ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
Charades เป็นเกมที่เหมาะกับทุกวัย โดยเป็นเกมเกี่ยวกับการทำท่าทางตามคำหรือวลีที่เขียนอยู่บนแผ่นกระดาษ ซึ่งจุดมุ่งหมายของเกมก็คือการทำให้ทีมของคุณทายคำตอบให้ได้โดยใช้เพียงแค่ท่าทางอย่างเดียว ใช่แล้วล่ะ ในตอนที่ผู้เล่นทำท่าทางตามคำหรือวลีนั้น เขาต้องห้ามพูด! เกมนี้เตรียมตัวน้อยมาก แต่ใช้จินตนาการเยอะ และเรียกเสียงหัวเราะได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอน
-
แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองทีมเท่าๆ กัน. จริงๆ แล้วคุณไม่ต้องมีสมาชิกทีมเท่ากันก็เล่นได้ แต่การมีสมาชิกหนึ่งคนเกินมาในทีมก็เท่ากับว่ามีคนที่อาจทายคำตอบได้เพิ่มมาอีกคน เมื่อแบ่งทีมเรียบร้อยแล้วให้แต่ละทีมไปยังคนละห้อง หรืออย่างน้อยก็ไปคนละฝั่งในห้องเดียวกัน [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คุณสามารถเล่นเกมนี้ในเวอร์ชันที่แข่งขันกันน้อยแทนได้ โดยผู้เล่นจะทำท่าทางตามคำหรือวลีแล้วทุกคนสามารถตอบได้ จากนั้นคนที่ตอบถูกคนแรกมักจะเป็นคนทำท่าทางใบ้ต่อไป
- ถ้าคุณไม่เล่นเป็นทีม คุณสามารถให้ผู้เล่นทำท่าทางตามวลีที่พวกเขาคิดขึ้นมาเองได้ ซึ่งจะทำให้เกมเล่นง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องใช้แผ่นกระดาษ
-
เขียนวลีหรือคำลงบนแผ่นกระดาษ. เมื่อในตอนนี้แต่ละทีมอยู่คนละห้องกัน (หรืออย่างน้อยก็คนละฝั่ง) ให้เขียนคำหรือวลีทั่วๆ ไปลงบนแผ่นกระดาษด้วยปากกาหรือดินสอ เก็บเป็นความลับด้วยล่ะ! วลีพวกนี้จะนำไปให้ทีมตรงข้ามสุ่มหยิบเมื่อถึงตาของพวกเขา
- การเล่น Charades แบบดั้งเดิมมีอยู่หกหมวดหมู่ด้วยกัน : ชื่อหนังสือ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ชื่อเพลง ละครเวที และคำพูดหรือวลีดังๆ
- ปกติแล้วจะไม่เขียนวลียาวๆ และวลีต่างประเทศ แต่ถ้าไม่แน่ใจ ให้ลองถามเพื่อนร่วมทีมของคุณดู ถ้ากว่าครึ่งเคยได้ยินวลีนั้นมาก่อนก็เขียนได้
- เลี่ยงการเขียนชื่อเฉพาะลงไปเดี่ยวๆ บนแผ่นกระดาษ เมื่อไม่มีบริบทแล้วก็คงจะลำบากถ้าผู้เล่นไม่รู้จักคนคนนั้น [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
นำแผ่นกระดาษมาพับครึ่งแล้วใส่ลงไปในภาชนะ. คุณเกือบจะเริ่มเล่นได้แล้ว ให้นำแผ่นกระดาษมาพับครึ่งเพื่อซ่อนคำหรือวลีเอาไว้ จากนั้นนำแผ่นกระดาษเหล่านี้ไปใส่ในภาชนะแล้วไปรวมกับอีกทีมในห้องที่คุณจะเล่นเกม แลกภาชนะกัน แต่อย่ามองแผ่นกระดาษนะ! [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ปกติมักจะใช้ตะกร้าหรือหมวกเป็นภาชนะใส่แผ่นกระดาษ แต่ในช่วงคับขันคุณก็สร้างสรรค์วิธีใหม่ๆ ได้ อย่างการใช้ลิ้นชักเปล่าจากโต๊ะกาแฟหรือใช้ปลอกหมอน
-
โยนเหรียญเพื่อเลือกทีมที่เริ่มก่อนและกำหนดลิมิตเวลา. โยนเหรียญเพื่อกำหนดว่าทีมไหนจะได้เริ่มก่อน (หรือวิธีใดที่คล้ายกัน) โดยปกติแล้วแต่ละตาจะมีเวลาจำกัด แต่คุณจะเปลี่ยนกฎก็ได้ ขึ้นอยู่กับกลุ่มอายุและระดับฝีมือของผู้เล่น ให้เริ่มด้วยการกำหนดลิมิตเวลาสองนาทีน่าจะดี
- ถ้าคุณรับได้กับการที่แต่ละรอบใช้เวลานาน คุณไม่ต้องกำหนดลิมิตเวลาก็ได้ โดยทั้งสองทีมจะพยายามทายจนกว่าจะยอมแพ้ไปในสถานการณ์นี้
- ณ จุดนี้ คุณอาจจะอยากตกลงเรื่องการทำโทษสำหรับใครที่พูดออกมาในตอนที่เขาควรทำท่าทางเท่านั้น ตัวอย่างเช่น คุณอาจลดคะแนนครึ่งคะแนนหรือปรับแพ้ตานั้นไป
โฆษณา
-
ให้ผู้เล่นที่เริ่มก่อนมาหยิบแผ่นกระดาษ. ทีมที่โยนเหรียญชนะจะเป็นผู้เริ่มก่อน พวกเขาควรเลือกผู้เล่นหนึ่งคนมาทำท่าทางตามแผ่นกระดาษเป็นคนแรก โดยทุกคนในทีมต้องออกมาทำท่าทางตามแผ่นกระดาษอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนที่ใครจะได้ออกมาเล่นเป็นรอบที่สอง
- ถ้าเลือกลำบากว่าใครจะออกไปเล่นคนแรก ให้แข่ง เป่ายิ้งฉุบ อย่างรวดเร็วจนได้ผู้ชนะ จากนั้นให้ผู้ชนะเลือกแผ่นกระดาษแล้วเริ่มเกม
-
ใบ้ข้อมูลทั่วๆ ไปเพื่อช่วยให้ทีมของคุณทายได้แคบลง. คำใบ้อย่างหมวดหมู่หรือจำนวนคำในวลีจะช่วยให้เพื่อนร่วมทีมเข้าใจว่าควรโฟกัสคำตอบไปที่ไหน คุณจะคิดท่าทางขึ้นมาเองก็ได้ แต่โดยปกติแล้ว :
- ชูนิ้วเป็นจำนวนเลขขึ้นมาตอนเริ่มตานั้นๆ เพื่อบอกจำนวนคำทั้งหมด
- ตามด้วยการชูนิ้วอีกเลขหนึ่งเพื่อบอกลำดับคำที่คุณจะทำท่าทางใบ้
- วางนิ้วเป็นจำนวนเลขลงบนแขนของคุณเพื่อบอกจำนวนพยางค์ของคำนั้นๆ
- กวาดแขนไปกว้างๆ ในอากาศเพื่อบอก "คอนเซ็ปต์ทั้งหมด" [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทำท่าทางจนกว่าทีมของคุณจะทายถูกหรือหมดเวลา. ท่าทางที่คุณคิดว่าแจ๋วอาจจะได้ผลออกมาไม่ได้เรื่อง อย่ากลัวที่จะเปลี่ยนท่า ยิ่งใบ้ท่าทางให้ทีมมากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะมีโอกาสคิดออกมากขึ้นเท่านั้น
- เมื่อทีมของคุณทายคำตอบถูก ตานั้นจะจบแล้วทีมของคุณก็จะได้คะแนน จากนั้นอีกทีมก็จะมาทำซ้ำแบบเดียวกัน
- ถ้าทีมของคุณทายคำตอบไม่ได้แล้วเวลาหมด ทีมของคุณต้องข้ามตานั้นไปแบบไม่ได้คะแนน จากนั้นก็เป็นตาของอีกทีม
-
เล่นจนกว่าแผ่นกระดาษจะหมดหรือได้ผู้ชนะอย่างชัดเจนแล้ว. ถ้าคุณและเพื่อนๆ กำลังสนุกกัน คุณไม่ต้องหยุดเล่นตอนที่แผ่นกระดาษหมดก็ได้! ให้แยกกันไปเขียนแผ่นกระดาษใหม่ ในบางกรณีอาจมีผู้เล่นส่วนน้อยที่เก่งมากๆ อยู่ในทีมหนึ่ง ทำให้อะไรๆ ไม่สมดุลกัน ให้สับเปลี่ยนทีมใหม่เพื่อให้ยุติธรรมขึ้นโฆษณา
-
ปรึกษาท่าทางทั่วไปกับผู้เล่นทุกคน. ท่าทางทั่วไปจะช่วยให้คุณข้ามผ่านคอนเซ็ปต์ที่คุณจะต้องสื่อออกมาในแต่ละตา เช่น หมวดหมู่ เพื่อให้คุณเข้าเรื่องได้ แต่คงไม่ยุติธรรมถ้ามีผู้เล่นบางคนไม่รู้จักท่าทางเหล่านี้ ดังนั้นให้สอนท่าทางทั่วไปกับผู้เล่นทุกๆ คนก่อนเริ่มเล่น
-
สื่อหมวดหมู่ออกมาด้วยท่าทางมาตรฐาน. เพราะทุกๆ คำและทุกๆ วลีจะเข้าหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่ง การมีท่าทางมาตรฐานสำหรับหมวดหมู่จึงช่วยได้มาก วิธีนี้คุณจะไม่ต้องเสียเวลาคิดท่าทางแปลกๆ ตอนเล่น และสามารถโฟกัสกับท่าทางที่เป็นประโยชน์กับคำบนแผ่นกระดาษแทน
- ใบ้ว่าเป็นชื่อหนังสือด้วยการกางมือออกเหมือนเปิดหนังสือ
- สำหรับภาพยนตร์ ให้ทำท่าเหมือนคุณกำลังหมุนกล้องรุ่นเก่าอยู่
- วาดสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าข้างหน้าคุณเพื่อบอกว่าเป็นรายการทีวี
- สำหรับชื่อเพลง ให้ทำท่าร้องเพลง (แต่ไม่ได้ร้องจริงๆ)
- ดึงเชือกเพื่อยกม่านโรงละครเพื่อบอกว่าเป็นละครเวที
- ทำเครื่องหมายอัญประกาศด้วยนิ้วของคุณเมื่อแผ่นกระดาษเขียนคำพูดหรือวลี [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ช่วยให้ทายถูกทาง. เมื่อเพื่อร่วมทีมของคุณเกือบทายถูก ให้แสดงสีหน้าตื่นเต้นออกมา ใช้ช่องว่างระหว่างนิ้วหรือระหว่างมือเพื่อบอกว่าเข้าใกล้คำตอบแค่ไหน ส่วนการช่วยเพื่อนร่วมทีมไม่ให้ทายผิดทาง ให้ชี้ไปที่พวกเขาแล้วส่ายหัว "ไม่" หรือทำแขนเป็นรูปตัว X
- ถ้าเพื่อนร่วมทีมของคุณกำลังไปได้สวยและดูเหมือนว่าอาจจะทายถูก ให้ทำท่ากวักมือ "มานี่" หรือหมุนมือเป็นวงกลม
- ปกติแล้วการเคลื่อนมือออกไปไกลตัวจะหมายความว่า "มากกว่านี้" แต่บางกรณีก็หมายถึงคำว่า "ใหญ่กว่านี้" ได้ เช่น เมื่อคำนั้นมีคำนำหน้าหรือคำต่อท้าย
-
ช่วยเพื่อนร่วมทีมให้ทายถูกโครงสร้างกริยาหรือรูปแบบของคำ. ในบางสถานการณ์ เพื่อนร่วมทีมของคุณอาจทายถูกคำแต่ผิดโครงสร้างกริยา หรือคำนั้นอาจจะต้องเป็นพหูพจน์แต่พวกเขากลับพูดในรูปเอกพจน์ เมื่อเพื่อนร่วมทีมของคุณเกือบทายถูก ชี้ไปที่พวกเขา จากนั้น :
- เชื่อมนิ้วก้อยทั้งสองเข้าหากันเพื่อบอกว่าคำนั้นเป็นพหูพจน์
- โบกมือที่ด้านหลังในท่าทาง "นานมาแล้ว" สำหรับโครงสร้างกริยาอดีต และทำท่าตรงกันข้ามสำหรับโครงสร้างกริยาอนาคต [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ใช้คำที่ออกเสียงคล้ายๆ กันให้เป็นประโยชน์. นำมือไปป้องไว้ที่หูเพื่อเป็นสัญญาณบอกทีมของคุณว่าคุณแค่กำลังจะทำท่าทางตามคำที่ออกเสียงเหมือนกับคำที่ทายอยู่เท่านั้น หลังจากทำท่านั้นแล้ว ถ้าคุณชี้ไปที่ตาตัวเอง (Eye) ทุกคนก็จะรู้แล้วว่าคำที่ทายอยู่คือ “I” [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทำเกมของคุณให้ดีขึ้นด้วยการฝึกฝนและความเร็ว. ยิ่งทำท่าทางอย่างชัดเจนได้เร็วเท่าไหร่ ทีมของคุณก็จะสามารถทายวลีถูกได้เร็วเท่านั้น ฝึกฝนได้ด้วยการเล่น Charades บ่อยๆ คุณจะได้นึกท่าทางออกตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเสียเวลาคิด
- ถ้าการแสดงออกผ่านท่าทางอย่างชัดเจนนั้นลำบากสำหรับคุณ แต่คุณอยากจะเก่งขึ้นจริงๆ ให้เรียนการแสดงด้นสดหรือละครใบ้
โฆษณา
เคล็ดลับ
- สื่อคำนามอย่างสร้างสรรค์! ชื่อภาพยนตร์และตัวละครได้ผลดีเหมือนคำและวลีใน Charades
โฆษณา
คำเตือน
- อย่าลืมว่ามันเป็นเกม! สนุกไปกับมัน ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันเกินไป
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- นาฬิกาจับเวลา (หรือตัวจับเวลาในโทรศัพท์)
- กระดาษและดินสอ
- ภาชนะ (เช่น ตะกร้าหรือหมวก เพื่อสุ่มหยิบแผ่นกระดาษ)
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.cs.umd.edu/~nau/misc/charades.html
- ↑ http://www.cs.umd.edu/~nau/misc/charades.html
- ↑ http://www.cs.umd.edu/~nau/misc/charades.html
- ↑ http://www.cs.umd.edu/~nau/misc/charades.html
- ↑ http://www.cs.umd.edu/~nau/misc/charades.html
- ↑ http://www.cs.umd.edu/~nau/misc/charades.html
- ↑ http://www.cs.umd.edu/~nau/misc/charades.html
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,832 ครั้ง
โฆษณา