ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ดอกบัวเป็นดอกไม้ประจำชาติของอินเดียและเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูและชาวพุทธ ดอกบัวเป็นพืชน้ำแข็งแรงที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และออสเตรเลีย แต่ก็สามารถปลูกได้ในสภาพอากาศปานกลางแทบทุกแบบในสภาวะที่เหมาะสม คุณจะปลูกดอกบัวจากเมล็ดหรือจากเหง้าก็ได้ แต่ถ้าคุณปลูกดอกบัวจากเมล็ด ในปีแรกมันก็อาจจะยังไม่ออกดอก [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปลูกดอกบัวจากเมล็ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ตะไบโลหะมาตรฐานขูดเปลือกแข็งด้านนอกจนเห็นแกนสีครีมข้างใน แต่อย่าตะไบตรงแกนออกไม่อย่างนั้นดอกบัวจะไม่โต การขูดปลือกด้านนอกออกไปจะทำให้น้ำเข้าถึงแกนกลางของเมล็ดได้ [2]
    • ถ้าคุณไม่มีตะไบโลหะ คุณจะใช้มีดคมๆ หรือจะเอาเมล็ดถูกับพื้นซีเมนต์ก็ยังได้ แค่ระวังอย่าขูดเมล็ดออกมากเกินไปเท่านั้นเอง
  2. ใช้แก้วหรือภาชนะพลาสติกใสเพราะคุณจะได้เห็นว่าเมล็ดเริ่มงอกหรือยัง เติม น้ำที่กำจัดคลอรีนแล้ว ที่อุณหภูมิ 24-27 องศาลงไป [3]
    • หลังจากแช่ไว้ 1 วัน เมล็ดจะจมลงไปที่ก้นภาชนะและบวมขึ้น 2 เท่าของขนาดเดิม เมล็ดที่ลอยขึ้นมักจะเป็นเมล็ดที่เพาะไม่ได้ เพราะฉะนั้นให้เอาออก ไม่อย่างนั้นมันจะทำให้น้ำขุ่น
    • เปลี่ยนน้ำทุกวันแม้ว่าเมล็ดจะเริ่มงอกแล้วก็ตาม เวลาที่เอาเมล็ดออกเพื่อเปลี่ยนน้ำ ให้ดูแลหน่อที่งอกใหม่ด้วยความระมัดระวัง เพราะว่ามันบอบบางมาก
  3. ในภาชนะปริมาตร 11-19 ลิตร. โดยทั่วไปภาชนะขนาดเท่านี้จะมีที่พอให้ดอกบัวที่เพิ่งขึ้นเจริญเติบโตได้ ถังพลาสติกสีดำจะช่วยกักเก็บความร้อน ช่วยให้ต้นกล้าได้รับความอบอุ่น [4]
    • โดยหลักการแล้วดินของคุณควรเป็นดินเหนียว 2 ส่วนและทรายแม่น้ำ 1 ส่วน ถ้าคุณใช้ดินสำเร็จรูปที่ใช้เป็นดินชั้นบนสำหรับต้นไม้ที่ปลูกในบ้าน เวลาที่คุณเอาถังน้ำจุ่มลงไปในน้ำดินมันจะลอยเหนือผิวน้ำขึ้นมา [5]
    • ภาชนะที่เลือกมาจะต้องไม่มีรูระบายน้ำ เพราะต้นไม้อาจจะเคลื่อนไปอยู่ตรงรูระบายและเริ่มงอกออกมาข้างนอก ทำให้ดอกบัวไม่งามเท่าไหร่นัก
  4. แล้วให้นำออกมาจากน้ำ. เมล็ดควรจะเริ่มงอกหลังจากแช่น้ำ 4 หรือ 5 วัน แต่ถ้าคุณนำต้นกล้ามาใส่ในภาชนะสำหรับปลูกเร็วเกินไป มันจะไม่โต [6]
    • ถ้าคุณแช่ไว้นานเกินไป ต้นกล้าจะเริ่มมีใบ ซึ่งยังนำไปปลูกได้อยู่ แค่ดูแลอย่าให้ใบเปรอะดินก็พอ [7]
  5. นำเมล็ดที่งอกแล้วลงดิน โดยให้แต่ละต้นห่างกัน 10 ซม.. คุณไม่ต้องฝังเมล็ดลงไปในดิน แค่วางเมล็ดไว้บนดิน จากนั้นเกลี่ยดินมาทับบางๆ เพื่อให้ต้นกล้าเกาะอยู่กับดิน แล้วเดี๋ยวมันจะหยั่งรากลงไปในดินเอง [8]
    • คุณอาจจะเอาดินน้ำมันโปะไว้รอบฐานของแต่ละเมล็ดเพื่อให้น้ำหนักของดินน้ำมันช่วยยึดเมล็ดไว้กับดิน เพราะเวลาที่คุณนำภาชนะไปใส่ไว้ในบ่อน้ำ เมล็ดที่ไม่ยึดเกาะกับดินอาจจะหาทางออกมาจากดินและลอยขึ้นเหนือน้ำ
  6. ดอกบัวเป็นพืชน้ำ เพราะฉะนั้นควรมีน้ำอยู่เหนือดินอย่างน้อย 5-10 ซม. เสมอ ถ้าคุณมีต้นไม้อย่างอื่นที่สูงกว่า น้ำก็อาจจะลึกถึง 50 ซม. เลยก็ได้ ส่วนดอกบัวแคระต้องการน้ำลึกประมาณ 5-30 ซม. [9]
    • น้ำควรลึกอย่างน้อย 20 ซม. แต่ถ้าคุณอยู่ในที่ที่อากาศค่อนข้างเย็น น้ำที่ตื้นกว่านี้จะเพิ่มความอบอุ่นให้ดอกบัวมากเป็นพิเศษ
    • ดอกบัวที่ปลูกจากเมล็ดไม่ค่อยออกดอกในช่วงปีแรก เพราะฉะนั้นในปีแรกให้ใส่ปุ๋ยแต่น้อย ปล่อยให้ดอกบัวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไปก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปลูกดอกบัวจากเหง้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะสั่งซื้อเหง้าบัวออนไลน์ ศูนย์เพาะพันธุ์พืช หรือร้านขายต้นไม้ แต่ถ้าเลยระยะพักตัวไปแล้วจะไม่ค่อยมีขายเนื่องจากจัดส่งลำบาก แต่คุณก็อาจจะหาซื้อเหง้าบัวที่ปลูกในท้องถิ่นได้ [10]
    • ถ้าเป็นบัวพันธุ์ผสมที่หายาก คุณอาจต้องซื้อออนไลน์ ถ้ามีกลุ่มคนจัดส่วนน้ำใกล้บ้านคุณ ให้ขอคำแนะนำจากเขา บางที่ก็มีต้นไม้ขายด้วย [11]
  2. น้ำเหง้าบัวมาลอยในชามที่มีน้ำที่อุณหภูมิ 24-31 องศาเซลเซียส. ค่อยๆ วางหัเหง้าบัวลงบนผิวน้ำ วางชามไว้ริมหน้าต่างที่มีแสงแดดอุ่นๆ แต่อย่าให้โดนแดดโดยตรง [12]
    • ถ้าคุณกะจะย้ายดอกบัวไปไว้ในบ่อน้ำ ให้ใช้น้ำจากบ่อ (แต่น้ำในบ่อต้องไม่เย็นนัก) เปลี่ยนน้ำทุก 3-7 วันหรือเมื่อน้ำเริ่มขุ่น
  3. เลือกภาชนะทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 100-120 ซม.. ถ้าปล่อยโตตามสบาย ดอกบัวจะขยายทั่วบริเวณที่มันอยู่ ภาชนะจะทำหน้าที่ควบคุมการเติบโตของดอกบัวเพื่อไม่ให้มันขยายไปทั่วบ่อน้ำ [13]
    • ภาชนะก้นลึกจะลดโอกาสที่ดอกบัวจะลอยขึ้นไปด้านบนและกระจายไปทั่วบ่อ และภาชนะทรงกลมจะช่วยกันไม่ให้ดอกบัวติดอยู่ที่มุมบ่อน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้มันไม่โตหรือตายได้
  4. สารที่ใช้ปลูกดอกบัวได้ดีคือดินที่เป็นดินเหนียว 60% กับทรายแม่น้ำ 40% เหลือที่ระหว่างชั้นบนของดินกับขอบภาชนะไว้ 8-10 ซม. [14]
    • คุณจะใช้ดินที่ปรับสภาพมาแล้วที่มีชั้นทรายหนา 5-8 ซม. ข้างบนแยกออกมาต่างหากก็ได้ แต่คุณต้องเหลือพื้นที่ระหว่างชั้นบนของดินกับขอบภาชนะให้มากพอด้วย
  5. ค่อยๆ ฝังเหง้าบัวลงไปในทราย จากนั้นค่อยๆ เอาก้อนหินถ่วงเพื่อไม่ให้มันลอยขึ้นเหนือน้ำก่อนที่มันจะหยั่งราก [15]
    • อย่าฝังเหง้าบัวลงไปในดินทั้งเหง้าเพราะมันจะเน่า คุณต้องกดๆ มันลงบนผิวดินแค่นิดเดียวเท่านั้น
  6. ใส่ภาชนะลงไปในบ่อน้ำ โดยให้ต้นอยู่ใต้น้ำ 15-30 ซม.. เลือกวางเหง้าบัวในที่ที่มีแสงแดดเพียงพอ ห่างจากน้ำไหล และมีพื้นที่ให้ดอกบัวเติบโต พอเหง้าบัวเกาะอยู่กับที่แล้ว คุณก็สามารถวางภาชนะลงไปให้ลึกกว่าเดิมในที่ที่คุณตั้งใจจะปลูกดอกบัวได้ [16]
    • พออยู่ในน้ำแล้ว เหง้าบัวจะเติบโตเองโดยการหันลงไปในดินและเริ่มหยั่งราก
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ดูแลดอกบัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้ต่ำกว่า 21 องศาเซลเซียส. ดอกบัวจะเริ่มโตจริงๆ ก็ต่อเมื่อผิวน้ำอยู่ที่อุณหภูมินี้ ดอกบัวต้องการน้ำไม่เย็นนักในการเจริญเติบโตเต็มที่ โดยหลักการแล้วอุณหภูมิของอากาศก็ไม่ควรต่ำกว่า 21 องศาเซลเซียสเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นมันจึงเหมาะกับอากาศของเมืองไทยมาก [17]
    • หลังจากดอกบัวอยู่ในน้ำที่อุณหภูมิเกิน 21 องศาเซลเซียสแล้ว 2-3 วัน มันจะเริ่มออกใบ และดอกจะบานหลังจากอยู่ในน้ำที่อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียสไปแล้ว 3-4 สัปดาห์
    • เช็กอุณหภูมิของน้ำวันเว้นวัน ถ้าคุณอยู่ในเขตที่อุณหภูมิค่อนข้างเย็นจัดหรืออากาศหนาวจัดในช่วงหน้าหนาว คุณอาจจะต้องก่อไฟข้างๆ บ่อน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสม [18]
  2. ดอกบัวเจริญเติบโตในที่ที่มีแดดจัด และต้องการแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 5-6 ชั่วโมง ถ้าบ่อน้ำของคุณมีร่มไม้มาบัง คุณอาจจะต้องเล็มหรือตัดใบไม้รอบๆ ที่บังดอกบัวไม่ให้โดนแดดออกบ้าง [19]
    • เนื่องจากเมืองไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ดอกบัวจึงสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลความสะอาดของน้ำ การใส่ปุ๋ย และการได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอด้วย [20]
  3. ตัดดอกที่กำลังจะตายและใบที่เหลืองหรือเสียหาย. ถ้าดอกบัวเริ่มขยายเต็มบ่อ คุณก็อาจจะตัดส่วนที่งอกออกมาใหม่ทิ้งไปได้ แต่อย่าลืมว่าเดี๋ยวมันก็งอกใหม่อีกจนกว่าคุณจะเปลี่ยนกระถาง [21]
    • อย่าตัดดอกหรือก้านใบใต้ระดับน้ำ เพราะรากกับเหง้าใช้ก้านในการดูดซึมออกซิเจน [22]
  4. ปุ๋ยบัวอัดเม็ดเป็นปุ๋ยสำหรับพืชน้ำโดยเฉพาะ รอจนกว่าเหง้าจะออกใบอย่างน้อย 6 ใบก่อนค่อยใส่ปุ๋ย และอย่าใส่ปุ๋ยตรงเหง้าโดยตรง [23]
    • ดอกบัวพันธุ์เล็กต้องการปุ๋ยแค่ 2 เม็ด แต่ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่อาจจะต้องใช้ถึง 4 เม็ด ใส่ปุ๋ยทุก 3-4 สัปดาห์ และหยุดใส่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เพราะถ้าถึงช่วงนี้แล้วคุณยังใส่ปุ๋ยต่อไป มันจะไม่สามารถเตรียมตัวในช่วงระยะพักตัวได้
    • ถ้าคุณปลูกดอกบัวจากเมล็ด อย่าใส่ปุ๋ยในช่วงปีแรก
  5. ศัตรูพืชที่ทำลายใบบัวคือเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนพับใบ และหนอนกระทู้ การใส่ยาฆ่าแมลงแบบผงเล็กน้อยโรยลงไปที่ใบโดยตรงจะช่วยป้องกันใบบัวจากศัตรูพืชเหล่านี้ได้ [24]
    • ยาฆ่าแมลงแบบน้ำรวมทั้งแบบออร์แกนิกจะมีน้ำมันและน้ำยาที่อาจเป็นอันตรายต่อดอกบัว
  6. ลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน. ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกภาชนะที่ปลูกให้อยู่ใกล้ผิวน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว [25]
    • ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว เพราะจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่ง และเก็บไว้ครึ่งหนึ่งถึงจะดี
  7. พอคุณเห็นสัญญาณของการเจริญเติบโตใหม่ ให้เปลี่ยนดินใหม่แล้วเอาดอกบัวไปไว้ในกระถางเดิม (ยกเว้นว่ากระถางเดิมจะแตกแล้ว) เสร็จแล้วนำกระถางไปวางในบ่อน้ำที่ระดับความลึกเท่าเดิม [26]
    • ถ้าเมื่อปีก่อนดอกบัวกินพื้นที่ทั่วทั้งบ่อน้ำ ให้สังเกตรอยแตกที่ภาชนะ คุณอาจจะต้องซื้อภาชนะใบใหญ่กว่าเดิมเพื่อให้รองรับดอกบัวได้พอดีมากขึ้นถ้ามันโตเลยขอบภาชนะออกมาแล้ว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองใช้ปุ๋ยออร์แกนิกที่ทำจากสาหร่ายทะเลหรือปลาป่นถ้าคุณไม่อยากใช้ปุ๋ยเคมี
  • เหง้าบัวเปราะบางมาก เพราะฉะนั้นให้ดูแลให้ดีและอย่าหักตรงปลายออก (ตรงที่เป็น "ตา" ของเหง้าบัว) เพราะดอกบัวจะไม่โตถ้าตาเสียหาย [27]
  • ดอกบัว เม็ดบัว ใบอ่อน และก้านใบกินได้หมด แต่อาจจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเล็กน้อย [28]
  • เม็ดบัวสามารถเก็บไว้ได้หลายร้อยปีหรืออาจจะหลายพันปีเลยด้วยซ้ำ [29]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,281 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา