ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กระดูกหัก เป็นอาการบาดเจ็บรุนแรงและหนักระดับต้องการการรักษาจากแพทย์ อย่างไรก็ตาม การได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันท่วงทีแต่แรกจากมืออาชีพที่ผ่านการฝึกมานั้นใช่ว่าจะเป็นไปได้ตลอด ในบางสถานการณ์นั้นกว่าจะได้รับการรักษาอาจกินเวลาล่วงไปหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน คนเราโดยเฉลี่ยจะเคยกระดูกหักสองครั้งในชีวิต แม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ฉะนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดได้ยากเลย [1] เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลกระดูกที่หักเพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว หรือคนอื่นๆ ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไร้คนที่เคยได้รับการฝึกทางแพทย์อยู่ใกล้ๆ นั้น คุณจำต้องรีบประเมินความรุนแรงของแผลอย่างด่วน แผลบาดเจ็บจากการตกหรืออุบัติเหตุบวกกับความเจ็บปวดอย่างมากนั้นไม่ได้เป็นการรับประกันว่ากระดูกจะหัก แต่มันก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ดี กระดูกหักหรือร้าวที่เกิดบริเวณศีรษะ กระดูกสันหลัง หรือกระดูกเชิงกรานนั้นยากที่จะบ่งชี้ได้โดยปราศจากการเอกซเรย์ แต่หากคุณสงสัยว่าจะมีการหักหรือร้าวในบริเวณเหล่านี้ก็ไม่ควรหาทางเคลื่อนย้ายบุคคลนั้น ส่วนกระดูกที่แขน ขา นิ้วมือ และนิ้วเท้านั้นเวลาหักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามันบิดเบี้ยว เปลี่ยนทรง หรือไม่เข้าที่ [2] กระดูกหักอย่างรุนแรงนั้นอาจทะลุโผล่ออกมาจากผิวหนัง (ภาวะกระดูกหักเปิด) และจะมีเลือดไหลออกมามากมาย
    • อาการทั่วไปอย่างอื่นๆ ของกระดูกหักได้แก่: สามารถใช้งานบริเวณที่บาดเจ็บได้อย่างจำกัด (ขยับไม่ถนัดหรือลงน้ำหนักไม่ได้) มีอาการบวมและช้ำเขียวขึ้นมาในทันที มีอาการชาหรือเสียวๆ บริเวณที่ต่ำลงไปกว่าแผลเปิด หายใจติดขัด อาเจียน
    • ระมัดระวังในตอนประเมินบาดแผลโดยไม่ขยับมันบ่อย การเคลื่อนย้ายคนที่บาดเจ็บตรงกระดูกสันหลัง ลำคอ กระดูกเชิงกราน หรือกะโหลกศีรษะนั้นถือว่าเสี่ยงมากๆ ถ้าไม่ได้ผ่านการฝึกมาก่อนและควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำเช่นนั้น
  2. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินหากการบาดเจ็บนั้นร้ายแรง. พอคุณเห็นว่าบาดแผลนั้นรุนแรงและคิดว่าน่าจะกระดูกหัก ให้โทรศัพท์แจ้งรถฉุกเฉินโดยด่วนเท่าที่จะทำได้ [3] การเตรียมให้การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานและคอยใส่ใจดูแลนั้นแน่นอนว่าช่วยได้ แต่มันไม่อาจทดแทนการได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าคุณอยู่ใกล้โรงพยาบาลหรือคลินิก และค่อนข้างมั่นใจว่าการบาดเจ็บนี้ไม่สาหัสถึงแก่ชีวิตและเป็นแค่กระดูกระยางค์ ถ้าเช่นนั้นอาจตัดสินใจขับพาผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาลเองได้เลย
    • ถึงแม้คุณจะมองว่ากระดูกที่หักไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่จงห้ามความรู้สึกอยากขับรถมาโรงพยาบาลเอง คุณอาจไม่สามารถบังคับควบคุมรถได้เหมือนเดิมหรืออาจหมดสติจากความเจ็บปวดจนกลายเป็นอันตรายบนท้องถนนได้
    • หากอาการบาดเจ็บดูรุนแรง ให้ยังคงอยู่ในสายที่โทรศัพท์เรียกรถฉุกเฉินหรือ 191 เผื่อถ้ามันแย่ลงคุณจะได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์หรืออย่างน้อยก็มีคนคอยพูดให้กำลังใจ
    • โทรหาหน่วยฉุกเฉินถ้าคุณสังเกตเห็นอาการต่อไปนี้: โทรขอความช่วยเหลืออย่างด่วนหากบุคคลนั้นไม่มีอาการตอบสนอง ไม่หายใจ หรือไม่ขยับเขยื้อน; มีเลือดออกเป็นจำนวนมาก; แค่แรงกดหรือขยับเบาๆ ก็รู้สึกปวด; กระดูกหรือข้อต่อตามแขนขาผิดรูป; กระดูกทะลุโผล่ผิวหนังออกมา; บริเวณปลายสุดของแขนขาที่บาดเจ็บ เช่นตรงปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ชาไร้ความรู้สึกหรือคล้ำเขียว; คุณสันนิษฐานว่ากระดูกจะหักตรงลำคอ ศีรษะหรือหลัง [4]
  3. หากผู้บาดเจ็บไม่หายใจและคุณตรวจหาไม่พบสัญญาณชีพจรตรงข้อมือหรือต้นคอ ให้เริ่มปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (ถ้าคุณรู้วิธีทำ) ก่อนที่รถฉุกเฉินจะมาถึง [5] ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพนั้นจะต้องมีการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ช่วยหายใจโดยการเป่าปากให้อากาศเข้าสู่ปาก/ปอด และพยายามทำให้หัวใจกลับมาเต้นด้วยการกดนวดบริเวณทรวงอกเป็นจังหวะเหมือนการบีบตัวของหัวใจ
    • การขาดออกซิเจนมากเกินห้าถึงเจ็ดนาทีอย่างน้อยจะทำให้สมองเกิดความเสียหายขึ้นในระดับหนึ่ง ดังนั้น เวลาจึงมีค่าที่สุด
    • ถ้าคุณไม่เคยผ่านการฝึกทำ CPR ถ้าอย่างนั้นให้ทำ CPR เฉพาะด้วยมือ กดทรวงอกเป็นจังหวะต่อเนื่องด้วยอัตราราว 100 ครั้งต่อนาทีจนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมาถึง [6]
    • ถ้าคุณมีความเชี่ยวชาญในการทำ CPR ให้เริ่มด้วยการกดทรวงอกในทันที (ราว 20 – 30 ครั้ง) แล้วค่อยตรวจดูทางเดินหายใจว่ามีสิ่งกีดขวางอุดตันหรือไม่ และเริ่มทำการกู้คืนชีพหลังจากกดศีรษะไปทางข้างหลังในระดับหนึ่ง [7]
    • สำหรับอาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง ลำคอ หรือกะโหลกศีรษะ ห้ามใช้วิธีการกดศีรษะเงยคางให้หน้าแหงน ให้ใช้วิธีดึงขากรรไกรทั้งสองข้างขึ้นไปข้างบนเพื่อเปิดทางเดินหายใจ แต่ให้ทำเฉพาะถ้าคุณเคยผ่านการฝึกมาเท่านั้น วิธีการดึงขากรรไกรนั้นจะต้องคุกเข่าหลังบุคคลที่บาดเจ็บและวางมือจับด้านข้างของใบหน้าทั้งสองข้าง ให้นิ้วกลางกับนิ้วชี้วางอยู่ข้างใต้และหลังขากรรไกร ดันขากรรไกรทั้งสองข้างไปข้างหน้าจนมันโผล่ออกมา
  4. ถ้าผู้บาดเจ็บมีเลือดไหลออกมามาก คุณจะต้องพยายามห้ามเลือดไม่ว่ากระดูกจะหักหรือไม่ การที่เลือดไหลออกจากเส้นเลือดใหญ่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที การควบคุมเลือดให้หยุดไหลจึงมีลำดับความสำคัญสูงกว่าการหากระดูกที่หัก ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดดูดซึมได้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อมากดตรงบาดแผลแน่นๆ (นี่เป็นกรณีสมบูรณ์แบบ) ถึงแม้ผ้าเช็ดตัว หรือเศษผ้าสะอาดๆ ก็ใช้ได้แล้วในยามฉุกเฉิน [8] กดไว้อย่างนั้นสักสองสามนาทีเพื่อกระตุ้นให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตรงบริเวณบาดแผล รัดผ้าพันแผลรอบบาดแผลให้แน่นด้วยเทปยืดหรือเศษผ้าถ้าคุณทำได้
    • หากเลือดยังไม่ยอมหยุดไหลจากบริเวณบาดแผลตามแขนขา คุณอาจต้องผูกสายรัดแน่นๆ เหนือบาดแผลเป็นการชั่วคราวเพื่อตัดระบบไหลเวียนโลหิตจนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมาถึง สายรัดสามารถทำมาจากวัสดุใดก็ได้ที่สามารถรัดได้แน่น จะเส้นด้าน เชือก สายไฟ ท่อยาง เข็มขัดหนัง เน็คไท ผ้าพันคอ เสื้อยืด เป็นต้น
    • ถ้ามีชิ้นวัสดุใหญ่ๆ ทิ่มฝังเข้าไปในเนื้อ อย่าเอามันออก มันอาจจะทำให้เลือดรอบบาดแผลจับเป็นก้อน และการเอามันออกจะทำให้เกิดการเสียเลือดมากมาย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

หาตำแหน่งของกระดูกที่หัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากผู้บาดเจ็บมีอาการคงที่แล้ว ก็ถึงเวลาทำการดามกระดูกที่หักถ้าคุณต้องใช้เวลาในการรอหน่วยฉุกเฉินหนึ่งชั่วโมงเป็นต้นไป [9] การดามมันเอาไว้จะช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันกระดูกที่หักไม่ให้เสียหายขึ้นไปกว่าเดิมจากการขยับเขยื้อนโดยไม่ตั้งใจ ถ้าคุณไม่ได้รับการฝึกที่ถูกวิธีมา อย่าพยายามปรับแนวกระดูกเอง การพยายามปรับแนวกระดูกที่หักอย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้มันสร้างความเสียหายอื่นต่อเส้นเลือดกับเส้นประสาท นำไปสู่การเกิดเลือดไหลหรือเกิดอัมพาตได้ พึงตระหนักว่าการเข้าเฝือกนั้นใช้ได้ผลเฉพาะกับกระดูกแขนขา แต่ไม่ใช่กับกระดูกเชิงกรานหรือกระดูกซี่โครง
    • วิธีดีที่สุดที่จะดามไม่ให้ขยับตัวคือการทำเฝือกง่ายๆ วางแผ่นกระดาษลูกฟูกหรือพลาสติกแข็งๆ หากิ่งไม้หรือท่อนโลหะ หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารม้วนเป็นวงกลม มาขนาบทั้งสองข้างของบาดแผลเพื่อรองกระดูกเอาไว้ [10] รัดทั้งหมดนี้เข้าด้วยกันโดยใช้เทป ด้าย เชือก สายไฟ ท่อยาง เข็มขัดหนัง เน็คไท ผ้าพันคอ เป็นต้น
    • เวลาจะเข้าเฝือกกระดูกที่หัก พยายามปล่อยให้มีพื้นที่ขยับตรงข้อต่อบ้างและอย่ารัดจนแน่นเกินไป รัดพอให้เลือดยังคงไหลเวียนไปได้
    • การเข้าเฝือกอาจไม่จำเป็นสักเท่าไหร่หากรถฉุกเฉินกำลังจะไปถึง ในกรณีเช่นนี้ การเข้าเฝือกอาจสร้างความเสียหายมากกว่าจะช่วยให้ดีขึ้นถ้าคุณไม่ได้ฝึกมาอย่างถูกวิธี
  2. เมื่อกระดูกที่หักได้รับการดามไว้แล้ว ให้ประคบด้วยอะไรเย็นๆ (ควรจะเป็นน้ำแข็ง) ทันทีในระหว่างที่รอรถฉุกเฉิน การบำบัดด้วยความเย็นนั้นมีข้อดีหลายอย่าง เช่นลดอาการปวด ลดอาการบวมอักเสบ และลดเลือดไหลโดยการทำให้หลอดเลือดบีบตัว [11] หากคุณไม่มีถุงน้ำแข็ง ให้ลองใช้เจลแพ็คหรือถุงผักแช่แข็ง แต่ให้แน่ใจว่าได้ใช้ผ้าบางๆ มาพันรอบของที่เย็นเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนน้ำแข็งกัด
    • ประคบน้ำแข็งไว้ประมาณ 20 นาทีหรือจนกระทั่งทั่วบริเวณนั้นรู้สึกชาก่อนจะเอาออก การกดน้ำแข็งไว้บนบาดแผลอาจช่วยลดอาการบวมได้มากขึ้นตราบเท่าที่มันไม่ไปทำให้ปวดเพิ่มขึ้น
    • ในขณะที่ประคบน้ำแข็ง ให้แน่ใจว่าได้มีการยกช่วงกระดูกที่หักให้สูงขึ้นเพื่อลดอาการบวมและชะลอเลือดที่ไหล (หากทำได้)
  3. กระดูกหักนั้นสร้างความเจ็บปวดอย่างยิ่ง ปฏิกิริยาส่วนใหญ่ที่พบเห็นก็คือรู้สึกหวาดกลัว ตื่นตระหนก และช็อค แต่พวกมันอาจก่อให้เกิดผลที่ตามมาในด้านลบต่อร่างกาย จึงจำเป็นต้องควบคุมมันไว้ เมื่อเป็นเช่นนั้น จงตั้งสติทั้งของตัวคุณและ/หรือผู้บาดเจ็บโดยการพูดให้ความมั่นใจว่าความช่วยเหลือกำลังมาถึงและทุกอย่างได้รับการควบคุมดูแลไว้หมดแล้ว ในระหว่างที่รอก็ให้หาอะไรห่มร่างเขาเพื่อความอบอุ่นและให้ดื่มน้ำถ้าเขารู้สึกกระหาย พยายามชวนคุยเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเขาไปจากอาการบาดเจ็บ
    • สัญญาณของภาวะช็อคก็เช่น: รู้สึกหน้ามืด/จะเป็นลม หน้าซีด เหงื่อเย็น หายใจหอบถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูง สับสน ตื่นตระหนกแบบไร้เหตุผล [12]
    • ถ้าหากดูเหมือนว่าบุคคลนั้นกำลังช็อค ให้เขานอนลงโดยมีอะไรหนุนศีรษะและหนุนขา หาผ้าห่มหรือเสื้อแจ็คเก็ตมาห่มตัว หรือจะใช้กระทั่งผ้าปูโต๊ะถ้าหาอย่างอื่นไม่ได้
    • ภาวะช็อคนั้นอันตรายเนื่องจากเลือดและออกซิเจนจะไหลออกจากอวัยวะสำคัญ [13] ในสภาวะเช่นนี้ ถ้าหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะได้
  4. ถ้าการรอรถฉุกเฉินต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมง (หรือคุณมองดูแล้วว่าต้องรอนาน) ให้ลองคิดถึงการใช้ยาควบคุมความเจ็บปวดถ้าคุณมี เพื่อผู้บาดเจ็บจะอดทนรอได้ดีขึ้น อะซีตามิโนเฟน (Acetaminophen) อย่าง Tylenol เป็นยาแก้ปวดที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในกรณีกระดูกหักหรือมีบาดแผลในอวัยวะภายในมาก เนื่องจากมันไม่ได้ทำให้เลือด “เหลว” ขึ้น จนทำให้ไหลออกมามากขึ้น [14]
    • ยาแก้อักเสบที่วางขายทั่วไปอย่างแอสไพรินและไอบูโพรเฟน (Advil) นั้นช่วยเรื่องความเจ็บปวดกับอาการบวมอักเสบได้ แต่มันไปห้ามการจับตัวเป็นก้อนของเลือด จึงไม่เหมาะจะรักษาการบาดเจ็บของอวัยวะภายในอย่างกระดูกหัก
    • นอกเหนือจากนั้น ไม่ควรให้ยาแอสไพรินกับไอบูโพรเฟนกับเด็ก เพราะพวกมันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คอยหมั่นตรวจเช็คแขนขาดูว่าเฝือกที่ทำให้นั้นแน่นเกินไปหรือไม่ หรือไปตัดระบบการไหลเวียนของเลือด คลายเฝือกให้หลวมขึ้นถ้ามันดูจะทำให้เกิดอาการซีด บวม หรือชาไร้ความรู้สึก
  • ถ้าเลือดจากแผลไหลซึมผ่านผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อมา (หรืออะไรก็ตามที่คุณใช้ห้ามเลือด) อย่าเอาออก ให้แปะผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลทับเพิ่ม
  • ให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเคลื่อนย้ายเหยื่อที่บาดเจ็บตรงหลัง ลำคอ หรือศีรษะ เว้นแต่ว่ามันจำเป็นอย่างถึงที่สุด หากคุณสงสัยว่าเกิดบาดเจ็บที่ลำคอหรือหลังและจะต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ให้หาอะไรมารองหลัง ลำคอ กับศีรษะเป็นอย่างดีและเป็นแนวระนาบเดียวกัน หลีกเลี่ยงการบิดหรืองอทุกรูปแบบ
  • บทความนี้ไม่ควรจะถูกใช้แทนคู่มือการรักษา จงแน่ใจเสมอว่าผู้บาดเจ็บจะต้องได้รับการรักษาทางแพทย์แม้ว่าจะได้ทำตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมด เพราะกระดูกหักคืออาการบาดเจ็บที่สาหัสถึงแก่ชีวิต
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 48,670 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา