ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทานตะวันเป็นพืชปีเดียวที่ให้ดอกไม้สีเหลืองขนาดเล็กใหญ่ปนกันไปในฤดูร้อน ทานตะวันมีชื่อเสียงโด่งดังจากความสวยงาม และการที่มันปลูกง่าย การปลูกเมล็ดทานตะวันในช่วงฤดูใบไม้ผลิเป็นกิจกรรมที่สนุกสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่เลยล่ะ คุณสามารถปลูกเมล็ดทานตะวันได้ในเวลาและการเตรียมตัวอันสั้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเพาะเมล็ดทานตะวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แม้ว่าจะสามารถนำทานตะวันมาปลูกในบ้านได้ แต่ถ้านำไปปลูกกับดินนอกบ้านจะได้ผลดีที่สุด รากทานตะวันนั้นบอบบางสำหรับการเคลื่อนย้าย ฉะนั้นการย้ายมันอาจเป็นการฆ่ามันได้ อุณหภูมิที่ทานตะวันจะเติบโตได้ดีที่สุดจะอยู่ระหว่าง 18 ถึง 33 องศาเซลเซียส แต่คุณสามารถปลูกในที่ที่อุณหภูมิต่ำกว่านี้เล็กน้อยได้ เมื่อน้ำแข็งสุดท้ายของฤดูได้ละลายไปแล้ว [1]
    • ปกติแล้วทานตะวันจะใช้เวลา 80 ถึง 120 วันในการเติบโตอย่างสมบูรณ์และผลิตเมล็ดใหม่ออกมา ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของมัน [2] ถ้าหากว่าในพื้นที่ของคุณมีฤดูการเจริญเติบโตที่สั้นกว่านี้ ให้ปลูกทานตะวันสองสัปดาห์หลังจากน้ำแข็งฤดูหนาวครั้งสุดท้ายหมดไป เมล็ดส่วนใหญ่มีสิทธิ์ที่จะรอดได้ [3]
  2. ทานตะวันมีสายพันธุ์แท้และผสมอยู่มากมาย แต่คนปลูกมักเลือกแค่ไม่กี่สายพันธุ์ ซึ่งมักจะอธิบายเอาไว้บนภาชนะบรรจุเมล็ดหรือตามรายชื่อในอินเทอร์เน็ต ขอให้ตรวจสอบความสูงที่สุดเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ของทานตะวัน ตั้งแต่พันธุ์แคระที่สูงภายใน 30 ซม. ไปถึงพันธุ์ยักษ์ที่สูงได้ถึง 4.6 เมตรหรือมากกว่านี้ และให้ตัดสินใจเลือกระหว่างทานตะวันที่ให้ก้านเดียวดอกเดียว หรือทานตะวันที่แตกก้านได้เยอะๆ กับดอกหลายๆ ดอกที่มีขนาดเล็กกว่า
    • มันเป็นไปไม่ได้ที่จะปลูกทานตะวันออกมาจากเมล็ดที่อบแล้ว แต่คุณสามารถปลูกจากเมล็ดทานตะวันที่ให้เป็นอาหารนกได้ ตราบใดที่ยังมีเปลือกนอกของมันอยู่ [4]
  3. พรมน้ำลงทิชชู่บางๆ เพื่อให้มันชุ่มแต่ไม่โชกจนน้ำไหลออกมา แล้วใส่เมล็ดทานตะวันเอาไว้ครึ่งหนึ่งของแผ่นทิชชู่ จากนั้นก็ให้พับเพื่อห่อมัน
    • ถ้าคุณมีเมล็ดทานตะวันอยู่เยอะ และไม่สนใจว่าความสำเร็จในการปลูกจะต่ำกว่าเดิมหรือไม่ คุณก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้เลยได้ เมล็ดที่ปลูกลงดินโดยตรงมักใช้เวลาประมาณ 11 วันที่จะแตกหน่อออกมา [5]
    • ถ้าคุณอาศัยอยู่ในที่ที่มีฤดูการปลูกนาน ให้ลองเพาะกลุ่มเมล็ดแยกกันหนึ่งหรือสองสัปดาห์ เพื่อที่จะได้มีดอกทานตะวันบานในสวนนานๆ ไปเลย
  4. ใส่ห่อกระดาษทิชชู่ชุ่มน้ำเอาไว้ในถุงพลาสติก [6] มาตรวจสอบครั้งหรือสองครั้งต่อวัน และทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีต้นอ่อนออกมา ปกติแล้วคุณจะเห็นต้นอ่อนแตกออกมาจากเมล็ดส่วนใหญ่ภายใน 48 ชั่วโมง [7] เมื่อมันแตกหน่อออกมาแล้ว ให้ไปขั้นต่อไปเพื่อปลูกเมล็ดได้เลย
    • เก็บทิชชู่เอาไว้ในอุณหภูมิสูงกว่า 10ºC เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด [8]
  5. ถ้าหากว่าเมล็ดไม่แตกหน่อออกมาภายในสองสามวัน ให้ลองใช้กรรไกรตัดเล็บตัดขอบของเปลือกเมล็ดออก [9] ระวังอย่าให้ไปโดนเมล็ดด้านในล่ะ จากนั้นหยดน้ำตามลงอีกเล็กน้อยถ้าหากว่าทิชชู่เริ่มแห้ง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การปลูกเมล็ดทานตะวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทานตะวันจะเติบโตได้ดีที่สุดช่วงหกถึงแปดโมงในวันที่แดดส่องจ้า เมื่อมันสามารถรับแสงแดดได้ [10] ให้เลือกสถานที่ที่รับแสงอาทิตย์ได้โดยตรงเป็นส่วนใหญ่ในวันๆ หนึ่ง
    • แม้ว่าสวนของคุณจะลมแรงก็ตาม แต่อย่าให้ต้นไม้ กำแพง หรือวัตถุอื่นๆ มาบังแสงอาทิตย์จากทานตะวันได้
  2. ทานตะวันนั้นมีรากแก้วที่ยาว และอาจเน่าได้ถ้าหากว่าดินเป็นดินที่กักเก็บน้ำเอาไว้อยู่ ให้ขุดรูลึกลงไป 0.6 เมตรเพื่อตรวจความความแข็งและความแน่นของดิน [11] ถ้าคุณรู้สึกว่าดินแน่นแข็ง ให้ผสมปุ๋ยลงไปเพื่อช่วยเรื่องการระบายน้ำในดิน
  3. ทานตะวันไม่ใช่พืชที่เรื่องมาก มันสามารถเติบโตในดินสวนธรรมดาๆ โดยไม่ต้องเพิ่มเสริมอะไรลงไปก็ย่อมได้ แต่ถ้าดินของคุณแย่มาก หรืออยากเพิ่มอะไรเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตหน่อย ก็ให้ผสมดินร่วนที่อุดมด้วยแร่ธาตุลงไปในส่วนที่จะทำการปลูก การแก้ไขความเป็นกรดด่างของดินที่แทบไม่จำเป็นเลย แต่ถ้าหากว่าคุณมีเครื่องมือแก้ความเป็นกรดด่างของดิน จะแก้ให้อยู่ประมาณ 6.0 ถึง 7.2 ก็ได้นะ [12]
    • ดินที่อุดมด้วยแร่ธาตุเป็นที่แนะนำสำหรับพันธุ์ยักษ์ เพราะมันจะต้องการสารอาหารที่มากกว่านั่นเอง [13]
  4. ) และห่างจากกัน 6 นิ้ว (15 ซม.) . ปลูกเมล็ดในรูหรือคูให้ลึกลงไป 1 นิ้ว (2.5 ซม.) หรือจะเป็น 2 นิ้ว (5 ซม.) ก็ได้ถ้าหากว่าดินมีลักษณะแบบร่วนทราย [14] โดยปลูกให้แต่ละเมล็ดห่างจากกันอย่างน้อย 6 นิ้ว (15 ซม.) เพื่อให้แต่ละต้นมีเนื้อที่ในการเจริญเติบโตมากพอ ถ้าคุณมีเมล็ดแค่ไม่กี่เมล็ด และไม่อยากจะกำจัดต้นที่อ่อนแอออกทีหลัง ให้ปลูกให้ห่างกันสัก 30 ซม.แทน หรือจะ 46 ซม. สำหรับพันธุ์ยักษ์ก็ได้ [15] แล้วนำดินมาคลุมเมล็ดหลังจากที่วางเมล็ดลงไปแล้ว
    • ถ้าคุณจะปลูกทานตะวันขนาดใหญ่ ให้เว้นคูห่างกันไว้คูละ 30 นิ้ว (76 ซม.) หรือเอาตามที่สะดวกก็ได้ [16] [17]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การดูแลต้นทานตะวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คอยให้ดินรอบๆ ต้นทานตะวันอ่อนๆ ชุ่มน้ำอยู่ตลอด. คอยให้มีความชุ่มชื้น แต่อย่าให้เปียกโชกเกินไป จนกว่าจะมีต้นอ่อนแตกหน่อขึ้นมาเหนือดิน [18] ขณะที่ต้นอ่อนยังเล็กและบอบบางอยู่ ให้รดน้ำห่างจากต้น 3 ถึง 4 นิ้ว (7.5 ถึง 10 ซม.) เพื่อกระตุ้นให้รากเติบโตขึ้นโดยไม่ทำลายต้นมัน [19]
  2. นก กระรอก และหอยหากต่างชอบเมล็ดทานตะวันทั้งนั้น และอาจขุดดินเอามันขึ้นมาแม้ว่าต้นอ่อนจะยังไม่งอกก็ตาม ให้คลุมดินเอาไว้ด้วยตาข่ายเพื่อให้การขุดดินลงไปเอาเมล็ดเป็นเรื่องยาก โดยไม่เป็นการกันต้นอ่อนไม่ให้งอกด้วย ให้วางเหยื่อล่อหรือที่ไล่หอยทากเอาไว้เป็นวงกลมเพื่อสร้างเกราะรอบๆ บริเวณที่คุณปลูกต้นทานตะวัน [20]
    • ถ้าหากว่ามีกวางอยู่ในบริเวณนั้น ให้ล้อมต้นไม้เอาไว้ด้วยลวดตาข่ายกรงไก่เมื่อต้นไม้เริ่มแตกใบ จะใช้ลวดตาข่ายกรงไก่ขนาด 36 นิ้ว (91 ซม.) ล้อมรอบใบ และใช้เสาไม้ไผ่หรือหมุดไม้ขนาด 1.8 เมตรเพื่อตรึงลวดเอาไว้ในตอนที่ทานตะวันโตก็ได้ มันจะช่วยป้องกันกวางได้ [21]
  3. เมื่อต้นไม้เริ่มมีกิ่งก้านและงอกกลุ่มรากขึ้นมาแล้ว ให้ลดความบ่อยในการรดน้ำให้เหลือแค่สัปดาห์ละครั้งก็พอ โดยให้น้ำให้มากๆ ในช่วงแต่ละสัปดาห์ และให้เพิ่มน้ำไปอีกในวันที่อากาศแห้ง ทานตะวันเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากกว่าดอกไม้ปีเดียวส่วนใหญ่ [22]
    • ระยะเวลาก่อนและหลังจากที่พืชเจริญดอกตูมขึ้นมาเป็นช่วงเวลาสำคัญ ถ้าหากว่าไม่ได้น้ำเพียงพอก็อาจสร้างความเสียหายได้ [23] รดน้ำทานตะวันสัปดาห์ละครั้งต่อไปจนกว่าดอกที่ตูมจะเริ่มเบ่งบานออก
  4. เมื่อดอกไม้สูงประมาณ 3 นิ้ว (7.5 ซม.) ให้กำจัดต้นที่เล็กกว่า อ่อนแอกว่า จนกว่าต้นที่เหลือจะมีระยะห่างอย่างน้อย 30 ซม. ขึ้นไป มันจะทำให้ต้นทานตะวันที่ใหญ่กว่า สุขภาพดีกว่า ได้ที่และสารอาหารมากขึ้น ผลออกมาก็จะมีก้านที่สูงขึ้นและดอกที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง
    • ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ถ้าหากว่าคุณต้องการดอกทานตะวันเล็กๆ เพื่อนำมาเรียงในช่อดอกไม้ หรือปลูกแต่ละต้นห่างเอาไว้เท่านั้นตั้งแต่แรกแล้ว
  5. ถ้าคุณปลูกทานตะวันเพื่อดูเล่นแล้วล่ะก็ ไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ย เพราะมันโตขึ้นได้อย่างรวดเร็วอยู่แล้วแม้จะไม่มีปุ๋ย และอาจแย่ได้ถ้าเกิดว่าได้รับสารอาหารมากเกินไป ถ้าคุณพยายามจะปลูกต้นทานตะวันที่สูงเป็นพิเศษ หรือปลูกเพื่อเก็บเกี่ยว ให้เจือปุ๋ยในน้ำและรินใส่"คู"รอบๆ ต้นไม้ โดยให้ห่างจากฐานของต้นไม้พอสมควร [24] ตัวเลือกที่ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดคือปุ๋ยที่มีสารอาหารที่จำเป็น หรือปุ๋ยที่อุดมด้วยไนโตรเจน [25]
    • อีกตัวเลือกคือให้ใส่ปุ๋ยละลายช้าไปครั้งหนึ่ง โดยมันจะส่งผลในดิน
  6. ต้นทานตะวันที่สูงกว่า 0.9 เมตรควรต้องค้ำเสาเอาไว้ อย่างพวกสายพันธุ์ที่มีก้านเยอะๆ นั่นแหละ [26] ผูกไม้ค้ำกับลำต้นไว้หลวมๆ โดยใช้ผ้าหรือวัสดุที่มีลักษณะนิ่มอื่นๆ
  7. ดอกทานตะวันนั้นมักจะบานได้ถึง 30-45 วัน เมื่อหมดเวลาของมัน ส่วนสีเขียวที่อยู่ด้านหลังดอกไม้จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล [27] ถ้าคุณอยากเก็บเมล็ดเพื่อนำไปอบ หรือปลูกในปีต่อไป ให้ห่อดอกไม้ไว้ด้วยถุงกระดาษเพื่อป้องกันจากพวกนก แล้วตัดดอกไม้ออกเมื่อมันแห้งอย่างสมบูรณ์แล้ว
    • ถ้าทิ้งเอาไว้เฉยๆ ดอกไม้จะให้เมล็ดสำหรับการปลูกในปีหน้าได้ อย่างไรก็ตาม ควรเก็บเกี่ยวมันด้วยตนเองเพื่อป้องกันเมล็ดจากศัตรูพืช
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทานตะวันเป็นพืชปีเดียว และจะตายอย่างรวดเร็วหลังจากที่ดอกไม้เหี่ยวเฉาไปแล้ว
โฆษณา

คำเตือน

  • ทานตะวันนั้นสร้างสารเคมีซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของมันฝรั่งและพวกถั่วแขกได้ และอาจฆ่าหญ้าได้ถ้ามันโตขึ้นมา แต่สารเคมีเหล่านี้ไม่มีอันตรายใดๆ [28]
  • ห้ามปลูกมันติดกับพวกงานอิฐ เพราะก้านของมันสามารถทะลุอิฐและทำให้อิฐพังได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 81,499 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา