ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในแต่ละปี มีคนมากกว่า 700,000 คนในสหรัฐอเมริกาต้องทุกข์ทรมานจากภาวะหัวใจวาย และในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 120,000 คน ภาวะหัวใจวายกับโรคหัวใจรูปแบบอื่นๆ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในหมู่ชาวอเมริกัน และอันที่จริง มันเป็นฆาตกรอันดับหนึ่งทั่วโลก [1] [2] ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ก่อนที่ผู้ป่วยจะไปถึงโรงพยาบาล [3] ดังนั้น หากคุณเกิดหัวใจวาย มีความสำคัญที่คุณจะต้องลงมืออย่างเร็วที่สุด เพื่อให้ตัวเองมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด การแจ้งเหตุฉุกเฉินภายในห้านาทีแรกที่เกิดหัวใจวาย กับการได้รับการดูแลทางการแพทย์ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก อาจหมายถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นกับความตาย หากคุณเชื่อว่าตัวเองกำลังจะหัวใจวาย จงขอความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ในทันที หรือไม่อย่างนั้น จงอ่านต่อไปเพื่อเรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ ที่จะช่วยให้คุณรอดชีวิตจากภาวะหัวใจวาย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินสัญญาณของภาวะหัวใจวาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการเจ็บหน้าอกแบบอ่อนๆ หรือรู้สึกอึดอัดในทรวงอก คืออาการซึ่งพบบ่อยมากที่สุดของภาวะหัวใจวาย ไม่ใช่อาการเจ็บปวดรวดร้าวที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้น คุณอาจรู้สึกเจ็บเหมือนมีน้ำหนักมากกดทับบนหน้าอก มีอาการบีบรัดหรือตึงรอบหน้าอก หรือเป็นโรคอาหารไม่ย่อย /อาการแสบร้อนกลางอก [4] [5]
    • อาการเจ็บปวดปานกลางหรือเจ็บปวดอย่างหนัก หรือความรู้สึกอึดอัดในอกนั้น ตามปกติจะเกิดกับร่างกายซีกซ้ายหรือที่กลางหน้าอก โดยความเจ็บปวดจะคงอยู่นานหลายนาที และอาจจะเจ็บปวดน้อยลง ก่อนจะกลับมาปวดเหมือนเดิมอีก
    • ในระหว่างที่เกิดภาวะหัวใจวาย คุณอาจรู้สึกเจ็บปวด รู้สึกกดดัน รู้สึกว่าถูกบีบรัดหรือแน่นอก
    • อาการเจ็บที่หน้าอกอาจลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย รวมทั้งที่คอ บ่า แผ่นหลัง ขากรรไกร ฟัน และท้อง [6] [7]
  2. อาการเจ็บหน้าอกอาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่นๆ ซึ่งบ่งชี้ว่าคุณกำลังหัวใจวาย อย่างไรก็ตาม เป็นความจริงที่ว่า หลายคนหัวใจวายโดยมีอาการเจ็บหน้าอกเพียงเล็กน้อย หรือไม่เจ็บเลย [8] หากคุณมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเกิดขึ้นพร้อมกับเจ็บหน้าอก จงเข้ารับการรักษาทางการแพทย์:
    • ภาวะหายใจไม่อิ่ม อาจเกิดอาการหายใจลำบากชนิดที่ไม่อาจจะอธิบายได้ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดขึ้นพร้อมกับเจ็บหน้าอก แต่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้เพียงอย่างเดียวของภาวะหัวใจวาย การหายใจแรงหรือจำเป็นต้องหายใจเข้าลึกๆ ยาวๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังจะหัวใจวาย [9] [10]
    • รู้สึกอยากจะอาเจียน ในบางครั้ง อาจจะเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน พร้อมกับภาวะหัวใจวายด้วย จนอาจทำให้เข้าใจผิด คิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ [11]
    • เวียนศีรษะหรือมึนงงคล้ายจะเป็นลม ความรู้สึกว่าโลกกำลังเคลื่อนที่หรือโลกหมุน หรือความรู้สึกว่าคุณจะเป็นลม (หรือเป็นลมไปแล้วจริงๆ ) อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะหัวใจวาย [12] [13]
    • วิตกกังวล คุณอาจรู้สึกวิตกกังวล จู่ๆ ก็เกิดอาการแพนิค (ตื่นตระหนก) หรือมีความรู้สึกที่ไม่อาจอธิบายได้ว่าสิ่งเลวร้ายมากกำลังจะเกิดขึ้น [14]
  3. สัญญาณบ่งชี้ซึ่งพบบ่อยมากที่สุดของภาวะหัวใจวายทั้งในบุรุษและสตรีคือเจ็บหน้าอก แต่สตรี (และบุรุษบางคน) อาจทุกข์ทรมานจากภาวะหัวใจวาย โดยมีอาการเจ็บหน้าอกเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่เจ็บหน้าอกเลย สตรีกับ คนชราและผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะหัวใจวาย ไม่ว่าจะเจ็บหน้าอกด้วยหรือไม่ก็ตาม:
    • สตรีมักมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งไม่ใช่แบบที่รู้กันว่าเป็นความเจ็บปวดชนิดบดขยี้และกระทันหันของภาวะหัวใจวาย ความเจ็บปวดนี้อาจจะเป็นๆ หายๆ เริ่มเป็นอย่างช้าๆ แล้วรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อาการจะบรรเทาลงหากได้พักผ่อน และอาการจะหนักมากขึ้นระหว่างการใช้แรงกาย
    • อาการเจ็บปวดที่ขากรรไกร คอ และแผ่นหลังเป็นสัญญาณที่พบบ่อยครั้งมากที่สุดของภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรี
    • อาการเจ็บปวดที่หน้าท้องช่วงบน การมีเหงื่อกาฬไหล (cold sweats) คลื่นไส้และอาเจียน พบได้บ่อยครั้งในสตรีมากกว่าในบุรุษ สัญญาณเหล่านี้อาจถูกตีความผิดพลาดว่าเป็นอาการแสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย หรือไข้หวัดใหญ่
    • การมีเหงื่อกาฬไหลจากความกระวนกระวายเป็นอาการซึ่งพบบ่อยมากที่สุดในสตรี ตามปกติจะรู้สึกเหมือนกับเครียดหรือวิตกกังวล มากกว่าจะเป็นเหงื่อที่ไหลออกมาตามปกติหลังจากออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวออกแรงอื่นๆ
    • ความวิตกกังวล อาการแพนิคที่ไม่อาจจะอธิบายได้ และความรู้สึกว่าสิ่งเลวร้ายกำลังจะเกิดขึ้น เป็นอาการของโรคที่พบบ่อยในสตรีมากกว่าในบุรุษ
    • การที่จู่ๆ ก็รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยอ่อน และหมดแรงอย่างผิดปกติโดยไม่อาจอธิบายได้ เป็นสัญญาณซึ่งพบบ่อยมากที่สุดของภาวะหัวใจวายในสตรี อาการป่วยเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ หรือเรื้อรังนานหลายวัน
    • ภาวะหายใจไม่อิ่ม มึนงงคล้ายจะเป็นลม และเป็นลม [15] [16] [17] [18] [19] [20]
  4. อาการหัวใจวายส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ แทนที่จะจู่โจมเหยื่ออย่างกะทันหัน หลายคนไม่ตระหนักความจริงว่ากำลังประสบกับสถานการณ์ฉุกเฉินทางการแพทย์ครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง จงขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ในทันที
    • ความเร็วเป็นสิ่งจำเป็น เพราะประมาณ 60% ของผู้ที่เสียชีวิตจากหัวใจวายเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ไปถึงโรงพยาบาลภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่งหลังจากเริ่มเกิดอาการ จะมีโอกาสรอดสูงกว่าผู้ที่ไปถึงหลังจากนั้น [21] [22]
    • หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าสัญญาณของภาวะหัวใจวายคืออาการป่วยของโรคอื่นๆ รวมทั้ง อาการแสบร้อนกลางอก ไข้หวัดใหญ่ ความวิตกกังวล และอื่นๆ มีความสำคัญที่คุณจะต้องไม่เมินเฉยหรือประเมินต่ำเกินไปสำหรับอาการป่วยต่างๆ ซึ่งอาจจะบ่งชี้ถึงภาวะหัวใจวาย จงขอความช่วยเหลือในทันที
    • อาการป่วยต่างๆ อาจค่อนข้างจะแตกต่างกันในแต่ละคน อาจจะแสดงอาการน้อยหรืออาการหนักก็ได้ และอาจเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงเวลาหลายชั่วโมง หลายคนอาจทุกข์ทรมานจากภาวะหัวใจวาย หลังจากมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการใดๆ เลย [23] [24] [25]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ขอความช่วยเหลือในระหว่างเกิดภาวะหัวใจวาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประมาณ 90% ของผู้มีอาการหัวใจวายรอดชีวิตหากพวกเขามีชีวิตอยู่ตอนที่ไปถึงโรงพยาบาล [26] [27] การเสียชีวิตจากหัวใจวายจำนวนมากเป็นเพราะผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว และสาเหตุที่ล้มเหลวที่จะทำเช่นนั้นมักเกิดจากความรีรอที่จะทำเช่นนั้นของเจ้าตัวเอง หากคุณรู้สึกถึงอาการใด ๆ ของโรคดังที่ระบุไว้ข้างบน อย่าพยายามรอให้อาการหายไปเอง หากอยู่ในสหรัฐจงแจ้ง 9-1-1 (หรือหมายเลขสายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉินในประเทศ ซึ่งในไทยคือ 1-9-1) เพื่อขอรับความช่วยเหลือในทันที
    • แม้จะเป็นความจริงว่าอาการเหล่านี้อาจไม่ได้เป็นอันตราย แต่หากคุณกำลังหัวใจวายจริงๆ ชีวิตของคุณจะขึ้นอยู่กับการได้รับการรักษาทางการแพทย์โดยเร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ อย่ากลัวว่าจะต้องรู้สึกกระดากอาย หรือกลัวจะทำให้เสียเวลาของแพทย์หรือหน่วยกู้ชีพ – พวกเขาจะเข้าใจ
    • บุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินสามารถเริ่มการรักษาในทันทีที่พวกเขามาถึง ดังนั้น การแจ้งขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจึงเป็นวิธีเร็วที่สุดที่จะได้รับความช่วยเหลือ เมื่อเกิดภาวะหัวใจวาย
    • อย่าขับรถไปโรงพยาบาลด้วยตัวเอง หากบุคลากรทางการแพทย์ไม่อาจเข้าถึงคุณได้อย่างรวดเร็ว หรือหากไม่มีทางเลือกฉุกเฉินอื่นๆ จงให้สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนบ้านสักคนช่วยขับรถพาคุณไปยังห้องฉุกเฉินซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด [28]
  2. หากคุณอยู่ใกล้ๆ กับครอบครัว หรืออยู่ในที่สาธารณะ ในตอนที่คุณเชื่อว่าอาจกำลังจะทุกข์ทรมานจากภาวะหัวใจวาย จงแจ้งให้คนอื่นทราบ หากสถานการณ์ของคุณเลวร้ายลงไปอีก ชีวิตของคุณอาจจะขึ้นอยู่กับใครบางคนที่จะช่วยทำ CPR ( ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ) ให้ และคุณน่าจะได้รับความช่วยเหลืออย่างได้ผลดีมากขึ้นหากคนอื่นรู้ว่าคุณกำลังเป็นอะไร
    • หากคุณอยู่บนท้องถนน จงหยุดรถแล้วส่งสัญญาณให้ผู้ขับขี่ยวดยานสักคนหนึ่งที่ผ่านมาจอดรถเพื่อช่วยคุณ หรือแจ้งสายด่วน 1-9-1 และรอ หากคุณอยู่ตรงไหนสักแห่งที่เจ้าหน้าที่การแพทย์จะสามารถเข้าถึงตัวคุณได้อย่างรวดเร็ว
    • หากคุณอยู่บนเครื่องบิน จงแจ้งต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในทันที สายการบินพาณิชย์จะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์บนเครื่องบินด้วยซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสามารถจะหาว่ามีแพทย์สักคนหนึ่งอยู่บนเครื่องบินหรือไม่ และจะช่วยทำ CPR หากจำเป็น ส่วนนักบินก็มีข้อกำหนดให้ต้องบินวนกลับไปยังสนามบินซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด หากผู้โดยสารสักคนหนึ่งเกิดหัวใจวาย
  3. หากคุณไม่สามารถได้รับการรักษาโดยเร็ว จงพยายามที่จะยังคงสงบ และเคลื่อนไหวน้อยที่สุดที่จะทำได้ จงนั่งลง พักผ่อน และรอคอยการมาถึงของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การออกกำลังสามารถทำให้หัวใจของคุณเครียด และอาจทำให้ภาวะหัวใจวายเลวร้ายลงด้วย [29]
  4. หลายคนอาจได้ประโยชน์จากการกินยาแอสไพรินในตอนที่เริ่มภาวะหัวใจวาย คุณสมควรกินหนึ่งเม็ดในทันทีและเคี้ยวยาอย่างช้าๆ ในระหว่างรอการมาถึงของบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน หากแพทย์สั่งยาไนโตรกรีเซอลินให้กับคุณ จงกินยาตามปริมาณที่แพทย์สั่งตอนเริ่มเกิดภาวะหัวใจวาย และแจ้งเหตุฉุกเฉิน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ฟื้นตัวจากหัวใจวาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงทำตามคำแนะนำทางการแพทย์ของมืออาชีพหลังเกิดภาวะหัวใจวาย. เมื่อคุณรอดชีวิตจากภาวะหัวใจวาย มีความสำคัญที่คุณจะปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อการฟื้นตัว ทั้งในช่วงถัดจากวันที่เกิดเหตุและในระยะยาว
  2. ตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และทัศนคติของคุณ. พบได้ค่อนข้างจะบ่อยที่ผู้รอดตายจากหัวใจวายจะมีอาการหดหู่เป็นช่วงๆ อาการหดหู่อาจมีสาเหตุมาจากความอึดอัดใจ ความสงสัยในตัวเอง ความรู้สึกไม่พอเพียง ความรู้สึกผิดเรื่องชีวิตที่เลือกใช้ก่อนหน้านี้ และความกลัวเรื่องอนาคตที่ไม่แน่นอน
    • แผนฟื้นฟูสุขภาพกายภายใต้การกำกับดูแล การหวนกลับมาเชื่อมต่อทางสังคมกับครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และความช่วยเหลือจากวิชาชีพจิตวิทยา คือวิธีการที่ผู้รอดชีวิตสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติหลังจากเกิดภาวะหัวใจวาย [34]
  3. ตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะหัวใจวายเป็นครั้งที่สอง. หากคุณเคยหัวใจวายมาแล้วครั้งหนึ่ง คุณมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะหัวใจวายเป็นครั้งที่สอง เกือบหนึ่งในสามของผู้เกิดภาวะหัวใจวายในสหรัฐฯในแต่ละปี คือผู้ที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจวายครั้งก่อนหน้านั้น [35] [36] ปัจจัยต่างๆ ที่ตามมานี้ จะทำให้คุณยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะหัวใจวายเป็นครั้งที่สอง :
    • สูบบุหรี่ หากคุณสูบบุหรี่ มีโอกาสเพิ่มเกือบเท่าตัวที่จะหัวใจวาย [37]
    • คอเลสเตอรอลสูง ระดับของคอเลสเตอรอลซึ่งมีผลดีต่อสุขภาพ คือหนึ่งในเหตุเสริมที่สำคัญที่สุดต่อภาวะหัวใจวาย และผลข้างเคียงอื่นๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูงสามารถอันตรายเป็นพิเศษ เมื่อเข้าคู่กับความดันโลหิตสูง เบาหวาน และการสูบบุหรี่ [38]
    • โรคเบาหวาน สามารถเพิ่มโอกาสที่จะหัวใจวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากไม่ได้ควบคุมให้เหมาะสม [39]
    • โรคอ้วน การมีน้ำหนักตัวมากเกินไปอาจทำให้ระดับความดันเลือดกับคอเลสเตอรอลเพิ่มสูง และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ ยิ่งกว่านั้น โรคอ้วนสามารถทำให้เกิดโรคเบาหวาน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณเสี่ยงจะหัวใจวายเป็นครั้งที่สอง [40]
  4. ภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมจากสไตล์การใช้ชีวิตแบบไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ที่จะทุกข์ทรมานจากภาวะหัวใจวายครั้งที่สอง ความเฉื่อยชา โรคอ้วน คลอเรสเตอรอล น้ำตาลในเลือด ความดันเลือดโรค ความเครียด และการสูบบุหรี่ล้วนเพิ่มความเสี่ยงที่จะหัวใจวาย
    • ลดการบริโภคไขมันทรานส์ และไขมันชนิดอิ่มตัว กับมุ่งหลีกเลี่ยงอาหารซึ่งใช้ไขมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน
    • ลดคลอเรสเตอรอลให้น้อยลง สามารถทำได้สำเร็จโดยผ่านทางอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือกินยาลดคอเรสเตอรอลตามที่แพทย์สั่ง วิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่จะลดคอเลสเตอรอลของคุณคือกินปลาซึ่งมีกรดไขมันที่จำเป็นสูง คือกรดไขมันโอเมกา-3
    • ตัดลดปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ลง ดื่มเฉพาะในปริมาณที่แนะนำต่อวัน และหลีกเลี่ยงการดื่มแบบเมาหัวราน้ำ
    • ลดน้ำหนักลง ดัชนี มวลสารในร่างกายผู้มีสุขภาพดีคือระหว่าง 18.5 และ 24.9.
    • ออกกำลังกาย ปรึกษากับแพทย์ของคุณว่าทำอย่างไร คุณจะสามารถเริ่มแผนออกกำลังกายได้ แผนออกกำลังแบบคาร์ดิโอ (cardiovascular exercise program) ภายใต้การกำกับดูแลนั้นเป็นแผนการในอุดมคติ แต่ไม่จำเป็น ตามคำแนะนำของแพทย์นั้น คุณสามารถออกกำลังแบบคาร์ดิโอ (ตัวอย่างเช่น เดิน ว่ายน้ำ) ขึ้นอยู่กับระดับความพร้อมของร่างกายของคุณในปัจจุบัน และเน้นให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสมเหตุสมผลเมื่อเวลาผ่านไป (ตัวอย่างเช่น เดินรอบหนึ่งช่วงตึกโดยไม่เกิด “ภาวะหายใจไม่อิ่ม”)
    • เลิกสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ในทันทีสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่คุณจะหัวใจวายลงได้ครึ่งหนึ่ง [41] [42]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณอยู่ด้วยในตอนที่ใครบางคนกำลังทุกข์ทรมานจากภาวะหัวใจวาย จงเรียกบริการฉุกเฉินในทันที นอกจากนี้ ยังเป็นความคิดที่ดีหากทุกคนจะรู้วิธีรับมือกับโรคหัวใจ
  • เก็บรายชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่สามารถติดต่อในยามฉุกเฉิน ไว้ในบัตรทางการแพทย์ของคุณ * หากคุณมีประวัติว่าเคยเจ็บหน้าอก หรือมีปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ และได้ใบสั่งยาประเภทไนเตรดจากแพทย์ เช่น ไนโตรกลีเซอลิน ให้พกยาติดตัวตลอดเวลา หากคุณใช้ถังออกซิเจน แม้หากใช้เพียงแค่เป็นช่วงๆ ก็ให้พกพามาด้วยเช่นกัน ทุกคนสมควรพกพาบัตรสักใบหนึ่งไว้ในกระเป๋าสตางค์ เป็นบัตรซึ่งจดรายชื่อยาที่คุณใช้อยู่ กับรายชื่อยาที่คุณแพ้ สิ่งนี้จะสามารถช่วยให้มืออาชีพทางการแพทย์สามารถช่วยเหลือคุณจากภาวะหัวใจวาย และอาการอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
  • หากคุณอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จงพิจารณาเรื่องนำโทรศัพท์มือถือติดตัวคุณไปทุกหนแห่ง หรือคุยกับแพทย์ว่าคุณสมควรพกแอสไพรินหนึ่งเม็ดติดตัวตลอดเวลาหรือไม่
  • พยายามคงไว้ซึ่งความสงบและเยือกเย็น ใช้ผ้าเปียกหรือการประคบด้วยความเย็น (cold compress) บางรูปแบบ ที่ขาหนีบหรือใต้รักแร้ของคุณ เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลง เพราะได้เคยมีข้อมูลว่าการลดอุณหภูมิของร่างกายลงแม้เพียงเล็กน้อย ได้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยในหลายๆ กรณี
  • มีบางครั้งบางคราวที่เกิดภาวะหัวใจวาย โดยไม่ได้มีอาการป่วยอื่นๆ ด้วยเลย อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ก็ยังเป็นอันตรายหรือถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อคุณไม่ได้มีสัญญาณเตือนภัยมากนัก
  • เป็นความคิดที่ดีเสมอหากคุณจะเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับภาวะหัวใจวาย แม้ตัวคุณจะไม่เคยมีปัญหาเรื่องหัวใจ ยาแอสไพรินเพียงหนึ่งเม็ด (80 มก) อาจหมายถึงความแตกต่างระหว่างอยู่หรือตายสำหรับหลายคน และยาแอสไพรินใช้เนื้อที่เก็บเพียงน้อยนิดในกระเป๋าสตางค์ของคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นบุรุษหรือสตรี จงทำให้แน่ใจด้วยว่าคุณได้พกบัตรทางการแพทย์ติดตัว โดยในบัตรระบุสิ่งที่คุณแพ้ ยาที่ใช้ในปัจจุบัน และปัญหาสุขภาพใดๆ ที่คุณอาจจะมี
  • ระแวดระวังเป็นพิเศษหากคุณอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นผู้สูงอายุ เป็นโรคอ้วน เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ มีคอเลสเตอรอลสูง เป็นคนสูบบุหรี่ หรือหากคุณดื่มหนัก หรือมีประวัติเป็นโรคหัวใจ จงพูดคุยกับแพทย์ตั้งแต่ในวันนี้ เรื่องวิธีต่างๆ ที่จะลดความเสี่ยงของคุณที่จะหัวใจวาย
  • กินอาหารสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม จงหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หากคุณกำลังแก่ตัวลง จงพิจารณาเรื่องหารือกับแพทย์ที่จะใช้ยาแอสไพรินในปริมาณน้อยมากเป็นประจำ การทำเช่นนี้อาจช่วยลดความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย
  • เดินเร็วๆ ทุกวัน พยายามเดินให้ได้วันละ 10,000 ก้าว
โฆษณา

คำเตือน

  • บทความนี้เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติทั่วไป ไม่ได้ตั้งใจจะให้ใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์จากมืออาชีพ
  • อย่าพยายามเมินเฉย หรือมองข้ามอาการของโรคซึ่งอาจบ่งชี้เรื่องภาวะหัวใจวาย ยิ่งคุณได้รับความช่วยเหลือเร็วมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งดี
  • มีอีเมล์ซึ่งส่งต่อกันอย่างแพร่หลายฉบับหนึ่ง แนะนำว่าหากเกิดหัวใจวาย คุณสมควร “ปั๊มหัวใจตัวเองด้วยการไอ” หรือ “Cough CPR” บทความนี้ไม่แนะนำให้ใช้วิธีดังกล่าว เพราะแม้อาจจะมีประโยชน์เฉพาะสำหรับบางสถานการณ์ หากทำเพียงสี่ห้าวินาทีในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การดูแลทางการแพทย์ แต่ก็ยังอาจเป็นอันตรายได้ [43]


โฆษณา
  1. http://www.sciencedaily.com/releases/2005/11/051103081934.htm
  2. http://www.health.harvard.edu/family_health_guide/know-the-warning-signs-of-heart-attack
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/in-depth/heart-attack-symptoms/art-20047744
  4. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003093.htm
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/in-depth/heart-attack-symptoms/art-20047744
  6. http://www.redcross.ca/what-we-do/first-aid-and-cpr/first-aid-at-home/first-aid-tips/signs-symptoms-of-a-heart-attack
  7. http://womenshealth.gov/heartattack/symptoms.html#cold_sweats
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/in-depth/heart-attack-symptoms/art-20047744?pg=2
  9. http://www.heart.uchc.edu/preventing/index.html
  10. http://www.heartresearch.com.au/womens-symptoms-heart-attack-1.html
  11. http://www.womensheart.org/content/heartdisease/panic_attack_or_heart_attack.asp
  12. https://books.google.ca/books?id=Ja9YAwAAQBAJ&pg=PA35&lpg=PA35&dq=heart+attack+first+hour+critical&source=bl&ots=dhU_S8tpUT&sig=_IdP76p-er6MyKMPXH_7FdC6v7U&hl=en&sa=X&ved=0CDsQ6AEwBTgKahUKEwi4pPeeuoXGAhVMA5IKHZu6AIM#v=onepage&q=heart%20attack%20first%20hour%20critical&f=false
  13. http://www.muschealth.org/healthy-aging/heart-attack/
  14. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/WarningSignsofaHeartAttack/Warning-Signs-of-a-Heart-Attack_UCM_002039_Article.jsp
  15. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/heartattack/signs
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/in-depth/heart-attack-symptoms/art-20047744
  17. http://www.health.harvard.edu/heart-health/surviving-a-heart-attack-a-success-story
  18. http://articles.latimes.com/2011/feb/07/health/la-he-heart-family-20110207
  19. http://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/public/heart/heart_attack_fs_en.pdf
  20. https://www.bhf.org.uk/heart-health/conditions/heart-attack
  21. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-heart-attack/basics/art-20056679
  22. http://www.nhs.uk/conditions/heart-attack/pages/introduction.aspx
  23. http://circ.ahajournals.org/content/114/20/e578.full
  24. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/PreventionTreatmentofHeartAttack/Cardiac-Medications_UCM_303937_Article.jsp
  25. http://www.hopkinsmedicine.org/heart_vascular_institute/clinical_services/centers_excellence/womens_cardiovascular_health_center/patient_information/health_topics/depression_heart_disease.html
  26. http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/heartattack/lifeafter
  27. http://www.cdc.gov/heartdisease/facts.htm
  28. https://www.bhf.org.uk/heart-health/risk-factors/smoking
  29. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Cholesterol/WhyCholesterolMatters/Why-Cholesterol-Matters_UCM_001212_Article.jsp
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-attack/basics/risk-factors/con-20019520
  31. http://www.heart.org/HEARTORG/GettingHealthy/WeightManagement/Obesity/Obesity-Information_UCM_307908_Article.jsp
  32. http://www.nhs.uk/Conditions/Heart-attack/Pages/Recovery.aspx
  33. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2446
  34. http://www.rochestergeneral.org/centers-and-services/sands-constellation-heart-institute/patient-education/how-to-survive-a-heart-attack-when-alone/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,815 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา