ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณมีเนื้อเรื่องยอดเยี่ยมอยากจะบอกใครในแบบพร้อมรูปและเรื่องหรือเปล่าละ ทำไมไม่ลองเขียนหนังสือการ์ตูนออกมาดู สำหรับตัวช่วยเรื่องการสเก็ตช์ พัฒนาตัวละคร เขียนเนื้อเรื่องที่จับใจ และรวมองค์ประกอบทั้งหมดเหล่านี้ออกมาในรูปแบบของหนังสือ ใช้คำแนะนำต่อไปนี้ได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ทำการสเก็ตช์คร่าวๆ เบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เนื่องจากตัวละครของหนังสือการ์ตูนนั้นจะถูกนิยามตามรูปร่างหน้าตาที่วาดออกมาเป็นอย่างมาก การสเก็ตช์คร่าวๆ จึงเป็นวิธีที่ดีในการหาแรงบันดาลใจให้ตัวเองที่จะสร้างตัวละครที่มีความโดดเด่น และอาจมีผลช่วยคุณเรื่องโครงเรื่องด้วย คุณสามารถเริ่มด้วยดินสอ สีเทียน หรือกระทั่งโปรแกรมวาดภาพในคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับว่าอะไรกระตุ้นไฟในการสร้างงานของคุณมากกว่ากัน
  2. ฝึกวาดตัวละคร สถานที่ และวัตถุที่จะอยู่ในเรื่องของคุณ. มืออาชีพจะเรียกมันว่า "แผ่นแสดงภาพตัวแสดง (model sheets)" ยิ่งคุณฝึกปรือ ภาพวาดจะยิ่งมีความคงเส้นคงวา ทำให้ผู้อ่านสามารถ "อ่าน" งานวาดของคุณได้ง่ายขึ้น ให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าตัวละครแต่ละตัวจะดูหน้าตาท่าทางเป็นอย่างไรในทุกมุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านจดจำตัวละครนั้นได้ ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นรอบตัวละครเหล่านั้นบนหน้ากระดาษก็ตาม
  3. ฝึกวาดการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า ท่าทางที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ต่างๆ ของตัวละครแต่ละตัว. มันจะช่วยให้คุณสร้างตัวละครที่ดูเนียนขึ้น และจะช่วยให้คุณได้ลองเทคนิคอะไรใหม่ๆ ด้วย ในการฝึกนั้นให้วาดตัวละครด้วยความรู้สึกที่สำคัญที่สุดสี่อารมณ์ (สุข โกรธ เศร้า และกลัว) ออกมาแตกต่างกันหกแบบ (สุขเบาๆ ค่อนข้างมีความสุข มีความสุข มีความสุขมาก มีความสุขเหลือล้น มีความสุขแบบสุขสุดๆ ไปเลย) นี่เป็นวิธีที่ดีใรการฝึกการแสดงออกทางสีหน้าของตัวละคร เนื่องจากหนังสือการ์ตูนนั้นเต็มไปด้วยการกระทำต่างๆ คุณจำเป็นต้องวาดตัวละครแต่ละตัวออกท่าออกทางต่างๆ นานาได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

พัฒนาตัวละคร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพัฒนาปูมหลังกับบุคลิกของตัวละครเป็นสิ่งสำคัญในการทำหนังสือการ์ตูนดีๆ สักเรื่อง แม้กระทั่งหากคุณเลือกจะไม่เปิดเผยรายละเอียดให้คนอ่านได้รู้ในจุดนั้นก็ตาม (เช่น วูล์ฟเวอรีน) คุณจำเป็นต้องรู้สึกถึงรากฐานที่มาของตัวละครตัวนั้น เพื่อจะได้ทำให้พฤติกรรมของพวกเขาดูสมจริงและเป็นระบบ ประสบการณ์ในอดีต ชัยชนะ ความเจ็บปวด และความล้มเหลวที่ผ่านมาควรจะบ่งบอกปฏิกิริยาของพวกเขาในการรับมือสถานการณ์ใหม่ ถ้าตัวเอกในเรื่องของคุณเป็นพวกซูเปอร์ฮีโร่ ให้อ่านบทความวิธีสร้างซูเปอร์ฮีโร่ในวิกิฮาว นอกเหนือจากนั้น ให้อ่านบทความวิธีสร้างตัวละครขึ้นมาจากความคิด
    • พัฒนาบุคลิกของศัตรู/คู่แข่ง/ฝ่ายเลว แต่ไม่ต้องลงลึกไปจนถึงเนื้อเรื่อง การให้คำอธิบายตัวร้ายที่มากจนเกินไปจะทำให้พวกมันขาดลับลมคมใน (ซึ่งนี่แหละคือเหตุผลที่ทำให้ตัวร้ายอย่างโจ๊กเกอร์ยังดูช่างน่าสนใจ) และทำให้จุดขัดแย้งของเรื่องดูน่าเบื่อไปเลย นอกเหนือจากนั้น เนื่องจากหนังสือการ์ตูนต้องบอกหลายๆ อย่างภายในเวลาที่จำกัด จึงไม่มีเวลาให้ผู้อ่านถูกตัวละครอื่นที่ไม่ใช่ตัวเอกมาแย่งความสนใจ ในตัวอย่างของการ์ตูนเช่น Biowars ตัวเอกนั้นจริงๆ แล้วเป็นพวกสิ่งมีชีวิตทางชีวภาพ ดังนั้นอย่ารู้สึกเหมือนถูกบังคับให้ต้องดำเนินโครงเรื่องยึดแค่มนุษย์หรือสัตว์ประหลาด
  2. ทำตัวละครที่ต่างกันให้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน. ถ้าคุณเป็นมือใหม่ มันอาจเป็นเรื่องยากที่คุณจะวาดลักษณะใบหน้าจำเพาะให้แก่ตัวละครแต่ละตัว แล้วคุณก็ไม่อยากทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนว่าตัวไหนเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายร้าย หากตัวเอกฝ่ายดีมีผมสั้นสีบลอนด์ ก็ให้อีกฝ่ายไว้ผมยาวสีดำ ถ้าตัวเอกใส่กางเกงขาสั้นกับเสื้อยืด ให้อีกฝ่ายใส่กางเกงยีนส์กับเสื้อโค้ท (หรืออะไรอย่างอื่น) ให้เสื้อผ้าของตัวละครตรงตามอุปนิสัยใจคอโดยทั่วไปของเขาด้วยถ้าเป็นไปได้ เช่น เสื้อผ้าแนวเด็กซ่า เป็นต้น
  3. ถ้านี่เป็นงานชิ้นแรก อย่าใส่ตัวละครเข้าไปมากจนเกินไป. ความผิดพลาดที่พบเห็นได้บ่อยอย่างหนึ่งในงานเขียนมือใหม่ก็คือมีตัวละครมากจนเกินไป จนทำให้คนอ่านเลิกสนใจในเรื่องราวของตัวละครหลัก จงทำเรื่องให้เรียบง่าย สำหรับเรื่องที่สั้นมากนั้นมีตัวละครแค่สามตัวก็พอแล้ว มันอาจเป็นตัวเอก ตัวร้าย แล้วก็ผู้ช่วยตัวเอกถ้าเรื่องของคุณเป็นการตามล่าหาอะไรสักอย่าง หรืออาจเป็นตัวเอก ตัวร้าย แล้วก็คนที่ตัวเอกหลงรักถ้าหากเรื่องของคุณเป็นแนวรัก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ปั้นเค้าโครงเรื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติก็มักจะเป็นตัวเอก แต่ถ้าเกิดตัวร้ายของคุณดูน่าดึงดูดใจเป็นอย่างยิ่ง คุณอาจจะอยากเปิดเรื่องด้วยเขาก็ได้ (โดยเฉพาะถ้าหากคุณต้องการวางโทนเรื่องให้ดูน่าหวาดกลัว ย่ำแย่ หรือเสื่อมสลาย) คุณต้องปกปิดว่าเขาเป็นใครและชีวิตเขาเป็นอย่างไรในจุดนี้ก่อนเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับเขามากขึ้น จำไว้ว่าต้องปกปิดรายละเอียดสำคัญในชีวิตของตัวละครนั้นทั้งหมด คุณอาจคิดถึงเค้าโครงเรื่องมานานจนเข้าใจทะลุปรุโปร่ง หากแต่ผู้อ่านนั้นกำลังค้นพบเรื่องราวและอาจไม่เข้าใจได้ดีนักถ้าคุณเล่าข้ามรายละเอียดบางอย่างไป
  2. แนะนำองค์ประกอบที่จะเป็นการเริ่มต้นเรื่องราว. มันอาจเป็นอะไรบางอย่างที่มารบกวนชีวิตประจำวันของตัวละครหลัก ให้แน่ใจว่าได้แสดงให้เห็นว่าทำไมมันถึงได้แตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติของตัวละครคนนั้น
  3. นี่คือการผจญภัยของตัวละครในการแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้กลับมาถูกต้อง (หรือถ้าคุณเลือกแนวแอนตี้ฮีโร่ ก็อาจเป็นการทำให้มันผิดพลาด) นี่คือส่วนที่คุณสามารถเติมความซับซ้อนหักมุมให้ผู้อ่านเกิดสนใจติดตามอ่านต่อ จำไว้ว่าคุณต้องการดึงความสนใจของเขาแต่ไม่ต้องการทำให้เขาเลิกอ่าน ฉะนั้นรักษาความคิดที่ว่าโลกของตัวเอกกำลังพัฒนาเดินหน้าไปด้วย
  4. นี่คือส่วนที่ตัวละครหลักจำต้องเลือกหรือไม่ก็ถ฿กบีบบังคับให้เข้าสู่การเผชิญหน้าครั้งใหญ่ที่จะทำให้ชีวิตของทุกคนในเรื่องเปลี่ยนไปตลอดกาล หลีกเลี่ยงความคิดยวนใจที่อยากแสดงความเก่งกล้าสามารถของตัวเอกจนทำให้ชัยชนะนั้นได้มาอย่างง่ายดายเกินไป การเผลิญหน้าที่ดีที่สุดนั้นจะต้องเป็นแบบที่ทั้งสองฝ่ายมีความทัดเทียมกันและผู้อ่านรู้สึกหวั่นกลัวที่จะต้องสูญเสียตัวละครที่ตนเองรักไป นี่จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้อ่านต้องหยุดกลั้นลมหายใจระหว่างดูว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
  5. นี่จะเป็นช่วงที่ผู้อ่านได้เห็นทุกอย่างคลี่คลายกลับคืนสู่ปกติ ให้แน่ใจว่าตอนจบนั้นได้ให้ความรู้สึกของการทำอะไรสำเร็จ ได้ปลดปล่อยอารมณ์ออกมาหมด ถ้าคุณคิดว่ามันได้ผล มันก็ควรได้ผลต่อผู้อ่านด้วย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ทำหนังสือการ์ตูนให้เสร็จเป็นรูปเล่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อช่วยคุณง่ายขึ้นให้เขียนเส้นเวลาในแต่ละเหตุการณ์หรือแต่ละขั้นตอนในเรื่องแล้วเขียนคร่าวๆ ว่าคุณจะใช้หน้ากี่หน้าให้กับแต่ละเหตุการณ์ การทำเช่นนี้จะทำให้คุณไม่ได้ทำผิดพลาดด้วยการไปใช้หน้าเขียนเหตุการณ์ที่ไม่มีความสำคัญจนได้หน้าเกินหน้าจุดไคลแม็กซ์ จากนั้นทำภาพตัวอย่างขนาดเล็กตามการแจกจ่ายเหตุการณ์แต่ละอย่าง มันไม่จำเป็นต้องเป็นบทเต็มตามที่คุณเขียน ภาพตัวอย่างนั้นเป็นแค่ภาพร่างคร่าวๆ ขนาดเล็กของแต่ละหน้า ใช้ภาพตัวอย่างนี้สำหรับการ "แตกพล็อต" คือตัดสินใจว่าคุณจะเล่าเรื่องแค่ไหนในแต่ละหน้าและในแต่ละช่อง คิดถึงว่าคุณจะประกอบภาพแต่ละช่องและเสนอประเด็นให้ผู้อ่านได้รับรู้อย่างไร อย่ากลัวที่จะลองทำภาพตัวอย่างหลายๆ แบบ เนื่องจากมันมมีขนาดเล็กและเป็นเพียงแบบร่าง คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลามากมายนักเท่ากับตอนที่คุณลงมือวาดแต่ละหน้าจริงๆ
  2. รวบรวมมัน (ตามลำดับเรื่อง) โยนทิ้งอันที่คัดตกไป และเพิ่มช่องที่มันจำเป็น หากคุณชอบบางด้านของช่องที่ถูกคัดทิ้งไปแล้ว ให้แน่ใจว่าสามารถตามรอยมันกลับมาได้ในการลองครั้งอื่น
  3. วาดกรอบของแต่ละช่องสำหรับหน้าในขั้นตอนสุดท้าย. ใช้ภาพตัวอย่างขั้นสุดท้ายเป็นไกด์ ขั้นตอนนี้ยังพอยืดหยุ่นอะไรได้ เมื่อคุณเริ่มวางภาพขั้นสุดท้ายลงในพื้นที่หน้ากระดาษเปล่า คุณอาจตัดสินปรับเปลี่ยนจากภาพตัวอย่างว่าส่วนไหนควรใหญ่ขึ้น หรือเล็กลงหรือควรเน้นย้ำมากขึ้นหรือน้อยลง นี่เป็นช่วงเวลาในการตัดสินใจครั้งสุดท้าย
  4. คุณอาจจะรู้สึกอยากวาดภาพก่อน แต่คุณจำเป็นต้องแน่ใจก่อนว่ามีพื้นที่พอสำหรับช่องเขียนข้อความหรือก้อนความคิด การวางแผนล่วงหน้าว่าจะใส่ข้อความไว้ตรงไหนจะช่วยให้ไม่ต้องมาปวดหัวในภายหลัง
  5. ให้แน่ใจว่าทุกอย่างในภาพแต่ละช่องนั้นชัดเจนและสื่อสารได้อย่างที่ใจคุณต้องการ ดูว่าภาพวาดนั้นมีตัวละครแน่นเอี๊ยดจนเบียดตัวหนังสือให้ไปอัดแน่นกันอยู่ตรงมุมด้านใดด้านหนึ่งจนอ่านยากหรือเปล่า บอลลูนคำพูดไปเบียดบังรายละเอียดสำคัญของภาพหรือไม่ ทุกอย่างชัดเจนเข้าใจง่ายหรือเปล่า นี่คือขั้นตอนที่เรียกว่า "ลงดินสอ" พยายามใช้ดินสอที่เพิ่งเหลามาเพื่อคนจะอ่านการ์ตูนคุณได้ บางทีดินสอกดก็ใช้ได้ดี ศิลปินบางคนใช้ดินสอสีฟ้าที่ทำซ้ำไม่ได้มาใช้ร่างตัวละครกับการออกแบบภาพในช่อง เหตุผลก็คือดินสอที่มีเส้นบางสีฟ้านี้จะถ่ายเอกสารหรือพิมพ์ขาวดำไม่ติด จึงไม่จำเป็นต้องมาลบเส้นพวกนี้ในภายหลัง โดยคุณสามารถใช้ดินสอลงรายละเอียดเพิ่มเติม ลงเส้ยให้บางเบาเพราะเส้นที่เกินมาจากตอนลงหมึกจะปรากฏให้เห็นในหน้ากระดาษตอนสุดท้าย
    • จำไว้ว่าให้หาใครสักคนมาอ่านทวนแต่ละหน้าเพื่อความมั่นใจว่ามันชัดเจนดีแล้ว ถ้าเพื่อนดันถามขึ้นว่า "ตรงนี้นายตั้งใจจะหมายความว่าอะไร " หรือ "ตัวละครตัวนี้มาอยู่ที่นี่ได้ไงอ่ะ " แสดงว่าหน้านั้นยังวาดได้ไม่ชัดเจนพอ
  6. เติมรายละเอียดให้ตัวละคร วัตถุ และฉากหลัง
  7. ลงหมึกในหน้าที่เสร็จแล้วถ้าต้องการเช่นนั้น. ศิลปินบางคนวาดด้วยดินสอก็จบเลย ("Hero bear and the Kid" เป็นตัวอย่าง) อย่างไรก็ดี การ์ตูนส่วนใหญ่จะลงหมึกทับร่างดินสอ ใช้อะไรก็ได้ที่คุณรู้สึกถนัดมือ หรือส่งต่อให้คนอื่นมาลงหมึกให้แทน (เหมือนที่บริษัทใหญ่มักทำกัน) ใช้ปากกาเคมี Penstix, ปากกาเขียนแบบ หรือปากกาคอแร้ง แปรง และหมึกอินเดียอิงค์ทำภาพให้มีชีวิตขึ้นมา ใส่ใจในน้ำหนักของลายเส้นให้มาก โดยทั่วไป เส้นขอบนอกหรือเส้นสัณฐานจะหนากว่า ในขณะที่ส่วนรายละเอียดเช่นเส้นแสดงสีหน้าหรือรอยยับย่นของเสื้อผ้าจะบางกว่าและละเอียดกว่า ลงหมึกตัดเส้นขอบ
  8. การใส่ตัวอักษรถือว่าสำคัญมาก มันจะบอกเล่าเรื่องราวคนละครึ่งกับภาพ การลงตัวอักษรด้วยมืออาจกินเวลาและยากเย็น แต่ถ้าตกอยู่ในมือของคนลายมือสวยแล้วจะดูน่าตื่นตามาก ใช้ดินสอร่างตัวหนังสือก่อน เพราะไม่มีอะไรจะดูแย่ไปกว่าการที่ตัวหนังสือมันเกินบอลลูนคำพูดออกมาอีกแล้ว หรืออาจพิจารณาใช้โปรแกรม Word หรือที่คล้ายคลึงกัน และฟอนต์อย่าง Comic Sans ก็ทำให้ตัวอักษรดูสมบูรณ์แบบและอ่านง่าย อย่าลืมตรวจคำสะกดผิด!! หลักไวยากรณ์ถือว่ามีความสำคัญในงานเขียน
  9. มันไม่ได้ง่ายเหมือนที่ได้ยินหรอกนะ ถ้าคุณมีชื่อพร้อมรอท่าอยู่แล้วก็ถือว่าดี แต่ถ้ายังไม่มี ลองเริ่มเขียนคำที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับตัวเรื่องให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลองเขียนสัก 50 ถึง 100 คำถ้าเรื่องไม่ยาว หรือ 100 ถึง 200 คำถ้าเรื่องมันยาว (ฟังดูน่าเบื่อก็ใช่อยู่หรอก แต่มันจะขยายจินตนาการของคุณและบังคับให้คุณคิดอะไรออกมาในเชิงสร้างสรรค์ได้) จากนั้นรวมคำเข้าด้วยกันออกมาเป็นชื่อเรื่องหลายๆ ชื่อ เลือกชื่อที่คุณชอบที่สุด และให้เพื่อนคอยเสนอแนะ การมีความคิดเห็นที่สองสามสี่ห้าคอยช่วยนั้นดีเสมอ ถามพวกเขาดูว่าอยากอ่านการ์ตูนชื่อเรื่องอะไรที่สุด
  10. 10
    ตัดสินใจว่าจะตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนเรื่องนี้หรือไม่. ถ้ามันออกมาดี คุณอาจสามารถขายมันตามงานคอมิกคอน ถ้าผลออกมาไม่ค่อยเข้าท่า (หรือคุณไม่สนใจจะตีพิมพ์) คุณสามารถนำไปลงในหน้าเฟสบุ๊คหรือจับใส่ใน YouTube แทนก็ได้!
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่ากลัวที่จะเริ่มเรื่องหรือวาดหน้าใหม่เมื่อรู้สึกว่ามันไม่เข้ากัน งานที่ทำไปนั้นยังไงก็มีประโยชน์ถึงคุณจะรู้สึกว่าสูญเปล่าก็ตาม จำไว้ว่ายิ่งฝึกฝีมือก็ยิ่งแจ๋วขึ้น
  • พยายามคิดให้ถี่ถ้วนก่อนจะวาดหรือเขียนอะไร คุณคงไม่ต้องการวาดอะไรที่ไม่คล้ายกับสิ่งที่มีอยู่ในใจหรอก
  • อย่าทำให้เรื่องยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป ถ้ามันสั้นเกิน คนที่สนใจจะรู้สึกผิดหวัง แต่ถ้ายาวเกินไปและซับซ้อนมาก ผู้อ่านก็จะหมดความสนใจไปได้
  • ในระหว่างที่เขียนหนังสือการ์ตูน พยายามรักษาสมดุลระหว่างจำนวนแอคชั่นกับจำนวนบทพูด การมีแอคชั่นมากไปอาจทำให้ดูไม่มีสาระ การมีคำพูดมากเกินไปก็ดูน่าเบื่อไม่ชวนอ่าน
  • หาคนอื่นมาอ่านทวนเรื่องอยู่เรื่อยๆ อย่ากลัวในคำวิจารณ์ มันเป็นเรื่องยากที่จะหาใครมาชี้จุดที่ไม่เข้ากันในสิ่งที่คุณตั้งใจลงมือทำ แต่มันก็ยังจำเป็นอยู่ดี จำไว้ว่าไม่ได้มีแต่ความคิดคุณคนเดียวที่ถูกเสมอไป
  • เตรียมตัวให้พร้อมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงเสมอ คุณจะอยากทำมันในจุดหนึ่ง ไม่ว่าจะอยากวาดตัวละครให้ดูดีขึ้น หรือเติมลูกเล่น เรื่องของเรื่องก็คืออย่าเพิ่งทำอะไรที่มันคงทนจนแก้ไขไม่ได้ เช่น ลงสี รอจนกระทั่งคุณพอใจกับมันแล้วจะดีกว่า
  • เขียนตัวหนังสือก่อน แล้วค่อยวาดบอลลูนล้อมรอบ
  • ถ้าคุณใช้หมึก ให้แน่ใจว่ารอจนหมึกแห้งก่อนพลิกหน้า ไม่งั้นหมึกได้เลอะแน่
  • ค่อยๆ ดำเนินเรื่องไป แนะนำตัวละคร เติมฉากแอคชั่นหรือตื่นเต้น อย่าทำให้เรื่องซับซ้อนเกินเหตุ และให้แน่ใจว่าผู้อ่านจะชอบ
  • การทำหนังสือการ์ตูนเป็นกระบวนการที่กินเวลานาน ถ้าคิดจะเอาจริงก็ต้องมีช่วงพักบ้าง เผลอๆ อาจมีไอเดียใหม่เกิดขึ้น แทนที่จะบังคับตัวเองฝืนทำไป
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเพิ่งหมดกำลังใจถ้าเรื่องหรือภาพที่วาดไม่ได้ดีเหมือนที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก ยิ่งฝึกฝีมือก็ยิ่งพัฒนา คุณไม่ได้เริ่มต้นแล้วสมบูรณ์แบบเลยหรอกนะ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,206 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา