ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณสร้าง header ในโปรแกรม Excel ได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งแต่ละวิธีก็ใช้ในจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปนิดหน่อย คุณจะ freeze แถว header นั้นให้แสดงอยู่ในจอตลอดก็ได้แม้จะเลื่อนลงไปอ่านข้อมูลท้ายตาราง หรือถ้าอยากให้ header เดียวกันแสดงในหลายๆ หน้า ก็เลือกเฉพาะแถวหรือคอลัมน์ที่ต้องการของแต่ละหน้าเวลาสั่งพิมพ์ได้ และถ้าจัดระเบียบข้อมูลลงตารางไว้ ก็ใช้ header เป็นตัวกรองข้อมูลได้เช่นกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

Freeze (ล็อค) แถวหรือคอลัมน์เพื่อแสดงไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอยากให้แถวของข้อมูลยังคงอยู่ในหน้าจอ แม้จะเลื่อนลงไปที่อื่น ก็เลือก freeze หรือล็อคไว้ได้
    • คุณกำหนดให้แถวดังกล่าวขึ้นในทุกหน้าของเอกสารเวลาพริ้นท์ได้ด้วย สะดวกมากสำหรับ spreadsheet ที่ยาวหลายหน้า ยังไงลองอ่านรายละเอียดในส่วนถัดไป
  2. คุณกำหนดให้ Excel freeze แถวและคอลัมน์เพื่อแสดงไว้ตลอดได้ โดยเลือกเซลล์ที่มุมของบริเวณที่จะปล่อยไว้ ไม่ล็อค
    • เช่น ถ้าอยากล็อคแถวบนสุดกับคอลัมน์แรกไว้ในหน้าจอ ให้เลือกเซลล์ B2 แบบนั้นทุกคอลัมน์ทางซ้ายและแถวข้างบนทั้งหมดจะถูกล็อค
  3. เพื่อล็อคแถวที่อยู่ข้างบนและคอลัมน์ทางซ้ายของเซลล์ที่เลือกไว้ เช่น ถ้าเลือกเซลล์ B2 แถวด้านบนกับคอลัมน์แรกจะถูกล็อคไว้ในหน้าจอ
  4. คุณทำให้แถวนั้นเด่นๆ ได้ โดยกำหนดให้ข้อความในเซลล์อยู่ตรงกลาง ทำตัวหนา ใส่สีฉากหลัง หรือขีดเส้นใต้เซลล์ก็ได้ ผู้อ่านจะได้รู้ว่านี่คือ header ตอนอ่านข้อมูลใน sheet
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พริ้นท์แบบแสดง Header ในเอกสารหลายๆ แผ่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าต้องพริ้นท์ worksheet ยาวหลายหน้า ให้ตั้งค่าพริ้นท์โดยล็อคเพื่อแสดงบางแถวหรือหลายแถวที่ด้านบนของทุกหน้าได้
  2. ที่อยู่ในส่วน Page Setup
  3. คลิกปุ่มข้างช่อง Print Area แล้วลากคลุมข้อมูลที่จะพริ้นท์ ไม่ต้องรวม header ของคอลัมน์ หรือ label ประจำแถว
  4. เพื่อเลือกแถวเดียวหรือหลายแถวที่จะกำหนดเป็น header ของทุกหน้า
  5. ซึ่งจะไปปรากฏที่ด้านบนของทุกหน้าที่จะพริ้นท์ สะดวกมากเวลา spreadsheets ยาวหลายหน้า
  6. เพื่อเลือกคอลัมน์ที่จะล็อคไว้ในทุกหน้า คอลัมน์พวกนี้จะเป็นเหมือนแถวที่คุณเลือกในขั้นตอนก่อนหน้า คือปรากฏในทุกหน้าที่พริ้นท์
  7. คลิก tab "Header/Footer" แล้วใส่ header และ/หรือ footer ให้เอกสารที่จะพริ้นท์ จะใส่ชื่อบริษัทหรือชื่อเอกสารไว้ที่ด้านบนก็ได้ แล้วใส่เลขหน้าที่ด้านล่าง ผู้อ่านจะได้อ่านง่าย
  8. เท่านี้ก็พริ้นท์ spreadsheet ได้เลย โดยใน Excel จะพริ้นท์ข้อมูลพร้อม header และคอลัมน์ที่คุณกำหนดไว้ในหน้าต่าง Print Titles
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

สร้าง Header ในตาราง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาแปลงข้อมูลเป็นตาราง คุณจัดการข้อมูลได้หลายอย่าง ฟีเจอร์หนึ่งในนั้นก็คือการกำหนด header ให้แต่ละคอลัมน์ แต่จะไม่เหมือนกับการใส่ header ให้คอลัมน์ของ worksheet หรือ header เวลาสั่งพริ้นท์
  2. ยืนยันว่าเลือกข้อมูลถูกแล้ว
  3. เพื่อสร้างตารางจากข้อมูลที่เลือก แถวแรกของข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็น header ของคอลัมน์โดยอัตโนมัติ
    • ถ้าไม่ติ๊ก "My table has headers" แถว header จะถูกสร้างโดยมีชื่อตามค่า default ซึ่งคุณแก้ไขชื่อได้โดยเลือกเซลล์
  4. คลิก tab Design แล้วติ๊กหรือไม่ติ๊กช่อง "Header Row" เพื่อเปิดหรือปิดการใช้งานแถว header ตัวเลือกที่ว่าจะอยู่ในส่วน Table Style ของ tab Design [1]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คำสั่ง "Freeze Panes" ใช้ปิดเปิดการใช้งานได้ คือถ้าคุณล็อคกรอบไว้แล้ว พอคลิกตัวเลือกนี้อีกรอบ จะกลายเป็น unfreeze หรือปลดล็อคแทน และถ้าคลิกซ้ำอีก ก็เท่ากับ freeze หรือล็อคกรอบนั้นอีกรอบในตำแหน่งใหม่
  • error ส่วนใหญ่ที่เกิดเวลาใช้ตัวเลือก Freeze Panes เพราะคุณเผลอเลือกแถว header แทนแถวด้านล่างที่ติดกัน ถ้ามีอะไรผิดพลาดให้คุณปลดล็อคตัวเลือก "Freeze Panes" จากนั้นเลือกแถวหนึ่งที่ต่ำลงมา แล้วลองใหม่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,731 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา