ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในงานวิจัยที่เปลี่ยนโฉมหน้าของวิทยาศาสตร์ชิ้นหนึ่งของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่ออกตีพิมพ์ในปี 1905 นั้น เป็นการแนะนำให้โลกได้รู้จักสมการ E=mc 2 ที่ซึ่ง E คือพลังงาน, m คือมวล, และ c คือความเร็วแสงในสุญญากาศ [1] นับแต่นั้น E=mc 2 ได้กลายเป็นหนึ่งในสมการที่โด่งดังมากที่สุดของโลก แม้กระทั่งคนที่ไม่มีภูมิความรู้ทางฟิสิกส์อย่างน้อยก็ต้องเคยได้ยินสมการนี้และรับรู้ถึงอิทธิพลที่มันส่งผลต่อโลกที่เราอยู่ในทุกวันนี้ได้ อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้ว่ามันหมายถึงอะไร ถ้าพูดง่ายๆ สมการนี้ก็ใช้แทนความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับสสาร: โดยพื้นฐานแล้ว พลังงานกับสสารนั้นถือเป็นรูปแบบที่แตกต่างของสิ่งๆ เดียวกัน [2] สมการที่ดูเรียบง่ายนี้ได้ฉีกวิธีที่เราคิดถึงพลังงานและได้เปิดทางให้เราได้พบความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนับไม่ถ้วน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ทำความเข้าใจสมการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นตอนแรกของการทำความเข้าใจสมการใดๆ อยู่ที่การรู้ว่าตัวแปรแต่ละตัวหมายถึงอะไร ในกรณีนี้ E คือพลังงานของวัตถุตอนหยุดนิ่ง, m คือมวลของวัตถุนั้น และ c คือความเร็วของแสงในสุญญากาศ
    • ความเร็วของแสงหรือ c นั้นเป็นค่าคงที่ในทุกกรอบอ้างอิง และประมาณได้เท่ากับ 3.00x10 8 เมตรต่อวินาที ในบริบทของทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์นั้น c 2 มีหน้าที่เป็นเสมือนแฟกเตอร์ของการใช้แปลงหน่วยมากกว่าจะเป็นค่าคงที่ ดังนั้น มันจึงถูกยกค่ากำลังสองอันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์เชิงมิติ พลังงานจะถูกวัดค่าเป็นจูล (joule) หรือ kg m 2 s -2 , ดังนั้นการเพิ่ม c 2 เข้าไปจึงแสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับสสารนั้นมีความสอดคล้องในเชิงมิติอยู่
  2. พลังงานนั้นมีหลายรูปแบบเช่น พลังงานความร้อน ไฟฟ้า เคมี นิวเคลียร์ และอื่นๆ อีกมากมาย [3] พลังงานนั้นจะมีการถ่ายโอนระหว่างระบบโดยให้กำลังกับระบบหนึ่งในขณะที่จะดึงกำลังออกมาจากอีกระบบ
    • พลังงานไม่สามารถสร้างหรือทำลายทิ้งได้ มันเพียงแต่จะเปลี่ยนรูปแบบ เช่น ถ่านหินมีพลังงานศักย์มากที่จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนเมื่อมันถูกเผาไหม้
  3. มวลมักถูกนิยามว่าเป็นจำนวนของสสารในวัตถุ [4]
    • ยังมีนิยามอื่นๆ ของมวลอีกสองสามแบบ มี "มวลนิ่ง (invariant mass)" และ "มวลสัมพัทธภาพ (relativistic mass)" มวลนิ่งคือมวลที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าคุณจะอยู่ในกรอบอ้างอิงใด มวลสัมพัทธภาพนั้นตรงกันข้าม มันจะผันแปรไปตามความเร็วของวัตถุนั้น ในสมการ E = mc 2 , m หมายถึงมวลนิ่ง ตรงนี้มีความสำคัญ เพราะนั่นหมายความว่ามวลของคุณจะ ไม่ ขยายเมื่อคุณใช้ความเร็วเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากความเชื่อโดยทั่วไป
    • เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่ามวลกับน้ำหนักนั้นแตกต่างกัน น้ำหนักคือแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ ในขณะที่มวลคือปริมาณของสสารในวัตถุนั้น มวลจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อวัตถุนั้นมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ในขณะที่น้ำหนักสามารถเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วงของสภาพแวดล้อมที่วัตถุนั้นอาศัยอยู่ มวลจะวัดเป็นกิโลกรัม (kg) ในขณะที่น้ำหนักจะวัดเป็นนิวตัน (N)
    • ก็เหมือนกับพลังงาน มวลไม่สามารถสร้างหรือทำลายทิ้งได้ แต่มันสามารถเปลี่ยนรูปแบบ เช่น ก้อนน้ำแข็งสามารถละลายเป็นน้ำ แต่ยังคงมีมวลเท่ากันทั้งสองสถานะ
  4. [5] สมการระบุไว้ว่ามวลกับพลังงานนั้นคืออย่างเดียวกัน และบอกคุณว่ามีพลังงานจำนวนแค่ไหนถูกกักเก็บอยู่ภายในปริมาณของมวลเท่าใด หลักๆ ก็คือสมการอธิบายว่ามวลปริมาณเล็กน้อยสามารถกักเก็บพลังงานจำนวนมหาศาลได้ [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ประยุกต์สมการในโลกแห่งความเป็นจริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พลังงานที่เรานำมาใช้ส่วนใหญ่จะมาจากการเผาถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ การเผาสารเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากเวเลนซ์อิเล็กตรอน (อิเล็กตรอนที่อยู่ในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมที่ยังไม่มีการสร้างพันธะเคมี) และพันธะที่พวกมันทำกับธาตุอื่นๆ เมื่อมีการเติมความร้อนเข้าไป พันธะเหล่านี้จะแตกสลายปลดปล่อยพลังงานออกมาทำให้เราได้ใช้ในชุมชน
    • การได้พลังงานมาในรูปแบบนี้ถือว่าไม่มีประสิทธิภาพนักและส่งผลใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อม
  2. ประยุกต์สมการของไอน์สไตน์เพื่อทำให้การแปลงพลังงานทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น. E=mc 2 บอกเราว่ามันยังมีพลังงานมากมายเก็บกักไว้ภายในนิวเคลียสของอะตอมมากกว่าในเวเลนซ์อิเล็กตรอนของมันเสียอีก [7] พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการแตกอะตอมนั้นสูงกว่าที่แตกออกจากพันธะอิเล็กตรอนมาก
    • พลังงานนิวเคลียร์ก็อาศัยหลักการข้อนี้นี่เอง ปฏิกิริยานิวเคลียร์ทำให้เกิดการฟิชชัน (การแตกตัวของอะตอม) และปลดปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาลออกมา
  3. E=mc 2 ได้ก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ และน่าตื่นเต้นมากมายตามมา บางอย่างนั้นเราแทบนึกไม่ออกเลยว่าจะใช้ชีวิตโดยปราศจากมันได้อย่างไร: [8]
    • PET scan ที่ใช้รังสีในการมองทะลุเข้าไปภายในของร่างกาย
    • สมการนี้ทำให้เกิดการพัฒนาในระบบสื่อสารโทรคมนาคมผ่านทางดาวเทียม
    • การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating) ใช้การลดลงของกัมมันตรังสีโดยอาศัยสมการนี้เพื่อค้นหาอายุความเก่าแก่ของวัตถุโบราณ
    • พลังงานนิวเคลียร์ที่ให้แหล่งพลังงานที่สะอาดกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าแก่สังคม
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 122,634 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา