ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเป็นเหมือนใครหลายคนที่กำลังจะซื้อบ้าน คุณก็คงมีภาพในหัวแล้วว่าบ้านในฝันของคุณหน้าตาเป็นอย่างไร การหาบ้านที่ตรงกับความชอบของคุณเป๊ะๆ ดูไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่โชคดีที่คุณสามารถออกแบบบ้านได้เอง แค่มีสมุดเขียนภาพกับอุปกรณ์ที่ซับซ้อนขึ้นมาสักหน่อย และไอเดียที่สร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบสัก 2-3 ไอเดีย เท่านี้คุณก็สร้างบ้านในฝันได้แล้ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หาแรงบันดาลใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะร่างแบบลงไป ให้คิดภาพก่อนว่าคุณอยากอยู่บ้านแบบไหนถ้าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหา ขั้นตอนแรกของกระบวนการออกแบบไม่ได้เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างที่ใช้หรือกฎการแบ่งเขตแต่อย่างใด แต่เป็นการนิยามสิ่งที่คุณอยากได้ออกมาให้ได้ก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะมีภาพในหัวอยู่ 2-3 ภาพที่ต้องแกะรายละเอียดออกมาก่อน [1]
    • คิดทบทวนเรื่องบ้านในฝันของคุณ อะไรในบ้านที่ดึงดูดใจคุณ
  2. การสังเกตรายละเอียดในโฟโต้บุ๊กสถาปัตยกรรมในประเทศหรือนิตยสารแบบบ้านที่ร้านหนังสือเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนเริ่มออกแบบบ้าน เพราะคุณจะได้เห็นภาพรวมของเทรนด์การออกแบบในปัจจุบันและสไตล์ที่เคยเป็นที่นิยมในสมัยก่อนหรือกำลังฮิตในภูมิภาคอื่นของประเทศ เช่น คุณอาจจะนึกภาพตัวเองอาศัยอยู่ในกระท่อมสไตล์ยุโรปแสนอบอุ่น หรือโน้มเอียงไปทางบ้านแนวหรูหรา โมเดิร์น และเรียบง่ายมากกว่า [2]
    • เนื่องจากว่ารสนิยมเป็นสิ่งที่หมุนเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา สไตล์การออกแบบหลายประเภทที่เคยถูกมองว่าเชย (เช่น อาร์ตเดโคและการออกแบบแบบโมเดิร์นยุคกลางศตวรรษที่ 20) ก็เริ่มจะกลับมาแล้ว [3]
    • อย่าจำกัดตัวเองกับสถาปัตยกรรมไม่กี่แบบแค่เพราะว่ามันกำลังนิยม เพราะสไตล์ที่ดีที่สุดก็คือสไตล์ที่เหมาะกับความรู้สึกส่วนตัวของคุณ
  3. ลองขับรถเข้าไปดูหมู่บ้านในละแวกบ้านสัก 2-3 หมู่บ้านแล้วสังเกตรายละเอียดของบ้านให้ดี ตอนนี้ยังไม่ต้องคิดว่าบ้านพวกนี้อยู่ในงบของคุณหรือเปล่า เพราะคุณแค่มาขุดไอเดียที่คุณจะสามารถหยิบยืมไปใช้ได้ตอนเริ่มออกแบบบ้านเฉยๆ
    • จำให้ดีว่าอะไรในบ้านแต่ละหลังที่คุณชอบ และอะไรที่คุณไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะการรู้ว่าลักษณะแบบไหนที่คุณไม่ชอบนั้นสำคัญพอๆ กับการรู้ว่าตัวเองชอบอะไร [4]
    • คอยส่องว่ามีบ้านไหนประกาศขายไหม เพราะบ้านที่เปิดให้เข้ามาดูเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้เข้าไปดูบ้านหลังนั้นอย่างใกล้ชิดทั้งข้างในและข้างนอก
  4. ถ่ายรูปบ้านสวยๆ เพื่อนำมาศึกษารายละเอียดทีหลัง. พอเจอบ้านที่คุณรู้สึกสะดุดตา ให้เอากล้องออกมาถ่ายรูปบ้านหลายๆ มุมให้ได้มากที่สุด เพราะคุณจะสามารถสังเกตความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ซ่อนอยู่จากการกลับไปดูภาพถ่ายอย่างละเอียดอีกครั้งตอนที่คุณมีเวลาได้ดีกว่าการเดินผ่านบ้านแบบรีบๆ นอกจากนี้ภาพถ่ายยังเป็นแหล่งอ้างอิงที่ดีเวลาที่คุณปะติดปะต่อส่วนต่างๆ ของบ้านเข้าด้วยกัน
    • ใช้กล้องถ่ายภาพคุณภาพสูงหรือกล้องมือถือแบบ HD ถ่ายภาพ เพราะคุณจะเห็นรายละเอียดสำคัญๆ ได้ชัดเจนกว่า
    • คุณต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนจะไปด้อมๆ มองๆ บ้านเขา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

จัดระเบียบและปรับแต่งไอเดียของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แทนที่จะเริ่มจากคำถามที่ว่า “ถ้าจะสร้างบ้านในฝันแบบที่ฉันอยากได้ ฉันต้องใช้เงินเท่าไหร่” ให้เปลี่ยนมาถามตัวเองว่า “จริงๆ แล้วฉันสามารถซื้อบ้านได้ในราคาเท่าไหร่” คำถามนี้จะทำให้คุณได้ตัวเลขที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงมากขึ้นและทำให้คุณเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าคุณต้องใช้เงินเท่าไหร่ งบประมาณที่กำหนดไว้ชัดเจนจะเป็นแนวทางหลักในกระบวนการออกแบบบ้านต่อไป [5]
    • ถ้าคุณเพิ่งเคยสร้างบ้านเป็นครั้งแรก การไปพบนักวางแผนการเงินที่มีใบอนุญาตก็อาจเป็นประโยชน์กับคุณ เพราะว่าเขาสามารถดูงบที่คุณเตรียมไว้ไปพร้อมกับคุณและอธิบายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาษีการขายวัสดุก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายของทรัพย์สินจะรวมอยู่ในเงินกู้บ้านหรือเปล่า [6]
  2. ซื้อสมุดเส้นกราฟเย็บกี่แน่นหนาไว้จดโน้ต วาดลายเส้น และสิ่งที่คิดขึ้นมาได้ แหล่งบันทึกข้อมูลธรรมดาๆ อย่างสมุดคือที่ๆ การออกแบบบ้านของคุณจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างสักที คุณอาจจะแปะภาพถ่าย มีแท็บตัวเลขยื่นออกมา จดข้อมูลติดต่อผู้รับเหมาก่อสร้างที่คุณสนใจ และบันทึกรายละเอียดสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้าน [7]
    • แบ่งพื้นที่ในสมุดออกเป็นห้องต่างๆ และใช้แท็บสีทำเครื่องหมายหน้านั้นไว้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณเปิดข้ามไปข้ามมาระหว่างแผนผังในส่วนต่างๆ ของบ้านได้
    • การเก็บเอกสารทั้งหมดไว้ในที่เดียวกันยังช่วยให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการต้องไปคุ้ยกองกระดาษระเกะระกะที่หนาเป็นรีมๆ เวลาต้องการข้อมูลอะไรขึ้นมา
  3. พอคุณเริ่มจริงจังกับการเก็บข้อมูลแล้วว่าตัวเองต้องการอะไร ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องโฟกัสแล้วว่าคุณจำเป็นต้องมีอะไร จุดนี้คือจุดที่คุณต้องพิจารณาเรื่องพื้นที่ ความเป็นส่วนตัว และเทคนิคการก่อสร้างที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณอาจจะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ไปแล้วโดยไม่รู้ตัวตอนที่คุณใส่ไอเดียออกไป ซึ่งหมายความว่ามันก็เป็นแค่เรื่องของการระบุลงไปเลยว่าความจำเป็นอะไรที่ไม่สามารถต่อรองได้ [8]
    • ในการกำหนดพื้นที่อาศัยที่เหมาะกับคุณนั้น คุณอาจจะต้องสรุปจำนวนคน อายุ และความสัมพันธ์ของคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาด้วย
    • กระท่อมขนาด 2 ห้องนอนแลดูอบอุ่นอาจจะไม่ใหญ่พอหากคุณกำลังวางแผนสร้างครอบครัว แต่บ้านสไตล์ทิวดอร์แบบใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมเล็กน้อยอาจจะเพิ่มพื้นที่ใช้สอยที่จำเป็นโดยที่คุณไม่ต้องตัดสุนทรียภาพในแบบที่คุณต้องการออกไป
  4. ใต้ชื่อห้องหลักแต่ละห้อง ให้เขียนสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องมีลงไป คุณอาจจะคลั่งไคล้เคาน์เตอร์ที่ตั้งอยู่กลางห้องครัว คุณอาจจะอยากได้หน้าต่างกระจกบานใหญ่ที่ยื่นออกมาจากผนังหรือห้องนั่งเล่มที่มีมุมอ่านหนังสือสบายๆ มานานแล้ว ส่วนนี้เป็นส่วนที่สนุกมาก ปล่อยจินตนาการให้ล่องลอยและเขียนทุกอย่างที่กระตุ้นจินตนาการของคุณลงไป [9]
    • เขียนรายละเอียดแบบเจาะจงได้ตามที่คุณต้องการ เพราะยิ่งคุณมีข้อมูลให้สถาปนิกหรือทีมก่อสร้างมากเท่าไหร่ บ้านก็จะออกมาเหมือนกับที่คุณนึกภาพไว้มากเท่านั้น [10]
    • พอคุณเริ่มร่างแบบแปลนชั้นแล้ว คุณก็เริ่มกลับไปดูรายการที่เขียนไว้แล้วแยกออกมาว่าอันไหนใส่ลงไปได้จริง อันไหนจ่ายไหว และอันไหนสมเหตุสมผลที่สุด
  5. กันพื้นที่สำหรับส่วนที่จำเป็นก่อน เช่น คุณอาจจะใส่ห้องนอน 2 ห้องไว้ที่ฟากหนึ่งของชั้นล่าง โดยห้องนอนจะมีเตียงใหญ่และห้องอาบน้ำที่อยู่ติดกันตรงข้ามกับโถง เหลือพื้นที่ตรงกลางแบบแปลนไว้เป็นห้องสังสรรค์ในครอบครัวแบบเปิดโล่งหรืออ่านหนังสือ จากนั้นใส่ห้องครัว ห้องซักรีด ห้องรับประทานอาหาร และพื้นที่สำคัญอื่นๆ ลงไปในแปลนพื้นที่ที่อยู่อีกฟากหนึ่ง [11]
    • เพื่อไม่ให้แปลนชั้นของคุณดูงง ให้ทำให้เสร็จทีละชั้นไป พอคุณทำชั้นล่างเสร็จแล้ว ค่อยย้ายไปวางแปลนชั้นบน
    • นึกถึงความต้องการของตัวเองและคนในครอบครัว และพยายามคิดโครงแบบที่ทั้งสะดวกและสบาย [12]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

วางแผนการให้เสร็จ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ซอฟต์แวร์ภาพสามมิติเพื่อให้แบบแปลนดูชัดเจน. โปรแกรมภาพสามมิติอย่าง Virtual Architect Room Sketcher และ Home Designer Suite ทำให้เจ้าของบ้านสามารถนำแบบที่ร่างด้วยปากกาลงในกระดาษมาไว้ในจอคอมพิวเตอร์ได้ แค่ใช้เครื่องมือและคุณสมบัติมาที่กับตัวโปรแกรมสร้างแบบแปลนที่วาดมือไว้แต่ละมุมขึ้นมาใหม่ แล้วคุณก็จะได้โมเดลที่สวยงามและแม่นยำไปให้ผู้รับเหมาก่อสร้างดู [13]
    • ค่อยๆ ปรับแบบแปลนจนกว่าจะถูกใจ เพราะความผิดพลาดในกระบวนการออกแบบนั้นไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าความผิดพลาดนั้นมันไปถึงตอนก่อสร้างแล้วล่ะก็ มันจะกินงบประมาณที่ตั้งไว้อย่างรวดเร็ว [14]
    • แอพพลิเคชั่นออกแบบบ้านเสมือนจริงดีๆ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ราคา 1,500 - 3,000 บาท ในอินเทอร์เน็ตก็อาจจะมีเวอร์ชันฟรีเหมือนกัน แต่ฟังก์ชั่นมักจะไม่ซับซ้อนนักเพราะว่าคุณอาจจะไม่ได้เครื่องมือแบบเต็มรูปแบบ
  2. ใช่ว่าบ้านทุกสไตล์จะเหมาะกับทุกสถานที่ แม้ว่างานหลักของคุณคือการเอาความคิดกว้างๆ ที่อยู่ในหัวว่าพื้นที่อาศัยของคุณหน้าตาเป็นอย่างไรออกมาให้เป็นรูปเป็นร่าง แต่คุณก็ต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่คุณจะอาศัยอยู่ด้วย เช่น คุณเข้าถึงสาธารณูปโภคที่จำเป็นได้ไหม มีปั๊มน้ำมันหรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่ไกลจากบ้านมากไหม จากบ้านไปทำงานใช้เวลาเท่าไหร่ คำถามเหล่านี้เป็นคำถามสำคัญที่คุณต้องถามตัวเองทุกครั้งที่คุณนึกภาพบ้าน [15]
    • นึกไว้ด้วยว่าการสร้างบ้านบนเนินเขาหรือพื้นที่ที่หินขรุขระ ไม่เสมอกัน หรือเป็นป่าทึบนั้นยากกว่าเพราะต้องมีการขุดเจาะเพิ่มเติมด้วย [16]
    • ถ้าคุณมีข้อกังวลว่าสถานที่สร้างบ้านอาจมีผลต่อมูลค่าหรือความสะดวกสบายของบ้านในฝัน ให้จดเอาไว้แล้วปรึกษาสถาปนิกหรือผู้รับเหมาในภายหลัง
  3. ตั้งใจฟังขณะที่เขากำลังให้ข้อมูลที่มาจากมืออาชีพและเปิดใจรับฟังคำแนะนำที่เขาให้ การออกแบบในส่วนของคุณคือการรู้ว่าคุณต้องการอะไร แต่งานของเขาคือการทำให้บ้านของคุณออกมาเป็นอย่างที่คุณตั้งใจไว้ และป้องกันไม่ให้คุณตกหลุมพรางและปัญหาเรื่องการออกแบบที่พบได้บ่อย [17]
    • สิ่งที่สถาปนิกจะพิจารณาร่วมกับคุณก็เช่นความสมบูรณ์ของโครงสร้าง รหัสอาคารในท้องถิ่น ความเหมาะสมของบริเวณโดยรอบ และเรื่องที่เกี่ยวข้องในทางปฏิบัติอื่นๆ ที่คุณไม่รู้ว่าจะต้องไตร่ตรองด้วยตัวเอง
    • ราคาเฉลี่ยของการทำงานร่วมกับสถาปนิกจะอยู่ที่ประมาณ 60,000 - 240,000 บาท ถ้าคุณจ่ายเขาเป็นชั่วโมง อัตราก็จะอยู่ที่ประมาณ 1,800 - 4,000 ต่อชั่วโมง [18]
  4. พอคุณกับที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรมสรุปแบบแปลนจนได้แบบที่คุณต้องการแล้ว งานของคุณก็เสร็จ ที่เหลือที่ต้องทำก็คือส่งมอบงานออกแบบที่เสร็จสมบูรณ์แล้วให้มืออาชีพ สถาปนิกออกแบบบ้านที่มีประสบการณ์จะกาผู้รับเหมาทั่วไปเก่งๆ ให้คุณ แล้วพวกเขาก็จะร่วมมือกันสร้างอนาคตของคุณขึ้นมา [19]
    • เตรียมใจยอมรับการเปลี่ยนแผนในนาทีสุดท้ายเผื่อว่ามีบางส่วนของแบบบ้านที่ไม่สามารถทำได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การใส่ใจรายละเอียดการวางแผนเบื้องต้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนจ้างสถาปนิกช่วยให้งานง่ายขึ้นและทำให้คุณไม่ต้องแก้ไขแบบบ้านที่วางไว้มากนัก
  • อย่าลืมเน้นส่วนที่จำเป็นต้องสร้างเพื่อรองรับความต้องการพิเศษ เช่น ทางรถเข็นหรือห้องนอนใหญ่กับห้องน้ำชั้นล่างสำหรับผู้อยู่อาศัยที่อายุมาก
  • การตัดกระดาษเป็นรูปทรงของแต่ละห้องออกมาและย้ายไปย้ายมาจนกว่าคุณจะได้แบบแปลนที่ถูกใจจะทำให้การวางแบบแปลนสนุกขึ้นและใช้เวลาน้อยลงด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • เช็กดูให้ดีว่าแบบบ้านสอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎระเบียบการสร้างอาคาร ซึ่งนอกจากจะมีเกณฑ์การก่อสร้างตามมาตรฐานแล้ว ยังมีระเบียบเรื่องไฟฟ้า เครื่องจักรกล ปะปา และฟืนไฟที่คุณต้องปฏิบัติตามด้วย แผนการสร้างบ้านของคุณต้องเป็นไปตามกฎหมายจึงจะได้รับอนุญาตให้สร้างได้
  • พยายามยั้งตัวเองไม่ให้เปลี่ยนแปลงแบบบ้านขณะกำลังสร้าง เพราะการเปลี่ยนแปลงแบบมโหฬารที่มาจากความไม่แน่ใจอาจกินงบประมาณที่ตั้งไว้จนหมดอย่างรวดเร็วและทำให้แบบบ้านของคุณดูไม่เป็นระเบียบ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,701 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา