ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เคยหงุดหงิดกับอาการคันที่ผิวหนังหรือไม่ อาการคันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แมลงกัดต่อย ปฏิกิริยาภูมิแพ้ ผิวไหม้แดด การติดเชื้อที่ผิวหนัง อากาศที่แห้งและเย็น การใช้ยา โรคประจำตัว รวมถึงการตั้งครรภ์หรืออายุ [1] ควรไปพบแพทย์หากมีอาการคันนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากอาการคันไม่รุนแรงมากนักและไม่มีอาการอื่นๆ ตามมา คุณสามารถรักษาให้หายได้อย่างง่ายดายและได้ผลด้วยวิธีการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

บรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นักวิทยาศาสตร์ยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับกลไกการเกิดอาการคันที่แน่นอน แต่เป็นไปได้ว่าอาการคันสามารถบรรเทาได้เมื่อเกิดการต่อต้านการระคายเคือง (เช่น การเกา) [2] และน้ำเย็นก็สามารถช่วยในการบรรเทาอาการคันที่ผิวหนังได้
    • อาบน้ำด้วยน้ำเย็น เนื่องจากความเย็นนั้นสามารถบรรเทาอาการคันอย่างได้ผล ดังนั้นลองใช้ประโยชน์จากความเย็นนี้โดยการอาบน้ำฝักบัวด้วยน้ำเย็นและปล่อยให้น้ำเย็นไหลผ่านบริเวณที่คัน แต่ถ้าหากชอบแช่น้ำในอ่างมากกว่า ให้แช่น้ำในอ่างที่มีน้ำเย็นได้นานตามที่ต้องการ
    • คุณยังสามารถใช้น้ำมันหอมระเหยผสมกับน้ำสำหรับอาบเพื่อช่วยในการผ่อนคลายผิวหนังและยับยั้งการระคายเคือง โดยหยดน้ำมันหอมระเหยลงไปในอ่างที่มีน้ำเย็น [3]
      • น้ำมันโรมันคาร์โมไมล์ ช่วยผ่อนคลายและยับยั้งการระคายเคือง [4]
      • น้ำมันกำยาน ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง [5]
      • น้ำมันลาเวนเดอร์ ช่วยคลายความเครียดและลดอาการคัน [6]
      • น้ำมันคาเลนดูล่า ช่วยลดอาการคันโดยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว [7]
    • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยเหล่านี้ เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้ ได้แก่ น้ำมันใบกระวาน น้ำมันอบเชย น้ำมันกานพลู น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันยี่หร่า น้ำมันตะไคร้ น้ำมันเลมอน เวอร์บีน่า น้ำมันออริกาโน่ น้ำมันดอกดาวเรือง และน้ำมันไทม์ [8]
  2. นำผ้าขนหนูหรือผ้าชุบในน้ำเย็น จากนั้นนำไปประคบไว้ตรงผิวหนังบริเวณที่คันจนกระทั่งรู้สึกผ่อนคลาย โดยประคบไว้นานประมาณ 30 นาที [9] การประคบเย็นสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ เนื่องจากผ้าที่เปียกจะให้ผิวหนังที่คันอ่อนนุ่มลง [10] และช่วยกำจัดเนื้อตายได้ [11]
    • คุณยังสามารถใช้ถุงน้ำแข็งหรือถุงแช่แข็งที่บรรจุเมล็ดถั่วมาประคบตรงผิวหนังบริเวณที่คัน โดยก่อนนำมาใช้ประคบกับผิวหนังให้ห่อด้วยผ้าขนหนูให้ดีก่อน ประคบไว้นานประมาณ 10-20 นาที และไม่ควรประคบนานกว่านั้น
    • การประคบร้อนจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองมากขึ้น
  3. เบคกิ้งโซดาสามารถใช้เป็นยาแก้คัน หรือรักษาอาการคันได้ โดยใช้ได้กับอาการคันทุกชนิด แต่จะได้ผลดีเป็นพิเศษในการลดอาการคันที่เกิดจากผึ้งหรือแมลงกัดต่อย [12]
    • ใส่เบคกิ้งโซดา 1 ถ้วยลงในอ่างที่มีน้ำเย็น แล้วแช่ตัวประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง [13]
  4. ข้าวโอ๊ตมีส่วนประกอบที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยผ่อนคลายผิวหนังและยับยั้งการระคายเคือง แนะนำให้ใช้คอลลอยดัล โอ๊ตมิลล์ แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ ก็สามารถใช้ข้าวโอ๊ตเต็มเมล็ดหรือแป้งข้าวโอ๊ตที่ไม่ผ่านการแปรรูปแทนได้ โดยบดให้ละเอียดโดยใช้เครื่องเตรียมอาหารหรือเครื่องบดกาแฟ ส่วนประกอบที่มีฤทธิ์ในการรักษานั้นจะพบได้มากในข้าวโอ๊ตที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป (avenanthramides). [14]
    • เติมข้าวโอ๊ตหรือแป้งข้าวโอ๊ตที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือการปรุงใดๆ ลงไปในอ่างอาบน้ำ น้ำในอ่างควรเป็นน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น แต่ไม่ควรใช้น้ำร้อน เพราะจะทำให้ผิวหนังถูกทำร้ายมากยิ่งขึ้น แช่น้ำวันละ 1 ชั่วโมงติดต่อทุกวันจนกระทั่งอาการคันหายดี
    • แป้งข้าวโอ๊ตที่ไม่ผ่านการแปรรูปหรือการปรุงใดๆ นั้นยังสามารถนำมาผสมกับน้ำเพื่อทำเป็นยาพอก โดยทาตรงผิวหนังบริเวณที่คันและทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที
  5. ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการต่อต้านเชื้อรา แบคทีเรีย และการอักเสบ และยังอุดมไปด้วยวิตามินอีที่สามารถรักษาผิวหนังที่ไหม้และช่วยลดการอักเสบและคันได้ [15]
    • ว่านหางจระเข้สดมีคุณประโยชน์อย่างมาก นำต้นว่านหางจระเข้มาหั่นเป็นชิ้น ตัดเปิดออกมา แล้วนำเจลไปวางไว้บริเวณผิวหนังที่คัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เจลซึมเข้าสู่ผิว หากไม่สามารถหาต้นว่านหางจระเข้ได้ ให้หาซื้อเจลว่านหางจระเข้จากร้านขายยา โดยมองหาเจลว่านหางจระเข้สูตรธรรมชาติ 100%
    • ยาใช้ว่านหางจระเข้ในบริเวณที่เป็นแผลเปิด ระคายเคือง หรือแดง [16]
  6. มีการวิจัยแนะนำว่าการอาบน้ำโดยใช้น้ำที่ผสมใบมินท์และน้ำมันเปปเปอร์มินท์นั้นสามารถรักษาผิวหนังที่คันได้ ใบมินท์มีส่วนประกอบที่ช่วยต่อต้านการอักเสบและลดอาการปวด ซึ่งช่วยในการลดและระงับอาการคันที่ผิวหนังได้ [17]
    • ใบมินท์ที่ผ่านการต้มในน้ำร้อนจะสามารถออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากการแช่ใบมินท์ในน้ำจะทำให้น้ำมันที่อยู่ในใบออกมา ควรแน่ใจว่าน้ำเย็นลงแล้วก่อนนำผ้ามาชุบและประคบไว้บนผิวหนัง [18] [19]
    • คุณยังสามารถใช้น้ำมันเปปเปอร์มินท์กับผิวหนังที่คันได้โดยตรงโดยใช้สำลีแผ่น [20]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

เติมน้ำให้ผิวและขัดผิว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนังคือผิวที่แห้ง ยิ่งคุณดื่มน้ำมากเท่าไหร่ ผิวของคุณก็จะได้รับน้ำมากยิ่งขึ้น ควรดื่มน้ำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว [21]
    • หากคุณเคลื่อนไหวร่างกายหนักหรือมีเหงื่อออกมาก ให้ดื่มน้ำปริมาณมากขึ้น
  2. อาบน้ำด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวทุกครั้งหลังอาบน้ำ ไม่ควรอาบน้ำหรือแช่น้ำนานเกิน 30 นาที [22]
    • หลายคนอาจไม่ทราบว่า การอาบน้ำหรือแช่น้ำนานเกินไปนั้นจะทำให้ผิวแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้สบู่ที่มีความรุนแรงต่อผิว ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่ผสมสารย้อมสี น้ำหอม และแอลกอฮอล์ [23]
    • แนะนำให้อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น เนื่องจากน้ำที่ร้อนเกินไปนั้นจะทำร้ายผิวโดยการชะล้างน้ำมันบนผิวที่ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้นออกไป
  3. เลือกครีมมอยเจอร์ไรซิ่งที่มีส่วนผสมของสารเคมีน้อยที่สุด เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่จะเข้าสู่ผิวหนังที่อาจก่อให้เกิดการแพ้และทำให้อาการคันแย่ลง
    • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ผสมแอลกอฮอล์และน้ำหอม แอลกอฮอล์จะทำให้ผิวแห้ง ซึ่งส่งผลให้อาการคันแย่ลง ส่วนน้ำหอมที่มักจะละลายอยู่ในแอลกอฮอล์นั้นก็ส่งผลแบบเดียวกัน [24]
    • ปิโตรเลียมเจลลีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม ช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นในบริเวณที่คัน [25]
    • ผลการศึกษาหลายแห่งแนะนำว่า ครีมที่ประกอบด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 นั้นสามารถรักษาอาการผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมาที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรงได้ [26]
  4. คุณยังสามารถทำครีมมอยส์เจอร์ไรซิ่งได้ด้วยตนเอง นำครีมมอยส์เจอร์ไรซิ่งที่ทำเองที่บ้านนี้มาทาบนใบหน้า ลำตัว และมือ ปล่อยทิ้งไว้สักพักให้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ซึมลงสู่ผิว จากนั้นให้เช็ดหรือล้างครีมที่ยังติดอยู่บนผิว
    • มอยส์เจอร์ไรเซอร์สูตรครีม อะโวคาโด และน้ำผึ้ง - ใส่เฮฟวี่ครีมสด 3 ช้อนโต๊ะ อะโวคาโดสด ¼ ลูก และน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะลงไปในเครื่องปั่น ปั่นจนส่วนผสมเข้ากัน [27]
    • มอยส์เจอร์ไรเซอร์สูตรเชีย บัตเตอร์ - เตรียมเชีย บัตเตอร์ที่อุณหภูมิห้อง 4 ออนซ์ แล้วนำช้อนไม้มาบดให้ละเอียด เติมน้ำมันอัลมอนด์หรือน้ำมันมะกอก (เลือกใช้อันไหนก็ได้ที่คุณชอบหรือสามารถหาได้) ลงไป 2 ช้อนโต๊ะ และเติมน้ำมันลาเวนเดอร์หรือน้ำมันกลิ่นอื่นที่คุณชอบ (เช่น เลมอน ส้ม มินท์ หรือการ์ดีเนีย) ลงไปอีก 8-10 หยด จากนั้นใช้เครื่องผสมอาหารไฟฟ้าปั่นส่วนผสมด้วยความเร็วสูงประมาณ 2-4 นาทีหรือจนกระทั่งส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อครีม บรรจุไว้ในขวดโหลแก้วที่มีฝาปิด เก็บไว้ในที่เย็นและมืด [28]
    • โลชั่นสูตรว่านหางจระเข้ น้ำมันอัลมอนด์ และคาร์โมไมล์ - ผสมน้ำมันอัลมอนด์ ½ ถ้วยและชาคาร์โมไมล์ ½ ถ้วยให้เข้ากันโดยใช้เครื่องผสมอาหาร (ขั้นตอนการชงชา ให้แช่ถุงชา 2 ถุงในน้ำร้อน ½ ถ้วยอย่างน้อย 5 นาที) จากนั้นเติมเจลว่านหางจระเข้ 1 ถ้วยลงไปโดยปั่นด้วยความเร็วต่ำ เสร็จแล้วใช้ไม้พายคนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าว่านหางจระเข้เข้ากันดีกับส่วนผสมแล้ว โดยก่อนทำการผสมนั้น ส่วนผสมแต่ละชนิดควรอยู่ในอุณหภูมิห้อง หลังจากส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ให้ตักใส่ขวดโหลที่สะอาดและปิดฝาอย่างเรียบร้อย แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เมื่อต้องการใช้ ให้ตักออกมาในปริมาณเพียงเล็กน้อยและใช้มือทำให้อุ่นขึ้น จากนั้นจึงทาลงบนผิว [29]
    • น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังได้เช่นเดียวกัน โดยใช้น้ำมันมันพร้าวทาบริเวณผิวหนังที่ระคายเคืองหรือคันได้โดยตรง [30]
  5. The American Academy of Dermatology แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนังเพื่อประเมินสภาพผิวก่อนทำการขัดผิว เนื่องจากการขัดผิวบางวิธีอาจไม่เหมาะกับผิวหนังบางประเภท [31] การขัดผิวที่ผิดวิธีหรือรุนแรงเกินไปนั้นจะทำร้ายผิวของคุณ อาจทำให้การอักเสบและการคัน และทำให้ปัญหาผิวที่มีอยู่แย่ลงได้ นอกจากนั้น แพทย์ผิวหนังสามารถช่วยแนะนำเกี่ยวกับความถี่ในการขัดผิวและวิธีการขัดผิวที่เหมาะสมกับสภาพผิวของคุณ [32] [33] อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายวิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถลองทำเองได้ เช่น
    • แปรงผิวแบบแห้ง - วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาแบบจีนที่สามารถขจัดเซลล์ผิวที่ตายออกไป และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ให้ใช้แปรงขนแข็งธรรมชาติที่มีด้ามจับยาว เริ่มแปรงจากเท้าโดยค่อยๆ แปรงเป็นทางยาว ส่วนในบริเวณที่กว้างอย่างเช่นลำตัวและแผ่นหลัง ให้แปรงวนเป็นวงกลม แปรงผิวแต่ละบริเวณ 3-4 ครั้งไปจนทั่วร่างกาย จากนั้นอาบน้ำและเช็ดตัวให้แห้ง แล้วจึงทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ ควรระวังอย่าแปรงผิวบริเวณที่แตก [34]
    • ใช้ผ้าขัดตัว - ผ้าชนิดนี้โดยมากมักทำจากเส้นใยสังเคราะห์ทอละเอียด เช่น ผ้าไนลอน และมีบางชนิดที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าไหมหรือผ้าลินิน ให้ใช้ผ้าขัดเบาๆ ตามร่างกาย โดยผ้าขัดตัวนี้มีให้เลือกใช้หลายขนาด เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้อาบน้ำและเช็ดให้แห้ง แล้วจึงทามอยส์เจอร์ไรเซอร์
    • อย่าขัดผิวแรงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองและคันมากยิ่งขึ้น ให้ใช้การลูบเบาๆ แทน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าตอนพูดจะง่ายกว่าตอนทำ แต่ควรหลีกเลี่ยงการเกาให้มากที่สุด การเกาจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองมากขึ้น เนื่องจากมีการขับสารบางชนิดออกมา เช่น ฮิสตามีน และไซโตไคน์ ที่ส่งผลให้อาการคันเพิ่มขึ้นและกระจายไปในบริเวณกว้าง นอกจากนี้ การเกาตรงที่คันยังเป็นสาเหตุทำให้สมองมีการส่งสัญญาณทางเคมี จึงทำให้รู้สึกคันมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น หากผิวหนังได้รับความเสียหายจากการเกา ก็จะทำให้ผิวหนังเกิดการติดเชื้อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการระคายเคือง การเกาเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างผิวหนัง เป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยแผลเป็น และเกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นผิวหนัง (lichenification) และเม็ดสีผิว (hyperpigmentation) [35] [36]
    • หากเกิดอาการคันที่บริเวณใด ให้ใช้วิธีบรรเทาอาการอย่างรวดเร็วตามวิธีด้านบนในการบรรเทาอาการให้ตรงจุดในบริเวณนั้น
    • พยายามไว้เล็บให้สั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมักมีอาการคันในตอนกลางคืน ให้สวมถุงมือขณะเข้านอนเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้เผลอเกา
  2. ควรเลือกใช้ผงซักฟอกที่ไม่มีน้ำหอม โดยผงซักฟอกบางยี่ห้อนั้นมีการผลิตผงซักฟอกสำหรับผิวแพ้ง่าย นอกจากนี้ เสื้อผ้าทุกตัวควรล้างน้ำหลายๆ ครั้งเพื่อขจัดผงซักฟอกที่อาจตกค้างอยู่บนผ้า
  3. อย่างเช่น พยายามสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ 100% โดยเฉพาะชุดชั้นใน ผ้าฝ้ายเป็นผ้าที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้และทำจากเส้นใยธรรมชาติโดยไม่ผสมสิ่งสังเคราะห์ใดๆ ดังนั้นจึงช่วยลดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อผิวที่อาจเกิดขึ้นและการระคายเคือง [38]
    • ผ้าฝ้ายและผ้าลินินยังช่วยให้ผิวหนังของคุณได้รับออกซิเจน ทั้งยังสามารถระบายเหงื่อและระบายอากาศได้ดี ยิ่งไปกว่านั้น ผ้าฝ้ายยังซักง่าย แห้งเร็ว และทนกว่าผ้าชนิดอื่น
    • ยังมีผ้าอีกหลายชนิดที่ทำมาจากธรรมชาติ เช่น ผ้าลินิน ผ้าป่าน และผ้าไหม [39] แต่ควรหลีกเลี่ยงผ้าขนสัตว์ เนื่องจากมีหลายคนที่มีอาการแพ้จากการใช้ผ้าขนสัตว์นี้ [40]
  4. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลที่ผสมน้ำหอม. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม สบู่ โลชั่น แชมพู และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลหรือผลิตภัณฑ์ความงามอื่นๆ ที่ผสมน้ำหอมและสารเคมี เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองและทำให้อาการคันแย่ลงในผู้ใช้หลายๆ คน [41]
    • ใช้สบู่สูตรอ่อนโยนที่ทำจากกลีเซอรีนธรรมชาติ โดยสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยาหรือร้านขายของชำทั่วไป สบู่ชนิดนี้จะไม่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองหรือแห้ง กลีเซอรีนมีลักษณะเป็นเจลข้น ไม่มีสารพิษ กลิ่น และสี ใช้สำหรับให้ความชุ่มชื้นและทำความสะอาดผิวมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ [42]
    • หลังฟอกสบู่เสร็จแล้วให้ล้างสบู่ออกให้หมด และทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ทุกครั้งหลังใช้สบู่ [43]
  5. เครื่องทำความชื้นจะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศ เพราะอากาศที่แห้งสามารถทำให้ผิวแห้งและเกิดการคันได้ [44]
    • หากไม่มีเครื่องทำความชื้น คุณก็สามารถทำเครื่องทำความชื้นขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ให้วางชามที่ใส่น้ำไว้รอบๆ ห้อง โดยวางไว้ให้ห่างจากเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง ในช่วงเดือนที่มีอากาศหนาว ให้วางไว้ใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อน ส่วนในเดือนที่มีอากาศร้อน ให้วางไว้ใกล้หน้าต่างและจุดที่โดนแสงแดดส่องโดยตรง วิธีนี้จะช่วยให้น้ำระเหยและเพิ่มความชื้นในอากาศได้
    • ตรวจดูเครื่องทำความชื้นทั้งที่ซื้อมาและทำเองที่บ้านให้มีน้ำบรรจุเต็มอยู่เสมอ
    • ทำความสะอาดเครื่องทำความชื้นเป็นประจำโดยทำตามคู่มือการใช้ของเครื่อง เพราะเครื่องทำความชื้นที่ไม่สะอาดจะทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
  6. ทานอาหารเสริมและ/หรือเสริมสารอาหารลงไปในอาหารหลัก. ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหรือเสริมสารอาหารเพิ่มลงไปในอาหารหลัก วิตามิน เกลือแร่ และอาหารเสริมหลายชนิดสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยหากทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่ยังมีอาหารเสริมบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณกำลังรับประทานยาอยู่ อาหารเสริมต่อไปนี้เป็นตัวเลือกที่ดีในการนำมารับประทานหรือเสริมลงไปในอาหารหลัก
    • แพลนท์ โพลีฟีนอล (ฟลาโวนอยส์) เช่น เควอซิทินหรือรูติน เป็นสารต้านฮิสตามีนจากธรรมชาติ และช่วยในการป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอ [45] [46] ปริมาณการใช้ยาในแต่ละครั้ง สำหรับเควอซิทินให้ใช้ 250-500 มิลลิกรัม และสำหรับรูตินให้ใช้ 500-1000 มิลลิกรัม
    • วิตามินเอ ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี พบได้มากในมันเทศ ตับวัว ผักปวยเล้ง ปลา นม ไข่ และแครอท หลายคนที่อาจรับสารวิตามินเอจากอาหารหลักไม่เพียงพอ ก็อาจหาอาหารเสริมมารับประทานเพิ่มได้ [47]
    • วิตามินบี ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีได้เช่นเดียวกัน วิธีที่ง่ายที่สุดในการรับวิตามินบีคือรับประทานอาหารเสริมวิตามินบีรวมที่มีวิตามินบีทุกชนิด และยังสามารถรับวิตามินบีได้จากการรับประทานถั่วลูกไก่ ปลา และสัตว์ปีก [48]
    • กรดไขมันโอเมก้า-3 มีส่วนสำคัญในการรักษาความชุ่มชื้นของผิว และยังช่วยลดอาการอักเสบ อาหารเสริมโอเมก้า-3และวิตามินสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารเสริมหรือร้านขายยาทั่วไป อาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้แก่ ผักใบเขียว ถั่วเปลือกแข็ง และปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง (เช่น แซลมอนหรือแมคเคอเรล) [49]
  7. ความเครียดมีผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้อาการคันแย่ลง ลองใช้เทคนิคการจัดการความเครียดต่างๆ เหล่านี้ เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือการบริหารร่างกาย [50]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ใช้สารละลายบรรเทาอาการคันจากแมลงกัดต่อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คาลาไมน์โลชั่นประกอบด้วยซิงค์ออกไซด์ ไอเอิร์นออกไซด์ เฟอร์ริกออกไซด์ และ/หรือซิงค์คาร์บอเนต คาลาไมน์โลชั่นเป็นที่นิยมใช้กันมาหลายทศวรรษในการบรรเทาอาการคันที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทั้งผื่นแพ้จากต้นพอยซันไอวี่ ต้นพอยซันโอ๊ค ต้นพอยซันซูแมค ผิวหนังไหม้แดด หรือแมลงกัดต่อย และยังใช้ในการป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังจากการเกามากเกินไป [51] [52]
    • คาลาไมน์โลชั่นสามารถซื้อได้ที่ร้านขายยาในราคาที่ไม่แพง
  2. เนื้อของยาพอกมีลักษณะนุ่มและชื้น โดยมากมักทำจากสมุนไพรผสมกับพืชชนิดอื่นๆ หรือแป้งสาลี ยาพอกสามารถทาบนผิวหนังได้โดยตรงและให้ปิดไว้ด้วยผ้า [53] วิธีการทำยาพอก ให้ตวงคอลลอยดัล โอ๊ตมิลล์ 1 ถ้วย แล้วนำไปปั่นในเครื่องบดกาแฟหรือเครื่องปั่นให้มีลักษณะเป็นผงหยาบๆ เติมน้ำอุ่นลงไปเล็กน้อยเพื่อทำให้เป็นเนื้อข้นๆ เมื่อเสร็จแล้วให้นำไปทาบนผื่นที่เกิดจากต้นพอยซันไอวี่ ต้นพอยซันโอ๊ค ต้นพอยซันซูแมค ผิวหนังบริเวณที่ไหม้ หรือรอยแมลงกัดต่อย ทิ้งไว้จนอาการดีขึ้นแล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น [54]
    • อาจนำผ้าฝ้ายที่สะอาดมาปิดทับไว้และพันด้วยผ้าพันแผลชนิดผ้ายืดหรือเทปแต่งแผล
    • คุณสามารถใช้ข้าวโอ๊ตได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการปั่น แต่อาจทาให้เรียบได้ยากขึ้น
  3. ตวงเบคกิ้งโซดาประมาณ ½ ถ้วย แล้วเติมน้ำอุ่นลงไปเล็กน้อยเพื่อทำให้เป็นเนื้อข้นๆ เมื่อเสร็จแล้วให้นำไปทาบนผื่นที่เกิดจากต้นพอยซันไอวี่ ต้นพอยซันโอ๊ค ต้นพอยซันซูแมค ผิวหนังบริเวณที่ไหม้ หรือรอยแมลงกัดต่อย ทิ้งไว้จนอาการดีขึ้นแล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น [55]
    • อาจนำผ้าฝ้ายที่สะอาดมาปิดทับไว้และพันด้วยผ้าพันแผลชนิดผ้ายืดหรือเทปแต่งแผล
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

เข้าใจอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีเส้นประสาทอยู่ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลความรู้สึกต่างๆ ทางร่างกาย (เช่น อาการคัน) ไปยังสมอง เมื่อเส้นประสาทเหล่านี้ถูกกระตุ้น ก็จะหลั่งสารสื่อประสาทที่เรียกว่า ไซโตไคน์ ที่จะไปกระตุ้นเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียงกัน ตัวอย่างหนึ่งของไซโตไคน์คือสารฮิสตามีน ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ และส่งผลให้เกิดการคัน ยิ่งเส้นประสาทถูกกระตุ้นมากเท่าไหร่ ข้อมูลก็จะยิ่งถูกส่งไปยังสมองมากขึ้น และสมองก็จะสั่งการให้อยากเกา [56]
    • อาการคัน สามารถส่งผลให้เกิดรอยแดง รอยนูน หรือรอยผื่นคันอื่นๆ บนผิวหนัง หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อผิวหนัง
  2. อาการคันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากแมลงกัดต่อยที่ไม่รุนแรงมากนัก ไปจนถึงโรคผิวหนังบางชนิด (เช่น ผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา หรือโรคเรื้อนกวาง) หรือโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคตับ โรคไต [57] สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการคันมีดังนี้ [58]
    • ผิวแห้ง - หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการคันคือผิวแห้ง ที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (เช่น ความร้อนหรือความเย็นภายในบ้าน ความชื้นในอากาศต่ำ การอาบน้ำมากเกินไปโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ทำให้ผิวแห้ง) หรือการได้รับน้ำในปริมาณไม่เพียงพอ
    • โรคผิวหนัง - ผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมาและโรคเรื้อนกวางเป็นโรคผิวหนังที่อาจมีอาการคัน รอยแดง การระคายเคืองที่ผิวหนัง รอยนูน และตุ่มพองเกิดขึ้นร่วมด้วย นอกจากนี้ ผิวหนังที่ไหม้แดดก็ทำให้เกิดการคันได้เช่นกัน
    • การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา - การติดเชื้อต่างๆ อย่างโรคอีสุกอีใส โรคหัด โรคงูสวัด และโรคเริมที่อวัยวะเพศและทวารหนัก สามารถทำให้รู้สึกคันได้
    • ปรสิต - แมลงไม่มีปีกอย่างเหาหรือโลนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคันจากการติดเชื้อปรสิต
    • อาการเจ็บป่วย - โรคตับสามารถส่งผลให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรงได้ นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่มีอาการคันเกิดขึ้นร่วมด้วย ได้แก่ โรคเลือด (เช่น โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น เป็นต้น) โรคมะเร็ง (เช่น ลูคีเมีย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง) และโรคต่อมไทรอยด์
    • ปฏิกิริยาภูมิแพ้ - ปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดจากแมลงกัดต่อย ละอองเกสรดอกไม้ พิษจากพืช เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว หรืออาหาร สามารถทำให้เกิดอาการคันตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรงได้ และผื่นคันที่เกิดขึ้นจากโรคผื่นแพ้สัมผัส (ผื่นที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้) ก็ทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรงได้เช่นกัน
    • อาการไม่พึงประสงค์จากยา - อาการคันที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรงนั้นอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคจากเชื้อรา และยาระงับปวดบางชนิด
    • ความวิตกกังวล - อาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งเป็นผลทำให้รู้สึกคันได้
    • การตั้งครรภ์ - อาการคันนั้นเป็นผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ โดยมักมีอาการคันบริเวณท้อง หน้าอก ต้นขา และแขน
  3. สิ่งสำคัญที่ควรทำคือการค้นหาสาเหตุว่าอาการคันที่มีนั้นเกิดขึ้นจากผิวแห้ง โรคผิวหนังที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ เช่น โรคลมพิษ หรือผื่นคัน หรือปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ผิวหนังที่แห้งมักพบในบริเวณน่อง หน้าท้อง แขน และต้นขา และส่งผลให้ผิวหนังลอก คัน และแตก [59] ควรปรึกษาแพทย์หากพบว่าอาการที่เกิดขึ้นบนผิวหนังนั้นดูรุนแรงเกินกว่าจะเป็นอาการผิวแห้งทั่วไป รวมถึงผื่นคันหรือลมพิษที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุหรือเรื้อรัง
    • ผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นคันจะมีลักษณะเป็นรอยนูน เปลี่ยนสี ลอก และเป็นตุ่มพอง ผื่นคันที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปมักเกิดขึ้นจากการสัมผัสต้นพอยซันไอวี่ ผดร้อน ลมพิษ และผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา ซึ่งผื่นที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการติดเชื้อนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนที่ซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งซื้อยาจากแพทย์ ร่วมกับการรับประทานยาต้านฮิสตามีนเพื่อบรรเทาอาการคัน อย่างไรก็ตาม หากพบผื่นคันที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุ มีไข้ หรือผื่นคันเกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที [60]
    • ผิวหนังบริเวณที่เป็นลมพิษจะมีลักษณะเป็นปุ่มหรือจุดสีชมพูหรือแดงนูนขึ้นมาเล็กน้อย โดยอาจมีเพียงจุดเดียวหรืออยู่ติดๆ กันเป็นกลุ่ม [61] ลมพิษเป็นอาการที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งที่แพ้ ทั้งอาหาร ยา รอยแมลงกัดต่อย ละอองเกสรดอกไม้ และการฉีดยารักษาภูมิแพ้ และยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดลมพิษ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อราและแบคทีเรีย ความเครียด การสัมผัสสารเคมี และการสัมผัสแสงแดด ความร้อน ความหนาวเย็น และน้ำมากเกินไป ผู้ที่มีอาการลมพิษนั้นโดยมากจะมีอาการไม่รุนแรงมากนัก หากคุณสงสัยว่าอาการลมพิษเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ แพทย์จะทำการรักษาโดยทดสอบภูมิแพ้และจ่ายยาให้ตรงกับอาการ (ส่วนใหญ่มักเป็นยาต้านฮีสตามีน)
    • หากคุณหายใจไม่ออกขณะมีอาการลมพิษ ให้เรียกรถพยาบาลโดยทันที เพราะนั่นอาจเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่รุนแรง [62]
  4. หากอาการคันแพร่ไปในบริเวณกว้างโดยไม่รู้สาเหตุหรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังลองทำการรักษาตามวิธีด้านบนแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการคันและวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ [63]
    • ปรึกษาแพทย์หากมีอาการลมพิษและ/หรือผื่นคันเรื้อรัง [64]
    • การวินิจฉัยโรคนั้นมักขึ้นอยู่กับโรคพื้นเดิมที่แพทย์เคยตรวจเจอ ประวัติทางการแพทย์ และการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ในบางกรณีอาจมีการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ อาการคันส่วนใหญ่ที่พบมักมีสาเหตุมาจากความแห้งของผิว และสามารถบรรเทาอาการได้แม้ว่าโรคพื้นเดิมจะใช้เวลานานในการตรวจเจอ
    โฆษณา

คำเตือน

  • แม้ว่าการเกาจะทำให้อาการคันรู้สึกดีขึ้นได้ แต่ให้พยายามหลีกเลี่ยงการเกา เพราะการเกาจะทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้นและทำร้ายผิวหนังได้ [65]
  • แม้ว่าอาการคันส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากโรคภูมิแพ้ แต่อาการคันที่เรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของโรคพื้นเดิมที่ร้ายแรง โรคร้ายแรงบางโรคนั้นจะแสดงอาการคันออกมา เช่น โรคตับ โลหิตจาง ไตวาย เบาหวาน งูสวัด และโรคลูปัส ด้วยเหตุนี้ จึงควรรีบเข้ารับการรักษาเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการคันของคุณ
โฆษณา
  1. http://missinglink.ucsf.edu/lm/DermatologyGlossary/m.html
  2. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/eczema
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  4. http://www.davisdermatology.net/general/winter-skin-care-tips-season-long-healthy-skin/
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  6. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/607.html
  7. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/607.html
  8. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint
  9. http://researchnews.wsu.edu/health/104.html
  10. http://www.motherearthliving.com/health-and-wellness/natural-remedies-for-seasonal-allergies-zmez12mjzmel.aspx
  11. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256?reDate=26052015
  13. http://cutaneouslymphoma.stanford.edu/community/itch.html
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  15. http://www.patient.info/health/eczema-triggers-and-irritants
  16. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/a---d/atopic-dermatitis/tips
  17. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/eczema
  18. http://www.rd.com/slideshows/8-natural-recipes-for-amazing-skin-from-a-plastic-surgeon/
  19. http://sheabutterguide.com/shea-butter-recipes/
  20. http://www.diynatural.com/homemade-lotion/
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15724344
  22. https://www.aad.org/stories-and-news/news-releases/evaluate-before-you-exfoliate
  23. http://www.drfranklipman.com/the-whys-and-hows-of-exfoliation/
  24. http://news.health.com/2015/03/24/exfoliate-with-care-dermatologist-urges/
  25. http://health.clevelandclinic.org/2015/01/the-truth-about-dry-brushing-and-what-it-does-for-you/
  26. http://www.medicinenet.com/itch/page3.htm#what_causes_itching
  27. http://www.washingtonpost.com/news/speaking-of-science/wp/2014/10/30/scratching-an-itch-really-does-make-it-worse-and-now-we-know-why/
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  29. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  30. http://www.aafp.org/afp/2003/0915/p1145.html
  31. http://cutaneouslymphoma.stanford.edu/community/itch.html
  32. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  33. http://healthnbodytips.com/glycerin-vegetable-glycerine-uses.html/
  34. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  35. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/eczema
  36. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20816008
  37. Ratz-Łyko, A., Arct, J., Majewski, S. and Pytkowska, K. (2015), Influence of Polyphenols on the Physiological Processes in the Skin. Phytother. Res., 29: 509–517.
  38. http://www.health.com/health/gallery/0,,20660118_2,00.html
  39. http://www.health.com/health/gallery/0,,20660118_3,00.html
  40. http://www.health.com/health/gallery/0,,20660118_16,00.html
  41. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460
  42. http://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm049342.htm
  43. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-insect-bites/basics/art-20056593
  44. http://nationaleczema.org/living-with-eczema/scratch-pad/homemade-oats-poultice-helps-soothe-skin/
  45. http://colloidaloatmeal.com/
  46. http://www.earthclinic.com/cures/spider_bite.html
  47. http://www.yalescientific.org/2011/05/the-mechanisms-and-perception-of-itch/
  48. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/definition/con-20028460
  49. http://www.medicinenet.com/itch/page3.htm#what_causes_itching
  50. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003250.htm
  51. http://www.medicinenet.com/rash/article.htm#rash_facts
  52. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/e---h/hives/signs-symptoms
  53. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/e---h/hives/who-gets-causes
  54. http://www.medicinenet.com/itch/page4.htm
  55. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/e---h/hives/diagnosis-treatment
  56. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/itchy-skin/basics/lifestyle-home-remedies/con-20028460

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 163,879 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา