ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเปิดร้านอาหาร ทำกิจการอาหารกล่อง หรือเปิดโรงเรียนสอนอาหารสามารถเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและลงทุนสูง เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจของคุณสามารถลอยตัวอยู่ได้ คุณจะต้องทำการคำนวณต้นทุนราคาด้านอาหารที่แม่นยำและทำอย่างต่อเนื่อง มีจุดใหญ่สามจุดที่ต้องคำนวณหากคุณต้องการจะทำให้ธุรกิจอยู่ได้: ต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้ (ซึ่งจะบอกคุณว่าคุณสามารถใช้จ่ายได้มากแค่ไหน); ต้นทุนอาหารที่เป็นไปได้ (ซึ่งจะบอกคุณว่าเมนูอาหารของคุณมีต้นทุนราคาเท่าไหร่); และต้นทุนอาหารที่แท้จริง (ซึ่งจะบอกคุณว่าคุณได้สั่งอาหารไปมากเท่าไหร่สำหรับดำเนินธุรกิจ) เปรียบเทียบตัวเลขทั้งสามตัวนี้เพื่อช่วยคุณทำการปรับเปลี่ยนเพื่อจะประสบความสำเร็จในระยะยาว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การคำนวณต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจว่าเหตุใดคุณถึงจำเป็นต้องใช้การคำนวณตัวนี้. [1] ต้นทุนสูงสุดบอกคุณว่างบประมาณการดำเนินธุรกิจของคุณสามารถจัดสรรออกมาเป็นต้นทุนอาหารสำหรับการดำเนินการโดยที่ยังคงเปลี่ยนเป็นกำไรได้นั้นเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ การไม่รู้ตัวเลขตัวนี้จะทำให้คุณไม่สามารถบอกได้ว่าต้นทุนอาหารที่แท้จริง (มีบอกการคำนวณในส่วนหลังจากนี้) อยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อที่จะทำให้ได้อัตรากำไรข้างต้นตามที่ตั้งไว้หรือเปล่า
  2. เริ่มต้นโดยการคำนวณงบประมาณการดำเนินงานของคุณ. งบประมาณการดำเนินงานของบริษัทเป็นผลรวมของค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันและค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้กับผลกำไรที่ตั้งเป้าไว้ การคำนวณงบประมาณการดำเนินงานเดือนต่อเดือนนั้น คุณจำต้องเก็บตัวเลขเหล่านี้ไว้ในใจ: [2]
    • ผลกำไรเป้าหมาย
    • ค่าแรงรายวัน (ค่าบริกร ค่าคนล้างจาน เป็นต้น)
    • ค่าจ้างรายเดือน (ผู้จัดการร้าน เจ้าของ พ่อครัว เป็นต้น)
    • ค่าสาธารณูปโภค (ค่าแก๊ส ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าไวไฟ เป็นต้น)
    • ค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าเช่า ค่าเงินกู้ยืม ค่าประกันภัย เป็นต้น)
    • ค่าธรรมเนียมและใบอนุญาต (ค่าภาษี ค่าใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ค่าใบอนุญาตทำธุรกิจ ใบอนุญาตการประกอบอาหาร เป็นต้น)
    • ข้าวของเครื่องใช้ (ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ทำอาหาร จานชาม กล่องใส่อาหาร)
    • ค่าทำการตลาด
    • ค่าดูแลรักษา
  3. พิจารณาเงินที่คุณสามารถใช้จ่ายได้ในแต่ละเดือน. การเปิดธุรกิจเล็กๆ นั้นมีความเสี่ยงสูง แม้แต่นักทำร้านอาหารที่มีประสบการณ์ ในการจะให้โอกาสร้านอาหารหรือธุรกิจทำอาหารจัดเลี้ยงของคุณได้สู้สักยก คุณจะต้องมีความตั้งใจลงทุนจริงจัง แต่คุณก็ต้องปกป้องเงินในกระเป๋าตัวเองเพื่อไม่ให้ล้มละลายเองด้วย ใช้ประโยชน์ของเงินกู้ยืมหรือทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อมที่หาได้จากธนาคารเอกชนและจากโครงการส่งเสริมของรัฐ [3] [4] [5] [6] ลองพิจารณาเรื่องการหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อเพิ่มจำนวนเงินลงทุน ผู้ร่วมลงทุนนั้นอาจจะมาร่วมดำเนินธุรกิจกับคุณหรือเพียงแค่ลงเงินและรอเก็บผลกำไรก็ได้
    • ประเมินการเงินส่วนตัวของคุณ: สร้างงบประมาณค่าใช้จ่ายรายเดือนที่รวมไปถึง ค่าเช่าและเงินกู้ยืม ค่าพาหนะ ค่าอาหาร ค่าประกันชีวิตส่วนตัว และค่าใช้จ่ายส่วนตัวจิปาถะอื่นๆ ทั้งหมด [7] อย่าเสียสละความมั่นคงส่วนตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด
    • ตรวจสอบทางเลือกอื่นของการจ่ายเงินกู้ยืมนอกเหนือจากการรับรู้เรื่องอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานแล้ว คุณยังควรต้องรู้ว่าถ้าคุณวางแผนจะจ่ายเงินกู้ยืมขั้นต่ำ หรือจะเริ่มจ่ายคืนทันทีที่ทำได้ เงินส่วนตัวของคุณกับรายได้ในการประกอบธุรกิจมากเท่าไหร่ที่จะเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินกู้ยืม แล้วจะเหลือเงินอยู่เท่าไหร่
    • หลังจากนำการเงินส่วนตัวกับเงินที่ไว้จ่ายคืนการกู้ยืมมาพิจารณาแล้ว ให้หาดูว่าจะต้องใช้เงินลงทุนในธุรกิจแต่ละเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าไร
    • เปรียบเทียบเงินจำนวนนี้กับงบประมาณดำเนินงาน ถ้าคุณไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้พอ คุณควรปรับงบประมาณดำเนินงานลงแทนที่จะยืดภาวะการเงินของคุณออกไป
    • พิจารณาการขอความช่วยเหลือจากนักบัญชีหรือธนาคารเพื่อช่วยคุณคำนวณว่าคุณจะสามารถยืดสถานะการเงินของคุณออกไปได้อย่างปลอดภัยได้แค่ไหน
  4. คำนวณเปอร์เซ็นต์งบประมาณของต้นทุนแต่ละส่วนนี้. พอคุณคำนวณได้ว่าคุณสามารถใช้เงินแต่ละเดือนได้เท่าไหร่ ให้หาว่างบประมาณรายเดือนนั้นถูกแบ่งออกไปเป็นต้นทุนรายเดือนแต่ละส่วนตามที่คำนวณไว้ในขั้นตอนที่ 2 นั้นกี่เปอร์เซ็นต์
    • เช่น สมมติว่าคุณสามารถจ่ายเงินสำหรับร้านอาหารของตัวเองได้ 2,000,000 บาทต่อเดือน
    • คุณกับผู้จัดการของคุณแต่ละคนมีเงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท เมื่อรวมกันแล้ว ต้นทุนค่าจ้างรายเดือนจะอยู่ที่ 200,000 บาทต่อเดือน หรือ 10% ของงบประมาณทั้งหมด
  5. คำนวณหาต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้ต่อเดือน. [8] เมื่อคุณมีเปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินแต่ละส่วนครบแล้วให้รวมยอดเหล่านี้เข้าด้วยกัน เปอร์เซ็นต์ที่เหลือในงบประมาณไม่ว่าเหลือเท่าไหร่คือค่าต้นทุนอาหารสูงสุดที่คุณสามารถยอมจ่ายได้เพื่อให้ไปถึงผลกำไรที่ตั้งเอาไว้
    • เงินเดือน (10%) + ค่าแรงรายวัน (17%) + ข้าวของเครื่องใช้ (5%) + ค่าจิปาถะ (6%) + ค่าทำการตลาด (4%) + ค่าธรรมเนียมและใบอนุญาต (3%) + ค่าดูแลรักษา (4%) + ค่าใช้จ่ายคงที่ (21%) + กำไรเป้าหมาย (5%) = 75%
    • ในตัวอย่างนี้ 75% ของงบประมาณสูงสุดแบ่งกระจายไปทุกด้านยกเว้นต้นทุนอาหาร
    • ในการคำนวณต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้ ให้ลบจำนวนนั้นออกจาก 100%
    • 100% - 75% = 25%
    • หากงบประมาณรายเดือนของคุณเท่ากับ 2,000,000 บาท คุณสามารถที่จะใช้จ่ายได้ถึง 2,000,000 x 0.25 = 500,000 ในต้นทุนอาหารเพื่อให้ถึงผลกำไร 5% ที่ตั้งเป้าไว้ (2,000,000 x 0.05 = 100,000) ทุกเดือน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การคำนวณต้นทุนอาหารที่แท้จริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกวันที่จะเริ่มต้นการประเมินในแต่ละสัปดาห์. ดังเช่นที่คุณต้องจ่ายค่าเช่าที่ ค่าอะไรจิปาถะในวันเดียวกันทุกๆ เดือน คุณก็ควรคำนวณต้นทุนอาหารโดยยึดตามระยะเวลาเดิมเป็นประจำ [9] คุณควรวิเคราะห์บัญชีรายการอาหารคงเหลือในวันเวลาเดิมของแต่ละสัปดาห์ บางทีอาจเป็นทุกวันอาทิตย์ จะเป็นตอนก่อนหรือหลังเปิดครัวก็ได้
    • ให้ตรวจบัญชีรายการอาหารคงเหลือนอกเวลาเปิดร้าน เพื่อที่จะไม่มีการนำส่งวัตถุดิบอาหารหรือถูกนำไปปรุง
  2. ในวันที่เริ่มการจัดทำ “งบการเงินรายสัปดาห์” ของคุณ ซึ่งในกรณีของเรานี้ ก็คือวันอาทิตย์ ให้ทำการสำรวจผลิตภัณฑ์อาหารทั้งหมดที่มีอยู่ในครัว เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณต้องหาค่าที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฉะนั้นจงตรวจดูใบเสร็จรับเงินว่าคุณได้จ่ายข้าวของแต่ละอย่างไปเป็นเงินเท่าใด เช่น คุณอาจจ่ายเงินค่าน้ำมันประกอบอาหาร 35 ลิตรเป็นเงินทั้งสิ้น 1,500 บาท ซึ่งมีเหลืออยู่ในตอนเริ่มจัดทำงบการเงินรายสัปดาห์นี้ราว 5 ลิตร [10] คำนวณให้ละเอียดว่าน้ำมัน 5 ลิตรนี้มีมูลค่าเท่าใดในช่วงระยะการเปิดหาสินค้าคงเหลือเริ่มต้น: (1,500 บาท ÷ 35 ลิตร) = (X ÷ 5 ลิตร) เมื่อคุณหาค่า X ได้แล้ว คุณจะเห็นว่าคุณมีน้ำมันมูลค่า 215 บาทในตอนเริ่มจัดทำงบการเงินรายสัปดาห์ ให้ทำกระบวนการนี้ซ้ำกับวัตถุดิบอาหารทุกอย่างที่คุณมี
    • บวกค่าที่ได้ทั้งหมดเพื่อดูมูลค่าของบัญชีรายการสินค้าคงเหลือเริ่มต้น ซึ่งก็คือจำนวนเงินสำหรับอาหารที่มีอยู่ในครัวในตอนเริ่มจัดทำงบการเงินรายสัปดาห์
  3. ตลอดทั้งสัปดาห์ คุณจะมีการสั่งวัตถุดิบอาหารมากกว่าที่จำเป็น ขึ้นอยู่กับว่าเมนูไหนขายดี ให้เก็บใบเสร็จรับเงินทั้งหมดนี้ไว้อย่างเป็นระเบียบเพื่อคุณจะได้รู้อย่างแน่ชัดว่าคุณได้ซื้อวัตถุดิบอาหารไปเท่าไหร่ในแต่ละวัน
  4. ทำการตรวจบัญชีรายการอาหารคงเหลืออีกครั้งในตอนเริ่มจัดทำงบการเงินรายสัปดาห์ครั้งหน้า. ทำกระบวนการที่บอกไว้ในขั้นตอนที่ 2 ซ้ำอีกครั้ง มันจะให้ตัวเลขที่ทำหน้าที่สองประการแก่คุณ: มันเป็นการตรวจบัญชีรายการอาหารคงเหลือเริ่มต้นสำหรับสัปดาห์ถัดไป และเป็น “บัญชีรายการที่ใช้ไปแล้ว” สำหรับสัปดาห์ปัจจุบัน ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าคุณมีอาหารเริ่มต้นในแต่ละสัปดาห์เท่าใด ซื้อเข้ามาเท่าไหร่ และใช้ไปเท่าไหร่ในสัปดาห์นั้น
  5. ค้นหาว่าคุณทำรายได้จากการขายอาหารในแต่ละสัปดาห์เท่าไหร่. เมื่อถึงเวลาปิดร้านแต่ละกะ ผู้จัดการร้านควรคำนวณยอดขายทั้งหมด ให้ดูรายงานการขายในแต่ละวันและรวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณยอดขายอาหารทั้งสัปดาห์
  6. คำนวณต้นทุนอาหารที่แท้จริงสำหรับหนึ่งสัปดาห์. ในตอนที่ 1 ของบทความนี้ คุณได้คำนวณหาต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้ต่อเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์จากงบประมาณทั้งหมดของคุณไปแล้ว ตอนนี้คุณจำต้องคำนวณว่าเปอร์เซ็นต์งบประมาณที่ได้จ่ายเป็นค่าวัตถุดิบอาหารนั้น “จริงๆ” อยู่ที่เท่าไหร่ เวลาที่คุณเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์สองตัวนี้เข้าด้วยกัน คุณจะเห็นได้ว่าคุณได้จ่ายค่าวัตถุดิบอาหารมากเกินไปหรือเปล่าเพื่อให้ธุรกิจของคุณยังคงดำเนินไปได้
    • ในการคำนวณต้นทุนอาหารที่แท้จริง ให้แก้สมการต่อไปนี้ให้สำเร็จ: ต้นทุนอาหาร % = (บัญชีรายการอาหารคงเหลือเริ่มต้น + วัตถุดิบอาหารที่ซื้อมาเพิ่ม – บัญชีรายการอาหารที่ใช้ไปแล้ว) ÷ ยอดขายอาหาร
    • ตามตัวอย่างของเรา สมมติว่าบัญชีรายการอาหารคงเหลือเริ่มต้น = 260,000 บาท; ซื้อวัตถุดิบมาเพิ่ม 75,000 บาท; บัญชีรายการอาหารที่ใช้ไปแล้ว = 280,000 บาท; ยอดขายอาหาร = 180,000 บาท
    • (260,000 + 75,000 – 280,000) ÷ 180,000 = 0.30 = 30%
  7. ทำการเปรียบเทียบต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้ต่อเดือนกับต้นทุนอาหารที่แท้จริง. ในตัวอย่างของเรานั้น เราคำนวณต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้ต่อเดือนไว้ที่ 25% ในส่วนที่ 1 และได้ต้นทุนอาหารที่แท้จริงอยู่ที่ 30% ในขั้นตอนที่ผ่านมา ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเราใช้จ่ายต้นทุนอาหารมากเกินกว่าที่จะทำผลกำไรได้ตามเป้าที่ 5%
    • ปรับการซื้อวัตถุดิบอาหารในทุกสัปดาห์เพื่อรักษาบัญชีรายการอาหารให้อยู่ในเป้าหมาย คุณต้องลดต้นทุนอาหารที่แท้จริงลงมาให้ได้เท่ากับหรือน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้ต่อเดือน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การคำนวณต้นทุนอาหารที่เป็นไปได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้หาว่าสำหรับอาหารแต่ละเมนูนั้นคุณมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ในการทำอาหารจานนั้น เช่น เมื่อแจกแจงชีสเบอร์เกอร์ออกมาแต่ละส่วนอาจออกมาได้ตามนี้: 3 บาทสำหรับตัวขนมปัง; 2 บาทสำหรับมายองเนส 1 ออนซ์; 2 บาทสำหรับหัวหอม; 3 บาทสำหรับมะเขือเทศฝาน 2 แผ่น; 30 บาทสำหรับเนื้อเบอร์เกอร์ 8 ออนซ์; 1 บาทสำหรับซอสมะเขือเทศและมัสตาร์ด ¼ ออนซ์; 2 บาทสำหรับแตงกวาดองหั่นบาง 4 ชิ้น; 2 บาทสำหรับผักกาดหอม 1 ออนซ์; 6 บาทสำหรับชีส 2 แผ่น; และ 8 บาทสำหรับเฟรนช์ฟรายที่ใช้เสิร์ฟเคียง [11] ต้นทุนอาหารสำหรับเมนูชีสเบอร์เกอร์ของคุณจะอยู่ที่ 60 บาท
    • คูณต้นทุนอาหารแต่ละเมนูเข้ากับจำนวนจานนั้นๆ ที่ถูกขายไปในแต่ละสัปดาห์
    • บวกจำนวนทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อหาต้นทุนรวมทั้งหมดของคุณ เช่นในตัวอย่างของเรานั้น สมมติว่าคุณมีต้นทุนรวมอยู่ที่ 105,000 บาท นี่คือจำนวนเงินที่คุณสามารถใช้ไปเพื่อทำอาหารที่ขายได้ในสัปดาห์นี้
  2. ตอนนี้คุณได้คำนวณมาแล้วว่าคุณต้องใช้เงินเท่าใดในการทำอาหารแก่ลูกค้า คราวนี้คุณจำต้องหาว่าคุณได้กำไรจากอาหารแต่ละอย่างในกระบวนการเป็นเงินเท่าใด ในแต่ละเมนูนั้นให้คูณราคาขายด้วยจำนวนจานที่ถูกขายออกไปในหนึ่งสัปดาห์ รวมตัวเลขยอดขายของทุกเมนูเข้าด้วยกัน เพื่อคำนวณหายอดขายรวมทั้งหมด
    • ในตัวอย่างของเรา สมมติว่าคุณมียอดขายรวมทั้งหมดในหนึ่งสัปดาห์เท่ากับ 280,000 บาท
  3. การคำนวณต้นทุนอาหารที่เป็นไปได้นั้น ให้คูณต้นทุนรวมทั้งหมดด้วย 100 จากนั้นหารด้วยยอดขายรวมทั้งหมด ตามตัวอย่างของเรานั้น เราจะทำสมการต่อไปนี้ให้สมบูรณ์: (105,000 บาท X 100) ÷ 280,000 = 37.5 นั่นหมายความว่าต้นทุนอาหารที่เป็นไปได้ของเราเท่ากับ 37.5% ของงบประมาณทั้งหมด
  4. ตอนนี้คุณทราบแล้วว่าคุณสามารถทำเงินจากาหารในเมนูได้เท่าไหร่ในแต่ละสัปดาห์ ให้เปรียบเทียบตัวเลขนี้กับต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้เพื่อดูว่าจำเป็นต้องมีการปรับราคาอาหารในเมนูหรือไม่ ในกรณีของเรานั้น ต้นทุนอาหารสูงสุดที่สามารถยอมจ่ายได้จากบทความส่วนที่ 1 นั้นคือ 25% และต้นทุนอาหารที่เป็นไปได้คือ 37.5% เรากำลังมีปัญหาหนักซะแล้ว! เราจำเป็นต้องดึงยอดขายรวมทั้งหมดขึ้นเพื่อที่เปอร์เซ็นต์ต้นทุนอาหารที่เป็นได้จะลดต่ำลงมา เหลือเท่ากับ 25% อย่างที่เราตั้งเป้าไว้ เราทำได้โดยการปรับราคาเมนูอาหารให้สูงขึ้น
    • คุณอาจเพิ่มราคาอาหารทุกเมนูด้วยจำนวนเพียงน้อยนิด เช่น อาจจะปรับแค่ 10 บาทถ้าวัตถุดิบอาหารราคาไม่แพง หรืออาจจะ 50-100 บาทถ้ามันมีต้นทุนสูง
    • ดูยอดขายเพื่อพิจารณาว่าอาหารเมนูไหนถึงได้รับความนิยมในหมู่ลูกค้า คุณสามารถปรับราคาอาหารเมนูขายดีขึ้นให้สูงกว่าเมนูทั่วไปเล็กน้อย ผู้คนที่ชอบรับประทานมันจะเต็มใจจ่าย
    • ให้ลองพิจารณาตัดอาหารจานที่ขายไม่ดีออก พวกมันไม่ได้มีศักยภาพในการทำเงินมากนัก การทบทวนประเมินเมนูอาหารอยู่เรื่อยๆ จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณสามารถหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในคลังวัตถุดิบออกไปได้ทุกอย่าง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณสามารถทำการซื้อและขายได้ในวันเดียวกัน
  • ราคาที่คุณจ่ายไปตัวล่าสุดสำหรับสิ่งของแต่ละชิ้นจะเป็นราคาสินค้าคงคลังของคุณ
  • คุณไม่ควรให้มีการส่งของในระหว่างการทำบัญชีรายการ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 45,685 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา