ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ถ้าอยากใช้ MacBook Air แบบหน้าจอใหญ่สะใจ ก็เสียบหน้าจอแยกที่พอร์ท USB-C (Thunderbolt 3 หรือ 4) ของแล็ปท็อปได้ทันที ถึงหน้าจอนั้นจะไม่มี USB-C input ก็เชื่อมต่อ MacBook Air โดยใช้ adapter ได้ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเชื่อมต่อหน้าจอส่วนขยายให้ MacBook Air ด้วยสาย USB-C หรือ adapter ให้คุณเอง
ขั้นตอน
-
เช็คว่ามี video input ที่หลังหน้าจอ. MacBook Air ทุกรุ่นตั้งแต่ปี 2018 (2561) เป็นต้นมา จะมีพอร์ท USB-C ที่ถ่ายทอดสัญญาณทั้งวิดีโอและเสียง ไปยังหน้าจอหรือ HDTV ได้ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ถ้าหน้าจอก็มีพอร์ท USB-C ก็เชื่อมต่อกับ MacBook Air โดยใช้สาย USB-C ได้เลย ไม่ต้องหา adapter พิเศษมาใช้
- ถ้าเป็น M1 2020 MacBook Air พอร์ท USB-C จะรองรับ Thunderbolt / USB 4 ด้วย ส่วน MacBook Air 13" รุ่น 2018, 2019 และ 2020 (2561 - 2563) พอร์ท USB-C จะรองรับ Thunderbolt 3
- ถ้าใช้ MacBook Air รุ่น 2017 (2560) หรือเก่ากว่า จะไม่มีพอร์ท USB-C แต่ก็เชื่อมต่อ MacBook Air กับหน้าจอที่ใช้ USB-C ได้ โดยใช้ adapter แปลง Thunderbolt 2 เป็น USB-C
-
หาสายที่ต้องใช้ (และ adapter ถ้าต้องใช้). ถ้าทั้งหน้าจอและ MacBook Air มีพอร์ท USB-C ก็ใช้แค่สาย USB-C มาตรฐานเวลาเชื่อมต่อ แต่ถ้าพอร์ทไม่ตรงกัน ต้องมี adapter ด้วย [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เดี๋ยวนี้มี USB-C adapter ขายทุกแบบ ทุกร้านคอม เช่น USB-C เป็น HDMI, USB-C เป็น DisplayPort, USB-C เป็น DVI และ USB-C เป็น VGA ถ้าเป็น USB-C Digital AV Multiport Adapter ของ Apple ก็ใช้เชื่อมต่อพอร์ท HDMI ได้เป็นต้น เป็นพอร์ทยอดนิยมของ HDTV และหน้าจอส่วนใหญ่ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เปิดหน้าจอ. ต้องเสียบปลั๊กไฟและกดปุ่ม power แล้ว หน้าจอถึงจะเปิดขึ้นมา
-
เสียบสาย USB-C ที่พอร์ท USB-C ของ Mac. จะเป็นพอร์ทวงรีเล็กๆ ทางด้านข้างของ MacBook Air
- ถ้าใช้ MacBook Air รุ่นเก่าๆ จะไม่มีพอร์ท USB-C ให้เสียบ adapter แปลง Thunderbolt 2 เป็น USB-C ที่พอร์ท Thunderbolt แล้วเสียบสาย USB-C ที่ adapter
-
เสียบสาย USB-C อีกข้าง ที่พอร์ท USB-C ของหน้าจอ. ถ้าทั้งหน้าจอและ MacBook Air เปิดอยู่ จะเห็นหน้าจอ MacBook Air โผล่มาในหน้าจอทันทีหลังเชื่อมต่อ
- ถ้าใช้ adapter แปลง USB-C เป็น HDMI (หรือ adapter ประเภทอื่น) ให้เสียบด้าน USB-C กับสายที่เสียบ MacBook Air ไว้ แล้วเสียบอีกด้านของ adapter ที่พอร์ท video input ของหน้าจอ (เช่น HDMI, DVI เป็นต้น)
- ถ้าหน้าจอ Mac ไม่ขึ้นในหน้าจอต่อขยาย ให้ปิดหน้าจอก่อน แล้วเปิดกลับมา [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เปิด System Preferences ของ Mac. พอเชื่อมต่อหน้าจอแล้ว ก็เลือกได้ว่าจะ mirror (แสดงภาพเดียวกัน) หรือใช้เป็นหน้าจอต่อขยาย [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ปกติ System Preferences จะอยู่ในเมนู Apple มุมซ้ายบนของหน้าจอ
-
คลิกตัวเลือก Displays . ที่ไอคอนเป็นหน้าจอคอมสีฟ้า ด้านล่างของหน้าต่าง
-
คลิก tab Arrangement . เป็น tab ด้านบนของหน้าต่าง เท่านี้จะมีสี่เหลี่ยม 2 อันโผล่มา แทนหน้าจอ Macbook กับหน้าจอต่อขยาย
-
เลือกว่าจะ mirror คือแสดงภาพเดียวกันสองหน้าจอ. ถ้าจะใช้หน้าจอต่อขยายเป็นจอเดียว ให้ติ๊กช่องข้าง "Mirror Displays" ถ้าอยากใช้ขยายหน้าจอ ใช้สองจอไปพร้อมกัน ก็ไม่ต้องติ๊ก
-
เลือกว่าจะให้จอไหนเป็นหน้าจอหลัก (ถ้าเลือกใช้เป็นหน้าจอต่อขยาย). หน้าจอที่เลือกเป็นหน้าจอหลัก จะมีแถบขาวด้านบน ใน tab Arrangement ตามค่า default จะเป็นจอของ MacBook Air แต่แรก ถ้าจะใช้หน้าจอต่อขยายเป็นหน้าจอหลัก ให้ลากแถบขาวไปที่สี่เหลี่ยมนั้น ถ้าไม่ ก็ไม่ต้องปรับอะไร
-
ลากจอปรับตำแหน่งตามต้องการ (ถ้าใช้เป็นหน้าจอต่อขยาย). ถ้าใช้หน้าจอที่สองเป็นหน้าจอต่อขยาย ให้ลากสี่เหลี่ยมของจอที่สอง ไปไว้ตำแหน่งที่วางจอจริงๆ
- เช่น ถ้าหน้าจอต่อขยายอยู่ทางขวาของหน้าจอ MacBook Air ให้ลากสี่เหลี่ยมที่ใหญ่กว่า ไปทางขวาของสี่เหลี่ยมเล็ก แบบนี้ก็จะลากหน้าต่างไปในทิศทางนั้น แล้วไปโผล่ในหน้าจอต่อขยายได้
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,405 ครั้ง
โฆษณา