มีรสชาติสามารถช่วยท้องไส้ที่กำลังปั่นป่วนให้ดีขึ้นได้ ขนมอย่างขนมปังปิ้ง แครกเกอร์เค็ม กับเพร็ตเซลสามารถช่วยดูดซึมกรดในกระเพาะอาหารและทำให้ท้องรู้สึกนิ่งขึ้น มันยังเป็นตัวเลือกที่ดีในการขจัดความหิซโดยไม่ทำให้ท้องอืด [19]
    • ของว่างเหล่านี้ไม่ค่อยมีกลิ่นด้วย ซึ่งช่วยได้เพราะกลิ่นกับรสชาติอาหารที่แรงจะไปเร่งการเมารถ [20]
  4. อาการขาดน้ำจะทำให้ยิ่งเมารถหนัก ให้แน่ใจว่าคุณดื่มน้ำจนเพียงพอก่อนและระหว่างการเดินทางเพื่อเลี่ยงอาการไม่สบาย [21] ในขณะที่น้ำเป็นวิธีดีที่สุดสำหรับแก้กระหาย เครื่องดื่มที่เติมรสชาติอาจช่วยในการทำหน้าที่เบี่ยงเบนความสนใจไปจากความรู้สึกเวียนศีรษะคลื่นไส้ ฉะนั้นดื่มน้ำอัดลมที่ไม่เติมคาเฟอีนได้เลยโดยไม่ต้องรู้สึกผิด อย่างจิงเจอร์เอลเป็นต้น
    • เครื่องดื่มที่มีโปรตีนสูงก็มีหลักฐานว่าช่วยลดอาการคลื่นไส้เหมือนกัน [22]
  5. ขิงพิสูจน์แล้วว่าช่วยบรรเทาอาการเมารถกับการเมาเหตุเคลื่อนไหวอื่นๆ [23] คุณสามารถกิน (หรือดื่ม) ขิงได้หลายรูปแบบ มีทั้งอมยิ้มรสขิง ยาอมขิง ชาขิง จิงเจอร์เอล ขิงอัดเม็ด ลูกอมรสขิง และคุกกี้ขิง [24] ไม่ว่าจะแบบไหนล้วนช่วยท้องไส้ให้หายปั่นป่วน แค่ให้แน่ใจว่าของว่างนั้นทำมาจากขงจริงๆ ไม่ใช่แค่สังเคราะห์รสเลียนแบบ
  6. เปปเปอร์มินต์ก็เหมือนขิงที่เป็นการรักษาอาการคลื่นไส้โดยธรรมชาติ หมากฝรั่งกับลูกอมรสมินต์จะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้กรดในท้องเป็นกลาง ยิ่งไปกว่านั้น รสชาติเหล่านี้ยังช่วยเบนความสนใจในเวลาที่คุณคิดถึงแต่อาการเมารถ [26] อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งรสเปปเปอร์มินต์เพื่อช่วยท้องไส้สงบและโฟกัสไปที่เรื่องอื่น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้วิธีการรักษาด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เกือบทุกกรณีของการเมารถนั้นสามารถจัดการได้โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือใช้ยาสามัญประจำบ้าน อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการเมารถก็อาจเข้ามารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ในกรณีเช่นนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงการรักษาที่เป็นไปได้ เช่นใช้ยาที่หาซื้อได้ตามร้านหรือยาที่ต้องให้แพทย์สั่งจ่าย
    • คุณยังควรปรึกษาแพทย์ถ้าคุณ (หรือลูก) ยังคงมีอาการต่อเนื่องแม้ลงมาจากรถ ไม่ว่าจะปวดศีรษะอย่างรุนแรง ประสิทธิภาพการมองเห็นหรือได้ยินลดลง และเดินเหินลำบาก ทั้งหมดนี้บ่งชี้ถึงประเด็นที่อาจรุนแรงกว่าแค่การเมารถทั่วไปได้ [27]
    • การเมารถได้ง่ายนั้นเกี่ยวข้องกับอายุ เชื้อชาติ เพศ ปัจจัยด้านฮอร์โมน อาการป่วยทางประสาท และไมเกรน ให้สอบถามแพทย์ดูว่าคุณมีความเสี่ยงเกิดอาการเมาจากเหตุเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นไหม [28]
  2. มียาทั้งแบบวางขายทั่วไปหรือประเภทต้องใช้ใบสั่งจ่ายยาที่มีประสิทธิภาพในการแก้เมารถ ส่วนใหญ่แล้วจะมีส่วนผสมของไดเมนไฮดริเนท (dimenhydrinate) หรือช่อการค้าว่า ดรามามีน (dramamine) หรือมีไคลซีน (meclizine) [29] ยี่ห้อที่แพร่หลายก็คือ Dramamine กับ Bonine/Antivert บางยี่ห้อมีจำหน่ายในรูปแบบแผ่นแปะด้วย ซึ่งอาจช่วยได้มากเพราะมันสามารถปล่อยตัวยาออกมาได้เรื่อยๆ ยาแก้แพ้สามารถป้องกันอาการคลื่นไส้จากการเมาเหตุเคลื่อนไหวได้โดยการทำให้ตัวรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นในมีอาการชา ถ้าจะให้มันออกฤทธิ์ได้ผล ควรจะทานยา 30-60 นาทีก่อนจะขึ้นรถ [30]
  3. ยาสโคโพลามีน (scopolamine) จะปลอดภัยเฉพาะใช้กับผู้ใหญ่ มันไม่ใช่ยาสำหรับเด็ก [32] ยาตัวนี้ต้องได้รับการสั่งจ่ายและใช้แปะหลังใบหู คุณจะต้องแปะยาล่วงหน้า 4 ชั่วโมงก่อนเริ่มเดินทาง ถึงแม้ผลข้างเคียงของยาอาจรุนแรง (ภาพเบลอและปากแห้ง) แต่มันมีประสิทธิภาพมากในการตอบโต้อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถ [33] ปรึกษาแพทย์ว่ามันเหมาะจะใช้กับคุณไหม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเมารถโดยการหาเบาะรองหนุนมาใช้เพื่อให้เขาสามารถมองเห็นภาพภายนอกรถ และหาเกมมาเล่นที่จะกระตุ้นให้เขามองออกไปข้างนอก อย่าปล่อยให้เด็กดูหนังในรถ เพราะมันทำให้เมาได้ง่าย
  • คนที่เป็นไมเกรน หญิงมีครรภ์ และเด็กอายุระหว่าง 2-12 ปีนั้นเป็นพวกที่จะเมารถได้ง่าย ในหลายๆ กรณีนั้นอาการเมารถจะเกิดเพียงชั่วคราวและหายไปเอง
  • มีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจติดไว้ในรถมากๆ แต่ให้แน่ใจว่าไม่มีชิ้นไหนที่ต้องให้คุณอ่านหรือจับจ้องที่หน้าจอ หาเพลงสนุกๆ หนังสือในรูปแบบซีดีเสียง หรือเกมที่สามารถเล่นกับเพื่อนในรถได้อย่างปลอดภัย
  • ให้ภายในรถเย็นและอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ให้แน่ใจว่ารถคุณมียางกับระบบกันสะเทือนทันสมัย เพราะคูรต้องการให้การเดินทางราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • จอดรถระหว่างทางเพื่อพักเดินสักสองสามนาที อาการเมารถจะหายไปหลังคุณได้เดินบนพื้น
  • หากคุณเมารถบ่อยๆ ให้เตรียมถุงอาเจียนไว้ใกล้มือ เผื่อในกรณีที่ไม่อาจหยุดรถได้ทันเวลา
  • ลองเคี้ยวหมากฝรั่ง เปลี่ยนรสอื่นถ้ามันเริ่มไร้รสชาติแล้ว เพราะหมากฝรั่งที่ไม่มีรสชาติอาจทำให้อาการเมารถแย่ลง
  • มองออกไปไกลๆ ข้างนอกแล้วมันอาจทำให้หายจากการเมาได้
โฆษณา

คำเตือน

  • แพทย์เคยเชื่อว่าการเดินทางโดยให้ท้องว่างจะช่วยบรรเทาอาการเมารถ ปัจจุบันเรารู้แล้วว่ามันไม่เป็นความจริง ให้มีอะไรตกท้องดีกว่าแต่ไม่ต้องถึงขั้นอิ่มแปร้ การทานของว่างเบาๆ หรือทานมื้อย่อยจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหรือสมุนไพรสำหรับอาการเมารถ/เมาเหตุเคลื่อนไหว ยาแก้แพ้ ขิง กับเปปเปอร์มินต์อาจไม่ได้ปลอดภัยสำหรับทุกๆ คน จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/expert-answers/car-sickness-in-children/faq-20057876
  2. http://www.medicinenet.com/tips_to_prevent_motion_sickness/views.htm
  3. http://www.nytimes.com/2012/12/23/travel/fighting-motion-sickness-the-taming-of-the-stomach.html?_r=0
  4. http://www.wsj.com/articles/SB10001424127887324049504578545902289940538
  5. http://www.nhs.uk/conditions/motion-sickness/pages/introduction.aspx
  6. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  7. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/features/how-to-beat-motion-sickness?page=2
  8. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  9. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  10. http://www.everydayhealth.com/digestive-health/easy-ways-to-keep-from-getting-seasick.aspx
  11. http://www.medicinenet.com/tips_to_prevent_motion_sickness/views.htm
  12. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2016/the-pre-travel-consultation/motion-sickness
  13. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/features/how-to-beat-motion-sickness?page=2
  14. https://umm.edu/health/medical/altmed/condition/motion-sickness
  15. http://www.nhs.uk/conditions/motion-sickness/pages/introduction.aspx
  16. http://www.nhs.uk/conditions/motion-sickness/pages/introduction.aspx
  17. http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2016/the-pre-travel-consultation/motion-sickness
  18. https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/head-neck-nervous-system/Pages/Car-Sickness.aspx
  19. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/features/how-to-beat-motion-sickness
  20. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  21. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  22. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  23. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-motion-sickness/basics/art-20056697
  24. http://www.nytimes.com/2012/12/23/travel/fighting-motion-sickness-the-taming-of-the-stomach.html?_r=0

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,641 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา