ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการรีเซ็ต BIOS (ย่อมาจาก Basic Input/Output Settings) ของคอมพิวเตอร์ Windows กลับค่าโรงงาน ปกติคอมทั่วไปจะทำได้จากในหน้า BIOS แต่ถ้าคอมล็อค เข้า BIOS ไม่ได้ ก็ต้องรีเซ็ต BIOS โดยเปิดเคสคอม แล้วถอดแบต CMOS จากเมนบอร์ด แต่ถ้าใครใช้คอมตั้งโต๊ะ ก็ต้องรีเซ็ตสวิตช์ jumper ที่เมนบอร์ดแทน บางทีถ้าเปิดเคสคอมเอง ก็ทำประกันขาดได้ แถมเสี่ยงทำคอมเสียหายหรือเจ๊งได้เลย ถ้าคุณเข้า BIOS ไม่ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือต้องยกคอมไปให้ช่างดู อย่าดันทุรังซ่อมเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รีเซ็ตจากในเมนู BIOS

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิด Start คลิกไอคอน power แล้วคลิก Restart
    • ถ้าคอมล็อค ให้คลิก lock screen แล้วคลิกไอคอน power มุมขวาล่างของหน้าจอ จากนั้นคลิก Restart
    • ถ้าคอมปิดอยู่ ให้กดสวิตช์ "On" ของคอม
  2. พอ startup screen โผล่มาแล้ว จะมีเวลาให้กดปุ่ม setup สั้นมาก
    • แนะนำให้เริ่มกด setup key ทันทีที่คอมเปิดกลับมา
    • ถ้ามีข้อความ "Press [ปุ่มที่ต้องกด] to enter setup" หรืออะไรที่ใกล้เคียง กะพริบอยู่ทางด้านล่างของหน้าจอแล้วหายไป แสดงว่าต้องรีสตาร์ทใหม่แล้วลองอีกรอบ
  3. ปุ่มที่ต้องกดบางทีก็ต่างไปจากนี้ ก็ให้กดไปตามนั้น
    • ถ้ากด Del หรือ F2 แล้วไม่ได้ผล ให้ลองกด F8 F10 Esc หรือ Tab แทน
    • ส่วนใหญ่จะเข้า BIOS ได้โดยกดปุ่มต่างๆ ที่ขึ้นต้นด้วย "F" ปกติจะอยู่ทางด้านบนของคีย์บอร์ด แต่บางทีก็ต้องหาแล้วกดปุ่ม Fn ค้างไว้ตอนกดปุ่ม "F" ตามที่กำหนด
    • คุณหาปุ่มเข้า BIOS ของคอมได้ในคู่มือของคอมรุ่นที่ใช้ ทั้งแบบเอกสารและออนไลน์
  4. พอกดปุ่ม setup ถูกแล้ว BIOS จะโหลดขึ้นมา ปกติรอไม่นานนัก พอโหลดเสร็จจะเจอเมนู BIOS settings
    • ถ้าเข้า BIOS ไม่ได้เพราะติดรหัสผ่านหรือ BIOS เสียหาย ให้ใช้วิธีการอื่นในบทความนี้แทน
  5. ตำแหน่งของตัวเลือกและคำที่ขึ้นจะต่างกันไปตาม BIOS แต่ปกติจะขึ้นว่า "Reset to Default", "Factory Default", "Setup Defaults" หรืออะไรที่ใกล้เคียง บางทีก็อยู่ในบรรดา tab ต่างๆ หรือเป็นตัวเลือกแถวๆ ปุ่ม navigation
    • ถ้า BIOS ไม่มีตัวเลือกนี้ ให้ใช้วิธีการอื่นในบทความนี้แทน
  6. ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนไปเลือก แล้วกด Enter เพื่อเริ่มรีเซ็ต BIOS ทันที
    • ย้ำอีกทีว่าคำที่ขึ้นให้เลือกจะต่างกันไปตาม BIOS
  7. บางทีก็ต้องเซฟค่าใหม่แล้วยืนยันตัวเลือกซะก่อน. ปกติจะเป็นตอนที่ต้องออกจาก BIOS จากนั้นคอมจะรีสตาร์ทอัตโนมัติ ถ้าต้องเปลี่ยน BIOS settings หลังรีเซ็ต BIOS ให้รีสตาร์ทคอมอีกรอบ แล้วเข้าไปเปลี่ยน BIOS
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ถอดแบต CMOS

ดาวน์โหลดบทความ
  1. shut down จากในเมนู Start หรือกดปุ่ม power ของคอมค้างไว้จนคอมปิดไป
    • ถ้าใช้คอมตั้งโต๊ะ ส่วนใหญ่เวลาจะปิด CPU ไปเลย ให้กดสวิตช์หลังเคสคอม
  2. ถ้าใช้คอมตั้งโต๊ะให้ถอดปลั๊ก ถ้าใช้แล็ปท็อปให้ดึงสายชาร์จออก
  3. ถ้าใช้แล็ปท็อป (หรือคอมตั้งโต๊ะที่มีแบตสำรอง) ก็ต้องถอดแบตออกซะก่อน
  4. ปล่อยประจุไฟฟ้าสถิตให้หมด ซะก่อน. แตะส่วนที่เป็นโลหะไม่ได้พ่นสีของเคสคอม เพื่อกำจัดไฟฟ้าสถิตก่อนเริ่มจัดการกับชิ้นส่วนต่างๆ ในเคสคอม ถ้าไปแตะต้องเมนบอร์ดหรือชิ้นส่วนอื่นๆ ในเคสคอมโดยไม่ ground หรือป้องกันไฟฟ้าสถิตให้ดีก่อน คอมอาจถึงขั้นเจ๊งได้เลย
  5. ต้องเข้าถึงเมนบอร์ดของคอมได้สะดวก เวลาจัดการกับชิ้นส่วนต่างๆ ในเคสคอมต้องระวังมากที่สุด เพราะไฟฟ้าสถิตนิดเดียวก็ทำชิ้นส่วนต่างๆ ที่บอบบางมากเสียหายได้เลย
    • แล็ปท็อปส่วนใหญ่จะเข้าถึงแบต CMOS ได้โดยถอดแผงใต้แล็ปท็อป ถ้าไม่มีแผงที่ว่า แสดงว่าต้องแยกส่วนแล็ปท็อปซะก่อนถึงจะเจอ
  6. ปกติแบตจะอยู่แถวๆ สล็อต PCI แต่บางทีก็อยู่ที่อื่น แล้วแต่ยี่ห้อเมนบอร์ด หรือซ่อนอยู่หลัง expansion card และสายต่างๆ ส่วนใหญ่แบตจะเป็นแบตนาฬิกากลมๆ แบนๆ แบบ 3 โวลต์ทั่วไป (CR2032)
  7. กดปุ่ม power ของคอมค้างไว้ประมาณ 10 - 15 วินาทีเพื่อคายประจุไฟฟ้าที่เหลือในตัวเก็บประจุ (capacitor) พอคายประจุแล้ว CMOS memory ก็จะรีเซ็ต ทำให้ BIOS รีเซ็ตไปด้วย
  8. ค่อยๆ ใส่แบต CMOS คืนช่อง ย้ำว่าต้องใส่แบตให้ถูกด้าน โดยคว่ำด้านที่เล็กกว่านิดหน่อยลง
  9. เป็นขั้นตอนที่ต้องระวังมาก และอย่าลืม ground ตัวเองเป็นระยะ
  10. ถ้าตอนแรกถอดปลั๊กไฟหรือถอดแบตของคอม ก็ให้เสียบปลั๊กและ/หรือใส่แบตคืน
  11. อันนี้แล้วแต่คอมที่ใช้ บางทีก็ต้องเข้า BIOS ไปปรับแต่งบางตัวเลือกซะก่อน เช่น อุปกรณ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง หรือวันที่และเวลา
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รีเซ็ต Jumper

ดาวน์โหลดบทความ
  1. shut down จากในเมนู Start หรือกดปุ่ม power ของคอมค้างไว้จนคอมปิดไป
    • ถ้าใช้คอมตั้งโต๊ะ ส่วนใหญ่เวลาจะปิด CPU ไปเลย ให้กดสวิตช์หลังเคสคอม
  2. ถ้าใช้คอมตั้งโต๊ะให้ถอดปลั๊ก ถ้าใช้แล็ปท็อปให้ดึงสายชาร์จออก
  3. ถ้าใช้แล็ปท็อป (หรือคอมตั้งโต๊ะที่มีแบตสำรอง) ก็ต้องถอดแบตออกซะก่อน
  4. ปล่อยประจุไฟฟ้าสถิตให้หมด ซะก่อน. แตะส่วนที่เป็นโลหะไม่ได้พ่นสีของเคสคอม เพื่อกำจัดไฟฟ้าสถิตก่อนเริ่มจัดการกับชิ้นส่วนต่างๆ ในเคสคอม ถ้าไปแตะต้องเมนบอร์ดหรือชิ้นส่วนอื่นๆ ในเคสคอมโดยไม่ ground หรือป้องกันไฟฟ้าสถิตให้ดีก่อน คอมอาจถึงขั้นเจ๊งได้เลย
  5. ต้องเข้าถึงเมนบอร์ดของคอมได้สะดวก เวลาจัดการกับชิ้นส่วนต่างๆ ในเคสคอมต้องระวังมากที่สุด เพราะไฟฟ้าสถิตนิดเดียวก็ทำชิ้นส่วนต่างๆ ที่บอบบางมากเสียหายได้เลย
  6. หา jumper 3 pin ที่ใช้ควบคุม BIOS ในเมนบอร์ด ปกติจะอยู่แถวแบต CMOS โดย jumper จะครอบ 2 ใน 3 pin อยู่
    • jumper บางทีก็เขียนว่า CLEAR, CLR, CLEAR CMOS, PSSWRD หรืออื่นๆ ก็ต้องอ่านคู่มือของเมนบอร์ดก่อน ถึงจะรู้ jumper ที่ถูกต้อง
  7. เช่น ถ้าตอนแรก jumper ครอบ pin แรกและ pin ที่ 2 อยู่ ให้ขยับไปครอบ pin ที่ 2 และ 3 แทน ให้ดึง jumper ขึ้นมาตรงๆ pin จะได้ไม่งอ
  8. กดปุ่ม power ของคอมค้างไว้ประมาณ 10 - 15 วินาทีเพื่อคายประจุไฟฟ้าที่เหลือในตัวเก็บประจุ (capacitor) เพื่อรีเซ็ต BIOS
  9. ขยับ jumper กลับไปครอบ pin เดิมตอนแรก เพื่อให้เข้า BIOS ได้หลังเปิดคอมขึ้นมาใหม่
  10. เป็นขั้นตอนที่ต้องระวังมาก และอย่าลืม ground ตัวเองเป็นระยะ
  11. ถ้าตอนแรกถอดปลั๊กไฟหรือถอดแบตของคอม ก็ให้เสียบปลั๊กและ/หรือใส่แบตคืน
  12. อันนี้แล้วแต่คอมที่ใช้ บางทีก็ต้องเข้า BIOS ไปปรับแต่งบางตัวเลือกซะก่อน เช่น อุปกรณ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง หรือวันที่และเวลา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ปกติไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก คอมส่วนใหญ่ก็ใช้งาน BIOS settings ตามค่าตั้งต้นได้ดีอยู่แล้ว
โฆษณา

คำเตือน

  • ย้ำว่าต้อง ground ตัวเอง ป้องกันไฟฟ้าสถิตก่อนจับต้องชิ้นส่วนไหนในเคสคอม เพื่อลดความเสี่ยงเกิดชิ้นส่วนในคอมเสียหายจากไฟฟ้าสถิต
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 80,190 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา