ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมนบอร์ด หรือ motherboard เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของคอมพิวเตอร์ ทุกอุปกรณ์ที่คุณใช้งานกับคอม ก็ต้องเสียบกับเมนบอร์ดนี่แหละ เพราะงั้นถ้าจะประกอบคอมใช้เอง หรืออัพเกรดคอมเก่า ขั้นแรกคือต้องแน่ใจว่าติดตั้งเมนบอร์ดถูกต้องแล้ว บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้งเมนบอร์ดใหม่ในเคสคอมให้คุณเอง

  1. ให้ถอดกรอบหรือผนัง 2 ด้านของเคสออก จะได้เข้าถึงถาดใส่เมนบอร์ดง่ายๆ ถาดใส่เมนบอร์ดนั้นแยกจากตัวเคสได้ เลยติดตั้งเมนบอร์ดง่าย ไม่ต้องเล่นท่ายากให้เมื่อย แต่ถาดเมนบอร์ดแบบยึดไว้กับเคสก็มี
    • ถาดใส่เมนบอร์ดมักถูกยึดไว้ด้วยน็อต 2 ตัว ถ้าไขออกก็ต้องแยกเก็บไว้อย่าให้หาย
    • เวลาเปลี่ยนเมนบอร์ดทีก็เท่ากับสร้างคอมใหม่เลย เพราะงั้นต้องลงระบบปฏิบัติการใหม่ เช่น เวลาอัพเกรดเครื่อง รวมถึงต้องฟอร์แมตไดรฟ์ต่างๆ ของระบบด้วย เป็นไปไม่ได้ที่อยู่ๆ คุณจะอัพเกรดไปใช้เมนบอร์ดใหม่โดยไม่ติดตั้งทุกอย่างในคอมอีกรอบ
  2. ก่อนจะลงมือทำอะไรในเคสคอม หรือกระทั่งก่อนแตะต้องเมนบอร์ด คุณต้องกำจัดไฟฟ้าสถิตในตัวไปก่อน เช่น แตะก๊อกน้ำ
    • ให้ใส่สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตก่อนเริ่มงาน ชิ้นส่วนต่างๆ จะได้ไม่เสียหาย
  3. หรือก็คือแผ่นด้านหลังของเคสคอม ที่เอาไว้เชื่อมต่อกับเมนบอร์ด สำหรับใช้เสียบหน้าจอ อุปกรณ์ USB และอุปกรณ์เสริมต่างๆ เคสคอมปกติจะมีแผ่น shield นี้อยู่แล้ว ก็ให้ถอดออกแล้วประกอบแผ่นใหม่ที่มาพร้อมเมนบอร์ดใหม่เข้าไป [1]
    • กดทั้ง 4 มุมของแผงนี้ เพื่อยึดกับเคสให้แน่น ถ้าถูกต้องจะลงล็อคเลย
    • เช็คว่ายึดแผงนี้ถูกด้านแล้ว โดยเทียบกับ layout หรือแผนผังของขั้วเสียบที่เมนบอร์ด ต้องตรงกัน
  4. จะเป็นแท่งเหมือนหมุดยื่นออกมา ใช้ยึดเมนบอร์ดให้ลอยขึ้นจากเคส ป้องกันไม่ให้ช็อตและช่วยให้อากาศถ่ายเท บางเคสจะมี standoffs แต่บางเคสก็ไม่มี ปกติเมนบอร์ดจะมาพร้อม standoffs ของตัวเอง
  5. ตำแหน่งของรูที่เมนบอร์ดต้องตรงกับตำแหน่ง standoffs ที่ถาดเมนบอร์ด แต่ละเคสและเมนบอร์ดก็จะต่างกันไป ตำแหน่งของรูก็แตกต่างกันไปด้วย เพราะงั้นให้ลองจัดวางเมนบอร์ดดู จะได้รู้ว่าต้องติด standoffs ตรงไหน แต่ทุกรูของเมนบอร์ดต้องมี standoff ยึด
    • standoffs ส่วนใหญ่ไขน็อตยึดประจำรูได้เลย แต่บางแบบก็ต้องดันหรือตอกเหมือนหมุดแทน
    • บางเมนบอร์ดก็ยึดได้ไม่หมดทุกรูที่มี ยังไงขอให้ยึด standoffs ให้ได้มากที่สุด แต่จุดสำคัญคืออย่าใช้ standoffs เกินรูที่มี ต้องเท่ากับจำนวนรูที่เมนบอร์ดเท่านั้น [2]
  6. ตำแหน่งรูกับ standoffs ต้องตรงกัน ถ้าถาดเมนบอร์ดถอดจากเคสไม่ได้ ต้องค่อยๆ ดันเมนบอร์ดติดแผง I/O หลังเคสให้ลงล็อคพอดี จากนั้นไขน็อตยึดเมนบอร์ด
    • อย่าไขน็อตแน่นเกินไป แค่ยึดให้พอดี ที่สำคัญคือห้ามใช้ไขควงไฟฟ้า
    • ถ้ารูไหนไม่ใช่โลหะ ต้องคั่นกลางระหว่างน็อตกับเมนบอร์ดด้วยแหวนรองกระดาษลัง (cardboard washers) ทางที่ดีอย่าใช้รูที่ไม่ใช่โลหะแต่แรก
  7. ก่อนประกอบถาดพร้อมเมนบอร์ดใหม่กลับมาในเคส ต้องติดตั้ง CPU, พัดลม CPU และ RAM ก่อน เพราะจะทำได้ง่ายกว่า แต่ถ้าถาดเมนบอร์ดเป็นแบบยึดติดกับเคส ให้ติดตั้งชิ้นส่วนอื่นๆ หลังเดินสายไฟเรียบร้อยแล้ว
  8. พอยึดเมนบอร์ดเรียบร้อย ก็เสียบอุปกรณ์อื่นๆ เข้ากับเมนบอร์ดได้เลย แนะนำให้เสียบ power supply ก่อนเพื่อน เพราะตอนหลังจะเข้าถึงยาก เช็คให้ชัวร์ว่าเสียบ connector แบบ 20/24-pin กับ 4/8-pin 12V เรียบร้อยดี
    • ให้อ่านคู่มือ power supply ถ้าไม่แน่ใจว่าสายไหนใช้ทำอะไร
  9. จะเปิดคอมหรือเช็คฮาร์ดไดรฟ์ได้ ต้องใช้ปุ่ม power ที่หน้าเคส เพราะงั้นต้องประกอบสวิตช์ที่แผงเคสด้านหน้ากับไฟสัญญาณซะก่อน ให้หาสายต่อไปนี้ แล้วเสียบกับ pin ที่ถูกต้องของเมนบอร์ด
    • ปุ่ม Power
    • ปุ่ม Reset
    • ไฟ LED ของ Power
    • ไฟ LED ของฮาร์ดไดรฟ์ (hard drive (HDD))
    • ลำโพง
  10. ให้เสียบพอร์ท USB ด้านหน้ากับ connector ที่ถูกต้องของเมนบอร์ด ปกติจะมีเขียนบอกไว้ชัดเจน ให้เช็คดีๆ ว่าเสียบสายถูก pin
  11. เสียบพัดลมในเคสหรือพัดลม CPU กับ pin ที่ถูกต้องของเมนบอร์ด ปกติคุณเสียบพัดลมแบบมีโครงได้หลายจุด เช่น connector แบบ 2-pin สำหรับพัดลม CPU ใกล้ๆ กับ CPU
  12. พอติดตั้งเมนบอร์ดและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ แล้ว ก็ถึงเวลาติดตั้งไดรฟ์ ต้องดูดีๆ ว่าเสียบฮาร์ดไดรฟ์ SATA กับไดรฟ์อ่านแผ่นถูกพอร์ท SATA ของเมนบอร์ดแล้ว
  13. ติดตั้งการ์ดจอ . หนึ่งในอุปกรณ์ที่ควรติดตั้งเป็นชิ้นท้ายๆ ก็คือการ์ดจอ เพราะตัวการ์ดจะกินที่แทบทั้งหมด ทำให้หยิบจับอะไรก็ลำบาก คอมบางเครื่องก็ไม่ต้องติดตั้งการ์ดจอแยก อันนี้แล้วแต่ระบบและความต้องการ
  14. พอติดตั้งและเชื่อมต่อทุกอย่างกับเมนบอร์ดเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดระเบียบสายไฟในเคส อากาศจะได้ไหลเวียนสะดวก ไม่กักเก็บความร้อน สายไฟเองก็จะได้ไม่เข้าไปขัดในพัดลม ถ้ามี bay ของไดรฟ์เหลือๆ ก็เอาสายที่รกๆ เข้าไปเก็บ รวมถึงใช้สายรัดสายไฟรวมกันให้เป็นระเบียบ จุดสำคัญคือชิ้นส่วนต่างๆ ในเคสต้องมีที่ให้ระบายอากาศสะดวก [3]
  15. ประกอบผนังหรือแผ่นด้านข้างของเคสคืนที่ แล้วไขน็อตยึด จากนั้นเสียบปลั๊กทั้งของคอมและอุปกรณ์เสริมต่างๆ เสร็จแล้วเปิดคอมเตรียมติดตั้งระบบปฏิบัติการ แต่ละระบบหรือแต่ละเวอร์ชั่นก็จะมีวิธีติดตั้งแตกต่างกันไป ลองอ่านบทความของเรา หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมในเน็ตดู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แนะนำให้ติดตั้ง CPU, heatsink/พัดลม และ RAM ในเคสก่อนติดตั้งเมนบอร์ด
  • นอกจากนี้แนะนำให้อ่านคู่มือก่อนลงมือ จะได้รู้ว่าต้องตั้ง jumper ก่อนติดตั้งหรือเปล่า ซึ่งจะต่างกันไปตามชนิดเมนบอร์ดที่คุณเลือกใช้
  • ส่วนใหญ่พอใช้เมนบอร์ดใหม่ ก็ต้องเปลี่ยนเคสและ power supply ด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลืม ground ตัวเองก่อนแตะต้องอะไรในเคส หรือก็คือการกำจัดไฟฟ้าสถิตที่อาจสะสมในตัวคุณ เพราะแค่นิดเดียวก็ทำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เจ๊งได้เลย โดยเวลาทำงานไม่ให้ยืนบนพื้นผิวที่อาจก่อไฟฟ้าสถิต (พวกพรมขนสัตว์และอื่นๆ) นอกจากนี้ก่อนแตะต้องชิ้นส่วนไหนในเคส ให้แตะอะไรที่เป็นโลหะก่อน ง่ายที่สุดคือแตะโครงของเคสคอมเองนั่นแหละ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,266 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา