ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กาวตราช้างติดเสื้อผ้าไม่ใช่ปัญหาที่น่ากังวลอีกต่อไป เพราะมันสามารถกำจัดออกได้ด้วยอะซิโตนและการล้างออกอย่างถูกวิธียังไงล่ะ แม้ว่าเนื้อผ้าแต่ละแบบจะส่งผลปฏิกิริยากับกาวตราช้างแตกต่างกันออกไปก็ตาม แต่ส่วนมากแล้ว เนื้อผ้าส่วนใหญ่จะไม่เกิดอันตรายใดๆ เพียงคุณปล่อยให้กาวแห้งไปก่อน แล้วค่อยกำจัดมันออกโดยการแช่ส่วนที่ติดกาวในอะซิโตน หลังจากนั้นก็ซักมันออกให้สะอาด เพื่อขจัดคราบที่เหลือ แต่ก่อนที่คุณจะลงมือทำอะไรลงไป ให้เช็คดูป้ายที่จะบอกวิธีการดูแลเสื้อผ้านั้นๆ ก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ทำให้เนื้อผ้าเสียหายไปกว่าเดิมนั่นเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ขูดเอากาวออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การขูด, การใช้อะซิโตน และการซักอาจเป็นวิธีที่ใช้ได้ดีกับเนื้อผ้าส่วนใหญ่ แต่สำหรับผ้าที่บอบบางแล้วนั้น มันอาจเป็นการทำลายเนื้อผ้าไปเลยก็ได้ แต่โชคดีที่ร้านซักรีดมีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยในการกำจัดกาวออกจากผ้าของคุณอยู่ด้วยล่ะนะ [1]
    • ตรวจดูที่ป้ายที่บอกวิธีการดูแลผ้าที่ติดอยู่กับผ้า ถ้าหากว่ามันเขียนเอาไว้ว่าจะต้องนำไปส่งซักรีดเท่านั้น ก็ให้นำมันไปส่งซักรีดตามคำแนะนำซะ
    • เนื้อผ้าชนิดที่บอบบางนั้นรวมถึงผ้าโปร่ง (มักนำไปใช้เป็นผ้าม่าน) ผ้าลูกไม้ และผ้าไหมด้วย
  2. อดทนไว้แล้วปล่อยให้กาวแห้งเอง ถ้าคุณพยายามจะไปแกะแคะกาวที่มันยังเปียกอยู่ อะไรๆ ก็จะยิ่งแย่ลงกว่าเดิมไปอีกนะ แล้วก็อย่าเร่งเวลาด้วยการใช้ไดร์เป่าผมจ่อไปที่กาวล่ะ ไม่อย่างนั้นกาวได้ติดกับผ้าของคุณไปตลอดกาลแน่นอน [2]
  3. ถ้ารีบแล้วล่ะก็ ให้แช่ส่วนที่เปื้อนกาวเอาไว้ในน้ำเย็นที่แช่น้ำแข็งซะ. ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 20 นาทีในการทำให้แห้ง ถ้าคุณรอนานขนาดนั้นไม่ไหว ใส่น้ำลงไปในอ่างซะ จากนั้นก็เติมน้ำแข็งลงไปให้พอที่จะทำให้น้ำเย็น แล้วก็เอาผ้าส่วนที่เปื้อนกาวจุ่มลงไปสักไม่กี่วินาที เสร็จแล้วก็ดึงขึ้นมาได้เลย น้ำที่ใส่น้ำแข็งจะทำให้กาวแข็งตัวขึ้นนั่นเอง [3]
  4. ปูผ้าเอาไว้ที่พื้นผิวแข็งๆ จากนั้นก็ใช้เล็บมือหรือขอบช้อนขูดกาวออกซะ บางทีอาจขูดออกไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยเอาส่วนใหญ่ๆ ออกได้ก็เพียงพอแล้ว [4]
    • ถ้าผ้าที่ติดกาวเป็นผ้าทอหลวมๆ อย่างไหมพรมหรือผ้ามัสลินเนื้อบาง ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปซะ ไม่อย่างนั้นคุณอาจทำให้ผ้าขาดได้เลยทีเดียว
  5. บางทีแค่ขูดกาวก็อาจหลุดออกไปทั้งหมดเลยก็ได้ แต่ถ้าหลังขูดแล้วยังมีกาวตราช้างชิ้นใหญ่ๆ ติดอยู่ ก็ไปดูวิธีการใช้อะซิโตนต่อได้เลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แช่กาวในอะซิโตน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองหยดอะซิโตนลงบนผ้าในส่วนที่ไม่เป็นจุดสังเกตดูก่อน. ใช้ก้อนสำลีจุ่มอะซิโตนเข้มข้น 100% จากนั้นก็นำมากดลงบนผ้าในจุดที่จะไม่มีใครสังเกตเห็นได้โดยง่าย เช่น ตรงรอยตะเข็บหรือกุ๊นผ้าก็ได้ กดเอาไว้รอสักครู่หนึ่ง จากนั้นค่อยเอาก้อนสำลีออก [5]
    • ถ้าสีผ้าไม่เปลี่ยนหรือไม่มีการผุสลายใดๆ ของผ้า ก็สามารถใช้วิธีนี้ต่อตามคำแนะนำถัดไปได้เลย
    • แต่ถ้าเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสีหรือเนื้อผ้าเมื่อไร ให้หยุดการใช้อะซิโตนซะ แล้วล้างบริเวณที่โดนอะซิโตนออกด้วยน้ำเปล่า จากนั้นก็ค่อยนำผ้าไปส่งซักรีดตามปกติ
  2. นำก้อนสำลีที่แช่อะซิโตนแล้วไปเช็ดตรงบริเวณคราบเปื้อน. ใช้ก้อนสำลีอีกก้อนจุ่มอะซิโตนเข้มข้น 100% คราวนี้กดมันเอาไว้ที่คราบกาวซะ พยายามอย่าให้โดนส่วนอื่นของเนื้อผ้ามากนัก จะได้ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเนื้อผ้าได้ [6]
    • จะใช้ชิ้นส่วนของผ้าสีขาวแทนก้อนสำลีก็ได้ แต่อย่าใช้ชิ้นส่วนของผ้าสีหรือผ้าที่มีลวดลายล่ะ [7]
  3. คอยกลับมาเช็คดูกาวทุกๆ สองสามนาที ซึ่งจะใช้เวลานานเท่าไรในการทำให้กาวนุ่มขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณกาวที่ติดอยู่นั่นเอง เป็นปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนกับกาว เนื้อผ้า และอื่นๆ บางทีอาจใช้เวลาตั้งแต่ 3 จนไปถึง 15 นาทีเลยก็เป็นได้ [8]
  4. เหมือนวิธีแรกเลย ใช้เล็บหรือขอบช้อนขูดเอากาวออก ซึ่งอาจไม่ออกหมดเสียทีเดียว แต่ก็ไม่ต้องห่วงไป หัวใจหลักของการขจัดกาวตราช้างออกอย่างปลอดภัยคือให้ค่อยๆ ทำ [9]
    • ถ้าคุณทาเล็บล่ะก็ อย่าได้ใช้เล็บขูดเด็ดขาดเลยนะ เพราะบริเวณนั้นผ่านการแช่อะซิโตน ซึ่งสามารถละลายทั้งยาทาเล็บและกาวบนเสื้อผ้าได้ไม่ต่างกัน
  5. บางทีก่อนหน้านี้อะซิโตนอาจแค่ไปทำลายพื้นผิวชั้นบนของกาวเท่านั้น หมายความว่าคุณจะต้องแช่กาวในอะซิโตนแล้วขูดคราบกาวออกอีกครั้งก็ได้ ฉะนั้นถ้ายังเห็นก้อนคราบกาวที่มีขนาดใหญ่ ก็ให้ใช้ก้อนสำลีจุ่มอะซิโตนแล้วทำขั้นตอนนี้ซ้ำอีกครั้ง [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

นำผ้าไปซัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคราบกาวส่วนใหญ่หลุดออกไปแล้ว ให้ใช้น้ำยาขจัดคราบป้ายผ้าบริเวณนั้น แล้วนวดๆ ถูๆ ให้น้ำยาซึมเข้าไปในคราบ จากนั้นก็ใช้น้ำเย็นล้างน้ำยาออก [11]
  2. เพื่อทำความสะอาดถึงขั้นสุดท้าย โดยผ้าส่วนใหญ่ก็สามารถซักได้ทั้งในน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น ถ้าผ้าชิ้นนั้นไม่มีป้ายบอกการดูแลแล้ว ก็ให้ใช้น้ำเย็นกับความเร็วระดับนุ่มนวลในการซัก
    • ถ้าคุณไม่มีเวลาไปซักผ้า ให้ใช้สบู่กับน้ำเย็นซักบริเวณที่เปื้อนกาว จากนั้นก็ล้างออก แล้วใช้ผ้าขนหนูซับให้แห้งแทน
  3. ถ้ายังมีคราบหลงเหลืออยู่ ก็ให้ซักเสื้อผ้านั้นอีกรอบ. ถ้าคราบนั้นเหลืออยู่อ่อนๆ ก็แค่ซักอีกสักครั้งก็พอ แต่ถ้าคราบยังดูฝังแน่อนอยู่ บางทีอาจต้องใช้อะซิโตนอีกครั้งก็เป็นได้ [12]
    • ถ้าผ้าชิ้นนั้นยังมีคราบติดอยู่ ห้ามนำไปอบแห้งนะ อย่างไรก็ตาม คุณก็ยังนำไปตากแบบปกติได้ ไม่ต้องห่วง
  4. การตากผ้าให้แห้งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ถ้าคุณมั่นใจว่าคราบกาวได้หลุดออกหมดแล้วแน่ๆ ก็สามารถนำผ้าไปอบได้ตามปกติ แต่ถ้าคุณเห็นว่ายังมีคราบกาวหลงเหลือติดผ้าอยู่ล่ะก็ ห้าม นำผ้าชิ้นนั้นไปอบเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นคราบได้ฝังแน่นแน่นอน [13]
    • ถ้ายังมีคราบกาวเหลือติดอยู่ ให้นำไปซักอีกครั้ง และจะใช้วิธีป้ายอะซิโตนอีกหรือนำไปส่งซักเลยก็ได้ [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณจะใช้น้ำยาล้างเล็บที่มีส่วนผสมของอะซิโตนเป็นหลักก็ได้เช่นกัน แต่น้ำยาจะต้องใสนะ เพราะถ้าเป็นแบบมีสี สีนั้นอาจเปื้อนเป็นคราบบนผ้าได้
  • ถ้าคุณหาอะซิโตนมาใช้ไม่ได้ ให้ใช้น้ำเลมอนแทน หรือจะลองน้ำยาล้างเล็บแบบธรรมดาดูก่อนก็ได้เช่นกัน
  • หากเกิดข้อสงสัย ลองขอคำแนะนำจากร้านซักรีดดูก็ได้ [15]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ก้อนสำลี
  • อะซิโตน
  • น้ำยาขจัดคราบ
  • เครื่องซักผ้า

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,468 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา