ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องของเซลล์ใน Microsoft Excel โดยใช้สูตร VLOOKUP ให้คุณเอง สูตร VLOOKUP นั้นเหมาะเอาไว้ใช้ค้นหาข้อมูลอย่างเงินเดือนพนักงาน หรืองบการเงินตามวันที่ คุณใช้ VLOOKUP ได้ทั้งใน Excel เวอร์ชั่น Windows และ Mac เลย

  1. ดับเบิลคลิกไฟล์ Excel ที่มีข้อมูล ที่จะใช้ฟังก์ชั่น VLOOKUP
    • ถ้ายังไม่ได้สร้างเอกสาร ให้เปิด Excel คลิก Blank workbook (เฉพาะ Windows) แล้วป้อนข้อมูลในคอลัมน์
  2. VLOOKUP ใช้ได้เฉพาะกับข้อมูลที่จัดวางตามคอลัมน์เรียบร้อยแล้วเท่านั้น (เช่น แบ่งข้อมูลแนวตั้ง) แปลว่าข้อมูลก็จะมีหัวข้อหรือ header ที่ด้านบนสุดของแถวเซลล์ ไม่ใช่ในคอลัมน์ซ้ายสุดของเซลล์
    • ถ้าแบ่งข้อมูลเป็นแถวแทน จะใช้ VLOOKUP หาค่าไม่ได้
  3. สูตร VLOOKUP จะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ แต่ละส่วนแทนแต่ละข้อมูลใน spreadsheet [1]
    • Lookup Value - เซลล์ข้างๆ เซลล์ที่มีข้อมูลที่จะค้นหา เช่น ถ้าจะค้นหาข้อมูลในเซลล์ F3 lookup value ก็จะอยู่ในแถวที่ 3 ของ spreadsheet
    • Table Array - ทั้งตารางจะยาวจากเซลล์ซ้ายบน ไปจนถึงเซลล์ขวาล่าง (ไม่รวม header) เช่น ถ้าตารางเริ่มที่เซลล์ A2 ถึง A20 และยาวไปถึงคอลัมน์ F ตารางของคุณจะกินพื้นที่จาก A2 ไปถึง F20 นั่นเอง
    • Column Index Number - เลขดัชนีของคอลัมน์ที่มีค่าที่จะค้นหา "index number" ของคอลัมน์ ก็คือเลขลำดับ เช่น ใน spreadsheet ที่มีข้อมูลในคอลัมน์ A , B และ C ก็จะมี index number ของ A คือ 1, B เป็น 2 และ C เป็น 3 ไปเรื่อยๆ โดย index number จะเริ่มจาก 1 ในข้อมูลคอลัมน์ซ้ายสุด เพราะงั้นถ้าข้อมูลเริ่มจากคอลัมน์ F index number ก็จะเป็น 1
    • Range Lookup - ปกติเราจะอยากได้คำตอบเป๊ะๆ ในผลลัพธ์ VLOOKUP ซึ่งหาได้โดยพิมพ์ FALSE ในค่านี้ แต่ถ้าอยากได้คร่าวๆ ให้พิมพ์ TRUE แทน
  4. คลิกเซลล์ที่จะแสดงผลที่ได้จากสูตร VLOOKUP
  5. พิมพ์ =VLOOKUP( เพื่อเริ่มสูตร VLOOKUP ส่วนที่เหลือของสูตรจะอยู่กลางวงเล็บเปิดและปิด
  6. ค้นหาเซลล์ที่มี lookup value แล้วพิมพ์ชื่อเซลล์ในสูตร VLOOKUP ตามด้วยลูกน้ำ [2]
    • เช่น ถ้า lookup value อยู่ในเซลล์ A12 ให้พิมพ์ A12, ในสูตร
    • ให้คั่นแต่ละส่วนของสูตรด้วยลูกน้ำ ไม่ต้องเว้นวรรค
  7. หาเซลล์ซ้ายบนที่มีข้อมูล แล้วพิมพ์ชื่อในสูตร พิมพ์ colon ( : ) หาเซลล์ขวาล่างในกลุ่มข้อมูล แล้วใส่เข้าไปในสูตร จากนั้นพิมพ์ลูกน้ำ
    • เช่น ถ้าตารางเริ่มจากเซลล์ A2 ไปถึง C20 ก็ให้พิมพ์ A2:C20, ในสูตร VLOOKUP
  8. หา index number ของคอลัมน์ที่มีค่าที่อยากให้ VLOOKUP แสดง แล้วพิมพ์ในสูตร ตามด้วยลูกน้ำ
    • เช่น ถ้าตารางใช้คอลัมน์ A , B และ C แล้วข้อมูลที่ตรงการอยู่ใน C ก็ให้พิมพ์ 3, ตรงนี้
  9. VLOOKUP จะค้นหาค่าของไอเท็มที่เลือกจากคอลัมน์ที่ระบุไว้ ให้ตรงกันเป๊ะๆ โดยสูตรที่ได้จะออกมาหน้าตาประมาณ
    • =VLOOKUP(A12,A2:C20,3,FALSE)
  10. เพื่อใช้สูตร และแสดงผลที่ได้ในเซลล์ของสูตร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คนนิยมใช้สูตร VLOOKUP ในเอกสารสินค้าคงคลัง โดยใส่ชื่อสินค้าในหัวข้อ "lookup value" แล้วใช้คอลัมน์ราคาของสินค้า แทนค่า "column index number"
  • คุณป้องกันไม่ให้ค่าในโค้ด VLOOKUP เปลี่ยนไปหลังเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนเซลล์ในตารางได้ แค่พิมพ์ '$' นำหน้าตัวอักษรและเลขที่เป็นชื่อเซลล์ เช่น A12 ก็จะกลายเป็น $A$12 และ A2:C20 ก็จะเป็น $A$2:$C$20
โฆษณา

คำเตือน

  • เช็ค column index number ให้ดี ก่อนใส่ในสูตร VLOOKUP เพราะ column index number จะเปลี่ยนตามคอลัมน์ที่ข้อมูลเริ่ม ไม่ได้เรียงลำดับตามคอลัมน์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,761 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา