PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เหนื่อยหน่ายกับการต้องเข้าสอบอย่างฉุกละหุก แถมจำเนื้อหาที่อ่านมาเมื่อคืนไม่ได้เลยใช่มั้ย? แต่มันจะง่ายในการจดจำทุกอย่างที่จำเป็น ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำแบบเฉพาะตัว บนพื้นฐานที่ว่า คุณอยู่ในโหมดเรียนรู้แบบใดเป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดที่คุณต้องทำ ก็แค่ประเมินดูว่าตนเองตรงกับโหมดใดที่สุด ไม่นานนัก คุณก็สามารถจะจดจำรัฐธรรมนูญได้ทั้งฉบับเลยทีเดียว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ผู้ถนัดเรียนรู้ผ่านการได้ยิน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณเรียนรู้ด้วยการฟังถนัดที่สุด และสามารถจดจำข้อมูลได้มากหากมีใครพูดให้ฟัง ก็แสดงว่าคุณเป็นผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้ยิน และคุณอาจจะตัดสินสรุปจากคุณลักษณะดังนี้ร่วมด้วย:
    • คุณสามารถจดจำเนื้อหาที่คุณได้ยินเวลาสนทนาหรือฟังเลคเชอร์ได้แม่นยำในรายละเอียด
    • คุณจดจำคำศัพท์ได้มากมาย ชอบเล่นคำศัพท์ และมีทักษะด้านภาษาสูงมาก หรือเรียนภาษาใหม่ได้เร็ว
    • คุณเป็นนักพูดที่ดี สามารถดำเนินบทสนทนา และถ่ายทอดแนวคิดของตัวเองได้ดี
    • คุณมีทักษะพรสวรรค์ด้านดนตรี และทักษะในการแยกโทนเสียง จังหวะ รวมถึงตัวโน้ตแต่ละตัวในคอร์ดหรือในการเล่นเป็นวง
  2. สแกนเนื้อหาทั้งหมดคร่าวๆ เพื่อดูว่าคุณจะต้องอ่านเรื่องอะไรบ้าง หากมันมีเนื้อหายาวมาก ก็แตกย่อยเป็นส่วนๆ
    • ค้นหาและสังเกตความเชื่อมโยงบางอย่างที่เข้าเค้า ระหว่างเนื้อหาดังกล่าวกับสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้ว เทคนิคนี้เรียกว่า การจำด้วยความเชื่อมโยง ความเชื่อมโยงดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสมเหตุสมผล ขอแค่ให้มันจำง่าย (น่าสนใจ สนุก และเพลิดเพลิน) และทำให้รู้สึกดีก็พอ ตัวอย่างเช่น หากคุณจะจำข้อความในมาตราที่ 1 ของรัฐธรรมนูญไทย ที่กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” คุณก็อาจจะจำภาพแผนที่ประเทศไทยหรือขวานสีทองเอาไว้ โดยจินตนาการว่ามันเป็นรูปคล้ายเลข 1 ด้วย
    • นำตัวอักษรแรกของรายชื่อที่คุณต้องการจะจำ มาทำเป็นตัวย่อของคำอื่น และสร้างประโยค ตัวอย่างการสร้างประโยค ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า เช่นประโยคที่ว่า “ชิดชัยมิลังเล เพียงพบอนงค์” ซึ่งใช้จำจังหวัดทางภาคเหนือของไทยทั้ง 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน
    • สร้างเรื่องราวที่น่าสนใจด้วยให้กับตัวละคร โดยเชื่อมโยงกับสิ่งที่คุณต้องการจำ เช่น หากคุณมักสับสนระหว่างชื่อทางแยกต่างๆ ที่มีชื่อคล้ายกันในตัวเมือง หรืองงว่าแยกไหนถึงก่อน-ถึงหลัง คุณก็อาจจะใส่ชื่อเพื่อนของคุณที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเข้าไป เพื่อให้เห็นภาพหรือนึกออกได้ง่ายขึ้น เช่น ป๋อง รัชวิภา, ต้อม รัชโยธิน, และ บอย รัชดาลาดพร้าว เป็นต้น
    • สร้างภาพร่างคร่าวๆ หรือพอเหมาะ ให้พรรณาเกี่ยวกับกับเรื่องที่คุณต้องการจดจำ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการจำคำนิยามของ “การหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์” (ซึ่งก็คือ วิธีการต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และนำเสนอคำอธิบายบนพื้นฐานของหลักฐานที่พวกเขาค้นพบ) คุณก็อาจจะวาดภาพร่างๆ เป็นรูปนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง กำลังส่งมอบบางอย่างให้นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่ง โดยมีคำว่า “หลักฐาน” เขียนไว้ตรงสิ่งที่มอบให้นั้น รวมถึงเขียนคำคุณศัพท์ต่างๆ ที่ปรากฏในคำนิยามดังกล่าว เอาไว้ข้างๆ รูปวาดด้วยเช่นกัน พยายามอย่าวาดสะเปะสะปะ จงวาดและเขียนเป็นลำดับๆ
  3. ใช้การพูดและฟังซ้ำไปซ้ำมา ในการช่วยจำลำดับของสิ่งต่างๆ:
    • อ่านชื่อสิ่งของชิ้นแรก
    • พูดชื่อนั้นออกมาโดยไม่ดูโพย
    • อ่านชื่อสิ่งของชิ้นแรกและชิ้นที่สอง
    • พูดชื่อเหล่านั้นออกมาดังๆ จนกว่าจะจำหรือพูดได้โดยไม่ดูโพย
    • อ่านชื่อสิ่งของชิ้นแรก ชิ้นที่สอง และชื้นที่สาม
    • พูดชื่อเหล่านั้นออกมาดังๆ จนกว่าจะจำหรือพูดได้
    • ทำตามกระบวนการข้างต้นซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำหรือพูดได้โดยไม่ดูโพย
    • หลังจากทำจนถึงรายชื่อสุดท้ายแล้ว ลองทวนรายชื่อทั้งหมดโดยไม่ดูโพย พูดออกมาดังๆ 3 หน
    • หากคุณไม่สามารถพูดได้ครบ 3 รอบ ให้เริ่มใหม่หมดเลย
  4. การทำจิตใจให้ปลอดโปร่งเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น หากคุณมีเรื่องยากๆ ที่ต้องจำ ก็ควรเบรคประมาณ 20-30 นาที และไปทำกิจกรรมที่คุณชอบ ซึ่งทำให้สำเร็จลุล่วงได้ง่ายๆ (เช่น กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวการเรียน) ในระหว่างพักเบรค เช่นคุยโทรศัทพ์กับใครบางคน เดินเล่นในสวน เป็นการผ่อนคลายสมอง และให้เวลากับมันในการย่อยสิ่งที่คุณเพิ่งจำลงในสมองส่วนความจำระยะยาว การยัดเยียดเรื่องใหม่ๆ หรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลากหลายมากเกินไป จะไปขัดขวางกระบวนการกลั่นกรองข้อมูลลงสู่สมองส่วนดังกล่าว
  5. หลังจากพักเบรคแล้ว ลองทดสอบตนเองอีกครั้งเพื่อดูว่า คุณยังจำได้ทั้งหมดอยู่เหมือนเดิมมั้ย หากคุณยังสามารถจำได้หมด ก็อาจแสดงว่าได้ผลแล้ว หากไม่ ก็ย้อนกลับไปพยายามจำในส่วนที่พลาดไป หลังจากนั้นค่อยพักเบรคอีกรอบ และกลับมาทดสอบตนเองใหม่
  6. บันทึกเสียงตัวเองพูดสิ่งที่ต้องจำเอาไว้หนึ่งรอบก่อน จากนั้น เล่นไฟล์ดังกล่าวให้ตัวเองฟังระหว่างนอน แม้ว่าวิธีนี้อาจจะไม่ค่อยได้ผลในกรณีจดจำเรื่องใหม่ๆ แต่การฟังซ้ำระหว่างนอน จะช่วยเตรียมสมองให้พร้อมอัดข้อมูลที่คุณพยายามฝึกจำ ให้อัดแน่นเข้าไปอีก
    • คุณอาจจะหาซื้อหรือทำหูฟังแบบที่สวมคาดหัว และเสียบกับเครื่องเล่นออดิโอหรือเอ็มพี 3 ในขณะที่คุณนอนหลับได้ มันมักจะถูกใช้โดยกลุ่มคนที่ต้องการฟังเพลงกล่อมตนเองนอน
  7. หากเป็นไปได้ และได้รับการเห็นชอบ ก็ลองอัดเสียงเลคเชอร์ เพื่อนำมาช่วยทั้งเรื่องเพิ่มความสมบูรณ์ของข้อมูลที่คุณจดโน้ตไว้ และเป็นการนำมาฟังอีกรอบด้วย การฟังมันเป็นรอบที่สองหรือที่สาม จะเพียงพอแล้วที่จะช่วยให้ข้อมูลต่างๆ ฝังลงในสมองโดยไม่ต้องพยายามมาก
  8. เดินไปรอบๆ ห้องในขณะที่ติวเนื้อหาหรือทวนข้อมูลให้ตนเองฟัง การเดินไปพลางๆ จะช่วยให้สมองคุณได้ทำงานทั้งซีกซ้ายและขวาพร้อมกัน ทำให้จดจำสิ่งต่างๆ ได้แม่นยำขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ผู้ถนัดเรียนรู้ผ่านการเห็น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากมีสิ่งใดแวบขึ้นมาให้คุณเห็นและจดจำได้อย่างแม่นยำ ก็แสดงว่าคุณอาจเป็นผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้เห็น ซึ่งจดจำข้อมูลผ่านการเห็นถนัดที่สุด วิธีต่างๆ ที่คุณรู้สึกว่าทำให้จดจำได้ดี คือ:
    • ข้อมูลบนรูปภาพ แผนผัง หรือไดอะแกรม ซึ่งจำง่ายกว่าข้อมูลเดียวกันที่ถ่ายทอดผ่านการพูด
    • คุณใช้หัวจินตนาการภาพตามไปด้วยขณะเรียนรู้บางสิ่ง มักมองเหม่อไกลออกไป ราวกับว่าคุณกำลังดูภาพข้อมูลนั้นอยู่
    • คุณสร้างภาพที่แจ่มชัดของข้อมูลต่างๆ ขึ้นในใจ ในขณะที่กำลังศึกษาเรื่องราวของรัฐธรรมนูญดั้งเดิม คุณอาจจะนึกภาพของบรรดาบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศกำลังร่วมกันร่างมันขึ้นมา
    • ทักษะด้านมิติความสัมพันธ์ของคุณสุดยอด ทั้งเรื่องขนาด รูปทรง พื้นผิว มุม และลักษณะรอบด้าน ล้วนเป็นเรื่องที่คุณสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็ว
    • คุณสามารถอ่านใจคนอื่นได้ผ่านทางภาษากายพวกเขา รู้ว่าพวกเขากำลังคิดอะไรอยู่ แม้ว่าจะกำลังพูดเรื่องอื่นๆ ก็ตาม
    • คุณค่อนข้างมีความตระหนักรู้ในสภาวการณ์รอบตัว และมีความเข้าถึงศิลปะ ความสุนทรีย์ และสื่อภาพประเภทต่างๆ
  2. หาสถานที่ๆ ไม่มีสิ่งรบกวน หรือภาพใดๆ ที่จะมาดึงความสนใจสายตาคุณ การหลีกเลี่ยงสถานที่ๆ มีแสงวิบวับ จะช่วยให้คุณสามารถจดจำเรื่องที่ต้องการได้ โดยไม่ควรเปิดทีวี หน้าต่าง หรืออยู่ในที่ๆ มีสัตว์เลี้ยงเดินเพ่นพ่าน
  3. เช่น หากคุณต้องการจะจดจำรายละเอียดทางประวัติศาสตร์ ก็อาจจะใส่รหัสจัดหมวดของวันที่และบุคคลสำคัญต่างๆ ด้วยสีแต่ละสี เช่น จอร์จ วอชิงตัน ใช้สีฟ้า เบนจามิน แฟรงคลิน ใช้สีส้ม เหตุการณ์ปฏิวัตินองเลือดต่างๆ ใช้สีแดง ส่วนกษัตริย์จอร์จ ใช้สีเขียว เป็นต้น
  4. มองภาพรวมรหัสสีต่างๆ จากนั้นก็เขียนซ้ำไปซ้ำมา จนกว่าคุณสามารถจำมันได้ทั้งหมด. การเขียนแต่ละข้อมูลของไปบนกระดาษโพสอิท ที่มีสีเดียวกับหมวดหมู่ที่จัดเอาไว้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ข้อมูลเหล่านั้นตราตรึงอยู่ในใจของคุณ แต่มันยังมีประโยชน์ในขั้นตอนถัดไปด้วย
  5. แปะกระดาษโพสท์อิทหรือกระดาษโน้ตไว้ตรงบริเวณที่คุณแวะบ่อย. เช่น ประตูห้องนอน หรือล็อคเกอร์ และอ่านข้อมูลบนกระดาษทุกครั้งที่เห็น เรียงกระดาษตามสีสัน เป็นแนวตั้ง และเรียงตามช่วงเวลา เป็นแนวนอน
  6. เวลาที่คุณไปตรงบริเวณที่แปะกระดาษโน้ตเอาไว้ จงมองดูแต่ละใบ และเขียนมันลงบนกระดาษหรือโพสท์อิทเปล่าๆ อีกรอบ จากนั้นก็แปะไว้แทนกระดาษหรือโพสท์อิทแผ่นเดิม หากคุณมีปัญหาในการจดจำข้อมูลจากแผ่นไหน ก็ให้เอาแผ่นนั้นไปแปะที่อื่น ซึ่งคุณสามารถเห็นมันได้บ่อยกว่าเดิม และแทนที่มันเหมือนเมื่อกี๊เป็นระยะๆ
  7. ด้วยการเขียนกราฟหรือไดอะแกรม คำอธิบาย และสอนซึ่งกันและกัน เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างสามารถจดจำเนื้อหาได้
  8. มองหาคีย์เวิร์ดสำคัญๆ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการจำ จากนั้นก็ไฮไลท์มันไว้ และพยายามจำมัน แล้วจึงค่อยพยายามจำส่วนที่เหลือ หากคุณอ่านจากไฟล์พีดีเอฟ ก็ควรใช้คำสั่งไฮไลท์ของมันให้เป็นประโยชน์ในการเน้นข้อความสำคัญ รวมถึงคำสั่งในการค้นหาข้อมูลเฉพาะที่ต้องการ เวลาที่เปิดมาอ่านใหม่อีกรอบ
  9. เดินไปรอบๆ ห้องในขณะที่ติวเนื้อหาหรือทวนข้อมูลให้ตนเองฟัง การเดินไปพลางๆ จะช่วยให้สมองคุณได้ทำงานทั้งซีกซ้ายและขวาพร้อมกัน ทำให้จดจำสิ่งต่างๆ ได้ง่ายและแม่นยำขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวและสัมผัส

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณชอบรับข้อมูลผ่านการสัมผัส แสดงว่ามีแนวโน้มเป็นคนประเภทชอบประสบการณ์ตรง. คุณเป็นคนชอบเข้าถึงความรู้สึกของสิ่งต่างๆ หากเป็นไปได้ คุณจะเลือกเรียนรู้ผ่านการกระทำ และยังมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้:
    • คุณจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านประสบการณ์ตรง การเคลื่อนไหว ลงมือทำ และการสัมผัส จะช่วยให้รายละเอียดดูสมจริงสำหรับคุณ
    • คุณมักใช้มือประกอบการพูด
    • คุณจดจำเหตุการณ์ต่างๆ จากเรื่องราวที่เกิดขึ้น มักไม่ใช่จากข้อมูลที่ใครพูดหรือประสบกันมา
    • คุณมีทักษะดีในเรื่องการวาดภาพ ศิลปะ ทำอาหาร ก่อสร้าง หรือกิจกรรมใดๆ ที่ต้องอาศัยทักษะจัดวางวัตถุต่างๆ ให้ลงตัว
    • คุณมีแนวโน้มชอบผจญภัย และถูกรบกวนสมาธิง่ายมาก ทำให้ยากที่จะใส่ใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ
    • คุณไม่ชอบถูกจำกัดอิสรภาพ แต่ชอบที่จะอยู่ในบริเวณที่คุณสามารถยืน เดิน หรือพักเบรคได้เสมอ
    • คุณไม่ชอบนั่งเรียนในห้อง หากมีกิจกรรมบางอย่างที่สามารถลงมือปฏิบัติและทำให้คุณเรียนรู้ได้มากกว่า
  2. คุณต้องการพื้นที่ๆ สามารถเคลื่อนไหวได้ ดังนั้น พยายามอย่านั่งติวและปิดประตูขลุกอยู่ในห้องนอน การนั่งติวที่โต๊ะอาหารในครัวอาจจะเหมาะกับโหมดการเรียนรู้แบบคุณมากกว่า
  3. ใส่ท่าทางหรือแกล้งทำราวกับคุณเป็นสิ่งของนั้นๆ พยายามเลียนแบบทุกรายละเอียดของมัน หากคุณพยายามที่จะจดจำเนื้อหาในรัฐธรรมนูญให้ได้ ก็ลองหยิบกระดาษใบนึง หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น หากระดาษเหลืองๆ เก่าๆ ขนาดเท่ารัฐธรรมนูญฉบับจริงหรือใกล้เคียงที่สุด ยิ่งมีกลิ่นแบบเก่าๆ ด้วยยิ่งดี อย่าใช้กระดาษปริ๊นท์ใหม่ๆ จากนั้น ถือกระดาษแผนนั้นไว้ ราวกับว่ามันเป็นฉบับร่างรัฐธรรมนูญและชี้ไปที่แต่ละข้อความในนั้น และอ่านมันตั้งแต่คำว่า “รัฐธรรมนูญ” หลังจากที่คุณได้ดื่มด่ำกับภาพ กลิ่น สัมผัส หรือแม้กระทั่งเสียงของมันแล้ว คุณก็จะมีแนวโน้มในการจดจำมันได้ง่ายขึ้น
  4. หากคุณต้องการจดจำนามธรรมทั้งหลาย เช่น ค่าของจำนวนพาย (pi) ก็เริ่มจากเขียนเลขแต่ละตัวหรือลำดับ ลงในแฟลชการ์ดแต่ละใบ จากนั้น วาดรูปหรือติดสติ๊กเกอร์ลงบนแต่ละใบ เพื่อให้มันมีความหมายเฉพาะ หลังจากนั้น สลับหรือล้างการ์ด และพยายามนำกลับมาเรียงตามลำดับให้ได้เหมือนคำตอบที่ถูกต้อง แต่ต้องให้แน่ใจก่อนว่า คุณได้จดลำดับที่ถูกต้องไว้เฉลยด้วย ไม่งั้นก็อาจจะไม่มีทางจำได้ว่าที่ถูกต้องๆ เรียงแบบไหน
    • อีกแบบหนึ่ง คุณสามารถนำไพ่มาสองสำรับ ค้นหาตัวเลขที่เป็นจำนวนหลังทศนิยมทั้งหมด และเล่นกับตัวเลขเหล่านั้น โดยนำไพ่มาเรียงกันเป็นดังนี้: A, 4, A, 5, 9, 2, 6, 5 ฯลฯ จนกว่าจะถึงทศนิยมที่ต้องการจำ จากนั้น ก็คว่ำลงทุกใบก่อนที่จะเปิดหงายดู เริ่มคว่ำและหงายดูอีกรอบ เรียงจากซ้ายไปขวา โดยขานตัวเลขออกมาดังๆ ทำซ้ำอีกรอบ และในรอบต่อไปให้ทายหรือขานตัวเลขแต่ละใบออกมาก่อน จึงค่อยเปิดเฉลยดู
  5. คำแนะนำสำหรับผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้ยินและผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้เห็น สามารถนำมาใช้กับคุณได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของการจดจำด้วยการเชื่อมโยง และการกล่าวข้อมูลซ้ำๆ ในขณะที่เดินไปรอบห้อง คุณสามารถประยุกต์เทคนิคได้ตามต้องการ เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลที่คุณต้องการจำ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

วิธีการอ่าน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณเป็นคนชอบอ่าน คุณก็อาจจดจำได้ดีที่สุดจากการอ่าน. บางทีอาจเป็นเพราะคุณนำการเรียนรู้ผ่านทางการมองข้อมูลต่างๆ มาปรับใช้ในการนี้ หรืออาจเป็นเพราะประสบการณ์ในวัยเด็กของคุณ ใกรเรียนรู้โดยเน้นการอ่านมากเป็นพิเศษ คุณจึงรู้สึกว่าถนัดและเป็นสิ่งที่คุณคุ้นเคยมากกว่า
  2. กล่าวซ้ำให้ตัวเองฟัง จากนั้น เขียนมันลงในกระดาษจด และลองเขียนคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดเหล่านั้น ลงในอีกด้านหนึ่งของกระดาษ
    • ปกติแล้ว สมองคนเราชอบที่จะเห็นภาพและสี ดังนั้น เมื่อคุณเขียนโน้ต พยายามใช้สีสันให้หลากหลาย หรือวาดออกมาป็นภาพเลยก็ได้
  3. อ่านคำถามในด้านที่เขียนไว้ และลองดูว่าคำตอบตรงกับที่คุณเขียนไว้อีกด้านไหม
  4. ขอร้องให้เพื่อนที่ยินดีช่วย และสอนหรืออธิบายให้พวกเขาฟังว่าคุณกำลังจดจำเรื่องอะไร จากนั้น ก็ให้พวกเขาทดสอบคุณ
    • เวลาที่คุณสอนคนอื่น ไม่เพียงแต่จะเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยให้สมองจดจำสิ่งที่คุณสอนได้ดีขึ้นบ้างด้วย
  5. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อ่านและเขียน หลังจากที่อ่านและจดจำบางเรื่อง พยายามเขียนมันออกมาด้วยอย่างน้อยหนึ่งรอบ หากคุณพอมีเวลา เพราะว่าการเขียนเพียงครั้งหนึ่ง เทียบได้ถึงการอ่านสามหนเลยทีเดียว
  • พักเบรคสั้นๆ บ่อยๆ ซึ่งจะให้ดีที่สุด ต้องทำกิจกรรมที่แอคทีฟหน่อย ไม่ใช่ไปนั่งดูทีวีเฉยๆ จนหมดไป 10 นาที ซึ่งอาจทำให้คุณติดทีวีและอยากจะอู้การท่องหนังสือ การทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวจะช่วยกระตุ้นสมองของคุณ และจะจำได้ดีขึ้นเมื่อกลับมาท่องใหม่ แต่พยายามอย่าหักโหมมากไป
  • พยายามเขียนอะไรก็ตามที่คุณต้องการจำลงบนกระดาษ จากนั้น ก็อ่านดังๆ สองสามรอบ วิธีนี้จะยิ่งได้ผลเวลาที่คุณต้องการจำย่อหน้าของบทความที่เป็นภาษาอื่นๆ
  • จงตระหนักด้วยว่า คนส่วนใหญ่มักพบว่าตนเองมีโหมดการเรียนรู้ทั้งสามแบบข้างต้น รวมกันอยู่ทั้งหมดในตัวเอง และคุณเองก็อาจจะมีทั้งสามโหมด โดยอาจจะใช้แต่ละโหมดในบริบทแตกต่างกันไป จงพยายามตระหนักในวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง และอย่ายึดติดกับวิธีการใดเป็นการเฉพาะ เพียงเพราะมีใครมากำหนดว่าคุณเป็นผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้ยินหรือผู้ถนัดการเรียนรู้ผ่านการได้เห็น หากวิธีการในโหมดอื่นๆ ได้ผลกับคุณ ก็ใช้มันด้วยเลย
  • แต่งเนื้อหาที่จะจำ ให้เป็นบทเพลงและใส่จังหวะทำนองให้มันด้วยก็ได้ เพราะคนส่วนใหญ่จะจำรายละเอียดได้เวลาที่ได้ยินมันในแบบเฉพาะ เหมือนกับการที่เราฟังเพลงนั่นเอง
  • อย่าลืมใช้หลักการตัวย่อในการจำรายชื่อคำที่มีนัยยะสำคัญ
  • หาสถานที่ๆ ไม่มีอุปกรณ์ใดรบกวนหรือดึงความสนใจคุณ
  • แทนที่จะจำผ่านแฟลชการ์ด คุณอาจหาเพลงที่คุณชอบ และนำเอาเนื้อหาที่ต้องการจำ ใส่ลงไปแทนเนื้อเพลงนั้น
  • พักเบรกสั้นๆ หลังจากท่องครึ่งชั่วโมง แต่อย่าเตลิดเปิดเปิงไป ไม่งั้นคุณอาจจะลืมเนื้อหาที่ต้องการจำ
  • จดจำแต่ละย่อหน้าเรียงไป โดยใช้บัตรคิวช่วย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www2.yk.psu.edu/learncenter/ Penn State University – research source

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,682 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา