ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณเริ่มอืด ทำงานไม่ลื่นไหลดั่งใจ หรือไม่รองรับโปรแกรมใหม่ๆ ที่อยากใช้ วิธีแก้ไขที่ง่ายและถูกที่สุด ก็คืออัพเกรด RAM (Random Access Memory) นี่เอง คุณอัพเกรดหรือเพิ่ม RAM ให้คอมได้ทุกเครื่อง ที่ต้องใช้ก็มีแค่ไขควงกับเวลา 2 - 3 นาที บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้ง RAM ให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ติดตั้ง RAM ของคอมตั้งโต๊ะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. RAM มีหลายรุ่นและหลายความเร็ว แต่จะใช้รุ่นไหนก็ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดของคอม ให้คุณเช็คเมนบอร์ดหรืออ่านคู่มือของคอมดู ไม่ก็เข้าเว็บยี่ห้อคอมไปดูสเปค RAM ที่ใช้ได้
    • RAM มีทั้ง DDR (double data rate), DDR2, DDR3 และ DDR4 ถ้าคอมรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ DDR3 หรือ 4 จุดสำคัญคือต้องเลือก RAM ที่ใช้ได้กับเมนบอร์ดของคุณ
    • RAM จะมีเลขบอกความเร็ว 2 ชุด คือ PC/PC2/PC3 กับความเร็ว MHz ซึ่งทั้ง 2 อย่างต้องตรงกับสเปคเมนบอร์ด
      • หมายเลข PC (เช่น PC3 12800) คือ bandwidth สูงสุด (เช่น 12800 = bandwidth สูงสุด 12.8 GB)
      • ความเร็วของ RAM จะเป็นตัวเลขหลังสเปค DDR (เช่น DDR3 1600 = 1600 MHz)
  2. แต่ละเมนบอร์ดจะเสียบแท่ง RAM ได้จำกัด บางเมนบอร์ดก็เสียบได้แค่ 2 แท่ง แต่รุ่นอื่นอาจเป็น 4, 6 หรือมากกว่านั้น
    • เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะจำกัดตามจำนวนความจำที่รองรับ ไม่เกี่ยงว่ากี่ช่อง
    • iMac จะใช้ RAM สำหรับโน้ตบุ๊ค เพราะงั้นถ้าจะติดตั้ง ให้เลื่อนลงไปอ่านวิธีการถัดไป
  3. RAM ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อมาก ราคาก็เลยถูกแพงต่างกันไป รวมถึงคุณภาพด้วย RAM ถูกๆ ส่วนใหญ่เดี้ยงตั้งแต่ยังไม่ทันใช้ก็มี ยี่ห้อดังที่แนะนำเพราะปลอดภัยหายห่วงก็คือ
    • Corsair
    • Kingston
    • Crucial
    • G. Skill
    • OCZ
    • Patriot
    • Mushkin
    • A-Data
  4. พอเลือกยี่ห้อได้แล้ว ก็ถึงเวลาซื้อ RAM แนะนำให้ซื้อ SDRAM ปกติ RAM จะติดตั้งและทำงานได้ดีถ้าเข้าคู่กัน เพราะงั้นต้องซื้อ 2 หรือ 4 แท่ง ในจำนวน RAM ที่ต้องการ
    • เช่น ถ้าอยากได้ RAM 8 GB ก็ต้องติดตั้ง 4 GB 2 แท่ง หรือ 2 GB 4 แท่ง แต่จุดสำคัญคือเมนบอร์ดต้องมีช่องเสียบพอ และเวลาติดตั้ง ก็ต้องใช้ RAM ขนาดที่เท่ากัน เช่น อยากได้ 4 GB ก็ต้องติดตั้ง 2 GB กับ 2GB ห้ามติดตั้งไม่เข้าคู่เด็ดขาด เช่น แท่งหนึ่งเป็น 2 GB แต่อีกแท่งเป็น 1 GB เป็นต้น เพราะจะกลายเป็นถ่วง RAM แทน
    • RAM ทั้งหมดที่ติดตั้ง ต้องความเร็วและ bandwidth เท่ากัน ถ้าไม่ตรงกัน ระบบจะไปยึดแท่งที่ด้อยหรือช้ากว่าแทน ทำให้คอมอืดอยู่ดี
    • เช็คให้ชัวร์ว่าเมนบอร์ดรองรับ RAM นั้นๆ ก่อนซื้อจริง
  5. แล้วถอดปลั๊กกับสายและอุปกรณ์ทั้งหมดที่เสียบต่ออยู่กับคอม เช่น จอ คีย์บอร์ด และเมาส์
  6. ตะแคงเคสลง จะได้เข้าถึงเมนบอร์ดง่ายๆ ตอนเปิดฝาข้างเคส บางทีก็ต้องใช้ไขควงปากแฉกไขน็อตยึดฝาเคสก่อน แต่บางทีก็หมุนด้วยมือได้เลย
  7. อย่าให้ร่างกายมีไฟฟ้าสถิต เพราะแค่นิดเดียวก็ทำชิ้นส่วนคอมเสียหายได้แบบที่บางทีคุณอาจไม่ทันรู้ตัวเลย ให้คุณ ground หรือต่อสายดินให้ตัวเองก่อนเริ่มขั้นตอนอื่น หรือใช้สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต
    • คุณ ground ตัวเองได้โดยแตะเคสส่วนที่เป็นโลหะหลังถอดปลั๊กแล้ว แค่ปิดคอมไม่ได้ทำให้ไฟที่ค้างอยู่หายไป เพราะงั้นต้องถอดปลั๊กไฟเลย
    • อย่ายืนบนพรมตอนติดตั้ง RAM หรือทำอะไรก็ตามในเคสคอม
  8. เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมี 2 หรือ 4 slot ปกติช่องเสียบ RAM จะอยู่แถวๆ CPU แต่ตำแหน่งแบบเป๊ะๆ ก็จะต่างกันไปตามยี่ห้อหรือรุ่นที่ใช้ ยังไงสำรวจผังของเมนบอร์ดในคู่มือก่อนดีกว่า ถ้าหา socket หรือช่องเสียบไม่เจอจริงๆ
  9. ถ้าจะเปลี่ยน RAM เก่าเป็น RAM ใหม่ ให้ถอดแท่งเก่าออกก่อน โดยปลดสลัก 2 ฝั่งของช่อง RAM ก็จะหลุดออกมา คุณก็ดึงขึ้นมาจากเมนบอร์ดตรงๆ ได้เลย ไม่ต้องออกแรง
  10. ค่อยๆ หยิบ Ram จากถุงหรือห่อป้องกัน โดยคีบข้างๆ อย่าแตะขั้วด้านล่างหรือแผงวงจรตรงกลาง
  11. ให้รอยบากของแท่ง RAM ตรงกับของ slot จากนั้นเสียบแท่ง RAM เข้าไปในช่อง แล้วกดเข้าไปจนสลัก 2 ข้างดังคลิก ล็อค RAM อยู่กับที่ อาจจะต้องออกแรงกดบ้าง แต่ถ้ารู้สึกฝืน ก็อย่าดันต่อ
    • เสียบแท่ง RAM ที่เข้าคู่กันในช่อง ปกติจะมีสีหรือป้ายบอกที่เมนบอร์ด ทางที่ดีให้เช็คกับผังเมนบอร์ดจะดีที่สุด เพราะ RAM แต่ละแท่งต้องหันไปทางเดียวกัน
    • ทำซ้ำแบบเดียวกันเวลาเสียบ RAM แท่งอื่นที่จะติดตั้ง
  12. ตอนเปิดเคสคอมไว้ ก็ใช้อากาศอัดกระป๋องฉีดกำจัดฝุ่น และแก้ปัญหาเครื่องร้อนจัดจนคอมอืดได้ในเวลาเดียวกัน อากาศอัดกระป๋องแบบนี้มีขายตามร้านคอมทั่วไป แต่ระวังอย่าพ่นใกล้ชิ้นส่วนคอมเกินไป
  13. พอติดตั้ง RAM เรียบร้อย ก็ประกอบฝาเคสคืนที่แล้วไขน็อตยึดได้เลย ห้ามเปิดคอมทั้งๆ ที่เปิดฝาเคสทิ้งไว้ เพราะจะทำให้พัดลมระบายอากาศทำงานแย่ลง ประกอบเคสคืนแล้วก็เสียบจอและอุปกรณ์อื่นๆ กลับมาตามเดิมได้เลย
  14. คอมควรจะติดขึ้นมาตามปกติ ถ้ามีหน้าจอ self-test ขึ้นมาตอนเปิดเครื่อง ก็เช็คได้เลยว่าติดตั้ง RAM ถูกต้องดีหรือเปล่า แต่ถ้าไม่มีหน้าจอนี้ ก็ค่อยไปเช็คหลัง Windows เปิดขึ้นมา
  15. กดปุ่ม Windows + Pause/Break เพื่อเปิด System Properties หรือคลิกเมนู Start คลิกขวาที่ Computer/My Computer แล้วคลิก Properties จะเห็น RAM ในรายชื่อของ System หรือท้ายหน้าต่าง
    • แต่ละระบบปฏิบัติการก็มีวิธีคำนวณความจำต่างกันไป อย่างคอมบางเครื่องก็จะแยก RAM ไว้บางส่วนสำหรับบางฟังก์ชั่นโดยเฉพาะ (เช่น วีดีโอ) ทำให้ RAM ที่ใช้ได้ลดน้อยลงไป เช่น คุณอาจจะซื้อ RAM มา 1 GB แต่ระบบปฏิบัติการแสดงไว้แค่ 0.99 GB ก็ได้
  16. ถ้ายังไม่แน่ใจว่าติดตั้ง RAM เรียบร้อยหรือยัง หรือมีอะไรผิดปกติ ให้ใช้โปรแกรม Memtest ฟรี เช็คแท่ง RAM อีกที ให้เวลาโปรแกรมสักพัก เดี๋ยวก็แสดง error ต่างๆ กับจำนวน RAM ทั้งหมดที่ติดตั้งไปขึ้นมาเอง [1]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ติดตั้ง RAM ของโน้ตบุ๊ค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. RAM มีหลายรุ่นและหลายความเร็ว แต่จะใช้รุ่นไหนก็ขึ้นอยู่กับคอมของคุณ ให้อ่านคู่มือของคอม หรือเข้าเว็บยี่ห้อคอมไปดูสเปค RAM ที่ใช้ได้
  2. ก่อนจะเปิดฝาแล็ปท็อป ต้อง ground หรือต่อสายดินให้ตัวเองก่อน เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตทำชิ้นส่วนคอมเสียหาย คุณ ground ตัวเองได้โดยแตะเคสคอมส่วนที่เป็นโลหะหลังถอดปลั๊กแล้ว เพราะแค่ปิดคอมไม่ได้ทำให้ไฟที่ค้างอยู่หายไป
  3. ให้ถอดแบตจากใต้แล็ปท็อป แล้วกดปุ่ม Power เพื่อคายประจุที่เหลือใน capacitor
  4. คุณจะเจอ RAM ของโน้ตบุ๊คถ้าถอดฝาใต้เครื่องออก ปกติจะมี 2 - 3 ฝา ให้เปิดฝาที่มีไอคอน RAM หรืออ่านคู่มือจะดีที่สุด โดยไขน็อตที่ยึดด้วยไขควงปากแฉกเล็กๆ
    • โน้ตบุ๊คส่วนใหญ่จะมีแค่ 2 ช่อง ยิ่งบางเครื่องก็มีช่องเดียว แต่ถ้าเป็นโน้ตบุ๊คแพงๆ รุ่นใหญ่หน่อย ก็อาจจะมีมากกว่านั้น
  5. RAM ของแล็ปท็อปหรือ SODIMM ส่วนใหญ่ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเข้าคู่กัน แต่ถ้าจำเป็น ก็แสดงว่าต้องใช้ 2 แท่งเพื่อรวมเป็นความจำขนาดที่ต้องใช้ แบบนี้จะมีเขียนไว้ชัดเจนเลยที่แล็ปท็อปหรือในคู่มือ
  6. ถ้าจะเปลี่ยน RAM เก่าเป็น RAM ใหม่ ให้ถอดแท่งเก่าออกก่อน โดยปลดสลัก 2 ฝั่งของช่อง RAM เวลาปลดสลักก็ให้กดลงไปตรงๆ แท่ง RAM จะเด้งออกมา ทำมุมเฉียงนิดหนึ่ง ให้คุณยก SODIMM ทำมุม 45° แล้วดึงออกมาจากช่องได้เลย
  7. โดยคีบข้างๆ อย่าแตะขั้วด้านล่างหรือแผงวงจรตรงกลาง
  8. เวลาติดตั้ง SODIMM ชิปจะอยู่ด้านไหนไม่สำคัญ แต่รอยบากต้องลงล็อคกัน ให้ค่อยๆ ดัน SODIMM เข้าไปช่อง ทำมุม 45°
    • ถ้ามี slot ว่างหลายช่อง ให้ติดตั้ง RAM ในช่องเลขน้อยๆ ก่อน
  9. พอสอดแท่ง RAM เข้าไปทำมุม 45° ก็กดลงไปที่ฐานแล็ปท็อปได้เลยจนสลักล็อคเข้าที่ เท่านี้ก็ติดตั้ง RAM เสร็จเรียบร้อย [2]
  10. พลิกแล็ปท็อปกลับมา เสียบปลั๊ก แล้วเปิดเครื่อง คอมควรจะทำงานตามปกติ อาจต้องเข้า BIOS ก่อน เครื่องถึงจะสแกนเจอ RAM หรือบางทีก็สแกนเจออัตโนมัติตั้งแต่ระบบปฏิบัติการโหลดขึ้นมา
    • จะใช้โปรแกรม Memtest ก็ได้ ถ้ารู้สึกว่า RAM ทำงานผิดปกติหรือน่าจะเสีย
  11. พอแน่ใจว่าติดตั้ง RAM เรียบร้อยแล้ว ก็ปิดฝาแล็ปท็อปได้เลย ให้ปิดฝาใต้คอมที่ปิดช่องเสียบ SODIMM นั่นแหละ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เว็บดีๆ ที่น่าสนใจก็เช่น Crucial http://www.crucial.com/ เพราะมี memory adviser tool ใช้เช็คว่ามี RAM ติดตั้งไว้ในคอมเท่าไหร่ และเป็นชนิดไหน จริงๆ จะซื้อ RAM จากที่นี่ก็ได้ แต่ในบ้านเราก็มีขายเยอะแยะไป
  • ถ้ามีเสียงอื่น ที่ไม่ใช่เสียงบี๊บเดียวยาวไม่เกิน 1 วินาที ให้อ่านคู่มือเมนบอร์ด ว่าเสียงบี๊บแต่ละแบบหมายความว่ายังไงบ้าง สำคัญมากเพราะถือเป็นระบบเตือนภัยเวลามีชิ้นส่วนไหนไม่ผ่าน POST (Power On Self Test) ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะชิ้นส่วนนั้นผิดปกติหรือคอมไม่รองรับ
  • ถ้าเปิดคอมแล้วได้ยินเสียงบี๊บ แสดงว่าติดตั้ง RAM ผิดประเภท หรือเสียบแท่ง RAM ผิดวิธี ทางที่ดีถ้าซื้อคอมจากร้านไหน ก็ติดต่อช่างร้านนั้น หรือจะแจ้งศูนย์ตามยี่ห้อก็ได้ จะได้รู้ว่าตกลงเสียงบี๊บนั้นหมายความว่ายังไง
  • อย่าตกใจถ้าคอมแสดง RAM น้อยกว่าที่ซื้อมานิดหน่อย เพราะแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นก็มีวิธีคำนวณหรือกั๊กความจำไว้แตกต่างกันไป แต่ถ้าขนาด RAM แตกต่างจากที่ซื้อมาติดตั้งจนผิดปกติ เป็นไปได้ว่าชิปอาจจะเชื่อมต่อไม่ถูกต้อง หรือเป็นของมีตำหนิ
  • ตัวอย่าง RAM ที่ใช้ได้กับแต่ละระบบปฏิบัติการก็เช่น
    • Windows Vista หรือใหม่กว่า: 1 GB ถ้าเป็น 32-bit และ 2 GB โดยแนะนำให้ใช้ 2 GB ถ้าใช้ 32-bit และ 4 GB สำหรับ 64-bit
    • Windows XP: ขั้นต่ำคือ 64 MB แต่แนะนำให้ใช้ 128 MB
    • Mac OS X 10.6 หรือใหม่กว่า: ต้องใช้ 2 GB
    • Ubuntu: แนะนำให้ใช้ 512 MB
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามเสียบแท่ง RAM กลับด้าน เพราะถ้าเปิดคอมมาอาจทำช่อง RAM กับแท่ง RAM นั้นเสียหายได้เลย ถ้าโชคร้ายไปกว่านั้น (หายากมาก) คือเมนบอร์ดอาจเจ๊งตามไปด้วย
  • ถ้ากลัว ไม่กล้าเปิดเคสคอมเพราะรู้สึกไม่เชี่ยวชาญพอ ก็ยกไปให้ช่างเถอะ เพราะไหนๆ ก็ซื้อแท่ง RAM มาแล้ว เสียเงินจ้างช่างให้ช่วยติดตั้งดีๆ ไปเลยคงไม่แพงไปกว่ากันเท่าไหร่
  • ห้ามลืมทิ้งคอมให้คายประจุจนหมดก่อนแตะ RAM เพราะไฟฟ้าสถิตแค่นิดเดียวอาจทำชิ้นส่วนในเคสเจ๊งได้เลย วิธี ground หรือต่อสายดินให้ตัวเองง่ายๆ ก็คือแตะอะไรที่เป็นโลหะก่อนมาจับคอม
  • ห้ามจับส่วนที่เป็นโลหะของแท่ง RAM เพราะอาจทำแท่ง RAM เจ๊งได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 57,096 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา