ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาเจอเรื่องแย่ๆ คุณหันหน้าไปหาใคร เพื่อนคือคนที่สามารถปลอบโยนและให้กำลังใจเราได้โดยเฉพาะเวลาที่เรามีเรื่องเศร้า แต่การหาวิธีปลอบใจเพื่อนและการนึกคำพูดดีๆ ที่มีค่าต่อใจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป และคุณก็อาจจะรู้สึกเขินหน่อยๆ ด้วย โชคดีที่คุณสามารถปลอบใจเพื่อนและช่วยให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้นได้โดยที่คุณไม่ต้องรู้สึกกระอักกระอ่วนหรืออึดอัด อ่านต่อด้านล่างเพื่อเรียนรู้วิธีปลอบใจเพื่อนเมื่อเพื่อนมีความทุกข์

1

รู้ว่าปัญหาคืออะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าเพื่อนเสียใจเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นถามออกไปตรงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นจะดีกว่า ถ้าเพื่อนดูลังเล ให้บอกเพื่อนว่าคุณไม่ตัดสินเขาหรอก และคุณก็อยู่ตรงนี้เพื่อช่วยเหลือเขาไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น [1]
    • ลองพูดประมาณว่า “หวัดดี เกิดอะไรขึ้น เรารู้นะว่าเธอไม่สบายใจ ฉันสัญญาว่าจะไม่ตัดสินเธอ แค่อยากรู้เฉยๆ ว่าจะต้องช่วยยังไง”
    โฆษณา
2

ถามเพื่อนว่าเพื่อนรู้สึกอย่างไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามอย่าคิดไปเองว่า คุณรู้ว่าเพื่อนรู้สึกอย่างไร. ถ้าเพื่อนเพิ่งเจอเรื่องไม่สบายใจ เขาอาจจะรู้สึกโกรธ เศร้า เสียใจ หรือแม้แต่อึดอัด ขอให้เพื่อนเปิดใจเล่าให้คุณฟังว่าเขารู้สึกอย่างไร คุณจะได้เข้าใจเขามากขึ้นอีกนิด [2]
    • คุณอาจจะพูดว่า “ฟังดูแย่ว่ะเพื่อน นายเป็นไงบ้าง”
    • หรือ “นายจัดการทุกอย่างได้ดีนะ ตอนนี้รู้สึกยังไงบ้าง”
  1. บางครั้งวิธีปลอบใจที่ดีที่สุดคือการนั่งเงียบๆ. ปล่อยให้เพื่อนพูดมาก (หรือน้อย) เท่าที่ต้องการและพยายามอย่าขัดจังหวะ ยิ่งคุณปล่อยให้เขาระบายความในใจออกมามากเท่าไหร่ เขาก็จะยิ่งรู้สึกดีขึ้น [3]
    • อยู่ให้ห่างจากสิ่งที่ทำให้วอกแวกและตั้งใจฟังเพื่อนให้เต็มที่ระหว่างคุยกัน
    • พยักหน้าและสบตาเพื่อให้เพื่อนรู้ว่าคุณกำลังฟังและเปิดทางให้เพื่อนเล่าต่อ
    โฆษณา
4

ยอมรับความรู้สึกของเพื่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกเพื่อนว่าความรู้สึกไม่มีคำว่าควรหรือไม่ควร. เวลาที่คุณเจอช่วงเวลาแย่ๆ บางครั้งอารมณ์ต่างๆ ก็ประดังประเดเข้าหาคุณในคราวเดียว ซึ่งอาจทำให้คุณสับสน บอกเพื่อนว่าคุณไม่ตัดสินเขาและเขาจะรู้สึกอย่างไรก็ได้ [4]
    • พูดประมาณว่า “แกจะรู้สึกอย่างงั้นก็ไม่แปลก” หรือ “ฉันเข้าใจมากๆ เลยว่าทำไมแกถึงรู้สึกแบบนั้น”
5

บอกให้รู้ว่าคุณเป็นห่วง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แสดงอารมณ์ออกมาเพื่อให้เพื่อนรู้ว่าคุณเป็นห่วง. บอกให้เพื่อนรู้ว่าคุณเสียใจที่เพื่อนต้องมาเจอสถานการณ์แบบนี้ การได้ยินว่ามีใครสักคนเป็นห่วงอาจทำให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้น และทำให้เขารู้ด้วยว่าคุณอยากให้เขาได้สิ่งที่ดีที่สุดเสมอ แม้แต่คำพูดธรรมดาๆ อย่าง “ฉันเสียใจด้วยนะที่แกต้องมาเจอเรื่องแบบนี้” ก็ช่วยให้เพื่อนรู้สึกสงบได้ [5]
    • หรือคุณอาจจะพูดว่า “ฟังดูแย่จังเลย ฉันเสียใจด้วยนะ”
    โฆษณา
6

ยกตัวเองช่วงเวลาแย่ๆ ที่คุณเคยผ่านมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบอกเพื่อนว่าคุณเข้าใจอาจช่วยให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้นได้. ลองพูดถึงช่วงเวลาที่ยากลำบากที่คุณเพิ่งผ่านมาไม่นานและเล่าให้เพื่อนฟังว่า กว่าจะผ่านมาได้มันยากแค่ไหน แต่อย่าเล่าเรื่องตัวเองยืดยาว (ไม่อย่างนั้นมันจะเหมือนว่าคุณไม่ได้สนใจจะฟังเพื่อนพูด) แต่การเล่าสั้นๆ อาจช่วยปลอบใจเพื่อนได้ [6]
    • คุณอาจจะพูดว่า “ฉันเข้าใจว่านายรู้สึกยังไง ตอนที่ฉันเลิกกับแฟน ฉันเศร้ามากจนแทบไม่ลุกจากเตียงเลยเป็นอาทิตย์”
7

ถามเพื่อนว่าคุณช่วยอะไรได้บ้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อนอาจจะบอกได้ว่าคุณจะช่วยเหลือเขาได้อย่างไร. เพื่อนอาจจะอยากให้คุณช่วยจัดการงานบ้านสักสองสามอย่าง หรือเขาอาจจะแค่อยากให้คุณนั่งเงียบๆ เป็นเพื่อน ถามเพื่อนก่อนลงมือช่วยเพื่อให้แน่ใจว่าคุณช่วยถูกจุด [7]
    • คุณอาจจะถามด้วยการพูดสั้นๆ ว่า “ให้ฉันช่วยอะไรมั้ย” หรือ “ตอนนี้มีอะไรที่จะช่วยให้เธอรู้สึกดีขึ้นได้บ้าง”
    โฆษณา
8

หาเวลาถามไถ่เพื่อนบ่อยๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อนอาจจะไม่ได้รู้สึกดีขึ้นหลังจากผ่านไปหนึ่งวัน. ถ้าคุณต้องกลับบ้านหรือจะไม่ได้เจอเพื่อนไปอีกสักพัก พยายามส่งข้อความ โทรหา หรือใช้เวลาด้วยกันบ่อยๆ ย้ำให้เขารู้ว่าคุณอยู่เคียงข้างเขาและดูว่าเขาอยากให้คุณช่วยอะไรไหมเมื่อเขาเริ่มรู้สึกดีขึ้นแล้ว [8]
    • คุณอาจจะส่งข้อความสั้นๆ ไปว่า “หวัดดีจ้า ทักมาถามไถ่ วันนี้เป็นไงบ้าง”
    • หรือ “ฉันอยู่แถวบ้านเธอเนี่ย ขอฉันแวะไปหาได้มั้ย”
9

คอยเตือนให้เพื่อนดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกให้เพื่อนทำอะไรดีๆ เพื่อตัวเองหนึ่งอย่างในวันนี้. จะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างการดื่มกาแฟสักถ้วยหรือมาส์กหน้าผ่อนคลายก็ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร การดูแลตัวเองเล็กๆ น้อยๆ จะทำให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้นได้แน่นอน แม้จะแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม [9]
    • นอกจากนี้คุณอาจจะบอกให้เพื่อนไปเดินเล่น เล่นกับสัตว์เลี้ยง สั่งอาหารมาที่บ้าน หรืออ่านหนังสือดีๆ สักเล่มก็ได้
    โฆษณา
10

เสนอความช่วยเหลืออย่างเป็นเรื่องเป็นราว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถามเพื่อนว่าอยากให้คุณช่วยซื้อของเข้าบ้านหรือช่วยทำงานบ้านให้ไหม. ถ้าเพื่อนกำลังเศร้ามากๆ เขาอาจจะไม่มีแรงออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่เขาเคยทำตามปกติ เช่น ออกไปซื้อของหรือทำความสะอาดบ้าน ถ้าคุณมีเวลา ลองถามเพื่อนว่าให้ช่วยอะไรไหม จากนั้นก็ไปทำธุระหรือทำงานบ้านแทนเพื่อน [10]
    • เกริ่นเข้าเรื่องด้วยการพูดว่า “หวัดดี เดี๋ยวฉันจะไปซูเปอร์มาร์เก็ต ฝากฉันซื้ออะไรมั้ย”
    • หรือ “เธอคงเหนื่อยมาก ให้ฉันช่วยทำความสะอาดนิดหน่อยมั้ย เธอจะได้พักผ่อน”
11

วางแผนค่ำคืนที่สนุกสนานด้วยกันที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำให้เพื่อนร่าเริงขึ้นด้วยการนัดเล่นเกมหรือดูหนังด้วยกันตอนกลางคืน. ถ้าเพื่อนไม่อยากออกไปไหน ให้ไปบ้านเพื่อนแล้วนอนดู Netflix หรือเล่นบอร์ดเกมกัน แค่มีคุณอยู่เป็นเพื่อน เท่านี้เขาก็อาจจะรู้สึกดีขึ้นแล้ว! [11]
    • ถ้าคุณออกมาเจอกันไม่ได้ ลองดูหนังออนไลน์ “ด้วยกัน” ผ่านฟังก์ชัน Watch Party ของ Netflix หรือ Hulu
    โฆษณา
12

ทำอาหารเย็นให้เพื่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กินข้าวมื้ออร่อยกับเพื่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเพื่อนได้กินข้าว. เวลาที่คุณเศร้า คุณก็อาจจะเผลอลืมทำเรื่องพื้นฐานอย่างการกินข้าวเย็นได้เหมือนกัน แวะไปบ้านเพื่อนแล้วทำอาหารอร่อยๆ เช่น พาสต้า ไก่ หรือสเต็กให้เพื่อนกิน จากนั้นก็นั่งคุยเป็นเพื่อนหรือแค่นั่งเงียบๆ ระหว่างกินก็ได้ [12]
    • หรือคุณจะสั่งอาหารไปส่งที่บ้านเพื่อนก็ได้
13

ซื้อของกินอร่อยๆ ไปให้เพื่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กาแฟหรือของหวานอาจทำให้เพื่อนร่าเริงขึ้นได้. ถ้าคุณกำลังไปหาเพื่อนที่บ้าน ให้แวะร้านในละแวกนั้นแล้วซื้อของอร่อยๆ ไปฝากเพื่อน หวังว่าของหวานที่คุณซื้อมาเซอร์ไพรส์จะทำให้เพื่อนร่าเริงขึ้นได้ แม้จะแค่นิดเดียวก็ตาม [13]
    • ถ้าคุณอยู่ไกลกัน โอนพร้อมเพย์ให้เพื่อนแล้วบอกเพื่อนว่า ให้ไปซื้อกาแฟหรือขนมอบอร่อยๆ มากิน
    โฆษณา
14

ส่งข้อความน่ารักๆ ไปให้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่งข้อความที่จะทำให้เพื่อนหัวเราะหรือยิ้มออกมาได้. ถ้าวันนั้นคุณออกไปเจอเพื่อนไม่ได้ ลองส่งมีมตลกๆ หรือรูปสัตว์น่ารักๆ ไปให้เพื่อน หรือส่งข้อความไปบอกเพื่อนว่า เขามีความหมายกับคุณและเป็นเพื่อนที่ดีมากแค่ไหน หวังว่าจะช่วยให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้นได้นิดนึงก็ยังดี [14]
    • คุณอาจจะพูดประมาณว่า “แค่อยากบอกว่าฉันคิดถึงแก ฉันรักแกนะ!”
15

บอกให้เพื่อนขอความช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณปลอบใจเพื่อนเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่เพื่อนก็ยังคงเศร้าเหมือนเดิม ลองบอกให้เขาไปคุยกับนักให้คำปรึกษาหรือนักจิตบำบัด ผู้เชี่ยวชาญจะสอนทักษะการรับมือและมีคำแนะนำที่เหมาะกับสถานการณ์ของเพื่อน [15]
    • คุณอาจจะค่อยๆ ตะล่อมเพื่อนด้วยการพูดประมาณว่า “เออ ฉันว่าแกยังดูเศร้าๆ อยู่เลยนะ ลองไปรับคำปรึกษามั้ย ฉันเคยไปนะ มันช่วยฉันตอนเจอเรื่องแย่ๆ ได้จริงๆ”
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 897 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา