ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หากลูกของคุณเป็นโรคอีสุกอีใส เขาก็คงไม่มีความสุขกับเจ้าโรคนี้นัก ในขณะที่โรคอีสุกอีใสค่อยๆ เป็นและหายไปเองตามธรรมชาติ เรามีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้นในช่วงเวลาที่ร่างกายต้องต่อสู้กับเจ้าเชื้อไวรัสนี้ รวมทั้งมีคู่มือง่ายๆ ที่สามารถทำตามได้ง่ายๆ เพื่อให้ลูกของคุณสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้นกับโรคนี้และวิธีการรักษาตามธรรมชาติเพื่อลดอาหารคัน รักษาตุ่มหนองและลดรอยแผลเป็นจากอีสุกอีใส พร้อมแล้วก็เริ่มที่ขั้นตอนแรกกันเลย!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

การดูแลเบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่แพร่เชื้อได้ง่ายมาก โดยเฉพาะกับเด็กที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อนหรือไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ดังนั้นจึงควรให้ลูกที่เป็นโรคอีสุกอีใสอยู่บ้านจะดีที่สุด การพักผ่อนเยอะๆ เป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้หายจากโรคนี้ได้เร็วที่สุด ลองหาหนังเรื่องโปรดของเด็กๆ มาเปิดให้เขานอนดูบนเตียงหรือโซฟาด้วยก็ได้ [1]
    • เมื่อตุ่มอีสุกอีใสเริ่มขึ้น ให้ลูกอยู่บ้านตลอดอย่างน้อย 5 วัน
    • คอยสังเกตตุ่มอีสุกอีใส เมื่อตุ่มเริ่มแห้ง ให้ลูกไปโรงเรียนได้ การรอให้ตุ่มแห้งอาจใช้เวลานานกว่า 5 วัน
  2. การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามีไข้หรือไม่สบาย การดื่มน้ำเปล่ามากๆ จะช่วยขับเชื้อโรคออกจากร่างกายและช่วยให้เซลล์ใหม่ๆ ในร่างกายเติบโต นอกจากนี้การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้ผิวชุ่มชื่น ช่วยลดอาการคันตามผิวหนังและช่วยให้แผลเป็นหายเร็ว
    • ให้ลูกดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
    • ถ้าลูกไม่อยากดื่มน้ำเปล่า ให้ดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มเย็นๆ อย่างอื่นแทนก็ได้
  3. ตุ่มอีสุกอีใสสามารถขึ้นภายในลำคอได้เช่นกัน ถ้ามีตุ่มขึ้นในลำคอ จะทำให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้ลำบากมาก ดังนั้นจึงต้องให้อาหารอ่อนแก่ผู้ป่วยเพื่อให้กลืนได้สะดวกและดีต่อท้อง อาหารที่ย่อยง่ายดีที่สุดเพราะร่างกายจะไม่ต้องใช้พลังงานย่อยเยอะและเก็บพลังงานนั้นไปใช้ต่อสู้กับโรคแทน อาหารอ่อนได้แก่ [2] :
    • ซุป: ก๋วยเตี๋ยวน้ำซุปไก่ช่วยทำให้โล่งคอ ซุปแครอตผสมกับผักชีก็ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคได้
    • ไอศกรีม หวานเย็น โยเกิร์ตแช่แข็ง
    • โยเกิร์ต พุดดิ้ง ชีสสด
    • ขนมปังนุ่ม
    • เลี่ยงอาหารเผ็ดเพราะจะทำให้ตุ่มอีสุกอีใสแย่กว่าเดิม
  4. โรคอีสุกอีใสเกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงจะช่วยให้ต่อสู้กับโรคได้ดีและหายได้เร็วขึ้น วิตามินซีช่วยต่อสู้และฆ่าเชื้อไวรัส เด็กๆ ควรได้รับวิตามินที่เพียงพอจากอาหารต่างๆ เช่น [3] :
    • พืชสกุลส้ม เช่น ส้ม เกรปฟรุต ส้มเปลือกหนา
    • ผลไม้อื่นๆ เช่น กีวี สตรอว์เบอร์รี่ มะละกอ
    • ผัก เช่น บรอคโคลี ผักโขม กะหล่ำปลี
  5. ชาสมุนไพรช่วยให้โล่งคอและบรรเทาอาการเจ็บของตุ่มใสในลำคอ อีกทั้งยังช่วยให้ลูกของคุณหลับสบายและได้รับน้ำเพียงพอ อย่าลืมทิ้งชาร้อนให้อุ่นก่อนดื่ม ไม่อย่างนั้นอาจลวกปากผู้ป่วย เราอาจใส่น้ำผึ้งลงในชาเพื่อเพิ่มรสชาติและช่วยให้ลูกของคุณหายป่วยเร็วขึ้น ชาที่เหมาะกับเด็กๆ ได้แก่:
    • ชาคาโมไมล์
    • ชาเปปเปอร์มินต์
    • ชาใบกะเพรา
  6. น้ำเย็นช่วยลดอาการคันตามผิวหนังได้ อีกทั้งยังช่วยให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้นสำหรับเด็กที่ไม่สบาย แต่ถ้าเด็กไม่ชอบน้ำเย็นก็สามารถอาบน้ำอุ่นได้ [4]
    • อย่างไรก็ตาม อย่าให้เด็กอาบน้ำร้อนเด็ดขาด เพราะน้ำร้อนทำให้ผิวแห้ง ก่อให้เกิดอาการคันตามผิวหนังมากขึ้น
  7. อาจจะฟังดูประหลาด แต่การตัดเล็บลูกของคุณให้สั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเด็กจะได้ไม่เกาตุ่มอีสุกอีใสให้เกิดแผล ผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงการเกาให้มากที่สุด ดังนั้นการตัดเล็บให้สั้นจะช่วยให้ตุ่มใสไม่แตกและไม่เกิดแผลเพราะหากเกิดแผลอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ [5]
    • ถ้าเด็กทารกเป็นโรคอีสุกอีใส ให้เด็กใส่ถุงมือเพื่อป้องกันการเกา
  8. ถ้าผู้ป่วยทรมานกับอาการคันตุ่มอีสุกอีใสมาก ให้ใช้น้ำแข็งประคบที่ตุ่มตามตัว เนื่องจากน้ำแข็งช่วยให้ชา อาการบวมและคันจะลดลง
    • ใช้น้ำแข็งนวดวนเบาๆ บริเวณที่คันประมาณ 10 นาที
  9. โลชั่นคาลาไมน์คือยาบรรเทาอาการคันระคายเคืองผิวที่สามารถทาตามตุ่มอีสุกอีใสได้ แนะนำให้ผู้ป่วยอาบน้ำก่อนทาโลชั่นคาลาไมน์ โลชั่นนี้ช่วยให้ผิวเย็นขึ้น ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองจากตุ่มตามตัวและหลับสบายตัวมากขึ้นในตอนกลางคืน [6]
    • ทาโลชั่นคาลาไมน์ในปริมาณเพียงเล็กน้อยบริเวณตุ่มตามตัวอย่างเบามือ
  10. อะเซตามิโนเฟนคือยาแก้ปวดลดไข้ ช่วยบรรเทาอาการปวด อาการไม่สบายตัวที่เกิดจากโรคอีสุกอีใสได้ชั่วคราว เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้ผู้ป่วยกินยานี้
    • ยากินเหล่านี้ปริมาณการให้ขึ้นกับอายุและน้ำหนักของเด็ก หากเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี ควรให้กินครั้งละ 10-15 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง ไม่เกิน 2.6 กรัมต่อวันหรือ 5 ครั้งต่อวัน [7]
    • ถ้าเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้กินครั้งละ 40-60 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง ไม่เกิน 3.75 กรัมต่อวันหรือ 5 ครั้งต่อวัน [8]
    • อาจให้ผู้ป่วยกินไอบูโพรเฟนแทนอะเซตามิโนเฟนได้ แต่ ห้ามให้ผู้ป่วยกินแอสไพรินเด็ดขาด .
  11. ตุ่มใสและผื่นคันจากโรคอีสุกอีใสทำให้ผู้ป่วยไม่สบายเนื้อตัวอย่างมาก ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ที่ขายตามร้านขายยาช่วยบรรเทาอาการคัน ลดการบวมของตุ่มอีสุกอีใสได้ ที่สำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ก่อนให้เด็กกินยาเหล่านี้ ตัวอย่างยาต้านฮีสตามีนได้แก่ [9] :
    • เบนาดริล
    • อัลเลกรา
    • คลาริติน
    • เซอร์เทก
  12. ยาอะไซโคลเวียร์เป็นยาอีกตัวที่ใช้รักษาโรคอีสุกอีใส ภายใต้ชื่อยี่ห้อโซวิแรกซ์ ยาอะไซโคลเวียร์เป็นยาต้านไวรัสที่ช่วยลดการขยายตัวของไวรัสและบรรเทาอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ตุ่มหนอง ผื่นจากโรคอีสุกอีใส โดยปกติการรักษาจะเริ่มภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังผื่นแดงขึ้นตามตัว ยาอะไซโคลเวียร์เป็นยาที่ต้องให้แพทย์สั่งจ่ายเท่านั้น ยาอะไซโคลเวียร์มีในรูปแบบครีมเช่นกัน [10] ถ้าเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงดีไม่ควรใช้ยานี้
    • สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ให้กินยาปริมาณ 20 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน หรือกินยาปริมาณ 80 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน
    • เด็กที่น้ำหนัก 40 กิโลกรัมขึ้นไป ควรกินยาปริมาณเท่ากับผู้ใหญ่ 800 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน กินเป็นเวลา 5 วัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

การรักษาอาการคันง่ายๆ ด้วยตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำผึ้งประกอบด้วยน้ำตาลและคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการคันจากตุ่มหนองรวมถึงยังช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้นด้วย น้ำผึ้งช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่เกิดจากตุ่มอีสุกอีใสได้ดี
    • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่ ใช้นิ้วตักน้ำผึ้งเพื่อทาตามตุ่มวันละ 3 ครั้ง
  2. ข้าวโอ๊ตช่วยบรรเทาอาการคันตามผิวหนัง ข้าวโอ๊ตประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน น้ำตาลซึ่งช่วยปกป้องและรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว ช่วยให้ตุ่มหนองตุ่มใสหายเร็วขึ้น ถ้าไม่มีข้าวโอ๊ตติดบ้าน อาจใช้แป้งข้าวโพดแทนได้ [11] วิธีทำน้ำข้าวโอ๊ต:
    • ป่นข้าวโอ๊ตเปล่าเป็นผงละเอียด 2 ถ้วยโดยใช้เครื่องปั่นหรือเครื่องบด แม้ว่าขั้นตอนนี้จะไม่จำเป็นมากนัก แต่ก็ช่วยให้น้ำผสมกับเนื้อข้าวโอ๊ตได้ดี
    • เปิดน้ำอุ่น เทข้าวโอ๊ตป่นลงไป คนให้เข้ากัน รอประมาณ 15 นาทีให้ส่วนผสมเข้ากันได้ที่
    • ให้ลูกของคุณแช่น้ำข้าวโอ๊ตประมาณ 20-30 นาที เมื่อแช่เสร็จให้เช็ดตัวให้แห้ง
  3. ผงฟูคือตัวปรับสมดุลสภาพความเป็นกรดด่างตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดอาการคันตามผิวหนังได้ ช่วยให้ผิวหนังมีสภาพความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมตามธรรมชาติ เชื้อไวรัสอีสุกอีใสไม่ชอบสภาพความเป็นกรดด่างนี้ [12] วิธีทำน้ำผสมผงฟู:
    • ใช้น้ำอุ่นผสมกับผงฟู 1 ถ้วย คนให้เข้ากันแล้วให้ผู้ป่วยแช่น้ำประมาณ 15 นาที แล้วเช็ดให้แห้ง
  4. ขมิ้นชันและขิงเป็นสมุนไพรที่ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ ทำให้ตุ่มอีสุกอีใสปลอดภัยจากแบคทีเรีย หากตุ่มติดเชื้อจะก่อให้เกิดอาการคันมากขึ้น สมุนไพรทั้งสองชนิดนี้ยังช่วยให้ผิวหนังหายเร็วขึ้นหลังจากเชื้อไวรัสในร่างกายตายแล้ว
    • ขมิ้นชัน: ใส่ขมิ้นชัน 3 ช้อนชาลงไปในน้ำอุ่น ขมิ้นชันช่วยบรรเทาอาการคันระคายเคืองตามตุ่มอีสุกอีใสได้
    • ขิง: ให้ลูกดื่มชาขิง และใช้ขิงแห้งปริมาณ 3 ช้อนชาลงในน้ำอุ่นเพื่อให้แผลสมานกัน
  5. ถั่วลันเตาบดปรุงสุกประกอบด้วยวิตามินเค วิตามินบี โปรตีน สังกะสี แมกนีเซียมและโพแทสเซียม รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญสำหรับร่างกายมากมาย วิตามินและโปรตีนจะช่วยบำรุงผิว ส่วนสังกะสีช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าและสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กที่มีแผลเป็นรุนแรงจากโรคอีสุกอีใส วิธีการทำถั่วลันเตาบดทำดังนี้ [13] :
    • บดถั่วลันเตาต้มปริมาณ 200 กรัมจนเนื้อละเอียดเหมือนซอส ทาบริเวณตุ่มตามผิวหนัง ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  6. โมเลกุลจากใบสะเดาช่วยรักษาผิวที่มีปัญหา รวมถึงอาการคันที่เกิดจากโรคอีสุกอีใส ใบสะเดามีคุณสมบัติต้านไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราและอาการอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยล้างพิษในเลือดและชะล้างลำไส้ ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสอีสุกอีใสได้ดีขึ้น วิธีการใช้ใบสะเดามีดังนี้ [14] :
    • วิธีที่ 1 : บดใบสะเดาให้ละเอียด แล้วโปะบริเวณที่เป็นตุ่มอีสุกอีใส
    • วิธีที่ 2 : ต้มใบสะเดาหลายนาทีในน้ำเดือด เมื่อน้ำเย็นลงให้ใช้ผ้าเช็ดตัวจุ่มน้ำต้มใบสะเดาเพื่อนำมาเช็ดตัว
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

การรักษาตุ่มอีสุกอีใส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติฟื้นฟูสภาพผิวให้เต่งตึงและฆ่าเชื้อโรค เมื่อลูกของคุณมีตุ่มอีสุกอีใสขึ้น ว่านหางจระเข้จะช่วยป้องกันไม่ให้ตุ่มติดเชื้อ รวมทั้งยังช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ผิวใหม่เร็วขึ้น ทำให้มีรอยแผลเป็นจากโรคอีสุกอีใสน้อยลง [15] วิธีการทาเจลว่านหางจระเข้:
    • ล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่ ใช้นิ้วป้ายเจลว่านหางจระเข้ในปริมาณเท่าเม็ดถั่วแล้วป้ายลงบนตุ่มอีสุกอีใส
  2. น้ำมันหอมระเหยไม้จันทน์มีคุณสมบัติต้านไวรัส แบคทีเรียและป้องกันการอักเสบ ช่วยกระชับรูขุมขนให้เล็กลง ทำให้อาการระคายเคืองลดลงพร้อมกับช่วยรักษาตุ่มอีสุกอีใสให้หายไวขึ้น วิธีใช้น้ำมันหอมระเหยไม้จันทน์:
    • จุ่มสำลีก้อนลงในน้ำมัน ค่อยๆ ทาบริเวณตุ่มทีละตุ่ม
  3. น้ำมันวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี เมื่อทาน้ำมันวิตามินอีลงบนผิวจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันการติดเชื้อของแผลตุ่มอีสุกอีใสได้ อีกทั้งยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น วิธีการใช้น้ำมันวิตามินอี:
    • ทาตามตุ่มอีสุกอีใสวันละหนึ่งครั้ง
  4. กรดอ่อนที่อยู่ในน้ำส้มสายชูช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ใช้น้ำอุ่นผสมกับน้ำส้มสายชูสีน้ำตาลปริมาณครึ่งถ้วย การแช่ตัวด้วยน้ำส้มสายชูสีน้ำตาลจะช่วยทำให้ตุ่มอีสุกอีใสหายเร็วขึ้นและป้องกันแผลติดเชื้อ
  5. น้ำมันจากต้นชาหรือทีทรีออยล์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยับยั้งจากเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งช่วยให้ตุ่มอีสุกอีใสเล็กลงและหายไวขึ้น อย่างไรก็ตามทีทรีออยล์อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้ ดังนั้นจึงควรผสมทีทรีออยล์กับน้ำมันชนิดอื่นให้เจือจางก่อนนำไปทาผิว [16] วิธีการใช้:
    • ใช้น้ำมันตั้งต้น 50 มิลลิลิตร (อาจใช้โจโจบาออยล์ น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอกก็ได้) ผสมกับทีทรีออยล์ 15 หยด
    • จุ่มสำลีก้อนลงในน้ำมันแล้วทาทีละตุ่ม
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

การกำจัดแผลเป็นจากตุ่มอีสุกอีใส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำมะพร้าวเป็นหนึ่งในของเหลวที่ให้ความชุ่มชื้นได้ดีที่สุดจากธรรมชาติ [17] การให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวจะช่วยให้แผลเป็นแดงน้อยลงและหายไปในที่สุด วิธีใช้น้ำมะพร้าว:
    • จุ่มผ้าเช็ดตัวลงในน้ำมะพร้าวและเช็ดตามตัววันละ 5-6 ครั้ง
  2. น้ำมะนาวช่วยให้ผิวกระจ่างใสและมีสุขภาพดี ช่วยลดรอยแดงที่เกิดจากตุ่มอีสุกอีใสได้ วิธีใช้น้ำมะนาวลดรอยจากอีสุกอีใส:
    • ใช้น้ำมะนาวปริมาณหนึ่งหยดทาลงบนแผลเป็น ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วล้างออกทันทีที่น้ำมะนาวแห้ง
  3. ขมิ้นชันและใบสะเดามีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และช่วยรักษาให้แผลเป็นจากอีสุกอีใสจางลง วิธีทำขมิ้นชันและใบสะเดาบด:
    • ใช้ขมิ้นชันปริมาณครึ่งถ้วยผสมกับใบสะเดาปริมาณครึ่งถ้วย บดส่วนผสมทั้งสองเข้าด้วยกัน แล้วป้ายลงบนผิวได้เลย
    โฆษณา


คำเตือน

  • ถ้าลูกของคุณไข้ไม่ลดและเป็นไข้ระยะเวลานาน ให้รีบพาส่งโรงพยาบาล
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,468 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา