ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สัญลักษณ์ที่กำกับอยู่บนมัลติมิเตอร์อาจดูเหมือนภาษาต่างดาวสำหรับสามัญชนคนธรรมดา บางครั้ง แม้แต่ผู้มากประสบการณ์ด้านระบบไฟฟ้าก็อาจต้องขอความช่วยเหลือเมื่อพบกับมัลติมิเตอร์ที่ไม่คุ้นเคยซึ่งใช้ตัวย่อแบบแปลกๆ ข่าวดีก็คือ การแปลความหมายของค่าต่างๆ และทำความเข้าใจวิธีการอ่านสเกลเป็นสิ่งที่ไม่ต้องอาศัยเวลามากมาย คุณจึงกลับไปทำงานต่อได้โดยไม่ต้องเสียเวลา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การอ่านค่าบนสวิตช์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยทั่วไป ตัวอักษร V มักหมายถึงค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า ในขณะที่เส้นยึกยือ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสสลับ (พบได้ในวงจรในครัวเรือน) และเส้นตรงหรือเส้นประ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสตรง (พบในแบตเตอรี่ส่วนใหญ่) โดยเส้นเหล่านี้อาจปรากฏอยู่ถัดจากหรือเหนือตัวอักษร [1]
    • การตั้งค่าสำหรับทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับมักจะมีสัญลักษณ์ V~ , ACV หรือ VAC กำกับไว้
    • หากต้องการทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ให้ตั้งค่ามัลติมิเตอร์เป็น V– , V--- , DCV หรือ VDC
  2. เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่วัดได้มีหน่วยเป็นแอมแปร์ จึงใช้ตัวอักษร A เป็นตัวย่อ โดยให้เลือกเป็นไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับตามวงจรไฟฟ้าที่กำลังทดสอบ แต่มัลติมิเตอร์แบบเข็มทั่วไปมักไม่สามารถใช้ทดสอบค่ากระแสไฟฟ้าได้
    • A~ , ACA และ AAC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ
    • A– , A--- , DCA และ ADC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง
  3. ค่าความต้านทานจะมีตัวอักษรโอเมกา Ω ในภาษากรีกกำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บอกค่าโอห์มหรือหน่วยที่ใช้ในการวัดความต้านทานนั่นเอง แต่มัลติมิเตอร์รุ่นเก่าๆ บางชนิดอาจจะใช้ตัวอักษร R ในการแสดงค่าความต้านทาน
  4. หากมัลติมิเตอร์ของคุณมีการตั้งค่านี้ ให้เลือก DC+ ไว้เสมอเมื่อทดสอบไฟฟ้ากระแสตรง แต่ถ้ามิเตอร์ไม่แสดงค่าใดๆ และสงสัยว่าอาจจะต่อขั้วบวกขั้วลบไว้ผิดด้าน คุณก็สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเป็น DC- เพื่อแก้ปัญหาโดยที่ไม่ต้องปรับแต่งสายไฟ [2]
  5. ถ้ายังไม่แน่ใจว่าทำไมค่าแสดงแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า หรือความต้านทานถึงต้องมีหลายๆ แบบ ให้ลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับช่วงการวัด (range) จากหัวข้อการแก้ไขปัญหา แต่นอกจากค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้ว มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่มักจะแสดงค่าเพิ่มเติมอีก 2-3 ค่า แต่ถ้าเกิดมีเครื่องหมายกำกับค่าเดียวกันมากกว่า 1 เครื่องหมาย อาจเป็นเพราะมิเตอร์วัดค่าทั้ง 2 ค่าในเวลาเดียวกัน หรืออาจต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือ
    • ) ) ) หรือสัญลักษณ์ที่มีเส้นโค้งขนานกันหลายเส้นคล้ายๆ กันนี้ หมายถึง "การทดสอบความต่อเนื่อง" เมื่อทำการวัดค่านี้ มัลติมิเตอร์จะส่งเสียงบี๊บเมื่อหัวตรวจสอบ (probe) 2 หัวเชื่อมต่อเข้าด้วยกันทางไฟฟ้า [3]
    • ลูกศรชี้ขวาที่มีเครื่องหมายบวกลากผ่านลูกศร หมายถึง "การวัดไดโอด" ใช้สำหรับทดสอบว่ามีการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าทางเดียวหรือไม่ [4]
    • Hz ย่อมาจาก เฮิรตซ์ (Hertz) เป็นหน่วยสำหรับวัดค่าความถี่ในวงจรกระแสสลับ [5]
    • สัญลักษณ์ –|(– หมายถึง ค่าความจุ
  6. มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่จะมีช่องหรือรูต่อ 3 จุดด้วยกัน และบางครั้ง ช่องต่อเหล่านี้อาจจะมีสัญลักษณ์กำกับไว้ ซึ่งตรงกับสัญลักษณ์ที่เราอธิบายไปก่อนหน้านี้ โดยสามารถนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปใช้ในกรณีที่สัญลักษณ์มีความคลุมเครือ
    • หัวตรวจสอบสีดำต้องต่อเข้ากับช่องต่อที่มีสัญลักษณ์ COM ซึ่งย่อมาจาก “common” เสมอ (เรียกได้อีกอย่างว่ากราวด์) และปลายอีกด้านของสายวัดสีดำต้องต่อเข้ากับขั้วลบเสมอ
    • เมื่อต้องการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือความต้านทาน ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีค่ากระแสไฟฟ้ากำกับต่ำสุด (มักเป็น mA ที่ย่อมาจากมิลลิแอมป์) [6]
    • เมื่อต้องการวัดค่ากระแสไฟฟ้า ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีข้อความกำกับว่าสามารถทนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่คาดว่าจะวัดได้ โดยทั่วไป ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงต่ำมักมีฟิวส์ป้องกันไฟฟ้า 200mA ในขณะที่ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงสูงจะป้องกันไฟฟ้าได้ถึง 10A [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การอ่านผลลัพธ์จากมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มัลติมิเตอร์แบบเข็มจะมีเข็มอยู่ด้านหลังกรอบกระจก โดยเจ้าเข็มนี้จะเคลื่อนที่ไปมาเพื่อแสดงค่าผลลัพธ์ และมักมีเส้นโค้ง 3 เส้นพิมพ์อยู่ด้านหลังเข็ม เส้นโค้งเหล่านี้ก็คือสเกล 3 รูปแบบที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป [8]
    • สเกล Ω ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน มักเป็นสเกลที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ด้านบนสุด โดยมีค่า 0 (ศูนย์) อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ด้านซ้ายเหมือนอย่างสเกลอื่นๆ
    • สเกล "DC" ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง
    • สเกล "AC" ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ
    • สเกล "dB" เป็นตัวเลือกที่มีการใช้งานน้อยที่สุด สามารถดูคำอธิบายสั้นๆ ได้จากส่วนท้ายของหัวข้อนี้
  2. อ่านค่าจากสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามช่วงการวัดของคุณ. อย่าลืมตรวจดูสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ดีด้วยว่าเป็นกระแสตรงหรือกระแสสลับ โดยใต้สเกลมักจะมีตัวเลขหลายๆ แถวเรียงอยู่ ให้ดูว่าคุณได้เลือกช่วงการวัดใดไว้บนสวิตช์ (เช่น 10 โวลต์) จากนั้นจึงมองหาสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะอยู่บริเวณด้านข้างของแถวเหล่านี้ โดยคุณจะต้องอ่านผลลัพธ์จากแถวนั้นๆ นั่นเอง
  3. สเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะทำงานเหมือนกับไม้บรรทัดทั่วไป แต่สเกลวัดความต้านทานจะแสดงค่าในรูปแบบลอการิทึม นั่นคือ ระยะห่างที่เท่ากันหมายถึงค่าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจุดที่คุณอยู่บนสเกล ในขณะที่เส้นระหว่างตัวเลข 2 ตัวยังคงหมายถึงการแบ่งส่วนเท่าๆ กัน เช่น ถ้ามีเส้น 3 เส้นอยู่ระหว่างตัวเลข “50” และ “70” แสดงว่าค่าที่ได้คือ 55, 60 และ 65 แม้ว่าช่องว่างระหว่างตัวเลขจะดูไม่เท่ากันก็ตาม
  4. นำค่าความต้านทานที่อ่านได้จากมัลติมิเตอร์แบบเข็มมาคูณ. ดูช่วงการวัดที่ตั้งค่าไว้บนสวิตช์มัลติมิเตอร์ เพราะเป็นตัวเลขที่เราต้องนำมาคูณกับค่าที่อ่านได้ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่ามัลติมิเตอร์ไว้ที่ R x 100 และเข็มชี้ไปที่ 50 โอห์ม แสดงว่าค่าความต้านทานที่แท้จริงของวงจรคือ 100 x 50 = 5,000
  5. สเกล "dB" (เดซิเบล) มักเป็นสเกลที่อยู่ด้านล่างสุดและเล็กที่สุดบนมิเตอร์แบบเข็ม อีกทั้งต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้ใช้งานได้ สเกล dB เป็นสเกลแบบลอการิทึมสำหรับวัดอัตราแรงเคลื่อนไฟฟ้า (หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการขยายหรือการสูญเสีย) [9] สเกล dBv ตามมาตรฐานของสหรัฐกำหนดไว้ว่า 0 dbv เท่ากับ 0.775 โวลต์ ซึ่งวัดได้ที่ความต้านทานมากกว่า 600 โอห์ม แต่ก็มีสเกลอื่นๆ อย่าง dBu, dBm และ dBV (ตัว V พิมพ์ใหญ่) ที่ใช้แพร่หลายไม่แพ้กัน [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การแก้ไขปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โหมดพื้นฐานแต่ละโหมด (แรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต้านทาน และกระแสไฟฟ้า) จะมีค่ามากมายให้คุณเลือก ยกเว้นในกรณีที่ใช้มัลติมิเตอร์แบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติ โดยช่วงการวัดเป็นสิ่งที่คุณจะต้องกำหนดก่อนที่จะต่อสายวัดเข้ากับวงจร โดยเริ่มจากการเดาสุ่มค่าที่อยู่ถัดขึ้นมาจากผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าคิดว่าค่าที่วัดได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 12 โวลต์ ก็ให้ตั้งค่ามิเตอร์ไว้ที่ 25 โวลต์ ไม่ใช่ 10 โวลต์ (สมมุติว่า 2 ค่านี้เป็นตัวเลือกที่ใกล้เคียงที่สุด) [11]
    • แต่ถ้าไม่รู้เลยจริงๆ ว่าจะได้ค่ากระแสไฟฟ้าเท่าไร ให้ตั้งช่วงการวัดให้สูงที่สุดไว้ก่อนในการลองครั้งแรก เพื่อป้องกันไม่ให้มิเตอร์ของเราเสียหายนั่นเอง
    • โหมดอื่นๆ มีโอกาสที่จะทำให้มิเตอร์เสียหายค่อนข้างน้อย แต่ให้ลองพิจารณาถึงการตั้งค่าความต้านทานให้ต่ำที่สุดและใช้ค่าเริ่มต้นที่ 10 โวลต์ [12]
  2. การปรับแต่งเมื่อค่าที่ได้ "อยู่นอกขอบเขตสเกล". สำหรับมิเตอร์แบบดิจิตอล สัญลักษณ์ "OL," "OVER" หรือ "overload" แสดงให้เห็นว่าคุณจะต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น แต่ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับศูนย์มาก นั่นหมายความว่าการเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงจะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า ส่วนในมิเตอร์แบบเข็ม การที่เข็มหยุดนิ่งมักหมายความว่าต้องเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงมา แต่ถ้าเข็มพุ่งไปที่ค่าสูงสุดแสดงว่าต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น
  3. ควรปิดสวิตช์แหล่งจ่ายไฟหรือถอดแบตเตอรี่ที่จ่ายพลังงานให้กับวงจรออกเพื่อให้วัดค่าความต้านทานได้อย่างความแม่นยำ [13] เพราะมัลติมิเตอร์จะส่งกระแสไฟฟ้าออกมาเพื่อวัดความต้านทาน แต่ถ้ามีกระแสไฟฟ้าอื่นไหลเวียนอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความคลาดเคลื่อนนั่นเอง
  4. ถ้าอยากวัดค่ากระแสไฟฟ้า คุณจะต้องสร้างวงจรหนึ่งขึ้นมา โดยต่อมัลติมิเตอร์ "ตามลำดับ" กับส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ถอดสายไฟเส้นหนึ่งออกจากขั้วแบตเตอรี่ จากนั้นจึงต่อหัวตรวจสอบหนึ่งเข้ากับสายไฟและอีกหัวเข้ากับแบตเตอรี่เพื่อปิดวงจรอีกครั้ง
  5. แรงเคลื่อนไฟฟ้าคือการเปลี่ยนแปลงของพลังงานไฟฟ้าในบางส่วนของวงจร โดยควรปิดวงจรไว้ก่อนแล้วในขณะที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ จากนั้นจึงติดตั้งหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวของมิเตอร์ไว้ในจุดที่ต่างกันไปบนวงจรเพื่อเชื่อมต่อ "ในแนวขนาน" กับวงจร ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อน
  6. มิเตอร์แบบเข็มจะมีสวิตช์เสริมสำหรับปรับสเกลความต้านทาน ซึ่งมักมีเครื่องหมาย Ω กำกับอยู่ ก่อนที่จะลงมือวัดความต้านทาน ให้เชื่อมปลายหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวเข้าด้วยกันเสียก่อน จากนั้นให้หมุนสวิตช์จนกระทั่งสเกลโอห์มมีค่าเป็นศูนย์เพื่อทำการสอบเทียบ แล้วจึงทำการทดสอบจริง [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากพื้นที่ด้านหลังเข็มมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีกระจกติดอยู่ ให้หมุนมิเตอร์ไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อให้เข็มปิดทับเงาของตัวเองเพื่อให้วัดค่าได้แม่นยำขึ้น
  • หากพบปัญหาในการอ่านค่าบนมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากคู่มือ โดยทั่วไป มิเตอร์จะแสดงผลลัพธ์เป็นตัวเลขตามเริ่มต้น แต่ก็มีมิเตอร์บางชนิดที่แสดงค่าเป็นแผนภูมิแท่งหรือข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ
  • หากเข็มบนมัลติมิเตอร์แบบเข็มชี้ต่ำกว่าเลขศูนย์ (แม้เลือกช่วงการวัดต่ำสุดไว้ก็ตาม) แสดงว่าขั้วต่อ "+" และ "-" น่าจะมีการเคลื่อนถอยหลัง ให้ลองสับเปลี่ยนขั้วต่อและอ่านค่าใหม่อีกครั้ง
  • ในขณะที่วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ ค่าที่วัดได้จะมีความผันผวนในช่วงเริ่มต้น แต่จะให้ค่าที่คงที่และแม่นยำในที่สุด [15]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าไม่เลือกช่วงการวัดให้สูงกว่าผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้จากวงจรหรือแบตเตอรี่ การอ่านค่าอาจทำให้มัลติมิเตอร์เกิดความเสียหาย โดยมัลติมิเตอร์แบบเข็มมักทนทานน้อยกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล และมัลติมิเตอร์ดิจิตอลแบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติจะแข็งแรงที่สุด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 208,534 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา