ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Recovery position หรือท่าพักฟื้น นั้นใช้สำหรับคนหมดสติที่ยังหายใจได้เองอยู่ ถ้าเป็นเด็กทารกท่าพักฟื้นก็จะแตกต่างออกไป หลังปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว และคุณแน่ใจว่าคนเจ็บไม่ได้บาดเจ็บที่สันหลังหรือต้นคอ ก็ให้จัดท่าทางเขาอยู่ในท่าพักฟื้น แค่ไม่กี่ขั้นตอนนี้คุณก็สามารถช่วยชีวิตคนเจ็บได้แล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

จัดท่าพักฟื้นให้ผู้ใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะตัดสินใจจัดท่าพักฟื้นให้ใคร ต้องสละเวลามาประเมินสถานการณ์และอาการของเขาซะก่อน ดูซิว่าเขาหมดสติหรือเปล่า ยังหายใจไหม และมีอาการร้ายแรงถึงชีวิตได้หรือเปล่า พยายามชวนคุยเพื่อประเมินการตอบสนองของเขา เช็คการหายใจโดยเอาแก้มไปจ่อแถวๆ จมูกและปากเขา ว่ามีลมมากระทบหรือเปล่า
  2. ถ้าคุณสงสัยว่าคนเจ็บอาจบาดเจ็บที่สันหลัง ห้ามเคลื่อนย้ายเขาเด็ดขาด จนกว่าเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินจะมาถึง ถ้าเขาพยายามจะหายใจและจำเป็นต้องเปิดหลอดลม ให้เอามือประคองหน้าด้านไหนก็ได้ แล้วช้อนขากรรไกรเขาขึ้นเบาๆ ระวังอย่าไปขยับคอเขา ถ้าเขาบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง อาจมีอาการดังต่อไปนี้
    • บาดเจ็บที่หัว อย่างถูกอะไรตีอย่างแรงเข้าที่ท้ายทอย ตกจากที่สูง 5 - 10 ฟุต และหมดสติ (หรือหมดสติมาก่อน)
    • บ่นว่าปวดคอหรือหลังมาก
    • ไม่ยอมขยับหรือขยับคอไม่ได้
    • อ่อนแรง ชา หรือเป็นอัมพาต
    • คอหรือหลังบิดเบี้ยว
    • ไม่สามารถขยับแขนขา หรือกลั้นฉี่อึได้ [2]
  3. พอแน่ใจแล้วว่าปลอดภัย สามารถจัดท่าพักฟื้นให้คนเจ็บได้ ให้คุณคุกเข่าลงที่ข้างตัวคนเจ็บ จะได้จัดวางแขน โดยจัดให้แขนที่อยู่ใกล้ตัวคุณทำมุมตั้งฉากกับตัวเขา ข้อศอกจะได้ชี้มาทางคุณ ฝ่ามือของเขาควรหงายขึ้นและอยู่ตรงหน้า
    • จากนั้นก็จัดแขนอีกข้าง โดยเอาพาดผ่านหน้าอกเขา เอามือซุกใต้หน้า ให้หลังมือรองแก้มไว้ [3]
    • พอจัดท่าให้สองแขนของเขาเรียบร้อย ให้จัดท่างอเข่า เริ่มจากขาที่อยู่ห่างตัวคุณ ให้เท้าราบไปกับพื้น [4]
  4. พอจัดท่าทางให้แขนกับขาแล้ว ก็ให้พลิกตัวเขานอนตะแคงข้างเบาๆ คอยจับเข่าข้างที่ตั้งขึ้นไว้ แล้วค่อยๆ ดึงเข้าตัวคุณ ให้แนบลงกับพื้น ต้องคอยดูว่ามือยังรองแก้มรองหัวอยู่ จัดท่าให้เขาช้าๆ อย่างระวัง หัวเขาจะได้ไม่กระแทกพื้น
    • แขนข้างที่คุณจัดทำมุมไว้ จะช่วยกันไม่ให้คนเจ็บกลิ้งต่อไป [5] ถ้ากลิ้งต่อไปจะทำให้หน้าอกไม่แผ่ ทำให้หายใจไม่สะดวก
    • หรือจะพลิกตัวเขาโดยจับที่สะโพกให้มั่นก็ได้ อาจจะจับเข็มขัดไว้หรือที่ยางยืดกางเกง หรือกระเป๋ากางเกงด้านหน้าก็ได้ แล้วดึงพลิกโดยที่มืออีกข้างคอยยันไหลข้างที่อยู่ไกลคุณไว้ให้มั่นคง
  5. พอพลิกตัวเขาแล้ว และแน่ใจว่าเขาจะไม่กลิ้งไปไหน หัวก็มีอะไรรอง ก็ให้คุณเคลียร์หลอดลมสักหน่อย โดยค่อยแหงนหน้าเขาขึ้นแล้วยกคาง มองหาอะไรที่อาจเข้าไปติดคอเขาอยู่
    • คอยจับชีพจรและสังเกตการหายใจระหว่างรอความช่วยเหลือ
    • เอาผ้าห่มคลุมตัวเขาไว้หรือจะใช้เสื้อโค้ทก็ได้ ร่างกายจะได้อบอุ่น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

จัดท่าพักฟื้นให้เด็กทารก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ท่าพักฟื้นสำหรับเด็กอ่อน หรือก็คือเด็กที่เล็กกว่า 1 ขวบนั้นจะแตกต่างออกไป ให้เริ่มจากค่อยๆ ประคองตัวเด็กนอนคว่ำคร่อมแขนคุณ งอตัวเล็กน้อย หัวของเด็กควรจะอยู่ต่ำกว่าตัวเล็กน้อย [6]
    • พยายามยกตัวให้สูงกว่าหัวไว้ แต่อย่ามากเกิน 5 องศา อะไรที่ติดคออยู่จะได้ไหลลงมา ไม่ลึกเข้าไปกว่าเดิม
  2. ตอนคุณใช้แขนประคองตัวเด็กไว้ ต้องแน่ใจว่ามือก็รองคอและหัวของเขาไว้ด้วย อย่างถ้าคุณเอาเด็กนอนบนแขนซ้ายของคุณ ก็ให้ใช้มือขวารองคอกับหัวของเด็กไว้ [7]
  3. ตอนที่รองหัวเด็กอยู่ ระวังจะไปปิดปากหรือจมูกเด็กโดยไม่ตั้งใจ คอยสังเกตตำแหน่งนิ้วของคุณ และคอยดูว่าเด็กหายใจสะดวกหรือเปล่า [8]
  4. พอจัดท่าพักฟื้นให้เด็กเรียบร้อยแล้ว ให้คอยสังเกตว่าเด็กยังหายใจอยู่ แล้วรอให้เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินมาถึง ถ้าระหว่างนั้นเด็กหยุดหายใจ ให้ลองทำ CPR ช่วย [9]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ขอย้ำอีกทีตรงนี้ ว่าถ้าสงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่สันหลังหรือคอด้วย ก็ ห้าม เคลื่อนย้ายคนเจ็บเด็ดขาด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,492 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา