ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณให้คนอื่นยืมเงิน บางครั้งพวกเขาก็ไม่คืนเงินคุณเสมอไป เมื่อลูกหนี้ (Debtor) ละเมิดสัญญากับคุณ คุณไม่ควรที่จะรู้สึกแย่กับการทวงเงินจากคนที่ยืมเงินคุณเอาไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลในการยืมเงินใดๆ ก็ตาม เมื่อใครสักคนเป็นหนี้คุณแล้วไม่ยอมคืนเงิน ยังมีวิธีที่คุณสามารถทำได้ บางครั้งพวกเขาก็ต้องการแค่การเตือน แต่การเตรียมพร้อมที่จะเพิ่มการร้องขอให้ได้ผลจะช่วยให้คุณสามารถได้รับเงินคืนได้โดยที่ไม่ต้องกระทบกระทั่งกันมากนัก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทวงเงินคืน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พิจารณาว่ามีจุดไหนที่คุณไม่คิดว่าคุณจะได้รับเงินคืนโดยที่ไม่ต้องทวง. ถ้าการตกลงกันครั้งแรกของคุณไม่ได้กำหนดวันจ่ายคืนตายตัว คุณจะต้องพิจารณาที่จะทวงหนี้เอาเอง ตัดสินใจดูว่าคุณเชื่อใจคนๆ นั้นมากแค่ไหนที่เขาจะคืนเงินคุณโดยที่ไม่ต้องทวง
    • พิจารณาจำนวนเงินที่ถูกยืมไปด้วย หนี้ก้อนเล็กๆ อาจจะไม่คุ้มค่าที่จะคอยตามทวง ในขณะที่หนี้ก้อนใหญ่อาจจะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะได้เงินคืนจบครบ
    • ถ้าคุณถูกยืมเงินในกรณีของการทำรายการค้า (Business Transaction) ให้ทวงเงินคืนให้เร็วที่สุด เพราะการรอให้เขามาจ่ายคืนนั้นจะยิ่งทำให้ทวงเงินคืนได้ยากขึ้น [1]
  2. เมื่อเลยวันคืนเงินมาแล้ว ให้ลองทวงเงินจากเขาดู ในระยะนี้ สิ่งที่คุณต้องทำก็คือดูให้ดีว่าลูกหนี้ของคุณนั้นตระหนักถึงหนี้ของตัวเองว่ายังไม่ได้จ่ายคืนหรือไม่ บางครั้งคนเราก็แค่ลืมเฉยๆ และการเตือนเขาดีๆ เขาก็จ่ายคืนแล้ว เพื่อความสุภาพมากยิ่งขึ้น การทำแบบนี้จะเรียกว่า “การติดต่อสอบถาม”
    • อย่าไปร้องขอให้เขาจ่ายหนี้ ให้ใช้การเตือนแทน เช่น ("คุณยืมเงินฉันไปนะ จำได้หรือเปล่า") การพูดแบบนี้จะช่วยรักษาหน้าให้กับลูกหนี้ได้
    • ให้พูดถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเมื่อจะถามเกี่ยวกับหนี้สิน คุณควรจะเตรียมบอกจำนวนเงินที่คุณให้ยืมไป เวลาที่คุณได้เงินครั้งล่าสุด จำนวนเงินที่ให้ยืม และข้อตกลงการจ่ายหนี้ (Payment arrangements) ที่คุณเต็มใจที่จะยอมรับ ข้อมูลการติดต่อของคุณ และวันจ่ายเงินคืนที่ชัดเจน
    • ถ้าลูกหนี้ของคุณเป็นลูกค้าหรือบริษัท การทวงเงินในรูปแบบการเขียนจดหมายจะช่วยได้มาก ซึ่งคุณจะสามารถแกะรอยติดตามข้อมูลด้วยเอกสาร (Paper Trail) ได้ถ้าสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น
    • สำหรับวันจ่ายเงินคืนนั้น เวลา 10-20 วันหลังจากที่ลูกหนี้ได้รับจดหมายจะเป็นช่วงเวลาที่ดี ซึ่งลูกหนี้จะสามารถรู้ล่วงหน้าแต่ไม่กระชั้นชิดเกินไปจนพวกเขารู้สึกกลัว
  3. พิจารณาว่าคุณจะยอมรับการจ่ายหนี้ในรูปแบบอื่นหรือไม่. การรอให้ลูกหนี้จ่ายเงินเต็มจำนวนอาจจะไม่คุ้มค่ามากนัก ถ้าจำนวนเงินนั้นเล็กน้อย หรือคุณไม่คิดว่าลูกหนี้ของคุณจะจ่ายคืนได้ ลองพิจารณาให้พวกเขาจ่ายหนี้ด้วยสิ่งอื่นแทน การให้บริการหรือทำอย่างอื่นให้ก็เป็นการจ่ายหนี้ที่ได้ผลดีถ้าการจ่ายหนี้ในรูปแบบดังกล่าวเป็นสิ่งคุณรับได้ ถ้าการทำแบบนี้เป็นปัญหา พยายามยื่นข้อเสนอให้ชัดเจนและทวงหนี้ให้เร็วที่สุด
    • อย่าต่อรองเร็วเกินไป การต่อรองอาจจะส่งสัญญาณให้กับลูกหนี้ได้ว่าหนี้สินครั้งนี้สามารถต่อรองได้ หรือลูกหนี้จะสามารถยืดเวลาจ่ายหนี้ออกไปได้ [2]
  4. การทำแบบนี้เรียกว่า “การติดต่อขอใช้หนี้” ถ้าลูกหนี้ไม่ตอบรับคำขอของคุณ คุณควรจะต้องเอาจริงให้มากขึ้น ทำให้ชัดเจนไปเลยว่าคุณหวังที่จะได้รับเงินคืนทันทีหรือกำหนดเวลาจ่ายหนี้ที่แน่นอน และได้ให้คำแนะนำสำหรับการจ่ายนี้ไปแล้ว
    • คุณควรใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมามากขึ้น และแสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วน พูดด้วยวลีประมาณว่า “คุณต้องจ่ายคืนเดี๋ยวนี้” หรือ “เรื่องนี้ถึงเวลาที่จะต้องแก้ไขให้ลุล่วง” จะช่วยให้ลูกหนี้รู้ว่าคุณนั้นจริงจัง และคุณไม่เต็มใจที่จะต่อรองในภายภาคหน้า
    • พูดถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นถ้าไม่จ่ายหนี้อย่างชัดเจน ให้ลูกหนี้ได้รู้ว่าคุณมีแผนการอะไรถ้าคุณไม่ได้รับเงินคืนในเวลาที่กำหนด และเตรียมตัวที่จะทำตามนั้น
  5. เพิ่มความรุนแรงของกิจกรรมการทวงหนี้ขึ้นเรื่อยๆ. ถ้าคุณไม่ได้รับเงินคืนเลยหลังจากที่ได้ติดต่อขอให้จ่ายหนี้แล้ว นั่นหมายความมีโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่มีเงินหรือมีเงินแต่ไม่รู้สึกว่าจะต้องจ่ายคืน ดังนั้น คุณจะต้องทำให้พวกเขาเห็นความสำคัญของคุณโดยการติดต่อไปทางโทรศัพท์ จดหมาย อีเมล หรือบุคคลหลายๆ ครั้ง แล้วพวกเขาจะตัดสินใจจ่ายหนี้คุณก่อนที่จะจ่ายให้กับคนอื่น (หรือหนีไป)
  6. การจ้างบุคคลที่สามในการทวงหนี้จะทำให้ลูกหนี้รู้ว่าคุณจริงจัง และอาจจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งจากการติดต่อและการจ่ายหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จัดเก็บหนี้สิน (Collection agencies) จะคิดค่าจ้างมากถึง 50% ของจำนวนหนี้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องตัดสินใจให้ดีว่าเงินอีกส่วนที่จะได้รับนี้เป็นจำนวนเงินที่ได้ดีกว่าไม่ได้อะไรเลยหรือไม่ [3]
    • ถ้าค่าจ้างเจ้าหน้าที่จัดเก็บหนี้สินสูงเกินไป คุณอาจจะพิจารณาข้ามขั้นตอนนี้ และใช้การฟ้องร้องคดีมโนสาเร่แทน (Small claims court)
  7. ถ้าคุณกำลังทวงหนี้ของตัวเอง อาจจะมีการกระทำบางอย่างที่ผิดกฎหมาย มีพระราชบัญญัติที่คุณสามารถปรับใช้กับตัวเองได้ถ้าคุณพิจารณาเจ้าหน้าที่จัดเก็บหนี้สิน (Debt collector) นั้นอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดเก็บหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม (Fair Debt Collection Practices Act) ในสหรัฐอเมริกา หรือพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ในประเทศไทย ซึ่งคุณอาจจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้ ดังนั้น คุณต้องทำตามกฎหมายในที่ที่คุณอยู่ด้วย เพราะสถานที่ต่างกัน กฎหมายก็ต่างกันไป อย่างไรก็ตาม คุณควรจะหลีกเลี่ยงการกระทำดังต่อไปนี้:
    • โทรศัพท์ไปในเวลาที่ไม่เหมาะสม
    • คิดเงินเพิ่มเติม
    • ตั้งใจยืดเวลาการทวงหนี้เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่าย
    • บอกเรื่องหนี้สินกับผู้ว่าจ้างของลูกหนี้
    • โกหกเรื่องหนี้สิน
    • ปฎิบัติตัวกับลูกหนี้ในทางที่ผิด [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ดำเนินการทางกฎหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ลองตรวจสอบกฎหมายประจำจังหวัดหรือเว็บไซต์ของศาลประจำจังหวัดเพื่อพิจารณาว่าคุณสามารถยื่นฟ้องได้หรือไม่ โดยจำนวนเงินที่ใช้ยื่นฟ้องได้จะอยู่ที่ประมาณ 70,000 – 700,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่คุณอยู่ [5] คุณสามารถหาเว็บไซต์ของศาลและกฎหมายได้โดยการเข้าผ่านลิงก์ของศาลแห่งชาติ [ state court directory ] (ในประเทศไทย คดีมโนสาเร่หมายถึงคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท ดังนั้น จำนวนเงินที่ใช้ยื่นฟ้องได้จะต้องไม่เกิน 300,000 บาท)
    • ถ้าคุณต้องขึ้นศาล ให้เตรียมตัวสำหรับพิจารณาคดี (Hearing) ให้ดี ถ้าคุณมีหนังสือสัญญา (Contract) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) หรือหลักฐานแสดงการเป็นหนี้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทำสำเนาเอาไว้ให้พอดีที่จะแจกจ่ายให้กับผู้พิพากษา ลูกหนี้ และทนายของลูกหนี้ด้วย นอกจากนี้ คุณควรที่จะทำสำเนาหลักฐานอื่นๆ ที่คุณต้องใช้ในลักษณะเดียวกันด้วย
    • การขึ้นศาลเป็นขั้นตอนที่ร้ายแรง ตรวจสอบดูว่าจำนวนเงินนั้นมีค่าพอที่จะกระทบกระทั่งกันถึงกับต้องขึ้นศาลหรือไม่ ถ้าลูกหนี้ของคุณเป็นเพื่อนหรือญาติ การฟ้องร้องก็จะส่งผลกระทบด้านลบต่อความสัมพันธ์ได้
  2. ถ้าคุณฟ้องศาลคดีมโนสาเร่ไม่สำเร็จ หรือไม่สามารถฟ้องร้องได้ ให้ไปยังศาลประจำจังหวัด แล้วปรึกษาหรือจ้างนักกฎหมาย ยื่นแบบฟอร์มที่ถูกต้อง แล้วเตรียมตัวสำหรับวันนัดขึ้นศาลพร้อมกับหลักฐานที่คุณรวบรวมได้
    • การขึ้นศาลนั้นมักจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง พิจารณาค่าใช้จ่ายในการขึ้นศาลและจ้างนักกฎหมาย แต่ถ้าคุณฟ้องร้องสำเร็จ การดำเนินคดีก็คุ้มค่ากว่าการใช้เจ้าหน้าที่จัดเก็บหนี้สิน [6]
    • การดำเนินคดีทางกฎหมายนั้นเพียงพอที่จะทำให้คนอื่นจ่ายเงินคืนได้ แต่คุณควรที่จะทำสัญญาการกู้ยืมเงินก่อน ถ้าคุณต้องการที่จะทำตามขั้นตอนนี้ให้สำเร็จ
  3. เมื่อคุณได้รับการตัดสินจากศาล แต่พวกเขาก็ยังไม่จ่ายเงินคืนคุณ คุณอาจจะขอหมายเรียกตัว (Petition for Citation) เพื่อกล่าวหาลูกหนี้ว่ามีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล (Contempt of court) การยื่นขอหมายเรียกตัวพร้อมกับหนังสือแสดงความต้องการที่จะพิจารณาคดี (Notice of Hearing) จะทำให้ศาลนัดพิจารณาคดี ซึ่งจะเป็นการบังคับให้ลูกหนี้กลับมายังศาลเพื่ออธิบายว่าทำไมพวกเขาถึงไม่จ่ายหนี้คืน
    • ในการพิจารณาคดีนั้น คุณควรจะขอความอนุญาตจากศาลให้ยึดรายได้ของลูกหนี้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รับเงินคืน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากที่ผ่านกระบวณการสอบถาม (Inquiring) ร้องขอ (Demanding) และติดตามหนี้สินของคุณ(Suing) แล้ว ลูกหนี้ของคุณจะถูกบังคับให้จ่ายคืน ซึ่งบางครั้งแค่การสอบถามก็ใช้ได้ผลแล้ว แต่ในบางกรณี คุณอาจจะต้องใช้ขั้นตอนขอคำสั่งศาลเพื่อให้ได้เงินคืน เช่น การขอหมายบังคับคดี (Writ of Execution) หรือขอใช้สิทธิยึดหน่วง (Lien)
    • ถ้าเหตุการณ์ล่วงเลยไปถึงชั้นศาล และคุณได้จ้างนักกฎหมายสำหรับสู้คดีแล้ว คุณควรที่จะปรึกษากับนักกฎหมายเพื่อหาแนวทางการดำเนินการที่ได้ผลดีที่สุด
  2. เมื่อคุณได้รับการอนุญาตจากศาลในการยึดรายได้ของลูกหนี้แล้ว การค้นหาผู้ว่าจ้างของลูกหนี้คืองานของคุณ วิธีที่ง่ายที่สุดในการค้นหาก็คือถามลูกหนี้โดยตรง แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยอมบอกคุณ คุณอาจจะต้องส่งชุดคำถามเป็นลายลักษณ์อักษรของคู่ความ (Set of interrogatories) ซึ่งเป็นคำถามที่ต้องเขียนตอบภายใต้คำสาบาน ให้ตรวจสอบเว็บไซต์ของศาลประจำจังหวัดเพื่อหาแบบฟอร์มคำถามเป็นลายลักษณ์อักษรของคู่ความ
  3. เมื่อคุณคิดว่าคุณพบกับผู้ว่าจ้างคนปัจจุบันของลูกหนี้แล้ว คุณก็ส่งชุดคำถามดังกล่าวให้กับผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นการยืนยันว่าลูกหนี้คนนั้นถูกว่าจ้างและค่าจ้างของลูกหนี้ยังไม่ถูกยึดเกินกว่าจำนวนที่กำหนด
  4. หลังจากที่ได้รับการยืนยันจากผู้ว่าจ้างของลูกหนี้แล้ว คุณสามารถที่จะขอคำสั่งยึดทรัพย์จากศาลได้ (Order of garnishment) ซึ่งคำสั่งจะถูกส่งไปยังผู้ว่าจ้างเพื่อเริ่มต้นยึดค่าจ้างของลูกหนี้
    • ในแต่ละที่ก็จะมีกฎหมายในการยึดรายได้ที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ศึกษากฎหมายในที่ที่คุณอยู่ให้ชัดเจน [7]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่ารู้สึกผิดกับการทวงเงินที่เป็นของคุณ คุณไม่ได้ไม่รักษาสัญญา ลูกหนี้ต่างหากที่ละเมิดสัญญา และคุณมีสิทธิ์ที่จะเรียกเงินคืนทุกประการ
  • จำไว้ว่าให้ใจเย็นและอย่าโกรธ ลูกหนี้ควรจะต้องโกรธเพราะพวกเขาไม่ตั้งใจที่จะใช้หนี้คืนเอง การเป็นคนหนักแน่นแต่สุภาพจะช่วยให้คุณได้รับเงินคืนได้ง่ายขึ้น
  • ถ้าบุคคลหรือธุรกิจนั้นมีความยากลำบากในการจ่ายเงินคืน คุณควรจะระมัดระวังในการร่วมงานกับพวกเขาในภายภาคหน้า
  • บันทึกเอกสารในช่วงที่คุณติดตามหนี้สิน โดยเฉพาะถ้าเหตุการณ์ล่วงเลยไปถึงชั้นศาล สำหรับการทำรายการค้านั้น พยายามรักษาเอกสารทางกฎหมายเอาไว้เสมอเมื่อเป็นไปได้
  • กระบวนการเรียกเก็บหนี้สินในบทความนี้นั้นเป็นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานเท่านั้น จำไว้ว่าแบบฟอร์มเฉพาะทางที่คุณต้องยื่นต่อศาลในที่ที่คุณอยู่นั้นมีความหลากหลายและกระบวนการอาจจะเป็นไปในรูปแบบที่ต่างกัน ดังนั้น ศึกษาให้ดีก่อนที่ดำเนินคดีหรือจ้างนักกฎหมาย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณกำลังเรียกเก็บหนี้สินทางธุรกิจ ดูให้ดีว่าคุณได้ทบทวนพระราชบัญญัติการจัดเก็บหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา ( https://www.ftc.gov/enforcement/rules/rulemaking-regulatory-reform-proceedings/fair-debt-collection-practices-act-text ) หรือพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ในประเทศไทย และกฎหมายที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่คุณอยู่ ไม่อย่างนั้นคุณจะลงเอยที่การรับผิดชอบด้วยตัวเอง
  • ระวังการเปิดเผยเรื่องราวให้กับคนอื่นที่ไม่ได้จ่ายหนี้คืนให้กับคุณ เพราะคุณอาจจะต้องรับผิดชอบต่อการหมิ่นประมาทหรือกล่าวหาโดยขึ้นอยู่กับสถานกาณณ์นั้นๆ
  • ถ้าลูกหนี้ขอให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ (Bankruptcy protection) คุณจะต้องถอนฟ้องการเรียกหนี้สินคืนทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดพระราชบัญญัติการล้มละลายและกฎหมายการเรียกเก็บหนี้สิน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 36,052 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา