ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีความสามารถในการโน้มน้าวผู้อื่นจะทำให้เราประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจและการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว ถ้าเราต้องการโน้มน้าวลูกค้าให้อยากสั่งซื้อสินค้าจากเรามากๆ หรือโน้มน้าวพ่อแม่จนยอมให้เราไปเที่ยวกับเพื่อนช่วงสุดสัปดาห์ เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะหาเหตุผลดีๆ และหนักแน่นก่อน จากนั้นค่อยนำเสนอความคิดด้วยท่าทางที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งทำความเข้าใจคนที่เรากำลังจะสนทนาด้วย แค่นี้เราก็สามารถโน้มน้าวคนอื่นได้สำเร็จแล้ว ถ้าอยากรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะสามารถโน้มน้าวผู้อื่นให้เชื่อเราได้ ก็ลองมาเริ่มทำตามขั้นตอนแรกของบทความนี้กันเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

มีเหตุผลที่ดีและหนักแน่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่จะไปพูดแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเปรียบเทียบว่าอะไรดีกว่าอะไร ก่อนที่จะพยายามโน้มน้าวพ่อแม่จนยอมให้เราออกไปอยู่หอพัก หรือก่อนที่จะถกเถียงเกี่ยวกับหัวข้อทางศีลธรรมอย่างเช่น โทษประหาร เราต้องเข้าใจมุมมองของตนเองอย่างถ่องแท้ เราต้องค้นหาข้อเท็จจริงก่อน อย่าเพิ่งไปคาดเดาว่าผู้อื่นคิดอย่างไร
    • ถ้าเรากำลังขายบางสิ่งอย่างเช่นรถยนต์ เราก็จะต้องรู้ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับรถยนต์ รวมทั้งเราต้องรู้ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับรถยนต์ยี่ห้ออื่นที่เป็นคู่แข่งกับรถยนต์ยี่ห้อของเราด้วย [1]
  2. บ้างเรื่องเราก็ต้องรู้มากกว่าข้อเท็จจริง ถ้าเราต้องการโน้มน้าวให้ผู้คนเห็นว่าหอไอเฟลนั้นมีความโดดเด่น เราก็ไม่ควรเสียเวลาถกเถียงว่าหอไอเฟลนั้นสวยหรือไม่สวย กำหนดขอบเขตในการพูด จะพูดในเรื่องศีลธรรม จะพูดในเรื่องความงาม หรือจะพูดในเรื่องสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการโน้มน้าวให้ผู้คนคิดเหมือนกับเราว่าเทพีเสรีภาพ งดงามกว่า หอไอเฟล เราก็ต้องรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและสุนทรียศาสตร์รวมทั้งข้อเท็จจริงของสถานที่ทั้งสองแห่งนี้เพื่อจะได้หาเหตุผลมาโน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดแบบเดียวกับเราได้ ยกตัวอย่างเช่น ทั้งสองแห่งนี้สูงเท่าไหร่ ใครเป็นผู้ออกแบบ และมีเกณฑ์อะไรบ้างที่ควรนำมาประเมินความงดงามของสถานที่ทั้งสองแห่งนี้
  3. การมีประเด็นที่ดีมานำเสนอก็เหมือนกับการสร้างโต๊ะ แต่ประเด็นที่ดีนั้นจะต้องมีการชี้แจ้งเหตุผลประกอบด้วยเหมือนกับที่โต๊ะยืนอยู่ได้ด้วยขาโต๊ะ ถ้าเราไม่มีการชี้แจ้งเหตุผลประกอบและหลักฐานที่สนับสนุนประเด็นหลักของเรา โต๊ะก็จะกลายเป็นแค่ไม้ชิ้นหนึ่ง เหมือนกับการเขียนเรียงความ เราต้องกำหนดประเด็นหลักให้ชัดเจน แล้วรวบรวมหลักฐานมาสนับสนุนประเด็นหลักนั้น
    • ถ้าประเด็นหลักของเราคือ "ศิลปะสมัยใหม่นั้นน่าเบื่อ" เรามีเหตุผลอะไรถึงพูดออกไปแบบนั้น สาเหตุที่เราพูดออกไปแบบนั้นมาจากแรงจูงใจของศิลปินหรือเปล่า งานศิลปะเข้าใจยากใช่หรือเปล่า คน "ธรรมดา" ไม่นิยมงานศิลปะใช่ไหม หาเหตุผลมาสนับสนุนเพื่อให้คำพูดของเราดูหนักแน่นและน่าเชื่อถือมากขึ้น [2]
  4. ยกตัวอย่างและมีหลักฐานที่ชัดเจนมาสนับสนุนเหตุผล. เราต้องสามารถให้รายละเอียดที่น่าสนใจและโดนใจคู่สนทนาในเรื่องที่กำลังถกกันอยู่ได้ ถ้าอยากโน้มน้าวให้ใครสักคนเห็นว่าวงเดอะบีเทิลส์เป็นวงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล แต่เรากลับจำชื่อเพลงที่ตนเองชอบในอัลบั้ม "1" ไม่ได้ หรือไม่เคยฟังเพลงที่ทุกคนต่างก็รู้จัก การโน้มน้าวให้ทุกคนนั้นเห็นว่าวงเดอะบีเทิลส์เป็นวงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลก็คงจะยากสักหน่อย
  5. ยอมรับฟังผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับฟังเรา. การยอมรับฟังประเด็นเล็กๆ น้อยๆ ของผู้อื่น การแสดงท่าทีคล้อยตาม และเห็นด้วยกับเขาในเรื่องบางเรื่องจะช่วยเปิดใจของผู้อื่นให้ยอมรับฟังเราด้วย ถ้าเรายินดีที่จะยอมรับฟังผู้อื่นในบางเรื่อง ผู้อื่นก็ยินดีที่จะรับฟังเหตุผลของเราเช่นกัน และเราก็จะใช้โอกาสนี้โน้มน้าวให้เขาเชื่อเราได้ในที่สุด
    • การอภิปรายและการโต้เถียงมีความแตกต่างกันคือการโต้เถียงจะต้องใช้เหตุผลและมีตัวเองเป็นที่ตั้ง เราไม่ต้องการที่จะเป็นคนที่ผิด จึงพยายามหาเหตุผลอะไรก็ได้มาโต้เถียงผู้อื่นจนกว่าเราจะชนะ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

นำเสนอความคิดด้วยท่าทางที่น่าเชื่อถือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราต้องมีความมั่นใจ สนับสนุนความคิดของตนเองด้วยการนำเสนอออกไปด้วยความมั่นใจและมีข้อพิสูจน์ว่าความคิดนั้นเป็นความจริง ไม่ว่าเราจะพยายามพิสูจน์อะไรว่าเป็นความจริง ถ้าเราเชื่อว่าเป็นความจริง เราก็จะหาเหตุผลมาสนับสนุนแน่นอน
    • การยืนยันในความคิดของตนเองไม่ได้หมายความว่าเราเป็นคนก้าวร้าวและไม่ยอมรับฟังใคร เราแค่แสดงความมั่นใจในความคิดของตนเองและยินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย
    • มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนและมีการชี้แจงเหตุผลประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเองนั้นมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่นำเสนอไปเป็นอย่างดี คนอื่นจะได้เชื่อในสิ่งที่เราพูด ถ้าเราต้องการโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อว่าวงเดอะบีเทิลส์เป็นวงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล เราต้องรู้จักผลงานของวงนี้เป็นอย่างดีและสามารถยกตัวอย่างงานเพลงซึ่งประสบความสำเร็จของวงนี้ออกมาได้ รวมทั้งเหตุผลที่เพลงแต่ละเพลงประสบความสำเร็จด้วย
  2. การหยิบยกหลักฐานและข้อเท็จจริงมาพูดบางครั้งก็อาจไม่เพียงพอที่จะโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อเรา การบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นเพื่อทำให้ผู้อื่นมีอารมณ์ร่วมและเห็นใจอาจช่วยโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อเราได้ [3] ไม่จำเป็นต้อง "พิสูจน์" สิ่งที่เราพูด เพราะเรื่องราวจากประสบการณ์ของเราก็น่าเชื่อถือเพียงพอแล้ว
    • ถ้าเราอยากให้คนอื่นเชื่อว่าโทษประหารนั้นเป็นสิ่งที่ "ผิด" เราก็ต้องโน้มน้าวให้ผู้อื่นรู้สึกเช่นเดียวกับเราและมีเหตุผลที่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกคล้อยตาม เรียนรู้เรื่องราวของนักโทษประหารที่รอวันสุดท้ายของชีวิตและนำเรื่องราวความทุกข์ที่น่าเห็นใจของนักโทษเหล่านั้นมาเล่าให้ผู้อื่นฟัง ผู้ฟังจะได้เริ่มตระหนักแล้วว่าควรมีโทษประหารหรือไม่
  3. การพูดจาเพ้อเจ้อราวกับคนเสียสติไม่สามารถทำให้เราโน้มน้าวผู้อื่นให้เชื่อเราได้ แต่การมีความมั่นใจในข้อเท็จจริงที่เรานำเสนอ ในหลักฐานที่สนับสนุนคำกล่าวอ้างของเรา ในมุมมองที่เรานำมาบอกกล่าวจะทำให้เราสามารถโน้มน้าวผู้อื่นให้เชื่อสิ่งที่เราพูดได้ง่ายกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำความเข้าใจคู่สนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่พูดเกือบตลอดเวลาไม่จำเป็นต้องชนะการโต้เถียงหรือโน้มน้าวผู้อื่นให้เชื่อเขาได้เสมอไป การรู้จักรับฟังผู้อื่นด้วยความเคารพอาจไม่ใช่วิธีการที่ทำให้เราสามารถชนะการโต้เถียง และดูเหมือนไม่ใช่วิธีการโน้มน้าวที่ได้ผล แต่การใช้เวลาเรียนรู้มุมมองของผู้อื่นจะทำให้เรามีโอกาสที่จะโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อเราได้ ฉะนั้นจงรับฟังเพื่อจะได้รู้จักเป้าหมาย ความเชื่อ และแรงจูงใจที่นำไปสู่การมีมุมมองของแต่ละบุคคล
  2. สบตาผู้อื่น ใช้น้ำเสียงที่ราบเรียบ และรักษาท่าทีให้สงบเยือกเย็นตลอดการสนทนา ถามคำถามและฟังอย่างตั้งใจขณะที่ผู้อื่นพูด อย่าพูดแทรกขึ้นมาระหว่างนั้นและรักษามารยาทเสมอ
    • การรู้จักเคารพซึ่งกันและกันนั้นสำคัญ เราจะไม่มีทางโน้มน้าวให้ใครมาเชื่อเราได้ ถ้าคนคนนั้นเห็นว่าเราไม่เคารพเขา ฉะนั้นแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าเราเคารพเขาและพวกเขาควรจะเคารพเราด้วย
  3. รู้แรงจูงใจและสาเหตุที่ผู้อื่นคัดค้านความคิดเห็นของเรา. ถ้าเรารู้ว่าผู้อื่นต้องการอะไร เราก็จะสามารถให้ในสิ่งที่เขาต้องการได้ เมื่อเรารู้ว่าอะไรคือแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังมุมมองของผู้อื่น เราก็จะสามารถปรับคำพูดของตนเองเพื่อให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจความคิดของเราได้มากขึ้น
    • สมมติว่าเรากำลังโต้แย้งกันเรื่องการควบคุมอาวุธปืน โดยเน้นพูดเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบส่วนบุคคล ให้ต่างฝ่ายต่างแสดงความคิดเห็นในสองเรื่องนั้น ลองถามคำถามคู่สนทนาเพื่อจะได้รู้ว่าเขามีความคิดเห็นต่างจากเราอย่างไรบ้างแล้วเราจะได้ปรับคำพูดของตนเองเพื่อให้เขาเข้าใจความคิดของเราได้มากขึ้น
  4. ขณะที่พยายามฟัง ทำความเข้าใจมุมมองของผู้อื่น และยอมรับในบางประเด็นที่เขาพูดว่าเป็นความจริง อย่าลืมหาโอกาสทำให้เขาเปลี่ยนใจด้วย ถ้าเราสามารถหาเหตุผลดีๆ และหนักแน่นพอจนเขาไม่อาจหาข้อโต้แย้งได้สำเร็จ เราถึงจะค่อยโน้มน้าวเขา ตอนนั้นเขาจะเปลี่ยนใจและยอมเห็นด้วยกับความคิดของเรา ฉะนั้นเมื่อเห็นว่าได้โอกาสที่จะทำให้เขาเปลี่ยนใจมาเชื่อเรา ให้รีบคว้าโอกาสนั้นไว้ซะ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าบังคับให้คนอื่นเชื่อเรา ให้ใช้เหตุผลโน้มน้าวเขาและพูดจากับเขาดีๆ
  • สบตาผู้พูดและใช้เหตุผลในการโน้มน้าวให้เขาเชื่อเรา
  • ใช้ภาษากายช่วยในการพูดด้วย
  • พูดจาสุภาพ
  • แต่งกายให้ดี เราไม่สามารถพูดจาโน้มน้าวใครได้แน่ ถ้าไม่ทำตนเองให้ดูดีและน่าเชื่อถือ
  • แสดงความ เป็นมิตร และ เคารพ ผู้อื่นเสมอ ถึงแม้สุดท้ายเขาจะไม่เชื่อในสิ่งที่เราพูดก็ตาม
  • เตรียมตัวว่าจะพูดอย่างไรมาล่วงหน้า เราจะถามอะไรบ้าง ทำไมถึงถามคำถามนี้ เราอาจต้องเตรียมตัวมาให้ดีก่อนที่จะพูดโน้มน้าวผู้อื่น
  • ลองหาซื้อหนังสือเทคนิคการโน้มน้าวใจมาอ่านก็ได้
  • เราต้องมีความมั่นใจในตนเอง ถ้าเอาแต่พูดคำว่า "อาจจะ/น่าจะ" หรือแสดงท่าทีวิตกกังวลให้คนอื่นเห็น เราอาจไม่สามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อเราได้
  • ถ้าเรากำลังโน้มน้าวพ่อแม่ให้เชื่อเราแล้วไม่ได้ผล อย่าแสดงความไม่พอใจด้วยการขึ้นเสียงและทำตัวเหมือนเด็ก อย่าตะโกนถามพวกท่านไปว่า "ทำไมหนูถึงไปกับเพื่อนไม่ได้ล่ะ" ให้พูดว่า “หนูเข้าใจ แต่หนูมีเหตุผลที่อยากออกไปกับเพื่อนนะ ช่วยรับฟังเหตุผลของหนูหน่อยนะคะ”
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคนที่เรากำลังโน้มน้าวให้เชื่อเป็นพวกมีอคติ ถึงพยายามถามคำถามในประเด็นที่เขาเองก็สงสัยแล้วแต่เขาไม่ตอบคำถามของเรา และหลังจากอธิบายความคิดเห็นของเราด้วยเหตุผลแล้ว เขาก็ไม่เชื่อเรา ให้คิดซะว่าเขาจะเชื่อเราหรือไม่เชื่อเราก็แล้วแต่เขา
  • คนบางคนอาจไม่มีทางเปลี่ยนความคิดหรือความเชื่อของตนเอง เราก็ต้องปล่อยพวกเขาไป เพราะสิ่งที่เขาคิดและเชื่ออาจมีสิทธิผิดหรือถูกก็ได้
  • ถ้าคนอื่นไม่เห็นด้วยกับความคิดของเรา อย่าไปโต้เถียงด้วย แต่ให้พยายามใช้เหตุผลและยกตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่ออธิบายว่าทำไมเขาถึงควรเชื่อเรา
  • อย่าลืมว่าสิ่งที่เราคิดหรือเชื่อก็อาจผิดได้! ฉะนั้นเปิดใจและยอมรับความจริงเพื่อจะได้ปรับความคิดและความเชื่อของเรานั้นให้ถูกต้อง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,579 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา