ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการเช็คว่า iPhone ติดไวรัส spyware หรือมัลแวร์อื่นๆ ไหม

  1. เจลเบรคแล้วการรักษาความปลอดภัยแน่นหนาที่มีใน iPhone แต่แรกจะหายไป เปิดช่องให้ติดตั้งแอพต่างๆ นอก store ได้ ถ้าซื้อ iPhone มือสองมา ก็อาจจะเจลเบรคแล้ว และมีมัลแวร์แถมมา คุณเช็คได้ง่ายๆ ว่าเครื่องที่ใช้เจลเบรคหรือยัง โดย
    • ปัดกลางหน้า home ลงมา เพื่อเปิดแถบค้นหา [1]
    • พิมพ์ cydia ในแถบค้นหา
    • แตะปุ่ม Search ในคีย์บอร์ด
    • ถ้าแอพ “Cydia” โผล่มาในผลการค้นหา แสดงว่า iPhone เครื่องนี้เจลเบรคแล้ว [2] คุณย้อนการเจลเบรค iPhone ให้กลับเป็นเหมือนเดิมได้ด้วย ยังไงลองหาอ่านเพิ่มเติมในเน็ตดู
  2. ถ้าอยู่ๆ ก็มี pop-up โฆษณาเด้งขึ้นมาเต็มไปหมด เป็นไปได้ว่าโดนเข้าให้แล้ว [3]
    • ห้ามแตะลิงค์ใน pop-up โฆษณา เพราะอาจติดไวรัสหนักกว่าเดิม [4]
  3. ถ้าแอพที่ใช้เป็นประจำ วันดีคืนดีเกิดค้างแล้วดับไป เป็นไปได้ว่ามีคนหาประโยชน์ในทางที่ผิดจากแอพนั้น
    • อัพเดทแอพใน iPhone เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ จะได้ไม่เปิดช่องโหว่ให้ไวรัสหรืออะไรเข้าเครื่อง [5]
  4. แอพ Trojan มักแฝงตัวเหมือนแอพดีๆ ทั่วไป เพราะงั้นต้องลงลึกกันสักหน่อย
    • เลื่อนไปตามหน้า home และโฟลเดอร์ เพื่อเช็คแอพที่ไม่รู้จัก หรือจำไม่ได้ว่าลงไว้
    • ถ้าเจอแอพที่ดูคุ้นๆ แต่ไม่ได้เป็นคนติดตั้ง เป็นไปได้ว่าอันตราย แนะนำให้ลบไปถ้าไม่รู้ว่าเป็นแอพอะไร
    • ถ้าอยากดูรายชื่อแอพทั้งหมดที่ติดตั้งไว้ จากใน App Store ให้แตะไอคอน Apps ทางด้านล่างของ store แตะรูปโปรไฟล์ แล้วแตะ Purchased [6] ถ้ามีแอพไหนในมือถือไม่อยู่ในรายชื่อนี้ (และไม่ได้เป็นของ Apple) แสดงว่าเป็นมัลแวร์หรือไวรัส
  5. พอไวรัสทำงานที่เบื้องหลังอยู่ตลอด ก็สูบเน็ตจนค่าบริการพุ่งสูงได้ จะน่าสงสัยมากถ้าค่าบริการแพงผิดสังเกต มีการรับ-ส่งข้อมูลมากผิดปกติ หรือมือถือส่งข้อความเองเรื่อยๆ จนเปลืองค่าบริการ
  6. อย่างที่บอกว่าไวรัสทำงานในเบื้องหลัง ก็ทำให้แบตหมดเร็วกว่าปกติได้
    • คุณเช็ค battery usage ได้โดยอ่านบทความวิธีการ ประหยัดพลังงานแบตเตอรี่บน iPhone ดู จะได้รู้ว่าแอพไหนเปลืองแบตมากที่สุด
    • ถ้าเจอแอพแปลกๆ ไม่เคยเห็น แนะนำให้รีบลบทันที
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากป้องกันไวรัสใหม่ๆ ได้ตลอด ก็ต้องหมั่น อัพเดท iOS ของ iPhone อยู่เสมอ
  • ถ้าสรุปแล้ว iPhone ติดไวรัส แนะนำให้รีเซ็ตเครื่องกลับค่าโรงงาน (factory settings) จะปลอดภัยที่สุด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 95,264 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา