ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณคิดว่าคอมค้างหรือระบบล่มน่ะเซ็งแล้ว ต้องเจอฮาร์ดไดรฟ์เดี้ยง แล้วจะรู้ว่า "นรกมีจริง" เพราะข้อมูลจะหายหมด สูญสิ้นทุกอย่าง เว้นแต่ใครโชคดี backup ไว้ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าตกลงไดรฟ์คุณ ซี้แหงแก๋ หรือแค่ ปางตาย ? บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการ (พอจะ) กู้ข้อมูลคืน แต่ย้ำกันตรงนี้เลยว่าทำตามได้ แต่ ไม่รับประกันว่าจะสำเร็จ เหมาะจะเสี่ยงโชคในกรณีที่เป็นข้อมูลทั่วๆ ไป ไม่ถึงขั้นต้องส่งช่างมืออาชีพ แต่ถ้าข้อมูลในไดรฟ์สำคัญยิ่งชีพ เช่น เป็นเรื่องงานหรือมีผลทางกฎหมาย ย้ำตัวโตๆ เลยว่า "ห้ามใช้วิธีการในบทความนี้เด็ดขาด" ส่วนใครจะโยนคอมทิ้งอยู่แล้ว หรืออยากรีไซเคิลฮาร์ดไดรฟ์ที่เดี้ยงจริง ก็เลื่อนลงไปอ่านวิธีการที่ 1 ตามสบาย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เช็คสภาพไดรฟ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช็คว่าไดรฟ์พังจริง โดยหาสาเหตุที่ทำให้เปิดคอมไม่ติด
    • ถ้าไดรฟ์ส่งเสียงคลิกดังๆ ชัดเจน ให้หยุดแล้วข้ามไปส่วนที่ 2 เพราะไดรฟ์เสียแบบกู่ไม่กลับแล้ว
  2. นี่คือจุดแรกที่ควรเช็ค ถ้าปัญหาเกิดตรงนี้ก็โชคดีแล้ว เพราะซ่อมง่ายและถูกที่สุด!
    • ไฟต้องเข้าคอม ถ้าแมวสะดุดปลั๊กหลุด หรือสายเสีย ก็แน่นอนว่าจะเปิดคอมไม่ติด
    • เปิดเคสคอม เช็คว่าเสียบสายสัญญาณ (IDE หรือ SATA) กับสายไฟแน่นหนาดีหรือยัง? ทุกสายต้องเสียบถูก เสียบแน่น pin ไม่หัก/งอ หรือเสียหาย
  3. บางทีไดรฟ์ไม่ได้เดี้ยง แต่เป็นที่แผงวงจร (ใต้ไดรฟ์) ที่ควบคุมการทำงาน ถ้าไฟกระชากหรือชิ้นส่วนเสียหาย ก็แน่นอนว่าไดรฟ์จะ ไม่ทำงาน เพราะไปต่อไม่ถูก ไม่ได้เสียแต่อย่างใด
    • มีรอยบุบ ไหม้ เขม่า หรือเกิดความเสียหายตรงไหนหรือเปล่า ถ้าเห็นว่ามีอะไรผิดปกติ ก็โล่งใจได้ นิดๆ เพราะแปลว่านั่นแหละสาเหตุ ถือเป็นปัญหาที่แก้ได้ค่อนข้างง่าย
    • ถ้าอยากเปลี่ยน PCB (แผ่นวงจรพิมพ์) ให้ search หาอะไหล่ใน Google โดยอ้างอิงจากยี่ห้อและรุ่นไดรฟ์ที่ใช้
    • พอได้อะไหล่มาแล้ว ให้ถอดแผงวงจรเก่าออก (ไขน็อต 5 ตัวเล็กๆ ออกก่อน แล้วเก็บไว้ดีๆ อย่าทำหาย!)
    • เลื่อนไดรฟ์เก่าออกมา แล้วใส่ไดรฟ์ใหม่เข้าไป ห้ามจับส่วนที่เป็นโลหะของแผงวงจรใหม่ เพราะไฟฟ้าสถิตนิดเดียวจะทำชิ้นส่วนเจ๊งไปเลย ก่อนจะทันได้ใช้งานในไดรฟ์ด้วยซ้ำ ให้คุณ ground หรือต่อสายดินให้ตัวเองก่อน โดยใส่ริสต์แบนด์ป้องกันไฟฟ้าสถิต หรือแตะอะไรที่เป็นโลหะและต่อสายดินแล้ว ด้านในของเคสที่เสียบปลั๊กอยู่นี่แหละใช้ได้
    • เลื่อนแผงวงจรใหม่เข้าไป ให้ติดกับไดรฟ์แน่นหนาดี แล้วไขน็อตยึดตามเดิม
    • เชื่อมต่อไดรฟ์กับคอมเหมือนเดิม แล้วเปิดคอม ถ้าใช้ได้ก็โล่ง! คราวนี้ให้รีบ backup ข้อมูลเก็บไว้ แล้วจะใช้คอมต่อหรือทำอะไรก็ตามใจ
    • ถ้าไม่ได้ผล ให้อ่านต่อไป
  4. ถ้าเสียบทุกปลั๊กดีแล้ว และ PCB ที่เป็นตัวควบคุมปกติดี ไม่ไหม้ไม่เสียหาย ให้เข้า Windows Disk Management หรือ BIOS ไม่ก็ Mac OS X Disk Utility เพื่อเช็คว่าคอมสแกนเจอไดรฟ์หรือเปล่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ทางเลือกในการซ่อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าข้อมูลสำคัญพอจะลงทุนลงแรงกู้คืน ก็ให้หาร้านคอมหรือช่างมืออาชีพที่รับกู้ฮาร์ดไดรฟ์ เท่าไหร่ก็เท่ากัน ขอแค่ได้ข้อมูลคืนมา แบบนั้นก็อย่าพยายามกู้เอง เพราะเท่ากับเพิ่มภาระให้ช่าง ลดโอกาสที่จะกู้ข้อมูลคืนมาได้
  2. ลอง search ใน Google ว่า "อะไหล่ฮาร์ดไดรฟ์" จะพอเห็นหนทางเพิ่มมา. เปลี่ยนอะไหล่ช่วยได้ถ้าเป็นไดรฟ์เก่า แต่ถ้าเป็นไดรฟ์ใหม่ ใช้วิธีอื่นดีกว่า
  3. เรียกว่าเป็น "วิถีคนกล้า" ที่บ้า DIY มันทุกอย่าง พวกบริษัทที่เน้นขายอุปกรณ์และชิ้นส่วนละชอบนักคนประเภทนี้ แนวคิดหลักๆ ก็คือเปลี่ยนแผงควบคุมที่ไหม้หรือเสียหายซะใหม่ เท่านี้ไดรฟ์ก็จะฟื้นคืนชีพดังเดิม
    • แต่จริงๆ แล้วก็มีทั้งได้ผลและเสียเวลาเปล่า! เพราะชิปของแผงวงจรสมัยนี้ถูกปรับแต่งมาเพื่อไดรฟ์นั้นๆ โดยเฉพาะ ไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่าเปลี่ยนใหม่แล้วจะได้ผล แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ประหยัดงบที่สุดละนะ
  4. เป็น "วิธีเดียว" ที่พอจะรับรองได้ ว่าคุณจะกู้ไดรฟ์ หรืออย่างน้อยก็กู้ไฟล์ในไดรฟ์คืนมาได้ (จริงๆ แล้วที่อยากกู้ไดรฟ์ก็เพราะอยากได้ข้อมูลข้างในนี่นา)
    • บอกเลยว่าเห็นผลทันใจและแน่ใจได้มากกว่าแบบ DIY เสียตรงราคาแพงกว่าแน่นอน แต่ถ้าข้อมูลนั้นสำคัญจริงๆ ก็คุ้มอยู่นะ
    • เตรียมตัวเตรียมใจจ่ายแพงกว่าค่าไดรฟ์จริงๆ 2 - 3 เท่าได้เลย เพราะงั้นถึงได้บอกให้คิดดูก่อน ว่าข้อมูลนั้นสำคัญแค่ไหน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ซ่อมเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไดรฟ์เสียงดังคลิกตั้งแต่แรกที่เสียบปลั๊ก ต่อไปพอเสียบอีกเมื่อไหร่ ก็จะทำให้เสียข้อมูลไปเพราะไปทำลายชั้นแม่เหล็กของไดรฟ์ ย้ำว่าอย่าพยายามซ่อมเองถ้าข้อมูลสำคัญมาก โดยเฉพาะเป็นเรื่องงานหรือข้อมูลทางกฎหมาย เพราะเป็นวิธีแบบ "โชคช่วย" ว่าจะ ชุบชีวิตได้ หรือตกลง ตายแน่แล้ว แต่ไม่ว่าจะได้ผลยังไง สุดท้ายวิธีนี้ก็จะทำข้อมูลส่วนที่ยังดีๆ เสียจนได้
  2. ถือไดรฟ์ไว้ในมือหนึ่ง แล้วค่อยๆ หมุนจานไปมา ฟังเสียงไปด้วย วิธีนี้เหมือน "ไม่มีอะไร" แต่จริงๆ เช็คได้เลย ถ้าอะไรหลวม ชิ้นส่วนนั้นจะหลุดออกมา!!! แต่ถ้าไม่มีเสียงอะไร โดยเฉพาะไดรฟ์เก่าๆ หรือไดรฟ์ที่ใช้จนร้อนจัด ก็เป็นไปได้ว่าเป็นที่ spindle หรือตัวยึดหัวอ่านนั้นค้าง แบบนี้ให้พิจารณาทำขั้นตอนต่อไป แต่ก็ต้องคิดเผื่อไว้ ว่าถ้าเปิดไดรฟ์ออกมา เป็นไปได้มากว่าทุกอย่างที่ยังพอกู้ได้อยู่จะถูกลบหายไปหมด
  3. อุ่นเตาติ๊งธรรมดาด้วยความร้อนต่ำสุดประมาณ 5 นาทีขึ้นไป จากนั้นปิดเตา เอาไดรฟ์ใส่เตา 2 - 5 นาทีให้พอร้อน ย้ำอีกทีว่าการอุ่นไดรฟ์แบบนี้ ไม่ว่าไดรฟ์นั้นจะเสียอยู่แล้วหรือพอกู้ได้ ก็มีความเสี่ยงจะทำไดรฟ์เจ๊งได้ทั้งนั้น
    • เอาไดรฟ์ออกจากเตา แล้วทำขั้นตอนแรกซ้ำ ถ้าไดรฟ์ยังเงียบ ให้ทำขั้นตอนถัดไป แต่ถ้าเริ่มมีปฏิกิริยา ให้เอาไดรฟ์ใส่กลับไปในคอม แล้วฟังเสียงหมุน ถ้าดังคลิก ตามปกติ แสดงว่าหัวอ่านทำงาน แต่ถ้าเห็นท่าไม่ดี ให้พยายามหาทางเข้าไดรฟ์เอาข้อมูลออกมาใส่ในไดรฟ์ใหม่
    • ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็อุ่นไดรฟ์ซ้ำได้ ตอนวางไดรฟ์ไว้ในมือให้หมุนไดรฟ์แรงๆ แล้วฟาดกับพื้นราบแข็งๆ ฟังดูสุดโต่งแต่ก็อาจทำให้หัวอ่านที่ติดขัดกลับมาเป็นปกติได้ แต่แน่นอนว่าถ้ายังพอมีข้อมูลไหนหลงเหลืออยู่ในฮาร์ดไดรฟ์ ก็คงกลับบ้านเก่าเอาตอนนี้แหละ
    • ทำขั้นตอนแรกซ้ำ คราวนี้ได้ยินหัวอ่านขยับหรือยัง? ถ้าได้ยิน ให้เอากลับไปใส่ในคอม แล้วลองเข้าไดรฟ์ดูอีกครั้ง
    • แต่ถ้าได้ยินเสียง "คลิก" เป็นจังหวะ ทุกครั้งที่หัวอ่านขยับ เป็นไปได้ว่าหัวอ่านหลุดจากฐาน ไม่ได้ติด ให้เช็คว่าเวลาหมุนไดรฟ์เบาๆ (ไปมา) 90 องศา แล้วไม่มีเสียงสั่นๆ แบบนี้แปลว่าชิ้นส่วนข้างในไดรฟ์หลวมหรือหลุด สุดวิสัยที่บทความนี้จะช่วยคุณได้แล้วล่ะ
  4. อีกวิธี "สุดบ้าแต่หวังว่าจะได้ผล" ก็คือเอาไดรฟ์ไปแช่แข็งซะเลย เรียกว่าเป็นหนทางสุดท้ายจริงๆ ถ้าโชคดี ไดรฟ์ก็อาจจะคืนชีพมาพอให้กู้หรือ copy ไฟล์สำคัญทัน แต่ถ้าพลาดก็ไม่ต้องเสียใจ บอกแล้วว่าขึ้นอยู่กับดวงด้วย
    • เอาไดรฟ์ใส่ถุงซิปล็อคแล้วรูดปิดให้สนิท พยายามรีดเอาอากาศออกไปให้ได้มากที่สุด จากนั้นเอาไดรฟ์แช่ช่องฟรีซ 2 - 3 ชั่วโมง
    • เอาไดรฟ์ใส่กลับไปในคอมแล้วลองใช้งานดูใหม่ ถ้าไม่เห็นผลในทันที ให้ปิดเครื่อง ถอดไดรฟ์ แล้วเอาฟาดกับพื้นราบแข็งๆ เช่น หน้าโต๊ะ หรือพื้นห้อง จากนั้นใส่ไดรฟ์คืนที่แล้วลองเปิดใช้งานอีกรอบ คราวนี้ถ้าใช้ได้ ก็รีบเซฟไฟล์ แล้วทิ้งไดรฟ์นั้นไปเลย แต่ถ้าสุดท้ายแล้วก็ยังไม่ได้ผล แปลว่าเกินเยียวยา กระทั่งช่างมืออาชีพก็คงหมดหนทาง!!
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ให้ช่างซ่อม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีหลายบริษัทหรือร้านที่ให้บริการซ่อมไดรฟ์ ค่าบริการก็แน่นอนว่าค่อนข้างสูง แต่ก่อนจะตัดสินใจควักกระเป๋า ให้เข้าเว็บ/เว็บบอร์ดไปสอบถามหรืออ่านรีวิวก่อน ว่าลูกค้าเก่าๆ เขาว่ายังไง กู้เก่งแค่ไหน ราคาประมาณเท่าไหร่ เปิดร้าน/บริษัทมานานหรือยัง เว็บที่น่าสนใจก็เช่น Pantip, ThaiSEOBoard, OverclockZone เป็นต้น
    • ศึกษารายละเอียด ว่ามีรับประกันความสำเร็จไหม ราคาประมาณเท่าไหร่ ทั้งกรณีที่กู้ได้ (แบบนี้คุณพร้อมเปย์แน่นอน) และกู้ไม่ได้ พิจารณาว่าคุณรับได้ไหม ถ้าเขากู้ข้อมูลไม่ได้ และเก็บค่าบริการในราคาเท่านี้
    • แน่นอนว่าใครก็เสียดายเงิน ถ้าต้องจ่ายค่าบริการทั้งที่ร้านกู้ข้อมูลไม่สำเร็จ แต่อย่าลืมว่าถึงช่างจะช่วยคุณไม่ได้ ก็ได้ลงมือลงแรง พยายามซ่อมให้แล้ว ถือเป็นค่าฝีมือและค่าเสียเวลาของเขา ท่องไว้ ของฟรีไม่มีในโลก!

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,873 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา