ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การรักษาความอบอุ่นให้ลูกวัยแบเบาะของคุณได้นอนหลับสบายนั้นถือเป็นเรื่องที่ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ก็มีอีกหลายเรื่องที่คุณต้องใส่ใจ เพราะความปลอดภัยของลูกก็สำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเบาะรองนอน อุณหภูมิร่างกายของลูก ไปจนถึงท่านอนของเขา ก็ล้วนแต่เป็นสาเหตุให้เกิดการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก หรือ sudden infant death syndrome (SIDS) ได้ เพราะฉะนั้นคุณต้องเรียนรู้ว่าควรเอาลูกเข้านอนแบบไหน ทำยังไงให้ลูกตัวอุ่นตลอดคืน จะได้ไม่เสี่ยงเป็น SIDS

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

จัดห้องนอนยังไงให้ลูกอบอุ่นและปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ห้องนอนของเด็กต้องเป็นห้องที่เด็กอยู่แล้วสบาย รู้สึกปลอดภัย คุณสร้างบรรยากาศอบอุ่นน่านอนให้ลูกได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของห้องนอนให้เหมาะสม ลูกจะได้หลับสบาย
    • อุณหภูมิในห้องนอนเด็กที่แนะนำคือ 20 - 22.2 องศาเซลเซียส เด็กจะรู้สึกสบาย ปลอดภัย [1]
  2. ตำแหน่งของเปลหรือเตียงเด็กก็เป็นอีกปัจจัยที่จะกำหนดความร้อนเย็นให้ลูกของคุณ เพราะฉะนั้นเวลาจะเลือกตำแหน่งวางเตียงเด็กในห้อง ต้องคิดก่อนเสมอ ว่าลูกจะร้อนหรือหนาวเกินไปหรือเปล่า
    • เตียงเด็กต้องอยู่ห่างจากหน้าต่างที่มีลมโกรก ช่องแอร์ หรือพัดลมหลายฟุตหน่อย เด็กจะได้ไม่ถูกลมพัดใส่ตัวโดยตรง [2]
    • เด็กไม่ควรนอนอยู่ใกล้หน้าต่างเกินไป โดยเฉพาะถ้ามีสายรัดหรือสายดึงผ้าม่านห้อยอยู่ใกล้ๆ หรือแกว่งไปมาเวลาลมพัด เพราะสายที่ว่าอาจจะไปฟาดหน้าเด็กหรือไปพันคอพันแข้งพันขาได้ [3]
  3. ต้องเลือกซื้อแต่เตียงเด็กที่มีใบรับรองมาตรฐานและความปลอดภัยเท่านั้น จะได้แน่ใจว่าลูกนอนแล้วปลอดภัยหายห่วง ซี่ลูกกรงกั้นเตียงก็ต้องไม่ถี่ไปหรือกว้างไป แขนขาหรืออวัยวะส่วนไหนของเด็กจะได้ไม่ไปติดอยู่ ที่สำคัญคือต้องไม่มีอะไรห้อยระเกะระกะจนไปพันคอหรือติดคอเด็กได้ [4]
    • ถ้าเป็นเตียงเด็กนำเข้า ต้องมีใบรับรองความปลอดภัยของสินค้าสำหรับเด็ก หรือ Children’s Product Certificate (CPC) ไม่ว่าจะเป็นเตียงใหม่แกะกล่องหรือเตียงเด็กมือสองก็ตาม เพราะอย่างในอเมริกาก็มีข้อบังคับใหม่ออกมา ว่าเตียงเด็กที่ขายอยู่ตามร้านตั้งแต่พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ต้องตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือ federal crib safety standards [5]
    • เตียงเด็กต้องแข็งแรงมั่นคง มาพร้อมกับเบาะรองนอนที่แข็งแน่นไม่อ่อนยวบ เด็กนอนหงายได้ไม่อันตราย [6]
    • พ่อแม่หลายคนเลือกตั้งเตียงเด็กไว้ในห้องนอนของตัวเอง ซึ่งก็ทำได้ ไม่เป็นไร ที่น่าเป็นห่วงกว่าคือการเอาลูกแบเบาะไปนอนร่วมเตียงหรือนั่งเก้าอี้เดียวกับคุณและคนอื่นๆ เพราะเสี่ยงต่อการที่ผู้ใหญ่จะทับเด็กจนหายใจไม่ออก หรือทำให้เด็กร้อนและอึดอัดเกินไป [7]
  4. เด็กควรจะนอนบนเบาะที่แข็งแน่นไม่อ่อนนุ่มเกินไป เบาะรองนอนหรือฟูกที่ทำจากวัสดุที่นิ่มเกินไปอาจทำให้ตัวเด็กยุบลงไปจนอึดอัด ขาดอากาศหายใจได้ [8]
    • ถ้าเป็นเบาะแน่นๆ เวลาเด็กนอนหงายก็สบาย ลดความเสี่ยงการเกิด SIDS เดี๋ยวพอลูกของคุณโตจนถึง 6 เดือนแล้ว ก็จะหัดกลิ้งพลิกตัวได้เอง ทีนี้เขาก็อาจจะเลือกนอนคว่ำแทน [9]
    • นอกจากนอนเบาะแน่นๆ แล้วตัวเด็กก็ต้องอบอุ่นด้วย ให้คุณใช้ผ้าปูที่นอนผ้า flannel หรือผ้าสักหลาดอ่อน โดยต้องปูให้ตึงเรียบ อย่าให้ผ้ากระจุกตัวกันหรือพองขึ้นมา เพราะเดี๋ยวจะไปอุดจมูกอุดปากเด็กจนหายใจไม่ออกได้ [10]
  5. อุ่นเตียงก่อนเด็กนอน ด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือแผ่นทำความร้อน. คุณอาจจะอุ่นเตียงลูกก่อนก็ได้ ถ้าในบ้านอากาศเย็น ทางที่ดีคือปรับอุณหภูมิห้องเด็กให้อุ่นเข้าไว้ เด็กจะได้นอนหลับสบายทั้งที่ใส่ชุดนอนบางๆ ธรรมดา ไม่ต้องห่มผ้าหนาๆ [11]
    • ให้คุณวางกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าห่มไฟฟ้าบนเบาะรองนอนสักพักก่อนเอาเด็กเข้านอน แล้วอย่าลืมเอากระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าห่มไฟฟ้าออกก่อนวางเด็กลงนอน เพราะเดี๋ยวจะร้อนเกินไปหรือไหม้ผิวเด็กได้ [12]
    • ห้ามลืมทิ้งผ้าห่มไฟฟ้าไว้ในเตียงเด็กเด็ดขาด เพราะเดี๋ยวเด็กจะตัวร้อนจัดจนอันตราย เด็กวัยแบเบาะยังปรับอุณหภูมิร่างกายตัวเองไม่ได้ เพราะงั้นต้องระวังเรื่องนี้ให้ดี และห้ามห่มผ้าเด็กแบบหลวมๆ พองๆ ขึ้นมา เพราะเดี๋ยวจะเกิด SIDS ได้ [13]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รักษาความอบอุ่นให้เด็กหลับสบายปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชุดนอนหรือชุดหมีจะช่วยรักษาความอบอุ่นให้เด็กได้หลับสบาย แถมยังปลอดภัยด้วย อย่าแต่งตัวให้ลูกหนาหรือหลายชั้นเกินไป โดยเฉพาะถ้าอุณหภูมิในห้องก็อุ่นพออยู่แล้ว
    • ใส่ชุดนอนผ้าไม่หนามากให้เด็ก เลือกชุดที่ค่อนข้างมิดชิดหน่อยก็ได้ถ้าคุณกลัวเขาหนาว ชุดพวกนี้เรียกว่า “onesies” หรือ "ชุดหมี" นั่นเอง [14]
    • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด SIDS ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าไม่ควรใส่ชุดให้เด็กหนาเกินกว่า 1 ชั้น หรืออ้างอิงเอาจากผู้ใหญ่ก็ได้ ว่าควรแต่งตัวหนาบางแค่ไหนถึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น [15]
    • ถ้าอยากห่อตัวเด็กด้วยผ้าอีกที ก็ต้องให้เด็กใส่แค่ชุดหมีบางๆ ชั้นเดียวเท่านั้น เด็กจะได้ไม่ตัวร้อนเกินไป
  2. การห่อตัวเด็กด้วยผ้าช่วยรักษาความอบอุ่นให้เด็กได้เป็นอย่างดี แบบนี้ก็นอนหงายได้แบบสบายใจ มีให้เลือกทั้งแบบสำเร็จรูป ห่อง่ายไม่ลื่นหลุด หรือคุณจะหาผ้าห่มสี่เหลี่ยมผืนผ้าบางๆ มาใช้ห่อตัวเด็กเองก็ได้ [16]
    • ให้คุณพับผ้าห่มบางๆ นั้นในแนวทแยงจนได้ผ้ารูปสามเหลี่ยม
    • วางเด็กลงตรงกลางสามเหลี่ยม ให้เท้าชี้ลงข้างล่าง
    • พับผ้าห่มด้านหนึ่งมาห่มทับส่วนอกของเด็ก ให้เด็กเอาแขนออกมานอกผ้าห่อตัวก็ได้ เด็กอยากขยับตัวหรือดูดนิ้วเล่นจะได้สะดวก
    • พับชายผ้าด้านล่างห่มจากเท้าเด็กขึ้นมาจนถึงหน้าอก
    • พับชายผ้าด้านสุดท้ายห่มทับบนหน้าอกเด็กให้เรียบร้อยไม่หลุดลุ่ยง่าย แต่ก็อย่าให้แน่นเกินไป
  3. ท่านอนก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกคุณเสี่ยงเกิด SIDS ได้ ให้วางเขานอนหงายบนเตียงจะดีและปลอดภัยที่สุด [17]
    • อย่าให้ลูกนอนคว่ำหรือนอนตะแคง ถ้าทำแบบนั้นเด็กอาจสำลักหรือหายใจไม่ออกได้ เพราะเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนไปอุดปากอุดจมูกเขา [18]
  4. เตียงโล่งๆ ก็คือเตียงที่ปลอดภัย อย่าให้ผ้าห่มหรือผ้าอื่นๆ ที่พองๆ หนาๆ มาอยู่บนเตียง เพราะจะไปปิดหน้าปิดตาเด็กให้หายใจไม่ออกได้ แค่ผ้าห่มบางๆ ยัดปลายกับเบาะรองนอนให้ตึงเด็กก็อุ่นพอแล้ว แค่อย่าห่มผ้าให้เด็กสูงเกินกว่าระดับอกหรือรักแร้ก็พอ [19]
    • ของเล่นหรือตุ๊กตานุ่มๆ แล้วก็ผ้าห่มหนาพองอาจปิดหน้าปิดตาเด็กจนหายใจไม่ออกได้ เสี่ยงต่อการเกิด SIDS น่าดู [20]
    • อย่าให้ลูกนอนหนุนหมอน เพราะเวลาเขาพลิกตัว หน้าจะไปซุกหมอนหรือปลอกหมอนที่ยวบลงไปจนหายใจไม่ออกได้ [21]
  5. ถ้าตัวเด็กร้อนหรืออุ่นจัด จะเกิดอาการขาดน้ำ และเหงื่อออกมากเกินไป แถมยังเพิ่มความเสี่ยงการเกิด SIDS อีกด้วย [22]
    • การเกิด SIDS บางทีก็เป็นเพราะเด็กร้อนเกินไป คุณต้องคอยสังเกตอุณหภูมิร่างกายของลูก ไม่ให้เพิ่มสูงเกิน 37.7 องศาเซลเซียส [23]
    • คอยปรับเปลี่ยนอุณหภูมิในห้องนอนของเขาให้ดี และคอยสังเกตว่าเด็กรู้สึกร้อนไปหรือเปล่า เช่น เหงื่อออกตามหน้าอกหรือไรผม เป็นต้น [24]
    • ห้ามเอาผ้าห่มคลุมหน้าเด็กเด็ดขาด รวมถึงห่อตัวเด็กหรือใส่ชุดให้เด็กหนาเกินไปด้วย ให้เขาใส่ชุดหรือห่อตัวแค่ชั้นเดียวก็พอแล้ว เอาตัวคุณเป็นหลักก็ได้ ว่าควรแต่งตัวยังไงในอุณหภูมิขณะนั้น [25]
    • ถ้าอากาศร้อนหน่อย ให้ลูกใส่ชุดนอนแบบชุดหมีบางๆ ก็พอ ไม่ก็ใส่แค่แพมเพิร์สหรือผ้าอ้อมก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองหาถุงนอนขนห่านมาให้ลูกใช้ เอาแบบที่ปรับขนาดให้เหมาะสมกับตัวเด็กได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารกหรือเด็กหัดเดินก็ตาม และควรจะมี 2 หัวซิป จะได้ระบายอากาศได้ดี อย่าลืมเลือกแบบที่เด็กเอาแขนออกมาได้ด้วย จะได้ไม่ร้อนเกินไป แค่นี้ลูกของคุณก็อุ่นสบายอยู่ในถุงนอนแล้ว
  • หน้าร้อนระวังอย่าให้ลูกตัวร้อนเกินไป ถ้าห้องเด็กค่อนข้างร้อน อาจจะเปิดพัดลมช่วยด้วยก็ได้ แต่อย่าวางพัดลมใกล้เด็กเกินไป หรือหันพัดลมเป่าใส่เด็กโดยตรง
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังเรื่องความร้อนให้ดี เพราะเด็กวัยนี้ตัวร้อนได้ง่าย เด็กอ่อนที่ตัวร้อนเกินไปอาจหลับลึกจนหยุดหายใจระหว่างนอนได้
  • ห้ามใช้ผ้าห่มหนาๆ พองๆ มาห่มตัวเด็กเด็ดขาด เพราะอาจไปปิดหน้าปิดตาจนเด็กหายใจไม่ออกได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ผ้าปูที่นอนผ้า Flannel (สักหลาดอ่อน)
  • ผ้าห่ม
  • ชุดหมี
  • กระเป๋าน้ำร้อน

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,791 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา