ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคลมแดดมีอาการที่รุนแรงซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี บ้างอาจเรียกว่าการเป็นลม โรคลมแดดเกิดขึ้นเมื่อร่างกายอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนในระยะเวลานาน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายของคนๆ นั้นเพิ่มสูงถึง 40 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้น [1] ถ้าหากคุณเป็นโรคลมแดดเมื่ออยู่ลำพังหรือมีคนอยู่ใกล้เคียง เรามีขั้นตอนพื้นฐานสำหรับดูแลอาการโรคลมแดดเบื้องต้นให้ โดยเริ่มจากลดอุณหภูมิร่างกายลงอย่างช้าๆ ถ้าทำขั้นตอนแรกสำเร็จได้เร็วพอ ร่างกายจะค่อยๆ ดีขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ถ้าคุณเป็นลมแดดเป็นเวลานาน อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงตามมา หากเป็นไปได้ให้ไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การช่วยเหลือคนที่เป็นโรคลมแดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขึ้นกับอาการของโรคและผู้ป่วย คุณอาจโทรหาแพทย์เจ้าของไข้คุณหรือโทรหา 911 สังเกตอาการของโรคอย่างใกล้ชิด การเป็นโรคลมแดดนานๆ สามารถทำลายสมอง สร้างความกังวล งุนงง หมดสติ ปวดหัว วิงเวียน ประสาทหลอน หมดสติ และมีอาการอื่นร่วมได้ [2] อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อหัวใจ ไตและกล้ามเนื้อ [3] เพื่อป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น เมื่อคุณสังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้โทรหาหน่วยบริการฉุกเฉินทันที:
    • อาการช็อก เช่น ปากม่วง เล็บมือม่วง อาการมึนงง
    • หมดสติ
    • อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38.9 องศาเซลเซียส
    • หายใจเร็วหรืออัตราการเต้นของหัวใจเร็ว
    • หัวใจเต้นอ่อน เซื่องซึม คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะมีสีเข้ม
    • อาการชัก ถ้าผู้ป่วยมีอาการนี้ ให้จัดการพื้นที่ให้โล่ง หาหมอนวางรองหัว เพื่อไม่ให้หัวกระทบกับพื้นระหว่างการชัก [4]
    • ถ้าหากมีอาการเบากว่านี้เกิดขึ้นนาน (นานกว่า 1 ชั่วโมง) ให้โทรหาหน่วยบริการฉุกเฉิน [5]
  2. สิ่งแรกที่เรามักจะทำเมื่อไม่สบายคือกินยา แต่ถ้าคุณเป็นโรคลมแดด การกินยาบางอย่างอาจยิ่งทำให้อาการแย่ลง อย่าให้ยาลดไข้อย่างแอสไพรินหรือพาราเซตามอล ตัวยาเหล่านี้เป็นอันตรายต่อโรคลมแดดเพราะอาจทำให้มีเลือดออก จะยิ่งเป็นปัญหารุนแรงถ้าหากผู้ป่วยมีแผลพุพองจากแดดเผา การให้ยาลดไข้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเชื้อโรคในร่างกาย แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการลมแดด [6]
    • อย่าให้ผู้ป่วยกินอะไรเด็ดขาดหากมีอาการอ้วกหรือหมดสติ เพราะอาจทำให้สำลักถึงตายได้ [7]
  3. ขณะที่รอหน่วยบริการฉุกเฉิน ให้ผู้ป่วยพักในที่ร่ม อากาศเย็น (อยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศได้จะดีมาก) ให้ผู้ป่วยแช่ตัวในน้ำเย็น หรืออาบน้ำเย็น หรือแช่ตัวในบ่อน้ำที่อยู่ใกล้เคียง แต่หลีกเลี่ยงน้ำที่เย็นมากจนเกินไป เช่นการใช้น้ำแข็ง เพราะความเย็นมากๆ จะทำให้เราตรวจการเต้นของหัวใจได้ยาก [8] ห้ามทำเช่นนั้นกับผู้ป่วยที่หมดสติ ควรใช้ผ้าเย็นเปียกวางที่หลังคอ ต้นขา และใต้รักแร้ ถ้าเป็นไปได้ ให้พ่นน้ำและพัดให้กับผู้ป่วยเพื่อช่วยระบายให้ความร้อนออกจากตัว [9] การพ่นน้ำเย็นหรือวางผ้าเย็นบนตัวผู้ป่วยจะช่วยให้ความเย็นเข้าสู่ตัวผู้ป่วยให้ง่ายกว่าการอาบน้ำหรือแช่ตัวผู้ป่วยในน้ำเย็น
    • ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นของผู้ป่วย เช่น หมวก รองเท้า ถุงเท้า เพื่อให้ระบายความร้อนได้เร็วขึ้น
    • อย่าเช็ดตัวผู้ป่วยด้วยแอลกอฮอล์ เพราะนั่นเป็นแค่ความเชื่อผิดๆ แอลกอฮอล์ช่วยทำให้ร่างกายเย็นเร็วเกินไป ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายผันผวน เป็นอันตรายมาก ควรเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นเท่านั้น [10]
  4. ให้ผู้ป่วยจิบเกเตอเรดหรือน้ำเกลือ ปริมาณเกลือ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตรเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำและขาดเกลือแร่จากการเสียเหงื่อ ให้ผู้ป่วยค่อยๆ จิบ เพื่อช่วยลดอาการช็อก ถ้าไม่มีน้ำเกลือหรือเกลือแร่ ให้ดื่มน้ำเปล่าก็ช่วยได้ [11]
    • อีกทางเลือกหนึ่งก็คือให้กินเกลือแคปซูลเพื่อให้น้ำและเกลือแร่ในร่างกายสมดุล สามารถดูวิธีใช้ได้ข้างขวด [12]
  5. เมื่อผู้ป่วยสงบ ผู้ป่วยจะสามารถช่วยตัวเองได้มากขึ้น [13] ผู้ป่วยจะคลายกังวลและหายใจได้ลึกขึ้น พยายามให้ผู้ป่วยคิดถึงเรื่องอื่นๆ แทนที่จะคิดถึงอาการที่เป็นอยู่ ความกังวลจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น คุณสามารถเรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์ให้สงบเมื่อเจอเรื่องกังวลได้ด้านล่างนี้
    • นวดกล้ามเนื้อผู้ป่วยเบาๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนในกล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้น [14] ตะคริวเป็นหนึ่งในอาการเริ่มต้นของโรคลมแดด มักเกิดบริเวณน่องเป็นส่วนมาก [15]
  6. หนึ่งในอาการเด่นที่สุดของลมแดดคือการเป็นลม เพื่อป้องกันอันตรายจากการเป็นลม เราควรให้ผู้ป่วยนอนลงกับพื้น
    • ถ้าผู้ป่วยเป็นลม ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวาและงอเข่าซ้าย ท่านี้เรียกว่าท่าฟื้นตัว [16] ตรวจช่องปากดูว่าผู้ป่วยจะอาเจียนหรือไม่ เพื่อป้องกันอาการสำลัก การให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวาเพราะหัวใจอยู่ทางด้านซ้ายและเป็นฝั่งที่สำคัญสำหรับการไหลเวียนของเลือด [17]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การป้องกันโรคลมแดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผู้สูงอายุ คนที่ทำงานกลางแดดร้อน คนอ้วน ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิต และเด็กทารก ผู้ที่ต่อมเหงื่อทำงานไม่ดีมีโอกาสมากที่จะเป็นโรคลมแดด ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องโดนความร้อนมากๆ เช่น การออกกำลังกายกลางแจ้ง การห่อตัวเด็กทารกหนาเกินไป หรือการอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนนานเกินไปโดยไม่ได้ดื่มน้ำ
    • การให้ผู้ป่วยกินยาอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่าเดิม เช่น ยาเพื่อลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ และยาที่ใช้กับโรคซึมเศร้า โรควิกลจริตหรือโรคสมาธิสั้น [18]
  2. ถ้าความร้อนสูงกว่า 32 องศาเซลเซียสให้ระวัง หลีกเลี่ยงการพาเด็กทารกหรือผู้สูงอายุออกไปเจอกับความร้อนสูงเช่นนี้
    • ระวังปรากฏการณ์เกาะความร้อน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อพื้นที่รอบนอกอากาศเย็นกว่าในเมือง ผู้คนแออัดในเมืองทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าในพื้นที่รอบนอก ในตอนกลางคืนอุณหภูมิในเมืองกับพื้นที่รอบนอกอาจต่างกันมากถึง 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่างกันมากแบบนี้อาจเกิดขึ้นเพราะมลพิษ ก๊าซเรือนกระจก คุณภาพน้ำ ผลจากการใช้เครื่องปรับอากาศและการใช้พลังงาน [19]
    • ใส่เสื้อผ้าบางให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
  3. ให้หลบแดดบ้าง หากต้องทำงานกลางแจ้ง ทาครีมกันแดดด้วยเพื่อป้องกันผิวไหม้แดด ใส่หมวกเสมอเมื่อออกแดด โดยเฉพาะผู้ที่เป็นลมแดดง่าย
    • โรคลมแดดอาจเกิดจากการนั่งในรถร้อน อย่าทิ้งเด็กไว้ในรถคนเดียวเป็นอันขาด แม้ว่าจะทิ้งไว้ไม่กี่นาทีก็ตาม
    • ถ้าอยากออกกำลัง หลีกเลี่ยงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน ซึ่งคือเวลา 11.00 – 15.00 น. [20]
  4. ดื่มน้ำเยอะๆ สังเกตสีปัสสาวะ ซึ่งควรมีสีเหลืองอ่อนๆ
    • อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายตื่นตัวในเวลาที่ต้องสงบผ่อนคลาย แม้ว่ากาแฟดำจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 95 แต่คาเฟอีนที่อยู่ในนั้นก็เป็นอันตรายต่อร่างกายผู้ป่วยที่เป็นโรคลมแดดได้ อีกทั้งคาเฟอีนนังทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าเดิมด้วย [21]
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกบ้านหรือในวันที่อากาศร้อน. แอลกอฮอล์จะทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง ทำให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดไหลเวียนเพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายได้ยากขึ้น [22]
    โฆษณา

สิ่งสำคัญ

  • พื้นที่ร่มและเย็น
  • น้ำเย็น เพื่อเช็ดตัวหรือการอาบน้ำ
  • ผ้าเย็นสำหรับประคบตัว หรือที่พ่นไอน้ำ
  • ผ้าเปียก
  • พัดลม
  • เกลือแร่หรือน้ำเกลือ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,691 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา