ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราเตอร์เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเน็ตบ้าน ถ้าปรับแต่งเราเตอร์ได้เหมาะสม จะช่วยป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ ให้คุณใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อเน็ตได้อย่างปลอดภัย รวมถึงป้องกันไม่ให้น้องๆ หนูๆ ในบ้าน เข้าถึงเนื้อหาผู้ใหญ่ในอินเทอร์เน็ตได้ ต่อไปนี้เป็นวิธีการปรับแต่งเราเตอร์ง่ายๆ ทำได้ในแค่ไม่กี่นาที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เชื่อมต่อเราเตอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ใช้สาย Ethernet เสียบต่อโมเด็มกับพอร์ท WAN/WLAN/Internet ของเราเตอร์ แล้วเสียบคอมกับพอร์ท “1”, “2”, “3” หรือ “4” ของเราเตอร์
  2. คุณเข้าหน้าปรับแต่งเราเตอร์โดยใช้คอมเครื่องไหนก็ได้ ที่เชื่อมต่อเครือข่ายเดียวกัน เวลาปรับแต่งเราเตอร์ ถ้าใช้สาย Ethernet เสียบคอมกับเราเตอร์โดยตรง จะดีที่สุด
  3. คุณเข้าเราเตอร์ได้ด้วยเบราว์เซอร์ ให้พิมพ์ IP address ในแถบ address โดย IP address จะต่างกันไปตามยี่ห้อ แต่ส่วนใหญ่จะเหมือนหรือคล้ายๆ กัน ต่อไปนี้คือยี่ห้อเราเตอร์ที่คนนิยมใช้ และ address ที่ต้องใช้ [1]
    • Linksys - http://192.168.1.1
    • 3Com - http://192.168.1.1
    • D-Link - http://192.168.0.1
    • Belkin - http://192.168.2.1
    • Netgear - http://192.168.1.1
    • เราเตอร์ส่วนใหญ่จะมี default address อยู่ในคู่มือ หรือเป็นสติกเกอร์ติดที่ตัวเครื่อง ถ้าไม่มี ลองเข้าเว็บยี่ห้อไปค้นหาดู
  4. ก่อนจะเข้าหน้าปรับแต่ง จะมีให้ใส่ username กับรหัสผ่าน โดยเราเตอร์ส่วนใหญ่จะมี default username และรหัสผ่าน แต่บางทีก็ไม่ต้องใส่อะไรเลย
    • คู่มือเราเตอร์จะมี default username กับรหัสผ่านให้ แต่บางทีก็ติดอยู่ที่ตัวเครื่อง
    • “admin” เป็นหนึ่งใน default username ยอดนิยม
    • “admin” หรือ “password” เป็นรหัสผ่านยอดนิยม
  5. ถ้าใส่ default adress และ username/รหัสผ่าน แล้วยังเข้าเราเตอร์ไม่ได้ ให้รีเซ็ตเครื่องกลับค่าโรงงาน เพื่อลบค่าที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะถ้าเป็นเราเตอร์มือสอง หรือเราเตอร์เก่าที่เปลี่ยนค่าแล้วจำไม่ได้
    • คุณรีเซ็ตเราเตอร์ได้โดยกดปุ่ม Reset ที่เครื่อง ปกติจะเป็นปุ่มเล็กๆ อยู่ในรู ต้องใช้ปลายคลิปหนีบกระดาษทิ่มลงไป แต่เราเตอร์บางเครื่องก็เป็นปุ่มให้กดเลย
    • พอกดปุ่มรีเซ็ตแล้ว ให้รอ 30 - 60 วินาที ค่อยลองใส่ address และ username/รหัสผ่าน ของเราเตอร์ดูอีกที
  6. ถ้าใช้ default username และรหัสผ่านต่อ จะไม่ค่อยปลอดภัย แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทั้งคู่ทันทีหลังตั้งค่า ปกติจะอยู่ในส่วน Administration ของหน้าปรับแต่งเราเตอร์
    • เลือก username กับรหัสผ่านที่จำง่ายแต่เดายาก โดยมีทั้งตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ จะได้เจาะยากหน่อย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

สร้างสัญญาณ Wi-Fi

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในเมนู Internet, Setup หรือ Home ของเราเตอร์ ให้เช็คว่าตั้งค่า Internet IP address, DCHP และ DNS settings แล้ว ปกติจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่ก็มีข้อยกเว้น ตามเงื่อนไขของค่ายเน็ตที่ใช้
    • เราเตอร์หลายยี่ห้อมีปุ่มทดสอบในหน้า Internet menu ให้คลิกเพื่อเช็คว่าปรับแต่ง internet settings ถูกต้องหรือยัง
  2. บางทีก็เป็นเมนู Wireless, Wireless Settings, Basic Setup หรืออื่นๆ ที่ใกล้เคียง หน้านี้จะมี Wi-Fi SSID, channel, encryption และ settings อื่นๆ
  3. ค้นหาช่อง SSID นี่คือชื่อสัญญาณ Wi-Fi ที่จะโผล่มาในรายชื่อสัญญาณที่เชื่อมต่อได้ เวลาใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ระวังอย่าตั้งชื่อ Wi-Fi เป็นข้อมูลส่วนตัว เพราะเป็นชื่อแบบสาธารณะที่ทุกคนเห็น
    • ต้องติ๊กช่อง “Enable SSID Broadcast” ด้วย
    • Channel ให้ตั้งเป็น Auto ถ้าแถวนั้นมีหลายสัญญาณ เราเตอร์จะย้ายสัญญาณไปยัง channel ที่โล่งกว่าโดยอัตโนมัติ
  4. บางทีก็เป็น Security Options จะมีให้เลือกวิธีการเข้ารหัส ปกปิด traffic ในเครือข่าย ส่วนใหญ่ตัวเลือกจะมี WEP, WPA-PSK และ WPA2-PSK
    • WPA2 เป็นการเข้ารหัสที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าอุปกรณ์ที่ใช้รองรับ ก็ให้เลือกเลย แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์รุ่นเก่าหน่อย จะไม่รองรับ WPA2
  5. passphrase คือรหัสผ่านที่ต้องใส่ในอุปกรณ์เวลาจะต่อเน็ต แนะนำให้ตั้ง passphrase ให้จำง่ายเดายาก ป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดี ที่สำคัญคือทุกสัญญาณ Wi-Fi ที่ใช้ ต้องมี passphrase เพื่อความปลอดภัย
  6. พอตั้ง SSID, ประเภทการเข้ารหัส (encryption type) และตั้ง passphrase แล้ว ให้คลิกปุ่ม Apply หรือ Save เพื่อเริ่มใช้งานสัญญาณ Wi-Fi นั้น เราเตอร์จะประมวลผล 2 - 3 วินาที แล้วอุปกรณ์จะตรวจจับและเชื่อมต่อสัญญาณ Wi-Fi [2]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

Forward พอร์ท

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติจะอยู่ในหัวข้อ Advanced ของหน้าปรับแต่งเราเตอร์
  2. คลิกปุ่มสร้าง custom service เพื่อเปิดแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลที่ต้องใช้ในการ forward พอร์ท
    • Name/Service Name – นี่คือชื่อโปรแกรมที่จะ forward พอร์ท ตั้งไว้ให้หาในรายชื่อง่ายๆ เท่านั้น
    • Protocol – จะมีตัวเลือกคือ TCP, UDP และ TCP/UDP ให้เช็คว่าโปรแกรมที่จะ forward พอร์ทนั้นต้องใช้ตัวเลือกไหน
    • External Starting Port – นี่คือพอร์ทแรกในช่วงของพอร์ทที่จะเปิด
    • External Ending Port – นี่คือพอร์ทสุดท้ายในช่วงของพอร์ทที่จะเปิด ถ้าจะเปิดแค่พอร์ทเดียว ให้ใส่พอร์ทเดียวกันในช่องนี้
    • ติ๊กช่องที่ใช้ช่วงของพอร์ทเดียวกัน เพื่อกำหนด Internal ports หรือกรอกข้อมูลเดียวกันในช่อง Internal port
    • Internal IP address – นี่คือ IP address ของคอมที่จะเปิดพอร์ท คุณเช็ค IP address ของอุปกรณ์ได้ตามวิธีการใน บทความนี้ ถ้าใช้ PC หรืออ่าน บทความนี้ ถ้าใช้ Mac OS X
  3. เราเตอร์จะประมวลผลสักพัก ค่าใหม่ถึงจะมีผล เท่านี้โปรแกรมก็จะเข้าพอร์ทที่เปิด ในคอมที่เลือกได้
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

บล็อกเว็บไซต์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติอยู่ในหัวข้อ Security หรือ Parental Controls ของเมนู configuration คุณบล็อกเว็บไม่ให้ใครเข้า ได้ในทุกอุปกรณ์ในเครือข่ายเดียวกัน หรืออนุญาตให้เข้าถึงเว็บนั้นได้เฉพาะบางอุปกรณ์ คุณตั้งเวลาบล็อกได้ด้วย เหมาะสำหรับเวลาทำการบ้าน ท่องหนังสือ ที่ต้องการสมาธิเป็นพิเศษ
  2. ตัวเลือกจะเปลี่ยนไปตามเราเตอร์ที่ใช้ เราเตอร์บางรุ่นจะมีให้บล็อก keywords รวมถึงบล็อกเฉพาะเว็บได้ ก็เพิ่มเว็บที่จะบล็อกในรายชื่อได้เลย
  3. อนุญาตให้คอมเครื่องที่แน่ใจว่าปลอดภัย เข้าถึงเว็บที่ถูกบล็อกได้. คุณติ๊กช่องเพื่ออนุญาตให้ IP address ที่เชื่อถือได้ เข้าถึงเว็บที่บล็อกได้ เหมาะสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่อยากเข้าเว็บที่บล็อกไว้ไม่ให้ลูกเข้า
    • พอติ๊กช่องแล้ว ให้ใส่ IP address ที่จะ bypass เข้าถึงเว็บที่บล็อกได้ บทความนี้ จะอธิบายวิธีการค้นหา IP address ให้คุณเอง
  4. จะอยู่เมนูแยกจาก block list เลือกได้ว่าใน 1 อาทิตย์จะบล็อกวันไหนบ้าง รวมถึงเลือกช่วงเวลาของวัน เสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม Apply ได้เลย
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,539 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา