ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ค่าเสียโอกาสคือสิ่งที่คุณเสียไปจากการเลือกตัวเลือกหนึ่งแทนที่จะเลือกอีกตัวเลือกหนึ่ง แนวคิดนี้เปรียบเทียบสิ่งที่เราเสียกับสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของคุณ ค่าเสียโอกาสสามารถวัดได้ ไม่อย่างนั้นคุณจะบอกต้นทุนได้ยาก การเข้าใจแนวคิดเรื่องค่าเสียโอกาสสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจบนข้อมูลได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

คำนวณค่าเสียโอกาส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อต้องเจอกับตัวเลือก 2 ตัวเลือก ให้คำนวณผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากตัวเลือกทั้งสองตัว เนื่องจากคุณเลือกได้แค่ตัวเลือกเดียว คุณจึงต้องเสียผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้จากอีกตัวเลือกหนึ่งไป สิ่งที่คุณเสียไปคือค่าเสียโอกาส [1]
    • เช่น สมมุติว่าบริษัทคุณมีเงินทุนส่วนเกินอยู่ 3,000,000 บาท แล้วคุณต้องเลือกว่าจะซื้อหลักทรัพย์หรือซื้ออุปกรณ์ผลิตสินค้าตัวใหม่
    • ถ้าคุณตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ คุณก็อาจจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน แต่คุณก็จะเสียกำไรที่คุณอาจจะได้จากการซื้ออุปกรณ์ผลิตสินค้าตัวใหม่
    • ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ใหม่ คุณก็อาจจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของยอดขายที่เพิ่มขึ้น แต่คุณก็จะเสียกำไรที่คุณอาจจะได้จากการลงทุนในหลักทรัพย์
  2. ศึกษาและประเมินผลตอบแทนด้านการเงินของแต่ละตัวเลือก ในตัวอย่างด้านบนสมมุติว่าผลตอบแทนที่คาดการณ์จากการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์ ผลตอบแทนที่อาจเป็นไปได้ก็คือ 360,000 บาท แต่ในขณะเดียวกันอุปกรณ์ใหม่อาจเพิ่มอัตราส่วนกำไร 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลตอบแทนที่เป็นไปได้จากการลงทุนนั้นจึงอยู่ที่ 300,000 บาท
  3. บางครั้งตัวเลือกที่ดีที่สุดก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ทำกำไรมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะสั้น ตัดสินใจว่าตัวเลือกไหนดีที่สุดโดยดูจากเป้าหมายระยะยาว ไม่ใช่แค่จากผลตอบแทนที่เป็นไปได้ บริษัทในตัวอย่างด้านบนอาจจะเลือกลงทุนในอุปกรณ์ใหม่แทนที่จะเป็นตลาดหุ้นก็ได้ เพราะแม้ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าในระยะสั้น แต่อุปกรณ์ใหม่จะเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าเสียโอกาสได้ ซึ่งจะมีผลต่ออัตราส่วนกำไรในระยะยาว
  4. ค่าเสียโอกาสคือส่วนต่างระหว่างตัวเลือกที่ให้กำไรมากที่สุดกับตัวเลือกที่เลือก จากตัวอย่างด้านบน ตัวเลือกที่ให้กำไรมากที่สุดคือการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งให้ผลตอบแทนที่เป็นไปได้อยู่ที่ 360,000 บาท แต่ตัวเลือกที่บริษัทเลือกคือการลงทุนในอุปกรณ์ใหม่ ซึ่งให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 300,000 บาท
    • ค่าเสียโอกาส = ตัวเลือกที่ให้กำไรมากที่สุด – ตัวเลือกที่เลือก
    • ค่าเสียโอกาสของการเลือกซื้ออุปกรณ์ใหม่เท่ากับ 60,000 บาท
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ประเมินการตัดสินใจทางธุรกิจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โครงสร้างเงินทุนคือวิธีการที่บริษัทของคุณจัดหาเงินสำหรับการปฏิบัติการและการเติบโต เป็นส่วนผสมของหนี้และหุ้นทุนของบริษัท หนี้อาจอยู่ในรูปแบบของหุ้นกู้ที่ออกมาหรือเงินกู้จากสถาบันการเงิน ส่วนหุ้นทุนอาจอยู่ในรูปแบบของหุ้นหรือกำไรสะสม [2]
    • บริษัทต้องประเมินค่าเสียโอกาสเมื่อต้องเลือกระหว่างหนี้กับหุ้นทุน
    • ถ้าบริษัทเลือกกู้ยืมเงินเพื่อขยายธุรกิจ เงินที่ต้องไว้จ่ายคืนต้นทุนและดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะไม่สามารถนำมาลงทุนในหุ้นได้
    • บริษัทต้องประเมินค่าเสียโอกาสเพื่อดูว่าการขยายบริษัทที่อาจทำให้เกิดหนี้จะสร้างรายได้มากพอในระยะยาวเพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนการเลือกที่จะไม่ลงทุนในหุ้น [3]
  2. ค่าเสียโอกาสมักจะคำนวณเพื่อประเมินการตัดสินใจทางการเงิน แต่บริษัทสามารถใช้ค่าเสียโอกาสในการบริหารการใช้ทรัพยากรอื่นๆ เช่น ชั่วโมงแรงงาน เวลา หรือผลผลิตของเครื่องจักร ค่าเสียโอกาสสามารถประเมินได้จากทรัพยากรใดๆ ก็แล้วแต่ที่บริษัทมีอยู่จำกัด [4]
    • บริษัทต้องตัดสินใจว่าจะแบ่งทรัพยากรที่มีไปกับโปรเจ็กต์ต่างๆ อย่างไร เวลาที่ใช้ในโปรเจ็กต์หนึ่งคือเวลาที่ถูกดึงมาจากการทำอย่างอื่น
    • เช่น ถ้าบริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่มีชั่วโมงแรงงานสัปดาห์ละ 450 ชั่วโมงใช้ 10 ชั่วโมงแรงงานต่อเก้าอี้ 1 ตัวในการผลิตเก้าอี้ให้ได้ 45 ตัวต่อสัปดาห์ พวกเขาตัดสินใจที่จะผลิตโซฟาสัปดาห์ละ 10 ตัวที่ต้องใช้ 15 ชั่วโมงแรงงานต่อโซฟา 1 ตัว ซึ่งเท่ากับว่าจะต้องใช้ชั่วโมงแรงงาน 150 ชั่วโมงและผลิตโซฟาได้ 10 ตัว
    • พวกเขาจะมีเวลาเหลือ 300 ชั่วโมงสำหรับผลิตเก้าอี้ ซึ่งจะได้เก้าอี้ 30 ตัว ค่าเสียโอกาสของโซฟา 10 ตัวจึงเท่ากับเก้าอี้ 15 ตัว
  3. ประเมินว่าเวลาของคุณมีค่าเท่าไหร่หากคุณเป็นผู้ประกอบการ. ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการ คุณจะต้องใช้เวลาทั้งหมดไปกับธุรกิจใหม่ แต่เวลาที่ว่านี้เป็นเวลาที่คุณสามารถนำไปใช้เพื่อทำงานอย่างอื่นได้ นี่คือค่าเสียโอกาสของคุณ ถ้าคุณมีโอกาสสร้างรายได้สูงในงานอีกเส้นทางหนึ่ง คุณต้องตัดสินใจว่ามันคุ้มกันไหมที่จะเปิดธุรกิจใหม่ [5]
    • เช่น สมมุติว่าคุณเป็นเชฟที่มีรายได้ชั่วโมงละ 700 บาทและคุณก็ตัดสินใจออกจากงานเพื่อเปิดร้านอาหารของตัวเอง ก่อนที่คุณจะได้เงินสักบาทจากการทำธุรกิจ คุณต้องใช้เวลาทั้งหมดไปกับการซื้ออาหาร จ้างพนักงาน เช่าตึก และเปิดร้านอาหาร สุดท้ายแล้วคุณจะมีรายได้ แต่ค่าเสียโอกาสจะเท่ากับจำนวนเงินที่คุณจะได้หากคุณใช้เวลาเหล่านั้นไปกับการทำงานที่เก่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ประเมินการตัดสินใจส่วนบุคคล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระบุว่างานบ้านไหนที่เอาเวลาของคุณไปหมด พิจารณาว่าเวลาที่ใช้ไปกับงานเหล่านี้เอาเวลาที่คุณจะได้ไปทำอย่างอื่นที่คุณคิดว่ามีคุณค่ามากกว่าหรือเปล่า งานบ้านอย่างการซักผ้าและทำความสะอาดอาจรบกวนการทำงานได้หากคุณทำงานที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้งานบ้านยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการที่คุณจะได้ไปทำกิจกรรมสนุกๆ อย่างการใช้เวลากับลูกๆ หรือทำงานอดิเรกอีกด้วย [6]
    • คำนวณค่าเสียโอกาสด้านการเงิน สมมุติว่าคุณทำงานที่บ้านและได้เงินชั่วโมงละ 750 บาท ถ้าคุณจ้างแม่บ้าน คุณต้องจ่ายชั่วโมงละ 200 บาท ค่าเสียโอกาสของการทำงานบ้านเองจะอยู่ที่ชั่วโมงละ 550 บาท
    • คำนวณค่าเสียโอกาสในแง่ของเวลา สมมุติว่าคุณใช้เวลา 5 ชั่วโมงในแต่ละเสาร์ไปกับการซักผ้า จ่ายตลาด และทำความสะอาด ถ้าแม่บ้านมาทำความสะอาดสัปดาห์ละครั้งและช่วยคุณซักผ้า คุณก็จะใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมงในวันเสาร์ซักเสื้อผ้าและจ่ายตลาดให้เสร็จ ค่าเสียโอกาสของการทำงานบ้านเองจะเท่ากับ 2 ชั่วโมง
  2. สมมุติว่าคุณต้องจ่ายเงินปีละ 40,000 บาทในการเรียนมหาวิทยาลัย แต่คุณต้องคำนึงถึงค่าเสียโอกาสจากการไม่ทำงานตอนเรียนมหาวิทยาลัยด้วย สมมุติว่าคุณสามารถหาเงินจากการขายของออนไลน์ได้ปีละ 600,000 บาทแทนการเรียนมหาวิทยาลัย ก็หมายความว่าค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของการเรียนมหาวิทยาลัยคือค่าเล่าเรียนบวกค่าเสียโอกาสจากการไม่ได้ทำงาน [7]
    • ค่าเล่าเรียนที่แท้จริงคือจำนวนเงินที่คุณจ่าย (40,000 บาท)
    • ค่าเสียโอกาสจากการไม่ได้ทำงานเท่ากับ 600,000 บาท
    • ดังนั้นต้นทุนที่แท้จริงของการเรียนมหาวิทยาลัยต่อปีคือ
    • ค่าเสียโอกาสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนมหาวิทยาลัยได้แก่ คุณค่าของการทำงานในโลกความเป็นจริง 4 ปี คุณค่าของเวลาที่ใช้ไปกับการเรียนแทนที่จะไปทำกิจกรรมอื่นๆ หรือคุณค่าของสิ่งที่คุณอาจจะได้ซื้อด้วยเงินที่คุณจ่ายไปกับค่าเล่าเรียน หรือดอกเบี้ยที่คุณจะได้หากคุณนำเงินก้อนนั้นไปลงทุน [8]
    • แต่ก็ให้พิจารณาอีกด้านหนึ่งด้วย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนที่จบปริญญาตรีอยู่ที่ 23,471 บาท ในขณะที่คนจบมัธยมปลายมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 11,583 บาท ถ้าคุณตัดสินใจที่จะไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย ค่าเสียโอกาสของคุณก็คือมูลค่าของการมีรายได้เพิ่มในอนาคต [9]
  3. เมื่อไหร่ก็ตามที่ตัดสินใจ คุณได้ตัดบางตัวเลือกทิ้งไปแล้ว ค่าเสียโอกาสคือมูลค่าของตัวเลือกที่คุณไม่ได้เลือก ซึ่งมูลค่านั้นอาจเป็นในแง่ของเรื่องส่วนบุคคล การเงิน หรือสภาพแวดล้อมก็ได้ [10]
    • ถ้าคุณเลือกซื้อรถใหม่แทนการซื้อรถมือสอง ค่าเสียโอกาสคือเงินส่วนต่างจากการซื้อรถมือสองและการที่คุณจะสามารถนำเงินส่วนต่างนั้นไปทำอย่างอื่นได้
    • สมมุติว่าคุณตัดสินใจใช้เงินคืนภาษีกับการไปเที่ยวกับครอบครัวแทนการเก็บเงินไว้หรือนำเงินไปลงทุน ค่าเสียโอกาสคือมูลค่าของดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนที่เป็นไปได้จากการลงทุน
    • จำไว้ว่ามูลค่าไม่ได้หมายถึงเงินหรือสินทรัพย์ที่จับต้องได้เสมอไป พิจารณาว่าตัวเลือกมีผลต่อสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความสุข สุขภาพ และเวลาว่างของคุณอย่างไร
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 48,188 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา