ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis (RA)) ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองโดยจะมีอาการอักเสบ คุณจะรู้สึกถึงอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นทำงานผิดพลาดและทำร้ายตนเองและปกติแล้วจะเป็นตรงเยื่อบุตรงข้อต่อของข้อมือและนิ้ว คุณอาจจะสังเกตว่าคุณเจ็บที่คอ หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก หัวเข่า ข้อเท้า และฝ่าเท้าด้วย อย่างไรก็ตาม การควบคุมความเจ็บปวดโดยรักษาที่อาการอักเสบนั้นสามารถบรรเทาอาการเจ็บของคุณ การใช้ว่านหางจระเข้ การทานอาหารเพื่อต้านการอักเสบ และการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต ก็สามารถบรรเทาอาการของโรคข้อรูมาตอยด์ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ใช้ว่านหางจระเข้เพื่อรักษาโรคข้อรูมาตอยด์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เจลจากว่านหางจระเข้นั้นใช้รักษาบาดแผล แผลไหม้ การติดเชื้อ อาการเจ็บข้อต่อและข้ออักเสบบางประเภทมาแต่ดั้งเดิม [1] คุณสามารถใช้ว่านหางจระเข้ที่ข้อต่อโดยตรงหรือดื่มน้ำว่านหางจระเข้เพื่อลดการอักเสบ ว่านหางจระเข้นั้นมีประโยชน์ในการรักษาโรคข้อรูมาตอยด์เพราะว่าคุณสมบัติในการต้านการอักเสบของมัน คุณสมบัติของมันนั้นเหมือนกับยาแก้ปวด (ซึ่งก็เป็นเพราะคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ) และช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น [2] มันยังเป็นมอยเจอร์ไรเซอร์และสารชะลอวัยที่ปลอดภัยอีกด้วย [3]
    • เจลว่านหางจระเข้จะมาจากตรงกลางของใบหรือเรียกอีกชื่อว่า "เนื้อว่าน (inner fillet)" มันจะมีน้ำตาลเชิงซ้อนมากกว่าน้ำว่านหางจระเข้ เชื่อกันว่าน้ำตาลเชิงซ้อนเป็นส่วนที่มีประโยชน์ของว่านหางจระเข้ [4] [5]
    • น้ำว่านหางจระเข้นั้นสกัดมากจากใบส่วนนอกและก็มีน้ำตาลเชิงซ้อนด้วย
  2. หากคุณมีต้นว่านหางจระเข้ที่โตเต็มวัยแล้ว ให้ใช้กรรไกรคมๆ ตัดใบออกและลอกใบด้านนอกออก ซึ่งเมื่อลอกแล้วก็จะเจอเจลใสๆ ด้านใน ใช้นิ้วมือควักเจลออกมาหรือตัดที่ท้ายใบและบีบให้เจลออกมา
    • หากคุณจะซื้อเจลว่านหางจระเข้ ให้ดูทางออนไลน์หรือร้านอาหารเพื่อสุขภาพแถวบ้าน ซื้อว่านหางจระเข้ออแกนิกที่ไม่มีสารกันเสียหรือสารเติมแต่ง
  3. ขั้นตอนแรกให้ทาเจลว่านหางจระเข้ไปที่พื้นที่เล็กๆ บนผิวหนังเพื่อทดสอบดูว่ามีปฏิกิริยาอะไรหรือไม่ หากเริ่มมีผื่นหรือปัญหาอื่นๆ ให้หยุดใช้ หากผิวหนังไม่ระคายเคือง ให้ทาเจลให้ทั่วตรงบริเวณที่เป็นปัญหาสำหรับคุณมากที่สุด ให้ทาเหมือนทาโลชั่น ที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดชั่วคราวจากโรคข้อรูมาตอยด์ ตราบใดที่ผิวหนังไม่ระคายเคือง คุณก็สามารถใช้ว่านหางจระเข้รักษาได้ได้เท่าที่คุณต้องการ
    • คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจอผลข้างเคียง แต่ว่าหางจระเข้อาจจะทำให้ผิวแดง แสบร้อน หรือรู้สึกปวดแปลบคล้ายเข็มทิ่ม และอาจจะเป็นผื่นชั่วคราวแต่ก็หาได้ยาก [6]
  4. เรียนรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงของน้ำว่านหางจระเข้และผลต่อสุขภาพ. มีรายงานว่าน้ำหางจระเข้จะลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคข้อรูมาตอยด์ การดื่มน้ำว่านหางจระเข้อาจจะทำให้รู้สึกชา เป็นตะคริว ท้องเสีย และมีแก๊ส [7] หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ให้หยุดดื่มทันที การดื่มน้ำว่านหางจระเข้จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดและอาจจะรบกวนการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ดังนั้น อย่าดื่มน้ำว่านหางจระเข้ติดต่อกัน 3-4 อาทิตย์ นอกจากนี้ หากคุณดื่มน้ำว่านหางจระเข้ มันอาจจะลดการดูดซึมของครีมสเตียรอยด์และลดระดับโพแทสเซียม ให้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะใช้ยา อาหารเสริม รวมถึงว่านหางจระเข้ที่ใช้ภายนอกและภายใน
    • แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาในระยะยาวเกี่ยวกับผลของการใช้ว่านหางจระเข้แบบภายใน งานวิจัยหนึ่งพบว่ามีความเกี่ยวข้องระหว่างน้ำว่านหางจระเข้และมะเร็งลำไส้ใหญ่ [8]
    • ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อสาธารณประโยชน์ (CSPI) ของประเทศสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้ดื่มน้ำว่านหางจระเข้ แต่แนะนำอย่างยิ่งให้ใช้ว่านหางจระเข้ที่ภายนอก [9]
  5. ให้มองหาน้ำว่านหางจระเข้แบบออแกนิก (อย่างยี่ห้อ Lily of the Desert หรือ Nature's Way (นำเข้าจากต่างประเทศ)) ที่ไม่มีสารปรุงแต่งหรือสารกันเสีย ให้เริ่มดื่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อน เช่น 60-90 มิลลิลิตร 1 ครั้งต่อวัน และดูว่ามีปฏิกิริยาอะไรเมื่อดื่มเข้าไป ให้เพิ่มปริมาณเป็น 60-90 มิลลิลิตร 3 ครั้งต่อวัน มันอาจจะขมนิดหน่อยและอาจจะต้องทำความคุ้นเคย คุณอาจจะลองใส่น้ำผึ้ง 1 ช้อนชาไปในน้ำก็ได้หรือผสมกับน้ำผลไม้อย่างอื่นให้เป็นรสชาติที่คุณชอบ
    • อย่า ดื่มเจลว่านหางจระเข้เพราะมันมีสารเหมือนยาระบายเข้มข้นและทำให้ท้องเสียได้ [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เปลี่ยนแปลงการทานอาหารและไลฟ์สไตล์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ทานอาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารออแกนิก มันจะไม่มียาฆ่าแมลงหรือสารเคมีอื่นๆ อย่างฮอร์โมนหรือยาปฏิชีวนะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะทำให้อักเสบ คุณควรลดปริมาณอาหารแปรรูปหรืออาหารบรรจุเสร็จ นี่จะช่วยลดสารปรุงแต่งและสารกันเสียที่จะทำให้บางคนมีอาการอักเสบกว่าเดิม [11] และนี่จะทำให้แน่ใจว่าคุณทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่จะเพิ่มระดับของการอักเสบ
    • ลองทำอาหารเองโดยใช้อาหารทั้งส่วน (whole foods) นี่จะช่วยรักษาวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารส่วนใหญ่ไว้
    • หลักการง่ายๆ ก็คืออาหารที่มีสีขาว อย่าง ขนมปังขาว ข้าวขาว พาสต้าขาว นั่นแปลว่ามันถูกแปรรูป ให้เลือกเป็นอาหารแบบนี้แทนอย่าง โฮลเกรน ขนมปัง ข้าวกล้อง พาสต้าโฮลเกรน [12]
  2. ตั้งเป้าว่า 2/3 ของการทานอาหารจะมาจากผลไม้ ผัก และโฮลเกรน [13] ผักและผลไม้นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่จะช่วยลดการอักเสบ ลองเลือกผักผลไม้สด ผักผลไม้แช่แข็งก็ใช้ได้แต่คุณควรหลีกเลี่ยงการทานผักในซอสครีมที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมเหนียวๆ ให้เลือกเป็นผักและผลไม้สีสดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะๆ ซึ่งได้แก่ผลไม้ชนิดเหล่านี้
    • เบอร์รี่ (บลูเบอร์รี่และราสเบอร์รี่)
    • แอปเปิล
    • ลูกพลัม
    • ส้ม
    • ผลไม้ตระกูลส้ม (citrus)
    • ผักใบเขียว
    • ฟักทองเทศและสควอชเหลือง
    • พริกหวาน
  3. ไฟเบอร์นั้นลดการอักเสบได้ [14] ขอให้แน่ใจว่าคุณได้รับไฟเบอร์อย่างน้อย 20-35 กรัมต่อวัน อาหารที่มีไฟเบอร์สูงนั้นได้แก่ โฮลเกรน ผัก ผลไม้ ถั่ว และถั่วเมล็ดแบน และเมล็ดพืช อาหารต่อไปนี้ก็จะเป็นแหล่งของไฟเบอร์เช่นกัน [15]
    • ข้าวกล้อง บัลเกอร์วีต บักวีต ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง ควินัว
    • แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ลูกมะเดื่อ อินทผาลัม องุ่น และเบอร์รี่ทุกชนิด
    • ผักใบเขียว (ผักโขม มัสตาร์ด ผักคอลลาร์ด ผักสวิสชาร์ด คะน้า) แครอท บล็อคโคลี่ กะหล่ำดาว กวางตุ้ง หัวบีท
    • ถั่วฝักเมล็ดกลม ถั่วเมล็ดแบน ถั่วทุกชนิด (ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วขาว ถั่วลิมา)
    • เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน และถั่วอย่าง อัลมอนด์ พีแคน วอลนัท และพิสตาชิโอ
  4. ถ้าคุณทานเนื้อ ขอให้แน่ใจว่าเนื้อนั้นไม่ติดไขมัน (และควรเป็นเนื้อที่เลี้ยงด้วยหญ้าเพราะมันจะมีไขมันโอเมก้า 3 และ 6 ในสัดส่วนธรรมชาติ) และสัตว์ปีกก็ควรไม่มีหนัง เนื้อสัตว์อะไรก็ตามที่คุณทานควรเป็นสัตว์ที่เลี้ยงโดยปราศจากฮอร์โมนและยาปฏิชีวนะ คุณควรเลาะไขมันออกด้วย การลดปริมาณเนื้อจะช่วยลดไขมันอิ่มตัวที่คุณได้รับ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA) แนะนำว่าคุณควรลดให้เหลือน้อยกว่า 7% ของแคลอรี่ที่ได้รับทั้งหมดในวันหนึ่ง [16]
    • คุณสามารถหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวโดยไม่ใช้เนย มาการีน และเนยขาว ในการทำอาหาร ให้ใช้เป็นน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันคาโนลาแทน
    • สถาบัน AHA ยังแนะนำอีกว่าคุณควรหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ ให้อ่านที่ฉลากอาหารและหลีกเลี่ยงอาหารที่มี "ไขมันผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน" ซึ่งนี่หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีไขมันทรานส์ แม้ว่าที่ฉลากจะบอกว่า "ไขมันทรานส์ 0 เปอร์เซ็นต์" ก็ตาม [17]
  5. ปลานั้นเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีและมีไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพอยู่ในปริมาณมาก การได้รับไขมันโอเมก้า 3 มากขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการลดระดับของการอักเสบ ปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 อยู่สูงได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเทราท์ ปลาซาร์ดีน และแมคเคอเรล
    • อย่าลืมดื่มน้ำเยอะ และรักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น
  6. เพิ่มเครื่องเทศและสมุนไพรที่ต้านการอักเสบไปในอาหาร. สมุนไพรและเครื่องเทศบางอย่างจะช่วยลดอาการเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของโรคข้อรูมาตอยด์ สมุนไพรและเครื่องเทศหลายตัวมีในรูปแบบอาหารเสริม (เช่น กระเทียม ขมิ้น กรดไขมันโอเมก้า 3 วิตามินซี วิตามินอี) แต่เพื่อให้แน่ใจก็ควรคุยกับแพทย์ก่อนจะทาน แต่ที่ดีกว่าก็คือควรทานมันจากอาหารไม่ใช่จากอาหารเสริม สมุนไพรและเครื่องเทศที่แนะนำได้แก่ [18] [19]
    • กระเทียม
    • ขมิ้น
    • กระเพรา
    • ออริกาโน
    • กานพลู
    • อบเชย
    • ขิง
    • พริก
  7. การออกกำลังกายจะช่วยรักษาสุขภาพโดยรวมและกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง นักกายภาพบำบัดสามารถช่วยคุณกำหนดประเภทของการออกกำลังกายที่จะเป็นประโยชน์ต่อคุณมากที่สุด ต้องอย่าลืมว่าการออกกำลังกายควรจะเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกดน้อยอย่างแอโรบิก เวทเทรนนิ่ง เดินเล่น เดินขึ้นเขา รำไทชิ ทั้งหมดนี้จะช่วยรักษาความยืดหยุ่นและความแข็งแรง [20]
    • ขอให้แน่ใจว่าได้พักผ่อนและออกกำลังกายอย่างสมดุล หากอาการของโรคข้อรูมาตอยด์กำเริบ มันจะดีกว่าหากคุณลองพักเล็กน้อยแทนการนอนพักบนเตียงนานๆ [21]
  8. ซึ่งนี่รวมถึงยาต้านการอักเสบด้วย แพทย์ของคุณอาจจะจ่ายแอนติบอดี้ที่มีชื่อว่า tumor necrosis factor (TNF) ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง ไม่ชัดเจนว่ายาชนิดนี้มีหน้าที่รักษาโรคข้อรูมาตอยด์ได้อย่างไร แต่ปกติแล้วมันจะใช้ควบคู่กับยาต้านการอักเสบ [22] หรือคุณอาจจะได้รับเป็นยาตัวใหม่ที่เป็นไบโอโลจิกส์ซึ่งเป็นการตัดแต่งทางพันธุกรรมที่โปรตีนใช้ควบคู่กับยาต้านการอักเสบ. [23] ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์และยาระงับปวดนั้นก็ใช้ร่วมกับยาอื่นๆ
    • ยาในกลุ่ม DMARD อย่าง methotrexate อาจจะทำให้มีอันตรายร้ายแรงที่ตับและเกิดอาการแพ้ได้ ผลข้างเคียงอื่นๆ นั้นได้แก่ เป็นไข้ อ่อนแรง ไอ และมีปัญหาเรื่องการหายใจ [24]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เข้าใจโรคข้อรูมาตอยด์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สัญญาณและอาการแรกคือจะรู้สึกเจ็บและบวมที่ข้อต่อและเวลาจับที่บริเวณนั้นก็จะรู้สึกอุ่นๆ หลายคนที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์มักจะรู้สึกค่อนข้างเจ็บเล็กน้อยและรู้สึกเกร็งๆ แต่อาการจะ “ปรากฏขึ้น” เป็นบางครั้งบางคราว เมื่ออาการแย่ลง บางคนก็อาจจะมีอาการอยู่ตลอดและเรื้อรัง เมื่อเป็นโรคนี้ไปเรื่อยๆ ข้อต่อและกระดูกจะเริ่มเสียหายทำให้เริ่มใช้งานไม่ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการรักษาในระยะเริ่มแรกนั้นสามารถลดอาการบาดเจ็บได้ [25] อาการอื่นๆ นั้นได้แก่
    • จะมีอาการอ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ และแข็งเกร็ง อยู่ประมาณอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอนหรือหลังจากพักนานๆ (ไม่เหมือนอาการเจ็บและเกร็งของโรคข้อเสื่อมที่จะหายไปอย่างรวดเร็ว) [26]
    • จะมีอาการเจ็บปวดจากอาการผิดปกติอื่นๆ บ่อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ ซึ่งอาการผิดปกติได้แก่โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน (เช่น กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren's Syndrome)) โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคโลหิตจาง (เซลล์เม็ดเลือดแดงที่พาออกซิเจนไปที่เนื้อเยื่อมีจำนวนน้อยกว่าปกติ) และโรคปอด
    • ปุ่มรูมาตอยด์ (rheumatoid nodules) เกิดขึ้นมากถึง 35% ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ปุ่มเนื้อนั้นจะปรากฏขึ้นใต้ผิวหนังใกล้ๆ กับข้อต่อที่มีอาการ ซึ่งปกติแล้วจะพบบ่อยที่สุดที่ใกล้ๆ ข้อศอก ปกติแล้วมันจะไม่เจ็บและเคลื่อนไหวได้ปกติใต้ผิวหนังและมันก็มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเท่าเม็ดถั่วจนถึงขนาดเท่าผลมะนาว [27]
  2. เข้าใจปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อรูมาตอยด์. แม้ว่าจะยังไม่รู้สาเหตุของโรคข้อรูมาตอยด์ แต่ดูเหมือนว่ามันจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมและจะตกทอดมาจากกลุ่มยีนส์ไม่ใช่ยีนส์เดี่ยว ซึ่งนี่ก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ฮอร์โมนและปัจจัยภายนอกก็มีบทบาทในการทำให้โรคนี้เป็นหนักขึ้น [28]
    • ผู้ชายและผู้หญิงไม่ว่าจะเชื้อชาติอะไรก็สามารถเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ได้ แต่มันเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีแนวโน้มมากกว่า 2-3 เท่าที่จะเป็นโรคนี้ ซึ่งมักจะเริ่มเป็นในช่วงวัยกลางคน
  3. เรียนรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคข้อรูมาตอยด์. โรคข้อรูมาตอยด์นั้นจะวินิจฉัยผ่านสัญญาณ อาการ ประวัติครอบครัว ประวัติทางการแพทย์ พร้อมกับผลการตรวจสุขภาพ แพทย์จะใช้ผลการวินิจฉัยในการสร้างแผนการรักษา ซึ่งเป้าหมายหลักก็คือการลดความเจ็บปวดโดยการลดอาการอักเสบและลดความเสียหายที่ข้อต่อ [29] To diagnose rheumatoid arthritis, your doctor will do:
    • ผลการตรวจที่ห้องแลปนั้นได้แก่ภาพเอ็กซเรย์และภาพอื่นๆ ของข้อต่อที่มีอาการ
    • ผลตรวจเลือดจะเป็นผลตรวจเลือดเพื่อหาสารรูมาตอยด์ (Rheumatoid Factor (RF)) โดยเฉพาะและผลตรวจเลือดอื่นๆ ที่ไม่เจาะจง ผล RF นั้นสามารถใช้วินิจฉัยโรคข้อรูมาตอยด์ได้ ขณะที่ผลตรวจเลือดที่ไม่เจาะจงจะชี้ถึงการอักเสบที่แฝงอยู่ [30]
    • การทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคนั้นจะตัดอาการอื่นๆ ที่คล้ายกับโรคข้อรูมาตอยด์ (เช่น โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) โรคข้อสันหลังอักเสบชนิดยึด (จะเป็นที่กระดูกสันหลังและข้อต่อที่ค่อนข้างใหญ่) และโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) [31]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เมื่อไหร่ต้องไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    นัดแพทย์เมื่อคุณมีอาการโรคข้อรูมาตอยด์. โรคข้อรูมาตอยด์อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หากรู้สึกสงสัยให้นัดแพทย์เพื่อทำการตรวจ [32]
    • คุณควรพบแพทย์ถ้ามีอาการปวดประจำหรือข้อบวม [33]
    • อาการแทรกซ้อนสำคัญที่อาจเกิดได้ถ้าไม่รักษาโรคข้อรูมาตอยด์คือ โรคกระดูกพรุน ติดเชื้อ โรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท ปัญหาหัวใจ (เช่น เส้นเลือดแข็งตัวหรืออุดตัน) และโรคปอด
  2. 2
    วางแผนการดูแลกับแพทย์และทำตามอย่างเคร่งครัด. พอแพทย์ตรวจเสร็จ จะให้คำแนะนำการจัดการอย่างปลอดภัยและได้ผล หรืออาจส่งตัวต่อให้แพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคโรคข้อรูมาตอยด์ [34] ปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจคำแนะนำเหล่านั้น
    • นอกจากเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแล้ว ยังอาจมีการให้ใช้ยา (เช่น DMARDs และยาแก้อักเสบ), การบำบัดร่างกาย, และการผ่าตัด (เช่นทำการรักษาเส้นเอ็นหรือเปลี่ยนไขข้อ)
  3. 3
    เข้าตรวจร่างกายตามที่แพทย์แนะนำ. โรคข้อรูมาตอยด์เป็นโรคที่ควบคุมได้ แต่รักษาให้หายไม่ได้ [35] คุณต้องมารับการตรวจร่างกายตามที่แพทย์แนะนำว่าไม่เกิดอาการใหม่ขึ้นมาอีก
    • ถามแพทย์ว่าต้องเข้ามาตรวจบ่อยแค่ไหน เขาอาจแนะนำให้มาทุก 1-2 เดือน
    • ผลการวิจัยพบว่าการมาตรวจบ่อยๆ (เช่นระหว่าง 7 ถึง 11 ครั้งต่อปี) ส่งผลให้คนไข้มีอาการดีขึ้นกว่าคนที่เข้ามาตรวจน้อยครั้งกว่า (น้อยกว่า 7 ครั้งต่อปี) [36]
  4. 4
    ให้แพทย์ได้ทราบถ้าคุณมีอาการใหม่. แม้จะได้รับการรักษาแล้ว แต่บางครั้งอาการอาจเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลงกระทันหัน หากเป็นเช่นนั้น รีบมาพบแพทย์ทันทีแม้จะไม่อยู่ในกำหนดการเข้าตรวจ [37]
    โฆษณา

คำเตือน

  • การทานว่านหางจระเข้นั้นไม่แนะนำกับเด็กหรือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือหญิงที่ให้นมบุตรอยู่


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2763764/
  2. Edwards, SE., Phytopharmacy: An Evidence-Based Guide to Herbal Medicinal Products. 1st ed. (2015), Wiley&Sons, NYC.
  3. Surjushe,A., Vasani, R., Saple, DG., Aloe Vera: A Short Review. Indian J Dermatol. 2008; 53(4): 163–166.
  4. https://nccih.nih.gov/health/aloevera
  5. Hart LA, Nibbering PH, van den Barselaar MT, van Dijk H, van den Burg AJ, Labadie RP. Effects of low molecular constituents from aloe vera gel on oxidative metabolism and cytotoxic and bactericidal activities of human neutrophils. Int J Immunopharmacol. 1990;12:427–34.
  6. Edwards, SE., Phytopharmacy: An Evidence-Based Guide to Herbal Medicinal Products. 1st ed. (2015), Wiley&Sons, NYC.
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2763764/
  8. Hart LA, Nibbering PH, van den Barselaar MT, van Dijk H, van den Burg AJ, Labadie RP. Effects of low molecular constituents from aloe vera gel on oxidative metabolism and cytotoxic and bactericidal activities of human neutrophils. Int J Immunopharmacol. 1990;12:427–34.
  9. http://www.cspinet.org/new/201308211.html
  1. https://nccih.nih.gov/health/aloevera
  2. http://www.arthritis.org/living-with-arthritis/arthritis-diet/anti-inflammatory/anti-inflammatory-diet.php
  3. http://www.arthritis.org/living-with-arthritis/arthritis-diet/anti-inflammatory/rheumatoid-arthritis-diet.php
  4. http://www.arthritis.org/living-with-arthritis/arthritis-diet/anti-inflammatory/rheumatoid-arthritis-diet.php
  5. http://www.arthritis.org/living-with-arthritis/arthritis-diet/anti-inflammatory/fiber-inflammation.php
  6. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/high-fiber-foods/art-20050948
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/in-depth/heart-healthy-diet/art-20047702
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-disease/in-depth/heart-healthy-diet/art-20047702
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3011108/
  10. http://www.arthritis.org/living-with-arthritis/arthritis-diet/anti-inflammatory/anti-inflammatory-diet.php
  11. http://www.arthritis.org/about-arthritis/types/rheumatoid-arthritis/self-care.php
  12. http://www.niams.nih.gov/health_info/rheumatic_disease/
  13. http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/rheumatology/rheumatoid-arthritis/Default.htm
  14. http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/rheumatology/rheumatoid-arthritis/Default.htm
  15. http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/rheumatology/rheumatoid-arthritis/Default.htm
  16. http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/rheumatology/rheumatoid-arthritis/Default.htm
  17. http://www.niams.nih.gov/health_info/rheumatic_disease/
  18. http://www.aocd.org/?page=RheumatoidNodules
  19. http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/rheumatology/rheumatoid-arthritis/Default.htm
  20. http://www.niams.nih.gov/health_info/rheumatic_disease/
  21. http://www.niams.nih.gov/health_info/rheumatic_disease/
  22. http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/rheumatology/rheumatoid-arthritis/Default.htm
  23. https://familydoctor.org/condition/rheumatoid-arthritis/
  24. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rheumatoid-arthritis/symptoms-causes/syc-20353648
  25. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rheumatoid-arthritis/diagnosis-treatment/drc-20353653
  26. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rheumatoid-arthritis/diagnosis-treatment/drc-20353653
  27. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9002008
  28. https://familydoctor.org/condition/rheumatoid-arthritis/
  29. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rheumatoid-arthritis/expert-answers/rheumatoid-arthritis/faq-20058245

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,747 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา