ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณสามารถแต่งเพลงที่มีทำนองที่เพราะที่สุดในโลกได้ แต่ถ้าหากเนื้อเพลงของคุณไม่ดี มันก็อาจจะทำให้เพลงของคุณดูด้อยลงไปจากเดิม แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นเพียงแค่คนที่เขียนเนื้อร้องอย่างเดียวหรือคุณแค่ต้องการเขียนเนื้อร้องเพื่อเอาไปใส่ทำนองกีตาร์ที่คุณเพิ่งจะแต่งขึ้นมา ทั้งหมดนี้ วิกิฮาวช่วยคุณได้ โดยให้คุณทำตามวิธีการด้านล่างทีละขั้นตอน ซึ่งวิธีการต่างๆ ก็จะพูดถึงเรื่องโครงสร้างของบทเพลง การพิจารณาในภาคของดนตรี และการสร้างสรรค์คำขึ้นมาใหม่

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

เข้าใจโครงสร้างมาตรฐานของบทเพลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพลงๆ หนึ่งจะแบ่งเป็นหลายท่อน คุณจะใส่ทุกท่อนลงไปในเพลงหรือจะไม่ใส่ลงไปเลยก็ได้ มันขึ้นอยู่กับคุณ เพลงเกือบทุกเพลงจะมีโครงสร้างที่เป็นมาตรฐานคล้ายๆ กันอยู่แล้ว แต่เพื่อการเข้าใจในตัวเพลง ผู้แต่งจำเป็นต้องเข้าใจส่วนต่างๆ ต่อไปนี้ด้วย
    • อินโทร (Intro) : ท่อนนี้เป็นท่อนนำของบทเพลง บางครั้งท่อนนี้จะมีทำนองที่ต่างจากท่อนอื่นๆ ซึ่งอาจจะเร็วกว่าหรือบางครั้งอาจช้ากว่า หรือบางทีก็อาจจะไม่มีท่อนนี้อยู่ในเพลงเลยก็ได้ ซึ่งในหลายๆ เพลงที่พวกเราเคยได้ยินได้ฟังกันก็ไม่มีอินโทรเช่นกัน ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องใส่ท่อนนี้ลงไปในเพลงของคุณก็ได้
    • เวิร์ส (Verse) : ท่อนเวิร์สเป็นท่อนหลักของบทเพลง ในเพลงๆ หนึ่งจะมีหลายเวิร์ส แต่ละเวิร์สจะมีทำนองเพลงเดียวกัน แต่จะไม่เหมือนกันตรงเนื้อร้อง โดยท่อนนี้มักจะยาวกว่าท่อนคอรัสสองเท่า ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป
    • คอรัส (Chorus) หรือท่อนฮุค: เป็นท่อนซ้ำของเพลงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเนื้อร้องและทำนอง หรือถ้ามีก็น้อยมาก และเป็นท่อนที่ผู้แต่งพยายามทำให้เป็นท่อนที่ฟังติดหูมากที่สุด
    • บริดจ์ (Bridge) : ท่อนบริดจ์ไม่ใช่ท่อนที่ทุกเพลงจะต้องมี ท่อนนี้มักจะมาต่อจากท่อนคอรัสที่สอง และเป็นท่อนที่แตกต่างจากท่อนอื่น เป็นท่อนสั้นๆ มีเนื้อร้องแค่หนึ่งหรือสองบรรทัด และบางครั้งก็คือท่อนเปลี่ยนคีย์ของเพลง
  2. โครงสร้าง AABA เป็นโครงสร้างที่ถูกใช้ในเพลงป๊อปซะส่วนใหญ่ ในโครงสร้างนี้ มักจะใช้ A แทนท่อนเวิร์ส ใช้ B แทนท่อนคอรัส หรือจะพูดได้อีกแบบว่า โครงสร้างนี้ ประกอบด้วย เวิร์ส 2 ท่อน คอรัส 1 ท่อน แล้วก็ท่อนเวิร์สท่อนสุดท้ายอีก 1 ท่อน โดยคุณต้องเขียนเนื้อด้วยโครงสร้าง AABA ให้ได้ก่อนที่จะไปต่อกับโครงสร้างอื่นที่มีความซับซ้อนกว่านี้
  3. โครงสร้างมาตรฐานของเพลงนั้นมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น AABB, ABA, AAAA, ABCBA, ABABCB, ABACABA และอื่นๆ อีก ดังนั้น ลองเลือกสักหนึ่งแบบมาใช้เขียนเพลงของคุณ
    • C มักจะใช้แทนท่อนบริดจ์ ส่วนตัวอักษรอื่นๆ ที่คุณเห็นนั้นแสดงให้เห็นว่า แต่ละท่อนของเพลงไม่ได้เป็นไปตามกฎของโครงสร้างเพลง แต่ก็มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวของมันเอง (คล้ายๆ กับเอาท่อนเวิร์สของแต่ละเพลงมาใส่ไว้ในเพลงเดียวกัน)
  4. หากคุณต้องการท้าทายความสามารถของตัวเองนั้น ให้คุณลองเขียนอะไรสักอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎหรือมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพราะมันจะเป็นการวัดความสามารถของตัวคุณเอง แม้ว่ามันจะไม่ใช่หนทางที่ดีสำหรับการเริ่มต้นเขียนเพลงก็ตาม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

หาแรงบันดาลใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเขียนโดยใช้กระแสสำนึก คือ การเขียนไปเรื่อยๆ โดยไม่หยุด แค่เขียนทุกอย่างที่อยู่ในหัวออกมา การทำแบบนี้ช่วยให้คุณรวบรวมไอเดียหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็วได้ และยังเป็นตัวช่วยในการหาไอเดีย เมื่อคุณคิดอะไรไม่ออกอีกด้วย
  2. 2
    หาแรงบันดาลใจจากเพลงที่คนอื่นแต่ง. ดูเนื้อเพลงที่มีเนื้อหาดีๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ แล้วคุณจะได้ความรู้มากมายจากการวิเคราะห์ว่าอะไรทำให้เพลงนั้นเป็นเพลงที่ดี และอะไรทำให้เพลงนั้นเป็นเพลงที่แย่ และดูด้วยว่าเพลงนั้นพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร และถ่ายทอดออกมาอย่างไร ใช้คำคล้องจองแบบไหน จังหวะของเนื้อเพลงเป็นอย่างไร รวมถึงวิเคราะห์ในส่วนอื่นๆ ด้วย
  3. 3
    ดูว่าตัวคุณเองต้องการเขียนเพลงแนวไหน และดูว่าเนื้อเพลงแบบไหนที่คุณชอบและไม่ชอบ. ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ เราให้คุณพิจารณาว่าอะไรคือเนื้อเพลงที่ดี และอะไรที่แย่ แต่จริงๆ แล้ว มันขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากจะเขียนเพลงแนวไหนมากกว่า เชื่อหรือไม่ว่า ในการเป็นศิลปิน คุณสามารถเลือกเส้นทางของคุณเอง และมีความเชื่อในศิลปินที่คุณชื่นชอบได้ หากคุณต้องการเขียนเพลงสักเพลงที่เป็นสไตล์เดียวกับร็อคเกอร์สาว Avril Lavigne มากกว่าที่จะเขียนเพลงสไตล์คลาสสิกอย่าง Frank Sinatra จงเลือกเขียนแบบที่คุณชอบ อย่าปล่อยให้คนอื่นมากำหนดทิศทางการเขียนเพลงของคุณ
  4. หากคุณยังไม่มีแรงบันดาลใจใดๆ เลย แต่คุณต้องการฝึกทักษะการเขียนเพลงของคุณ ให้คุณลองนำบทกลอนมาประยุกต์ใช้ ลองอ่านกลอนเก่าๆ (ลองนึกถึงลอร์ดไบรอนหรือสุนทรภู่ก็ยังได้) ซึ่งมักจะมีไอเดียที่ยอดเยี่ยมแต่ว่าอาจจะดูโบราณไปสักหน่อย แล้วลองนำกลอนพวกนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อวัดความสามารถของคุณเอง ดูซิว่าคุณสามารถนำกลอนของ Shakespeare มาแต่งเป็นเพลงแร็พได้หรือเปล่า หรือแต่งเพลงโฟล์คจากกลอนในหนังสือ The Lord of the Rings ได้ไหม เพราะนี่จะช่วยพัฒนาทักษะของคุณ และสร้างการเริ่มต้นการเขียนเพลงที่ดีให้กับคุณ
  5. อย่าไปมองว่าคนอื่นเขาเขียนเพลงยังไงและก็ไปรู้สึกว่าคุณจะต้องทำตามเขา เพราะทุกคนต่างก็มีสไตล์เป็นของตัวเอง บางคนอาจเขียนจากสิ่งที่ตัวเองรู้สึกในขณะนั้น หรือบางคนอาจจะเขียนเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ในขณะเดียวกันก็มีกฎต่างๆ ทางด้านดนตรีกำหนดมาไว้ เพราะฉะนั้น ลองเสี่ยงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา และจำไว้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแสดงออกถึงความเป็นตัวคุณเอง
  6. เตรียมสมุดบันทึกแล้วจดสิ่งที่คิดว่าไม่เวิร์คลงไป เพื่อที่จะหาสิ่งที่เวิร์คกว่า เพราะนี่คือขั้นตอนหนึ่งในการเขียน ทุกคนต้องทำผิดพลาดไปก่อนที่จะสร้างสิ่งที่ยอดเยี่ยมขึ้นมา และเขียนให้ได้เยอะที่สุดจนกว่าคุณจะรู้สึกว่ามันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว การเริ่มต้นเขียนแค่คำเดียวหรือแต่งขึ้นมาแค่เสียงเดียวก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมแล้ว บ่มเพาะทักษะการเขียนเพลงของคุณไปเรื่อยๆ และจำไว้ว่าการเขียนเพลงนั้นต้องใช้เวลา ไม่ต้องรีบร้อน
    • ทุกอย่างที่เขียนต้องสัมพันธ์กัน หากคุณแต่งขึ้นมาหนึ่งประโยค ประโยคนั้นจะต้องนำไปสู่บางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวข้องกันในส่วนที่เหลือของเพลง
  7. แค่เขียนลงไปบนกระดาษ เขียนความรู้สึกของตัวเองลงไป เขียนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ บรรยายใครบางคนหรือสิ่งของบางอย่างที่สำคัญกับตัวคุณ เพราะนี่จะช่วยให้คุณสามารถหาคำต่างๆ มาเสริมให้บทเพลงมีค่าได้ และความเป็นบทกวีของเนื้อเพลงก็จะถูกสร้างขึ้นมาเอง หากคุณเขียนบ่อยๆ (ไม่ว่ามันจะเป็นบทกวีจริงๆ หรือเพียงแค่ในบางวลีที่คุณต้องการจะปรับปรุงให้ดีขึ้น) และจำไว้ว่า มันไม่จำเป็นต้องเศร้า ฉุนเฉียว หรือใช้อารมณ์เพียงอย่างเดียว ประโยคที่ดูยืดยาวจะกลายเป็นบทกวีได้หากถูกเขียนมาอย่างถูกต้อง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

สร้างสรรค์คำพูดเป็นของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. “ฉันเศร้าเหลือเกิน ฉันรู้สึกแย่ แฟนของฉันมาทึ้งฉันไปวันนี้” ไม่นะ! อย่าเขียนแบบนี้เด็ดขาด นี่จะทำให้เพลงของคุณไม่น่าจดจำ เนื้อเพลงที่ดีก็เหมือนกับงานเขียนดีๆ เนื้อเพลงที่ดีจะต้องทำให้คนฟังหรือคนอ่านมีอารมณ์ร่วมได้ ผู้เขียนต้องบรรยายประสบการณ์ออกมา ไม่ใช่มากำหนดว่าคนฟังต้องรู้สึกยังไง โดยให้คุณพยายามเขียนบรรยายว่ามันเป็นยังไงเพื่อสร้างความรู้สึก แทนการบอกเล่าเฉยๆ จะดีกว่า
    • ตัวอย่างที่ดีในการบรรยายความรู้สึกของวลี “ฉันเศร้าเหลือเกิน” นั้นดูได้จากเพลง The Animals Were Gone ของ Damien Rice ในท่อน "At night I dream without you, and hope I don't wake up; 'Cause waking up without you is like drinking from an empty cup" ซึ่งแปลว่า “ในค่ำคืนนี้ฉันฝันโดยที่ไม่มีคุณ และหวังว่าฉันจะไม่ต้องตื่นขึ้นมาอีก เพราะการตื่นขึ้นมาโดยไม่มีคุณนั้นก็เหมือนกับการดื่มน้ำจากแก้วเปล่า” จะเห็นได้ว่าผู้แต่งใช้วิธีการบรรยายประสบการณ์แทนการพูดออกมาตรงๆ ว่าตัวเองเศร้า
  2. คุณจะรู้ได้เลยว่าเพลงไหนไม่ดีจากเนื้อเพลงที่ฟังแล้วมันดูเลี่ยนๆ นั่นเป็นเพราะพวกเขาใช้คำคล้องจองเยอะเกินไป ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้คำคล้องจองในทุกบรรทัดของเนื้อเพลง และคำที่ใช้ก็ต้องดูเป็นธรรมชาติด้วย อย่าใช้คำหรือวลีที่แปลกประหลาด เพียงเพื่อแค่จะทำให้มันคล้องจองกัน และจริงๆ แล้ว เนื้อเพลงของคุณไม่จำเป็นต้องมีคำคล้องจองกันก็ได้ เพราะเพลงใหม่ๆ เดี๋ยวนี้หลายเพลงก็ไม่ค่อยใช้วิธีนี้กันแล้ว
    • ตัวอย่างที่ดี: “ตื่นแต่เช้า ปลุกตัวเองด้วยเพลงเพราะๆ สักเพลงหนึ่ง/จากแผ่นที่เธอเขียนให้เราเมื่อวันก่อน/อ่านหนังสือ บทกวีที่เธอเคยร้องไห้เมื่อได้อ่าน/เธอบอกว่าเรารู้สึกเหมือนกันรึเปล่า”
    • ตัวอย่างที่แย่: “ฉันยังไม่ทันจะมาหา/คุณก็ทำท่าจะบอกลา/คุณทำให้ฉันนั้นมีน้ำตา/และได้แต่เหม่อมองไปบนฟากฟ้า...”
    • และแน่นอน มีเพลงบางประเภท อย่างเช่น เพลงแร็พที่มักจะมีคำคล้องจองกันเยอะ เพราะว่าจริงๆ มันเป็นสไตล์ของเพลงประเภทนี้
  3. หากคุณต้องการทำให้คำคล้องจองของคุณดูเด่นและไม่ฟังดูเลี่ยน ให้คุณลองใช้คำคล้องจองสไตล์ใหม่ๆ ดู คุณรู้หรือไม่ว่า มีหลักการสร้างคำคล้องจองแบบอื่นๆ มากกว่าที่คุณเรียนในโรงเรียนซะอีก มีทั้งสัมผัสสระ สัมผัสพยัญชนะ สัมผัสอักษร และอื่นๆ อีกมากมาย
    • ตัวอย่างเช่น ในเพลง Same Love ของ Macklemore ที่มีตัวอย่างของการสัมผัสสระ และการสร้างคำคล้องจองแบบอื่นๆ อยู่หลายที่ เช่น lately/daily, anointed/poisoned, important/support it และอีกมากมายที่มีอยู่ในเพลง
  4. คุณต้องหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ฟังแล้วเบื่อหู เพราะว่ามันจะทำให้เพลงของคุณไม่เด่น หากในเพลงของคุณมีใครสักคนคุกเข่าลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขากำลังขอร้อง) หรือหากมีใครสักคนเดินไปตามถนน (ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงคนหนึ่งหรือตัวคุณเอง) มันจะดูน่าเบื่อมาก เพราะคนอื่นก็เอาเนื้อหาแบบนี้ไปเขียนกันเยอะแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

จำเสียงดนตรีไว้ในใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในคาบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คุณอาจจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ไม่มีอะไรที่ถูกทำลายลงไปได้อย่างสิ้นซาก ซึ่งนี่ก็คือทฤษฎีเดียวกันที่นำมาใช้กับดนตรี การเรียนรู้ว่าเครื่องหมายทางดนตรี (ห้องเพลง ตัวโน้ต เครื่องหมายหยุด และอื่นๆ ) แต่ละตัวนั้นมีหน้าที่อย่างไรนั้น ก็เพื่อที่จะได้แน่ใจว่าเนื้อเพลงของคุณนั้นเข้ากับทำนองเพลงหรือเปล่า และคำแนะนำที่ง่ายที่สุดก็คือ คุณต้องแน่ใจว่าในแต่ละบรรทัดนั้นไม่มีคำที่มีพยางค์เยอะจนเกินไป และจังหวะของคำก็ต้องคงที่ (อย่ารวบคำเยอะจนเกินไป)
    • ลองคิดว่าแต่ละพาร์ทของดนตรีนั้นเหมือนกับแก้วน้ำ 4 แก้ว คุณสามารถเทน้ำจากแก้วใดแก้วหนึ่งลงไปในแก้วที่ห้าได้ครึ่งแก้ว ซึ่งจะทำให้คุณมีแก้วที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว 2 แก้ว และแก้วที่หนึ่งก็จะไม่มีน้ำเพิ่มอีกต่อไป ซึ่งมันก็จะหมายถึงว่าคุณไม่ควรใส่จังหวะของคำให้ติดกันเกินไป จนไม่มีช่องว่างระหว่างคำเลย
  2. เริ่มต้นเขียนเนื้อเพลงกับทำนองเพลงที่ถูกแต่งไว้แล้ว. เมื่อคุณเพิ่งจะเริ่มหัดเขียนเพลง คุณน่าจะลองเขียนเนื้อเพลงเพื่อนำไปใส่กับทำนองเพลงที่คนอื่นได้แต่งไว้ เพราะว่ามันจะง่ายกว่าการสร้างทำนองเพลงขึ้นมาใหม่เพื่อให้เข้ากับเนื้อเพลง คุณอาจจะแต่งทำนองเพลงกับเพื่อนที่มีพรสวรรค์ทางดนตรีก็ได้ หรือไม่ก็ประยุกต์จากทำนองเพลงคลาสสิก เช่น จากเพลงโฟล์คเก่าๆ (ต้องดูด้วยว่านำไปใช้ในที่สาธารณะได้หรือไม่)
  3. ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีช่วงเสียงที่กว้างเหมือน Mariah Carey นะ ดังนั้น เมื่อคุณคิดทำนองขึ้นมา คุณต้องทำให้ทำนองเหล่านั้นอยู่ในช่วงเสียงเดียวกัน เพื่อที่คนร้องจะได้ร้องง่ายๆ
  4. นักร้องก็คือคนๆ หนึ่ง พวกเขาต้องการช่วงพักหายใจนะ ดังนั้น ใช้มากสุดแค่ 2 ถึง 4 จังหวะก็พอ เพื่อที่คนร้องจะได้มีช่วงพักหายใจบ้าง และการทำแบบนี้ก็จะเป็นการเว้นช่วงให้คนฟังได้วิเคราะห์เนื้อเพลงที่พวกเขาได้ฟังอีกด้วย [1]
    • ตัวอย่างที่ดีก็จะเห็นได้จากเพลงชาติไทย หลังจากประโยค “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” ก็จะมีช่วงที่เว้นว่างก่อนที่จะเข้าท่อน “เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน” เพื่อที่จะให้คนร้องได้พักหายใจจากท่อนแรก
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

ขั้นสรุป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อ่านแล้วคุณเห็นภาพอะไร แล้วรูปแบบของเนื้อเพลงเป็นแบบการเล่าเรื่อง การเปิดเผยข้อมูล หรือว่าการพรรณนา อ่านแล้วคิดว่าเป็นการเรียกร้องให้ทำอะไรหรือเปล่า เป็นการชี้แนะแนวทางหรือไม่ หรืออ่านแล้วเป็นแนวปรัชญา หรือการสะท้อนสังคม แล้วเนื้อหามันไร้สาระหรือไม่ ให้คุณลองอ่านไปทีละส่วนแล้วแก้ไขให้ทั้งเพลงมันเชื่อมโยงกัน ลองคิดว่าคุณมาอยู่ตรงท่อนนี้ได้อย่างไรและสิ่งที่คุณพูดไปมันสมดุลกันหรือเปล่า แล้วดูว่าต้องหาคำคล้องจองใหม่หรือเปล่า แล้วบรรทัดหนึ่งมีหลายความหมายหรือไม่ มีวลีใดวลีหนึ่งที่เด่นออกมาหรือยัง หรือคุณต้องการซ้ำบรรทัดเดิมหรือไม่ จำไว้ว่า เมื่อคนฟังๆ เพลงใดเพลงหนึ่งครั้งแรก พวกเขาจะจำได้แค่ส่วนที่เด่นที่สุดของเพลงเท่านั้น
  2. ใครบอกว่าคุณไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่คุณเขียนไปแล้วได้? หากคุณชอบต้นฉบับ คุณก็เก็บไว้ แต่นักเขียนเพลงส่วนใหญ่ก็มักจะเอาไปใส่ทำนองเพื่อที่จะได้เสียงที่สมบูรณ์แบบ และแม้ว่าเพลงที่ดีควรจะเขียนให้เสร็จภายในครั้งเดียว แต่ส่วนมากก็จะมีการแก้ไขกันทั้งนั้น บางทีการย้ายท่อนเวิร์สทั้งท่อนก็สามารถทำให้เพลงลื่นไหลขึ้นได้ หรือในการแก้บางครั้งก็อาจจะเปลี่ยนความหมายของเพลงเป็นอีกแบบหนึ่งไปเลยก็ได้
  3. เมื่อคุณเขียนเพลงเสร็จแล้ว มันเป็นความคิดที่นะ หากคุณเอาเนื้อเพลงของคุณให้คนอื่นดู ซึ่งแม้ว่าพวกเขาจะดูแค่เนื้อเพลงโดยที่ไม่มีดนตรี พวกเขาก็สามารถบอกได้ว่าตรงไหนที่จังหวะมันดูเกินๆ หรือมีจังหวะแปลกๆ และแน่นอน การให้คนที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้ดูนั้นไม่ใช่ไอเดียที่ดีแน่ๆ แต่ถ้าหากพวกเขาเจอบางสิ่งที่สมควรจะถูกแก้ แล้วคุณก็เห็นด้วย ให้คุณแก้ไขมันซะ
  4. โลกจะดูน่าอยู่ขึ้นหากเราแชร์สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาให้คนอื่นรับรู้ด้วย มันไม่ใช่เรื่องแย่ หากคุณเป็นคนขี้อาย แค่การที่คุณเขียนเพลงขึ้นมาไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องออกไปเปิดคอนเสิร์ตข้างนอก แต่คุณควรจะนำเพลงที่เขียนมาอัดเป็นวิดีโอหรืออัดเป็นไฟล์เสียง แล้วก็แชร์ให้คนอื่นฟัง อย่าซ่อนผลงานอันยอดเยี่ยมของคุณไว้กับบ้านล่ะ!
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

หาตัวช่วยพิเศษ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณเคยเขียนแค่เนื้อเพลงและไม่เคยแต่งทำนองดนตรีมาก่อน คุณอาจเรียนรู้วิธีการแต่งเพลงจากที่ไหนสักแห่งก็ได้ ซึ่งการแต่งทำนองดนตรีนั้นก็ไม่ต่างจากการเขียนเพลงสักเท่าไร บนอินเตอร์เน็ตก็มีการสอนพื้นฐานการแต่งเพลงมากมาย คุณสามารถศึกษาได้จากในนั้น
  2. แม้ว่ามันจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นมาก แต่การมีความรู้พื้นฐานในการอ่านโน้ตนั้นจะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะการเขียนเพลงได้ หากคุณอ่านโน้ตเป็น คุณจะได้เขียนโน้ตด้วยตัวเองแล้วให้นักดนตรีคนอื่นเล่นให้คุณได้
  3. การปรับปรุงการร้องให้ดีขึ้นจะช่วยให้คุณสามารถหาโน้ตที่คุณต้องการจะนำมาใส่ในเพลงได้ พัฒนาทักษะการร้องของคุณให้ดียิ่งขึ้น แล้วคุณจะประหลาดใจว่ามันช่วยคุณได้มากเลยทีเดียว
  4. การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องดนตรีสักชิ้น จะเป็นตัวช่วยในการเขียนเพลงของคุณ ลองศึกษาวิธีการเล่นกีตาร์หรือไม่ก็วิธีการเล่นเปียโน เพราะเครื่องดนตรีสองชิ้นนี้สามารถเรียนด้วยตัวเองได้
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • มันจะง่ายกว่า หากคุณเขียนเนื้อเพลงก่อนเป็นอันดับแรก แล้วค่อยคิดชื่อเพลง เพราะการแต่งเพลงให้เข้ากับชื่อเพลงนั้นยากกว่าเยอะ
  • ถ้าหากคุณมีเพลงที่เขียนไม่เสร็จ ให้คุณเก็บไว้ เพราะคุณสามารถเอาไอเดียจากเพลงที่คุณไม่ได้ใช้ มาปะติดปะต่อกันเป็นเพลงใหม่ได้
  • อย่ากลัวที่จะลอง เพราะการเขียนเพลงนั้นเป็นเรื่องที่สนุก และเป็นช่องทางที่ดีในการระบายความรู้สึกของตัวคุณเอง
  • เด็ดเดี่ยวเข้าไว้ การหาแรงบันดาลใจนั้นบางทีก็เป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้น ลองหาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอ แล้วคุณจะเจอสิ่งที่ยอดเยี่ยมเอง หากคุณพยายามหามันอยู่ตลอดเวลา
  • ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ไม่ต้องรีบร้อนเพื่อเขียนให้เสร็จ
  • ทำให้มั่นใจว่าเพลงของคุณนั้นไม่ได้มีท่อนซ้ำเยอะจนเกินไป ไม่มีใครอยากจะฟังคำว่า "ฉันคิดถึงคุณ" เป็นล้านๆ ครั้งหรอก แต่ในขณะเดียวกันคุณก็อย่าไปกลัวที่จะใส่ท่อนซ้ำลงไปในเพลงนะ
  • ใช้คำที่สร้างสรรค์ในการเขียนเพลง เพราะเพลงส่วนใหญ่ที่คนฟังชอบมักจะเป็นเพลงที่มีการใช้คำที่แปลกใหม่
  • อ่านสิ่งที่เขียนออกมาดังๆ จะเป็นคุณอ่านเองหรือให้คนอื่นอ่านก็ได้ เพราะว่านี่จะช่วยให้คุณแก้คำคล้องจองให้ดียิ่งขึ้น และนอกจากนี้ต้องฟังว่าพยัญชนะและสระของคำนั้นฟังแล้วลื่นไหลหรือไม่ และอย่าลืมแก้ไขจังหวะของเพลงให้ดียิ่งขึ้นด้วย
  • ทำนองเพลงที่ดีก็จะเป็นทำนองเพลงที่ดีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปิดให้คนฟังๆ เมื่อไรก็ตาม ซึ่งทำนองเพลงที่ดีที่สุดบางเพลงก็ถูกเก็บไว้ในลิ้นชักเป็นปีๆ กว่าจะเสร็จแล้วเข้าห้องอัด
  • ให้คุณลองคิดว่าคุณอยากจะให้ใครฟังเพลงของคุณ แล้วคุณต้องการจะบอกอะไรกับพวกเขาบ้าง
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลอกเพลงคนอื่นเพราะคุณอาจจะถูกดำเนินการทางกฎหมายได้ แต่ว่ามันจะเป็นความคิดที่ดีหากคุณเลือกสไตล์เนื้อร้องและดนตรีที่คุณชอบมาเป็นแรงบันดาลใจ ถ้าหากคุณชอบ Katy Perry คุณก็เขียนเพลงป๊อปแบบเธอ หรือถ้าหากคุณชอบ Taylor Swift คุณก็เขียนเพลงรักแบบเธอเยอะๆ
  • อย่าใช้คำคล้องจองต่อเนื่องกันเกินไป ยกเว้นว่ามันเป็นสิ่งที่คุณตั้งใจ ซึ่งในบางกรณี มันก็ไม่เป็นไรหรอก แต่ถ้ามีเยอะเกินไปมันก็จะดูน่ารำคาญได้ จะเห็นได้จากตัวอย่างด้านล่าง
    • ตัวอย่าง: ชีวิตของฉันมันแย่ และฉันก็คิดว่ามันแย่ เพราะว่าฉันทิ้งแมวไว้บ้านคุณยาย และคุณยายก็ไม่คืนแมวให้ฉัน แล้วฉันต้องทำยังไง โอ้ ฉันต้องทำยังไง (เป็นเนื้อเพลงที่แย่)
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ดินสอ หรือ ปากกา (แล้วแต่คุณจะเลือก)
  • เครื่องดนตรีสักชิ้น เช่น คีย์บอร์ด กีตาร์ หรืออะไรก็ได้ที่คุณเล่นเป็น (แนะนำว่าให้ใช้เครื่องดนตรีที่คุณมีอยู่แล้ว)
  • กระดาษ หรือ คอมพิวเตอร์
  • สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ ในกรณีที่คุณไม่สามารถหาปากกาได้ในขณะนั้น

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 86,911 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา